Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

จัดงานศพ ให้ “ตัวเอง” ก็ได้  ง่ายๆ แค่ 5 ขั้นตอน



จัดงานศพ ให้ “ตัวเอง” ก็ได้  ง่ายๆ แค่ 5 ขั้นตอน

หลายคนเชื่อว่าการ จัดงานศพ ให้กับคนที่รักนั้น ยิ่งเป็นบุคคลที่เคารพรักมากเท่าไร ก็ควรจัดงานให้ยิ่งใหญ่สมเกียรติมากขึ้นเท่านั้น จนบางครั้งอาจต้องแลกด้วยเงินที่ เก็บสะสมมาทั้งชีวิต หรืออาจต้องกู้หนี้ยืมสินจนหนี้ท่วมหัวก็เป็นได้

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่อยากให้ภาวะนี้เกิดขึ้นกับลูกหลานหรือคนที่คุณรักแล้วละก็  Secret ขอเสนอวิธีเตรียม จัดงานศพ ให้ตัวเองไว้ล่วงหน้าดีกว่า  รับรองว่าทำได้ง่าย ๆ  ไม่ยุ่งยากและไม่สร้างความลำบากให้คนที่คุณรักในภายหลังอย่างแน่นอน

ขั้นที่ 1  เตรียมใจคนในครอบครัวให้พร้อมรับความตาย (ของคุณ)

เริ่มจากคุยถึงเจตนารมณ์ของคุณให้คนในครอบครัวรับทราบไว้แต่เนิ่น ๆ  แน่นอนว่า  ในช่วงแรก ๆ พวกเขาอาจปฏิเสธที่จะรับฟังเพราะทำใจไม่ได้และ (หลง) คิดว่ายังเหลือเวลาอีกนาน  แม้ความจริงทุกคนจะรู้ดีอยู่แก่ใจว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้  ไม่มีใครรู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร  ดังนั้นการพูดคุยกันให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของคุณอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น  จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ  ยอมรับ  และยินดีทำตามที่คุณต้องการในที่สุด  ทั้งยังเป็นการย้ำเตือนหลักมรณานุสติได้เป็นอย่างดีว่า  “ความตายเป็นเรื่องธรรมดา  เป็นสัจธรรมความจริงของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น”

ขั้นที่ 2    วาดฝันความตายในแบบที่คุณปรารถนา

เราไม่ได้ต้องการให้คุณหมายมั่นว่าจะต้องตายท่านั้นหรืออยากตายในสภาพแบบนี้  เพราะคงไม่มีใครลิขิตได้  แต่สิ่งที่คุณสามารถวางแผนไว้ล่วงหน้าได้คือ  สิ่งที่คุณอยากให้เกิดขึ้นในงานศพของตัวเอง  เช่น  คุณอาจอยากให้แขกที่มาร่วมงานศพใส่ชุดสีชมพูเพราะไม่อยากให้การจากไปของคุณเป็นเรื่องเศร้าน่าหดหู่  หรือคุณอาจบอกให้คนที่คุณรักสวมชุดนอนตัวโปรดหรือกางเกงยีนตัวเก่งให้ในวันรดน้ำศพ  หรือไม่ก็เปิดเพลงที่คุณชอบให้ผู้มาร่วมงานฟังก่อนที่พระสงฆ์จะสวดอภิธรรม  เป็นต้น


ขั้นที่ 3  เตรียมงบให้พร้อม

คุณควรแจกแจงรายละเอียดของเงินเก็บและสินทรัพย์ทั้งหมดของคุณรวมทั้งเขียนจดหมายรับรองการเป็นผู้จัดการ

ทรัพย์สินทั้งหมดให้คนที่คุณรักเอาไว้ด้วย เพราะเขาจะได้นำเงินเหล่านั้นไปจัดการทุกสิ่งตามความปรารถนาของคุณ ซึ่งแน่นอนว่าคุณควรมีเงินเก็บเพียงพอที่จะให้คนข้างหลังจัดงานศพได้ตามที่คุณต้องการ

เงินฝากประจำกับธนาคาร……….จำนวน……บาท

เงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร……….จำนวน……บาท

เงินประกันสังคมจำนวน……บาท

เงินประกันชีวิตจำนวน……บาท

รวมเป็นยอดเงินเก็บทั้งสิ้น……บาท


ขั้นที่ 4  ระบุรายละเอียดที่จำเป็น

คุณควรอธิบายรายละเอียดของการจัดงานในแบบที่ต้องการเอาไว้ด้วย  พร้อมแจกแจงวิธีการดำเนินงาน  รวมถึงรายชื่อของคนที่ต้องการเชิญมาร่วมงาน  สถานที่จัดงาน  และอื่น ๆ ที่คุณหารายละเอียดไว้ล่วงหน้าแล้ว  เช่น

