Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ชอล์กแห่งความสุข ... เกตุวดี Marumura @ readthecloud.co



สินค้าญี่ปุ่นที่ดีมากๆ แต่คนไทยไม่ค่อยรู้ (และคงไม่ค่อยมีโอกาสใช้) คือ ชอล์ก ค่ะ

จำได้ว่า ตอนดิฉันช่วยอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น การเขียนกระดานดำกลายเป็นโมเมนต์ที่ฟินเล็กๆ เพราะ

หนึ่ง ชอล์กญี่ปุ่นไม่ฟุ้งกระจาย ผงชอล์กแทบไม่มีร่วงออกมา

สอง เขียนแล้วเส้นสวยชัดมาก

www.rikagaku.co.jp

สาม มือไม่เลอะ เพราะแท่งชอล์กมีการเคลือบมันอยู่ด้านนอก

บริษัทที่ใส่ใจในการผลิตชอล์กแสนวิเศษนี้เป็นบริษัทแรกคือ บริษัท Nihon Rikagaku Industry (NRI) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชอล์กที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในญี่ปุ่น

www.bungu-order.jp

ปัจจุบันมีชอล์กสีสันสดใสหลายสีทีเดียว

www.amazon.co.jp

ความพิเศษของบริษัทนี้ มิได้มีแค่การใส่ใจชอล์กที่ผลิตเพียงอย่างเดียว แต่ยังใส่ใจพนักงานผู้ผลิตด้วย

ร้อยละ 70 ของพนักงานบริษัทนี้เป็น ‘ผู้มีความต้องการพิเศษ’

เดิมทีพนักงานบริษัท NRI เป็นพนักงานธรรมดาทั่วไป แต่ใน ค.ศ. 1959 มีอาจารย์จากโรงเรียนสอนผู้มีความต้องการพิเศษมาหาคุณโอยาม่า ประธานบริษัท NRI เพื่อขอให้รับเด็กของตนเข้าฝึกงาน คุณโอยาม่าเกรงว่าในโรงงานมีเครื่องจักร อาจเป็นอันตรายได้ ขณะเดียวกัน งานทำชอล์กก็ต้องใช้ความระมัดระวัง เกรงว่าเด็ก ๆ จะไม่สามารถทำได้ จึงกล่าวปฏิเสธอาจารย์ท่านนั้น

แต่อาจารย์ก็ไม่ลดละ ท่านแวะมาหาคุณโอยาม่าอีก 2 ครั้ง ในครั้งที่ 3 อาจารย์บอกว่า “ไม่ต้องถึงขั้นจ้างงานก็ได้ อย่างน้อยแค่ให้เด็กๆ ได้มีโอกาสลองทำ และได้ลองสัมผัสความสุขจากการทำงานสักครั้งในชีวิตก็พอแล้ว”

ปกติเรามักจะมองว่าการทำงานเป็นความเหนื่อยล้า ลำบาก แต่อาจารย์กลับพูดว่า ให้เด็กๆ สัมผัสความสุขจากการทำงาน…มันเป็นอย่างไรนะ

คุณโอยาม่าจึงลองให้โอกาสเด็กผู้หญิง 2 คนมาทำงานที่โรงงาน 1 สัปดาห์ ปรากฏว่าเด็กๆ มีสมาธิดีมาก แม้ผู้จัดการเรียกให้ไปกินข้าว เด็กๆ ก็ยังทำงานอย่างไม่ลดละ ไม่แสดงอาการเบื่อหรืออู้งานใดๆ พี่ๆ พนักงานคนอื่นจึงเอ็นดูเด็กสองคนนี้เป็นอย่างยิ่ง เด็กสองคนนี้กลายเป็นศูนย์รวมความรักของพนักงานทุกคนในโรงงานชอล์กเล็กๆ แห่งนี้

เมื่อเด็กๆ ฝึกงานครบกำหนด พนักงานทั้งบริษัทรวมตัวกันไปขอร้องให้คุณโอยาม่ารับเด็กสองคนเข้าทำงาน

1 ปีถัดมา เด็กสาว 2 คนก็ได้มาทำงานที่บริษัท NRI

อันที่จริง ประเทศญี่ปุ่นมีสถานที่รับดูแลผู้มีความต้องการพิเศษเช่นนี้อยู่แล้ว หลังจากเรียนจบ เด็กๆ ไม่ต้องไปทำงานก็ได้ พวกเขาสามารถเลือกไปร้องรำทำเพลง ดูโทรทัศน์ เล่นเกม กับเด็กพิเศษคนอื่นที่ศูนย์ดูแล แต่ทั้งคู่ก็เลือกมาทำงานที่นี่

ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่คุณโอยาม่าไม่เข้าใจเป็นอย่างยิ่ง

แทนที่จะใช้ชีวิตสบายๆ ทำไมเด็กๆ ถึงอยากทำงาน?

