Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้าวเปล่าหนึ่งถ้วย ... ให้ด้วยความยินดี รับด้วยจิตสำนึกคุณ


ข้าวเปล่าหนึ่งถ้วย

ค่ำวันหนึ่งเมื่อ20ปีที่แล้ว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งท่าทางเหมือนนักศึกษากำลังลังเลอยู่หน้าร้านบุฟเฟต์แห่งหนึ่ง เมื่อลูกค้าส่วนมากออกจากร้านแล้ว เขาจึงเดินเข้าร้านมาด้วยอาการเขินอาย
“ขอข้าวเปล่าถ้วยหนึ่ง ขอบคุณครับ ” เด็กหนุ่มก้มหน้าพูด
เจ้าของร้านบุฟเฟต์เพิ่งเปิดใหม่เป็นเถ้าแก่หนุ่มสาวคู่หนึ่ง เห็นเด็กหนุ่มไม่เอากับข้าวก็รู้สึกสะท้อนใจ แต่ก็ไม่ได้ถามอะไร เขารีบตักข้าวพูนถ้วยส่งให้กับเด็กหนุ่มคนนั้น
เด็กหนุ่มจ่ายเงินพร้อมกับพูดด้วยเสียงแผ่วเบาว่า
“ผมขอน้ำแกงราดบนข้าวสักหน่อยได้ไหมครับ?”
“ตามสบายเลยค่ะ ไม่คิดตังค์” เถ้าแก่เนี้ยพูด
เขากินไปได้ครึ่งถ้วย ก็สั่งอีกถ้วยหนึ่ง
“ไม่อิ่มใช่ไหม? ถ้วยนี้เดี๋ยวผมตักให้คุณมากหน่อย” เถ้าแก่พูดด้วยความเอาใจใส่
“ไม่ใช่ครับ ผมเอาใส่กล่อง พรุ่งนี้จะเอาไปกินที่มหาลัยนะครับ”

เมื่อเถ้าแก่ได้ยิน ก็เดาออกว่า เด็กหนุ่มคนนี้คงมาจากต่างจังหวัดในเขตภาคใต้เป็นแน่ ฐานะที่บ้านคงไม่สู้จะดีนัก เขาคงมาเรียนที่ไทเปคนเดียว และคงจะทำงานและก็เรียนไปด้วย ดูก็รู้ว่าเด็กคนนี้คงจะลำบากอยู่ไม่น้อย
เขาจึงตักโร่วจ้าว(เนื้อเคี่ยวซอสสำหรับราดบนข้าว)ใส่ไว้ที่ใต้กล่องข้าว จากนั้นก็เอาไข่ตุ๋นชาใส่ไปหนึ่งฟอง จากนั้นจึงตักข้าวอัดไปเต็มกล่อง มองดูแล้วเหมือนไม่มีอะไรอยู่ในกล่องข้าว นอกเสียจากข้าวเปล่า

เมื่อภรรยาของเขาเห็นดังนั้น ก็เข้าใจในสิ่งที่สามีกำลังทำว่าต้องการช่วยเหลือเด็กหนุ่มคนนี้ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ราดโร่วจ้าวไว้บนข้าว จะใส่ไว้ใต้ข้าวทำไม?
เถ้าแก่กระซิบบอกภรรยาว่า “เด็กผู้ชายรักศักดิ์ศรี หากเขาเห็นว่าบนข้าวมีโร่วจ้าวเขาอาจคิดว่าเราทำทานแก่เขา หากเป็นอย่างนี้ คราวหน้าเขาจะไม่กล้ามาอีก ถ้าเขาไปกินร้านอื่นก็ได้กินแต่ข้าวเปล่า แล้วจะเอาแรงที่ไหนไปเรียนหนังสือ !”
“คุณเป็นคนดีจริงๆ จะช่วยเขายังกลัวเขาอายอีก”
“หากผมไม่ดี คุณจะแต่งงานกับผมเหรอ! ” เถ้าแก่หนุ่มหยอกเย้าผู้เป็นภรรยา
“ขอบคุณครับ ผมอิ่มแล้ว แล้วเจอกันใหม่ครับ” เด็กหนุ่มพูดจบก็หยิบข้าวกล่องแล้วเดินออกจากร้านไป
เมื่อเด็กหนุ่มถือข้าวกล่องที่ดูหนักกว่าข้าวเปล่าออกจากร้านไป ก็หันมายิ้มให้เจ้าของร้านทั้งสอง
“สู้ๆนะ พรุ่งนี้พบกันใหม่” เถ้าแก่พูดและโบกมือให้กับเด็กหนุ่มคนนั้น ในคำพูดประโยคนั้นของเขาแฝงด้วยคำเชิญให้เด็กหนุ่มมากินข้าวที่นี่ใหม่ในวันพรุ่งนี้
เด็กหนุ่มน้ำตาคลอ ไม่กล้าหันไปมองเจ้าของร้าน กลัวว่าน้ำตาจะร่วงให้เขาทั้งสองเห็น

