Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อควรระวังในการอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ โพสต์ขึ้นโซเชียล (นำมาฝาก)



ข้อควรระวังในการอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ โพสต์ขึ้นโซเชียล

https://www.it24hrs.com/2017/in-remembrance-pic-post-in-social-network-king-rama-9/


ก้าวสู่ช่วงเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งใกล้พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เข้ามาทุกที เราคนไทยต่างร่วมแสดงความอาลัยในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้วยหลายวิธี รวมถึงการใช้โซเชียลด้วย สังเกตได้จากการที่คนไทยพร้อมใจเปลี่ยนโปรไฟล์เป็นขาวดำ ติดริบบิ้นดำ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เชิญพระบรมฉายาลักษณ์มาเป็นภาพโปรไฟล์ ทั้งบน Facebook, Instagram, Line โดยไม่รู้หรือไม่ทันได้คิดว่า การกระทำแบบนี้ มิบังควร!



การเชิญพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ ก็มีข้อควรระวัง..เพราะ

ภาพโปรไฟล์ ใช้สำหรับเปิดเผยหน้าตา แสดงตนเป็นเจ้าของ Facebook , Line , Instagram และในทุกเครื่องมือแอปพลิเคชั่น ฉะนั้น ผู้ใดเป็นเจ้าของก็ควรใช้ภาพของบุคคลนั้น หากเราเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือ พระฉายาลักษณ์ หรือพระรูป พระราชวงศ์พระองค์ใด มาใช้เป็นภาพโปรไฟล์ของตัวเอง เท่ากับเป็นการแอบอ้าง ว่าเราเป็น พระบรมวงศ์ พระองค์นั้น...
หากคิดใคร่ครวญให้ดี และ ลองค้นคว้าดูจะรู้ว่า ไม่ใช่มีแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่ห้ามนำพระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศ มาใช้แทนภาพตน หรือคิด ในมุมปัจเจกบุคคล ควรหรือที่เราจะนำภาพของบุคคลอื่น มาเป็นภาพแทนตัวตนของเรา ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงควรคิดได้ว่า เป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่


ภาพปก cover facebook และทุกแอปพลิเคชั่น

จุดประสงค์การใช้เพื่อ สื่อถึงคอนเซ็ปต์เฟซบุ๊กนั้นๆ ว่ารัก ชื่นชม ชื่นชอบสิ่งไหน การเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ พระรูป พระบรมวงศ์พระองค์ใดขึ้น cover facebook ก็สะท้อนว่า เรารักและเทิดทูนพระองค์นั้น

โดยหากเชิญพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์เป็น cover มีข้อควรระวังคือ
เมื่อโพสต์แล้ว (โดยเฉพาะ Facebook) ต้องมั่นใจว่าภาพโปรไฟล์ของเราจะไม่ไปทับบนพระองค์ หากโพสต์แล้วไม่บดบังหรือทับบนพระองค์ ก็ไม่เป็นไร และสำคัญมาก คือ ต้องมั่นใจว่ารูปโปรไฟล์ของเราจะไม่อยู่ในระดับที่สูงกว่าพระอุระหรืออก หรือเสมอพระเศียรพระองค์


ทั้งนี้เราต้องไม่ส่งเสริมการกระทำที่มิบังควร อย่าไลค์ อย่าแชร์ ภาพที่เข้าข่าย ดังนี้

1. พระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์/พระสาทิสลักษณ์ ที่มีข้อความใดๆ เหนือพระเศียร และตัวอักษรทับพระองค์…อย่าทำ…อย่าไลค์…อย่าแชร์ (จะเห็นว่า นิตยสารที่อัญเชิญ พระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/พระรูป ลงปก จะต้องเปลี่ยนตำแหน่งชื่อนิตยสารมาไว้ข้างล่างเสมอ)

2. พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ ที่นำมาตกแต่งผิดไปจากเดิม หรือใช้เทคนิคจนเกินความเป็นธรรมชาติด้วยวิธีการใดๆ แล้วส่งทักทายสวัสดีกัน ทั้งในเฟชบุ๊ก และในไลน์…อย่าทำ…อย่าไลค์ อย่าแชร์

ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงห้ามนำต้นฉบับมาการดัดแปลงแก้ไขใดๆ แม้แต่การตกแต่งสีที่ผิดไปจากเดิม หรือ ไดคัท เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนสถานที่ ล้วนผิดกฎของสำนักราชเลขาธิการทั้งสิ้น เว้นแต่ว่า มีการทำจดหมาย ขอราชเลขาธิการ นำความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระบรมราชวินิจฉัยเป็นกรณีไป แต่ต้องสุดแล้วแต่ว่า ในกรณีนั้นๆ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต/พระราชานุญาต หรือไม่

3. พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ ที่นำมาตกแต่ง และใส่เครดิตตนเองลงไปด้านล่างไม่ว่าจะตัวเล็กหรือใหญ่…มิบังควรอย่างยิ่ง อย่าทำ…อย่าไลค์ อย่าแชร์

หมายเหตุ : การเขียน ชื่อผู้ถ่ายลงในกรอบ ที่อยู่นอกภาพไม่ถือว่าผิด แต่ทางเจ้าหน้าที่สำนักราชเลขาธิการ พิจารณาว่าไม่น่าจะสมควร ควรที่จะลงชื่อผู้ถ่ายไว้เป็นข้อความต่างหากเบื้องล่างลงมาไม่รวมอยู่ในบริเวณนั้น แม้ไม่นับเป็นความผิด แต่ไม่ควร

4. มิบังควรนำ พระบรมฉายาลักษณ์/ พระบรมสาทิสลักษณ์/ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/ พระสาทิสลักษณ์ มาเป็นภาพโปรไฟล์ของตนเอง แม้ด้วยแรงจูงใจจงรักภักดี แต่ภาพโปรไฟล์ คือ ภาพแสดงตัวตนคนนั้นๆ…จึงเป็นการกระทำที่มิบังควรอย่างยิ่ง…อย่าทำเด็ดขาด

5. การเขียนถวายราชสดุดีหรือถวายพระพรชัยมงคล คู่กับ พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ จะต้องแยกส่วนชัดเจน หรือขอบเขตแยกต่างหาก และต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ต้องไม่สูงเกินกว่า พระอุระ/พระทรวง

นอกจากนี้ หากจะทำพระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์/ พระรูป เผยแพร่ พร้อมพระนามเพื่อแสดงความจงรักภักดีในโอกาสต่างๆ จะต้องใส่พระนามพร้อมพระราชอิสริยยศ/พระอิสริยศ ให้ครบถ้วนเสมอ (เว้นแต่ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เขียนแต่เพียงเท่านี้และไม่ต้องมีไปยาลน้อย) มิบังควรเขียนสั้นๆ เช่น พระเทพฯ พระบรมฯ องค์โสมฯ องค์ภาฯ เว้นแต่เอ่ยพระนามลำลองส่วนตัว และคำบรรยายต้องอยู่ในตำแหน่งใต้พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์/ พระรูป ไม่ใช่เหนือพระเศียร

และที่สำคัญ หากจะทำอาร์ตเวิร์ก พระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/พระรูป เพื่อถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสสำคัญ พร้อมเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ในนามองค์กรหรือหน่วยงาน จะต้องทำเรื่อง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต/ พระราชานุญาต ขอประทานพระอนุญาต ผ่านสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง หรือเข้าไปโหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://www.ohm.go.th/th/office-of-his-majesty-principal-private-secretary/forms เพื่อนำส่งราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูล, กราบทูล ต่อไป

ข้อมูลจาก ทิวสน ชลนรา นักเขียนวรรณกรรม, อาศิรวาท, บรรณาธิการ, ที่ปรึกษาด้านภาษา ราชาศัพท์ พระราชพิธี
อ้างอิง : สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ให้คำแนะนำหลักปฏิบัติตามเนื้อหาที่เรียบเรียงนี้ เมื่อต้นเดือนมกราคม 2559




Create Date : 13 สิงหาคม 2561
Last Update : 13 สิงหาคม 2561 16:17:42 น. 0 comments
Counter : 882 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]