เขาเก็บคำถามนี้ไว้ในใจมาตลอด

วันหนึ่ง คุณโอยาม่าได้คุยกับพระเซนรูปหนึ่งในงานศพ เขาเปรยเรื่องนี้ให้ท่านฟัง พระท่านจึงเอ่ยว่า “คุณโอยาม่าครับ ความสุขมนุษย์เราจะเกิดขึ้นเมื่อมี 4 อย่างต่อไปนี้ การได้รับความรัก การได้รับคำชม การรู้สึกว่าตนเองเป็นประโยชน์กับคนอื่น และการรู้สึกว่าคนอื่นต้องการตนเอง ทุกอย่างนี้เป็นสิ่งที่เด็กๆ ได้รับจากการทำงานที่บริษัทของท่านครับ”

หากแค่เล่นเกม เด็กๆ คงแค่สนุกไปวันๆ แต่ที่โรงงานทำชอล์กเล็กๆ แห่งนี้ มีคนเรียกให้เด็กๆ ไปช่วยงาน มีคนชมเมื่อพวกเขาทำงานได้ และพวกเขารู้สึกว่าตัวเองได้ช่วยงาน ได้สร้างประโยชน์ให้กับพี่ๆ ในโรงงาน นั่นคือความสุขที่ทำให้เด็กๆ อยากมาทำงาน

เมื่อเห็นเช่นนี้ คุณโอยาม่าก็รับผู้มีความต้องการพิเศษเข้ามาทำงานเรื่อยๆ จนปัจจุบัน ร้อยละ 70 ของพนักงานเป็นผู้มีความต้องการพิเศษ

//13131313.com

ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นเสมอไป ผู้มีความต้องการพิเศษหลายคนอ่านหนังสือไม่ได้ ไม่เข้าใจคำสั่งยากๆ หรือซับซ้อน ทำให้บริษัทต้องพยายามปรับกระบวนการทำงานต่างๆ เป็นอย่างมาก เช่น

เด็กบางคนไม่สามารถติดเทปกาวให้เป็นเส้นตรงได้ ทางบริษัทจึงตัดสินใจพิมพ์ลายเส้นตรงลงบนฝากล่อง เพื่อให้เด็กๆ สามารถปิดเทปตามรอยได้

www.rikagaku.co.jp

เพื่อให้เด็กๆ เข้าใจง่ายว่าชอล์กแต่ละกล่องเป็นสีอะไร ทางบริษัทจึงพิมพ์กล่องกระดาษเป็นสีชอล์กสีนั้น พร้อมติดกระดาษเป็นป้ายวงกลมสีต่างๆ ตัวโตๆ แม้เด็กๆ จะอ่านตัวอักษรไม่ค่อยได้ แต่พอเห็นป้ายและสี ก็จะเข้าใจได้ทันที

www.rikagaku.co.jp

ส่วนภาพด้านบนนี้เป็นแผนกควบคุมคุณภาพ ป้ายที่ติดที่กล่องแสดงถึงช่องสำหรับใส่ชอล์กที่ไม่ได้คุณภาพ กับชอล์กที่เด็กๆ ไม่แน่ใจว่าควรให้ผ่านดีหรือไม่ รอให้เจ้านายตรวจอีกรอบ ป้ายสองป้ายนี้แค่มองปราดเดียวเด็กๆ ก็เข้าใจได้อย่างง่ายดาย

พนักงานบริษัท NRI ใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้มีความต้องการพิเศษสามารถทำงานร่วมกับพวกเขาได้ ทุกคนสนุกกับการช่วยกันออกไอเดียเพื่อปรับปรุงกระบวนการที่ทำให้เด็กๆ ทำงานได้ง่ายที่สุด ไอเดียป้ายสีต่างๆ ก็มาจากพนักงานคนหนึ่งที่สังเกตว่า เด็กๆ เดินทางมาโรงงานได้ และรู้จักหยุดเวลาเห็นไฟแดงไฟเขียว แสดงว่าพวกเขาแยกสีออก จึงใช้ป้ายสีนี้มาเป็นสัญลักษณ์ แทนการบอกกล่าวหรือทำตัวอักษรอธิบาย

ผลที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทั่วไปหรือพนักงานผู้มีความต้องการพิเศษทำงานได้ง่ายขึ้น สื่อสารเข้าใจได้ตรงกัน และทำงานมีประสิทธิภาพ แน่นอน พวกเขารักกัน และช่วยเหลือกันและกัน ไม่มีแบ่งแยกว่าใครปกติหรือใครมีความต้องการพิเศษ ทุกคนล้วนมุ่งมั่นทำชอล์กเป็นอย่างดี เพราะพวกเขารู้ว่า ชอล์กแต่ละแท่งจะทำให้คุณครูได้สื่อสารกับนักเรียน หรือร้านอาหารจะสามารถแต่งแต้มป้ายเมนูหน้าร้านได้

แม้แต่งานผลิตชอล์กอันเรียบง่าย แต่หากได้รับการออกแบบและใส่ใจพนักงานอย่างแท้จริง การทำงานนี้ก็สามารถทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองได้รับความรัก ได้รับคำชม ได้สร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น และรู้สึกว่า ผู้อื่นต้องการตนเอง

ชอล์กแห่งความสุข ถูกสร้างด้วยพนักงานที่มีความสุขเปี่ยมหัวใจเช่นนี้นี่เองค่ะ

CONTRIBUTOR

เกตุวดี Marumura

อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นผู้หลงใหลในการทำธุรกิจแบบยั่งยืนของคนญี่ปุ่น ปัจจุบัน เป็นอาจารย์สอนการตลาดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




Create Date : 19 กันยายน 2560
Last Update : 19 กันยายน 2560 14:19:54 น. 1 comments
Counter : 2825 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:08:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]