จากนั้นเป็นต้นมา นอกจากว่าเป็นช่วงปิดเทอม พลบค่ำของทุกวัน เด็กหนุ่มก็จะมากินข้าวที่ร้าน เขาสั่งข้าวเปล่าหนึ่งถ้วยและข้าวเปล่าหนึ่งกล่องเอากลับบ้าน และใต้กล่องข้าวก็จะมีอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน จนเด็กหนุ่มเรียนจบปริญญาตรี ผ่านมา20ปีแล้ว ที่ร้านบุฟเฟต์แห่งนี้ไม่ได้ต้อนรับลูกค้าคนพิเศษคนนี้อีกเลย

อยู่ๆ ทางการก็ส่งจดหมายมาบอกว่าจะทำการเวนคืนที่และร้านของเขาก็เป็นหนึ่งในนั้น สองสามีภรรยาอายุใกล้จะ50ปี เมื่อรู้ข่าวนี้ต่างก็กลัดกลุ้มใจ ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะทำอย่างไร เงินทองที่จะได้จากทางการก็ไม่เพียงพอกับการจัดซื้อบ้านที่มีทำเลดีอย่างนี้ได้อีก แล้วลูกๆที่กำลังเรียนอยู่จะหาค่าเทอมมาจากไหน? ต่างก็กอดกันร้องไห้ไม่รู้จะจัดการกับชีวิตอย่างไรดี

เช้าวันหนึ่ง ชายคนหนึ่งแต่งกายภูมิฐานเข้ามาหาสองสามีภรรยา
“สวัสดีครับคุณทั้งสอง ผมเป็นรองผู้จัดการบริษัท... ผู้จัดการใหญ่ของเราต้องการให้คุณเข้าไปทำร้านอาหารบุฟเฟต์ในบริษัทของเราที่กำลังจะทำการเปิดใหม่ในเร็วๆนี้ เรื่องค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งและอุปกรณ์ต่างๆ ค่าวัสดุในการทำอาหารทางเราจะเป็นผู้รับผิดชอบ ขอเพียงคุณจัดหากุ๊กปรุงอาหารและบริหารงานก็พอ ส่วนกำไรแบ่งครึ่งกับบริษัทของเรา”

ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเป็นใครกัน? ทำไมเขาถึงดีกับเราอย่างนี้? เราไม่เคยรู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมเลยสักคนเดียว? สองสามีภรรยาต่างทำหน้างงๆ
“คุณทั้งสองเป็นผู้มีพระคุณของผู้จัดการใหญ่ของเรา ท่านบอกว่าท่านชอบกินไข่ตุ๋นชาและโร่วจ้าวของร้านคุณมาก รายละเอียดผมทราบเพียงแค่นี้ นอกเหนือจากนี้คุณคงจะทราบได้เองเมื่อได้เจอกับผู้จัดการใหญ่ของเรา”

เมื่อเดินทางไปถึงบริษัท สองสามีภรรยาจึงรู้ว่า ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนี้ก็คือเด็กหนุ่มที่มากินข้าวเปล่ายามพลบค่ำทุกวันนั่นเอง หลังจากจบมหาวิทยาลัย เขาก็มุมานะสร้างเนื้อสร้างตัวจนสามารถเปิดบริษัทแห่งนี้ได้ เขาสำนึกบุญคุณข้าวเปล่าที่สองสามีภรรยาให้เขากินตลอดเวลาที่เรียนมหาวิทยาลัย หากไม่มีสองสามีภรรยาช่วยเหลือเขาในตอนนั้น เขาคงลำบากและไม่สามารถเรียนจนจบได้


เรื่องราวก่อนเก่าแต่หนหลังถูกรื้อฟื้นขึ้นในวงสนทนาเคล้าเสียงหัวเราะและน้ำตา เมื่อถึงเวลาที่สองสามีภรรยาจะลากลับ ชายหนุ่มยืนขึ้นโค้งคำนับพร้อมกับพูดว่า


“สู้ๆนะครับ ต่อไปนี้บริษัทของเราต้องพึ่งพาคุณแล้วนะ พรุ่งนี้พบกันใหม่”


@ ให้ด้วยความยินดี รับด้วยจิตสำนึกคุณ โลกนี้ยังมีความอบอุ่นอยู่เสมอ



หมายเหตุ .. เรื่องดี ๆ ผ่านทางเฟส ส่งต่อกันมา จนไม่ทราบว่า ใครเป็น ต้นเรื่อง .. ถ้าท่านใดทราบ กรุณาแจ้งผมด้วยนะครับ จะได้ลง เครดิต ให้ .. ขอบคุณครับ



Create Date : 13 กรกฎาคม 2557
Last Update : 16 กรกฎาคม 2557 14:40:28 น. 0 comments
Counter : 2126 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]