วัดที่ต้องการให้ใช้เป็นสถานที่จัดงาน

จำนวนวันในการสวดอภิธรรม (มีตั้งแต่ 3 วัน  5 วัน  ไปจนถึง 7 วัน)

ชื่อผู้ที่จะช่วยดำเนินการจัดงานพร้อมเบอร์โทรศัพท์

ยอดค่าใช้จ่ายที่ต้องการให้ถวายวัด(วัดขนาดเล็กมีค่าใช้จ่ายประมาณ 9,000 – 35,000 บาท  วัดขนาดกลางค่าใช้จ่ายประมาณ 24,000 - 63,000 บาท  และวัดขนาดใหญ่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 –70,000 บาทขึ้นไป)

ประเภทของโลงศพ (หีบศพธรรมดาหรือหีบศพที่ประดับอย่างสวยงาม)สถานที่ติดต่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์

รูปที่ใช้ในงานศพ (อาจอัดรูปใส่กรอบวางไว้ในลิ้นชักหัวนอนเผื่อฉุกเฉินก็ได้ไม่ว่ากัน!)

ชุดโปรดที่อยากให้ใส่

เก็บศพเอาไว้หรือให้เผาได้เลย

รายชื่อของแขกคนสำคัญที่อยากให้เชิญชวนมาร่วมงานพร้อมเบอร์โทรศัพท์

ของว่างที่จะนำมาบริการผู้มาร่วมงาน(ชื่อร้านขนมเจ้าโปรดพร้อมเบอร์โทรศัพท์)

ของชำร่วยงานศพ (หนังสือเล่มโปรดเช่น  พระพุทธเจ้าห้าพระองค์  จำนวน……เล่ม รวมเป็นเงิน…..บาท)

สถานที่ที่อยากให้ลอยอังคาร(โปรยเถ้ากระดูก)

รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณ……บาท

ขั้นที่5 ทางเลือกเพื่อการจากลาอย่างแฮ็ปปี้เอนดิ้ง

สิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่  การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับยอดเงินเก็บของคุณเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต  และในกรณีที่มีเงินเหลืออยู่  คุณอาจระบุลงไปว่าอยากให้นำเงินไปทำบุญที่ไหน  หรือมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันเงินส่วนนี้ให้ใครบ้าง  ในกรณีที่เงินเก็บอาจมีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย  ก็ควรระบุสิ่งที่สามารถตัดหรือลดทอนลงได้เป็นทางเลือกไว้ด้วย  เช่น  ลดของชำร่วยให้ราคาน้อยลง  หรือลดจำนวนวันจัดงาน เป็นต้น

การเตรียมงานศพให้ตัวเองนี้ นอกจากจะช่วยคลายความกังวลลงได้แล้ว ยังเป็นการฝึกมรณานุสติและฝึกการใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบง่าย ๆ ที่ได้ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและคนที่เรารักด้วย…ว่าไหมคะ

เรื่อง ชลธิชา แสงใสแก้ว

ที่มา : นิตยสาร Secret ปี 2557 ฉบับที่ 143 (10 มิ.ย. 57) หน้า 68-69

คอลัมน์ : life management

https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/secret-trick/49208.html?fbclid=IwAR2lBMtu_GEJYVYPLBg3qdNxuqYouRomCOr2TxuwIEYfKojSfitt_gPJFw0

Secret คือแรงบันดาลใจ
สั่งซื้อนิตยสารหรือสมัครสมาชิก Secret ได้ที่ 0-2423-9889
ทาง Naiin.com : https://www.naiin.com/magazines/title/SC/


บทความน่าสนใจ

ไขข้อคาใจ คนท้องไปงานศพ ได้หรือไม่ ?

Q: ดิฉันบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่แล้ว จะแจ้งให้ญาติไม่ต้องจัดงานศพเมื่อเสียชีวิตและถวายสังฆทานเพียง 1 ชุดได้หรือไม่

คัมภีร์พระมาลัย คัมภีร์แห่งมิตรภาพและการสานสัมพันธ์ไทย-วาติกัน

“ของขวัญ” ที่มอบให้ตนเองใน “วันตาย”

มอง ความตาย ใน 3 ศาสนา




Create Date : 11 มกราคม 2562
Last Update : 11 มกราคม 2562 15:15:52 น. 0 comments
Counter : 482 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]