Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

มาขอบคุณ แพทย์และเจ้าหน้าที่ รพ.พุทธ อีกรอบ ทำดี ก็ต้องช่วยกันชม


มาเล่าให้ฟัง ...

วันพุธที่ผ่านมา ก็ได้เดินทางไป รพ.พุทธชินราช ... ภายใน รถจอดเยอะมาก ขนาดช่วงบ่าย ที่จอดรถยังไม่พอ ( กำลังสร้างอาคารจอดรถ หลังตึกศัลยกรรม ) จอดรถซะไกล เดินเมื่อย เหมือนกัน จะขอนั่งรถกอฟท์ (สำหรับส่งของ) ก็เกรงใจ

ไป ยื่นทำบัตรใหม่ ก็แปลกใจที่ ตึกผู้ป่วยนอก คนน้อยมาก พอสอบถามเจ้าหน้าที่ ถึงได้รู้ว่า มีห้องตรวจแยกไปตามชั้นต่างๆ พอทำบัตร เสร็จแล้วก็จะส่งไป ตามห้องตรวจในชั้นต่างๆ ทำให้ไม่มีคนมาแออัดที่ชั้นล่าง รู้สึกว่าตัวเอง เชย จริง ๆ


เดินเข้าไปที่ตึกอายุรกรรม ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ ( CCU ) แยกเป็นห้องผู้ป่วยหนัก และ มีห้องเล็กแยกออกมาทำเป็นห้องพักสำหรับผู้ป่วยฉีดสี ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ มีเตียง ๓ เตียง ( พยาบาลบอกเต็มตลอดเกือบทุกวัน) สภาพแวดล้อม ก็ถือว่าค่อนข้างดี เลยนะครับ

สำหรับ รพ.พุทธ มีปริมาณผู้ป่วยเยอะ เพราะต้องรับจาก รพ.ที่อยู่รอบ ๆ บางครั้งก็อาจมาไกลจากทางเหนือและจากภาคกลางด้วย มีผู้ป่วยที่ต้องมาฉีดสี ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ วันละ ๓ – ๔ ราย แถมตอนกลางคืน ก็มีฉุกเฉินอีกต่างหาก มีแพทย์อายุรกรรมหัวใจ ทั้งหมด ๕ ท่าน ( อาจย้าย ๑ ) มีแพทย์ที่ฉีดสี ทำบอลลูน ๓ ท่าน ก็ถือว่า งานค่อนข้างหนักทีเดียว

วัน แรก ไม่มีอะไรมาก นอนพัก เพื่อรอที่จะฉีดสี ในวันรุ่งขึ้น เนื่องจากเป็นห้องแยก จึงให้ญาตินอนเฝ้าได้ ๑ คน ( ปกติ ห้อง ผู้ป่วยหนัก จะไม่ให้ญาติเฝ้า )


วันที่สอง ....

ตอนเช้า ก็เข้าไปห้องฉีดสี ก็ได้มีโอกาสเข้าไปดู พึ่งได้เห็นชัด ๆ ว่า ทำกันอย่างไร ก็ถือว่า เป็นประสบการณ์ที่ดีเหมือนกัน ก็คิดอยู่ว่า หลอดเลือดเล็ก ๆ จะใส่สายเข้าไปได้อย่างไร แต่พอเข้าไปเห็นจริงๆ คุณหมอเขาทำ ดูแล้วง่ายมาก ฉีดยาชาที่ผิวหนังบริเวณข้อมือขวา แล้วก็สอดสายสวนหัวใจเข้าไป ตรวจดูตำแหน่งจากเครื่องเอกซเรย์ พอไปถึงหัวใจ ก็ฉีดสีดูว่า ตำแหน่งเส้นเลือดหัวในอยู่ตรงไหน แล้วก็ค่อย ๆ ใส่ไปทีละเส้น ( มี ๒ เส้น) ใส่เส้นนี้เสร็จ ก็เปลี่ยนตำแหน่งมาใส่อีกเส้น ดูแล้วง่ายจริง ๆ

ก็คงเหมือนที่มีคนบอกว่า “ ผู้เชี่ยวชาญ เวลาทำอะไร ก็ดูเหมือนง่าย ๆ “

ตอน ฉีดนะง่าย แต่พ่อผม มีหลอดเลือดตีบค่อนข้างเยอะ ( ตีบ ๒ เส้น ) แล้วเส้นเลือดทางด้านขวาตีบมาก ก็ต้องทำบอลลูนและใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดก่อน ( อีกเส้นค่อยนัดมาทำอีก ๑ เดือน) กว่าจะทำเสร็จ ก็เกือบ ๒ ชม. ( ปกติ ทำแค่ ๐.๕ – ๑ ชม.) และต้องใส่สายสวนหัวใจ ๒ ตำแหน่ง ที่ข้อมือและขาหนีบ(ปกติใส่ตำแหน่งเดียวที่ข้อมือ ) แต่ก็สำเร็จผ่านไปด้วยดี กลับมานอนพัก นอนนิ่ง ๆ ห้ามยกแขน ยกขา อยู่ ๖ ชม.


