Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

" ครูชาญ ... ของพวกเรา "




ผมได้อ่านบทความนี้ จากหนังสือ ข่าวสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๕ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๑

จึงอยากนำมาเผยแผ่ ให้พวกเราได้อ่านกัน ... เป็น เรื่องราว ของ " ครู " คนหนึ่ง ...

ถึงแม้หลายๆ ท่านอาจไม่ทันได้พบ ได้เรียนกับท่าน .. แต่ ผมเชื่อว่า เรื่องของท่าน ก็เป็นตัวอย่างที่ดี ของคนที่เป็น "ครู" ...

ผมก็ยังโชคดีที่ได้เรียนกับท่าน ถึงแม้ว่าเป็นช่วงสั้น ๆ ก็ตาม แต่ก็ยืนยันได้เลยว่า สิ่งที่ ผู้เรียบเรียงไว้นั้น ไม่เกินความเป็นจริงเลย ... Wink


ปล. ถ้าศิษย์เก่า สวนดอก ที่ยังไม่เคยได้รับหนังสือ ก็ติดต่อได้ที่

wsuthiso@mail.med.cmu.ac.th

//www.med.cmu.ac.th/pr/news

























ขอบคุณ อ.วัฒนา สำหรับ เรื่องราวดี ๆ ที่นำมาเล่าให้ ลูก ๆ หลาน ๆ ได้รับทราบ ...

กราบขอบคุณ อ.ชาญ สำหรับ สิ่งดี ๆ ที่มีให้กับศิษย์ ...






สอนให้คิด ศ.นพ.ชาญ สถาปนกุล

By We Love แพทยสภา (Albums)

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.220877291372667.50867.217001611760235&type=1


คำสอน แผ่นที่ 1 - 3 ของ  ศาสตราจารย์ นายแแพทย์ชาญ สถาปนกุล

แพทย์ดีเด่นของแพทยสภา คนแรก

จากหนังสือเกียรติประวัติผู้ได้รับรางวัล แพทย์ดีเด่นของแพทยสภา ประจำปี 2539

พบในบล็อกที่เขียนโดยผู้ที่บอกว่าเป็นแพทย์ และเคยเรียนกับอ.ชาญ ได้กล่าวถึงท่าน ว่า

"ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญ สถาปนกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรกรรม คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ด้วยวิชา โรคผิวหนัง ผมติดตามอาจารย์และได้เข้าไปเห็นถึงภายในห้องทำงานที่มีแต่หนังสือ และผมทราบว่า ถ้าท่านอ่านเจออะไรที่มีประโยชน์แก่เพื่อนแพทย์ที่ศึกษาโดยตรงท่านจะฉีกหนังสือส่งให้เพื่อนได้อ่าน"

We love แพทยสภา เห็นว่า วิธีการของอาจารย์ น่านำมาใช้ เราจึงฉีกหนังสือของอาจารย์ แล้วแสกนมาโพสท์ใน FB ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน นะจ๊ะ

ถ้าชอบโปรดแชร์ต่อ แล้วไม่ต้องไปฉีกหนังสือที่ไหน เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของอาจารย์ ในการแบ่งปันความรู้ สู่เพื่อนแพทย์ และประชาชน








ยังระลึกถึงอาจารย์เสมอ ....





https://www.facebook.com/themedicalcouncil

เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙
สถานที่เกิด ต.เสาชิงช้า อ.พระนคร จ.พระนคร

การศึกษา
พ.ศ.๒๔๗๔-๗๗ ประถมปีที่ ๑-๔ โรงเรียนหุตวณิช ต.บ้านหม้อ อ.พระนคร จ.พระนคร
พ.ศ.๒๔๗๘-๘๓ มัธยมปีที่ ๑-๖โรงเรียนอำนวยศิลป์ ต.ปากคลองตลาด อ.พระนคร จ.พระนคร
พ.ศ.๒๔๘๕-๘๖ เตรียมอุดมศึกษา ปีที่ ๑ และ ๒โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พ.ศ.๒๔๘๗-๘๙ เตรียมแพทยศาสตร์ ปีที่ ๑ และ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๗-๘๙ ; ปี พ.ศ.๒๔๘๘ มหาวิทยาลัยปิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.๒๔๙๐-๙๓ แพทยศาสตร์ปีที่ ๑-๔ คณะแพทยศาสตร์ และ ศิริราชพยาบาล
พ.ศ.๒๕๐๑-๐๒ Master of Public Health Harvard School of Public Health, U.S.A.

ครอบครัว
สมรสเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ที่ ต.ศาลาแดง อ.บางรัก จ.พระนคร กับนางแน่งนิตย์ (ศรีเฑียรอินทร์) สถาปนกุล
มีบุตรชาย ๑ คน นายนพชัย สถาปนกุล จบปริญญาตรีสาขาบริหารบุคคล จากมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด มหาวชิรมงกุฎ

เกียรติคุณ
พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับโล่เกียรติคุณ “ศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาวิชาชีพด้านความเป็นครูในส่วนภูมิภาค”
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อรับรางวัลจากกองทุนอนุสรณ์ จอห์ เอ เอกิ้น ๒๕๒๖ และเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๕ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.๒๔๙๔-๙๕ เป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ ๑ ประจำแผนกวิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
พ.ศ.๒๔๙๕-๙๖ เป็นหัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน
พ.ศ.๒๔๙๗ –๙๘ เป็นอาจารย์ตรีและโทร แผนกอายุรศาสตร์ รพ.ศิริราช
พ.ศ.๒๕๐๒– ๓๑ เป็นอาจารย์ รพ.นครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานที่ประทับใจ
๑.ร่วมเป็นคณาจารย์ผู้ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตแพทย์ขณะนั้น และอาจารย์ยังตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายแพทย์ไปสู่ส่วนภูมิภาค จึงขอเสนอให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่ ๓ ซึ่งจะเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกเมื่อปี ๒๔๙๗

๒.การเข้าร่วมกิจกรรมหน่วยแพทย์อาสาในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล (พอ.สว.) ได้อยู่ในคณะกรรมการใหม่ พอ.สว. เขต ๕ และออกปฏิบัติงานเป็นระยะตลอดมา

พบในบล็อกที่เขียนโดยผู้ที่บอกว่าเป็นแพทย์ และเคยเรียนกับอ.ชาญ ได้กล่าวถึงท่าน ว่า

"ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญ สถาปนกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรกรรม คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ด้วยวิชา โรคผิวหนัง ผมติดตามอาจารย์และได้เข้าไปเห็นถึงภายในห้องทำงานที่มีแต่หนังสือ และผมทราบว่า ถ้าท่านอ่านเจออะไรที่มีประโยชน์แก่เพื่อนแพทย์ที่ศึกษาโดยตรงท่านจะฉีกหนังสือส่งให้เพื่อนได้อ่าน"

เป็นตัวอย่างของแพทย์ผู้มีความสนใจเพิ่มพูนความรู้ เพื่อประโยชน์ของวงการแพทย์และประชาชน




Create Date : 23 มกราคม 2552
Last Update : 3 กันยายน 2555 14:35:10 น. 1 comments
Counter : 4586 Pageviews.  

 
เข้ามาอ่านเรื่องอาจารย์ค่ะ เป็นเพื่อนรุ่นพี่เจ็ทค่ะ ตีเทนนิสด้วยกัน อยู่โรงเรียนเดียวกัน


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:17:08:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]