วันที่สาม ....

หลังจากฉีดสี นอนพักดูอาการ ตอนบ่าย ๆ ก็กลับบ้านได้ มีปวดบริเวณแขนขวา และ ขาหนีบ บ้างนิดหน่อย เดินได้ปกติ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ก็คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งดีขึ้นอย่างมาก พ่อผมบอกว่า หายใจโปร่งโล่งสบาย ไม่อึดอัด ก็ได้ยามาเพิ่มอีก ๓ ตัว คุณหมอบอกว่า ต้องทานยาไปเรื่อย ๆ เพราะ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาให้หายขาด มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก แล้วก็ต้องมาทำอีกเส้นในเดือนหน้า




สุดท้ายนี้ ก็ต้องขอขอบคุณ

นพ. พจน์ เจียรณ์มงคล อายุรแพทย์โรคหัวใจ เจ้าหน้าที่ห้องสวนหัวใจ ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ (CCU) โดยเฉพาะ คุณ อรพรรณ อิศราภรณ์ หัวหน้าหอผู้ป่วย และ พยาบาลทุกท่าน ที่ได้ให้การดูแล เป็นอย่างดี เดือนหน้าก็จะไปรบกวนใหม่นะครับ

นพ.สาโรจน์ สันตยากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดการความรู้และสถิติ ที่พาเดินดู รพ. พาไปร่วมสังเกตการณ์ประชุม สุนทรียสนทนา ( เหมือนมาดูงาน รพ.พุทธฯ เลยนะครับ ) รวมถึง เลี้ยงมื้อเย็นอีก ๑ มื้อ และยังแวะไปเยี่ยมดูแลพ่อผมอีกด้วย



ปล.

๑. พ่อแม่ผม ประทับใจ กับเจ้าหน้าที่มาก ที่ให้ความเอาใจใส่พูดคุยดูแล พาไปส่งตามห้องต่าง ๆ ติดต่อ แล้วก็ไม่ได้เฉพาะพ่อแม่ผมเท่านั้น ผู้ป่วยและญาติเตียงอื่นๆ ก็บอกเหมือน ๆ กัน ถือว่าเป็นจุดที่ดี น่าชื่นชม ( ตอนแรกผมก็สงสัยเหมือนกันว่า บริการดีเพราะเป็นพ่อแม่หมอหรือเปล่า เลยต้องแอบถามผู้ป่วยและญาติ เตียงอื่นด้วย ตามประสาคนมองโลกในแง่ร้าย :-P )

๒. สภาพทั่วไป สะอาด เป็นระเบียบ ไม่มีขยะให้เห็นตามพื้น หรือ สวนหย่อม เลย ( เห็นว่า ใช้วิธีจ้างบริษัท มาดูแล ไม่ได้สอบถามรายละเอียด )

๓. ที่ ชั้น ๑ ตึกผู้ป่วยนอก มีห้องที่จัดไว้สำหรับการตรวจสอบสิทธิบัตรทอง และ ผู้ป่วยส่งต่อ แยกออกมาเฉพาะต่างหาก ทำให้สะดวกในการติดต่อ แสดงว่า คงมีผู้ป่วยส่งมามาก ถึงขนาดต้องแยกพื้นที่บริการออกมาแบบนี้

๔. ที่ ชั้น ๑ ตึกผู้ป่วยนอก มีห้องของ ศูนย์สันติธรรม ให้บริการติดต่อประสาทงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเด็กและสตรี

๕. เห็นน้องๆ ( หลาน ๆ ) นักศึกษาแพทย์ เด็ก ๆ หน้าตาสดใส สมวัย ( สมัยก่อนโน้นนนนนน หน้าตาผมก็ประมาณนั้นเหมือนกัน )

๖. ไต้อาคารเรียนนักศึกษาแพทย์ ร้านกาแฟ เข้มอร่อย แถมมีเนตให้เล่นฟรีด้วย ( ถึงแม้มี ๑ เครื่อง แล้วก็เนตช้าไปหน่อยก็ยังดีที่มีให้เล่น )



Create Date : 26 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2551 16:26:22 น. 0 comments
Counter : 3467 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]