Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เมื่อถึงวันแต่งงาน .. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สำหรับคู่แต่งงาน โดย .. สุรพร เกิดสว่าง



เมื่อถึงวันแต่งงาน

สุรพร เกิดสว่าง
14 ส.ค. 2560
//johjaionline.com/opinion/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/#.WZFZkrn2Wyg.facebook


“เดี๋ยวก่อนๆ หมายถึงอาจารย์คุณจะมากล่าวในงานยังงั้นเหรอ?” ชายหนุ่มผู้เป็นเจ้าบ่าวกระซิบถามเจ้าสาวบนเวที สิ่งที่เขากลัวดูเหมือนจะบังเกิดขึ้นแล้ว

“ใช่แล้ว” เจ้าสาวตอบ “รับรองไม่ใช่ speech ตามรูปแบบพิธีการที่ได้ยินทั่วไปแน่นอน” เธอกระซิบตอบอย่างภาคภูมิ ท่ามกลางเสียงปรบมือ หลังจากเสียงประกาศเชิญผู้ใหญ่ขึ้นมากล่าวโอวาทและอวยพร

ชายหนุ่มมองเจ้าสาวของเขา นี่แหละเธอ คนที่ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และเป็นตัวของตัวเองสุดๆ แต่ทำไงได้ ก็เพราะเหตุนี้เขาถึงได้หลงใหลเธอนัก

ท่านอาจารย์ของเจ้าสาวก้าวเดินขึ้นมาบนเวที ผ่านเค้กแต่งงานสีขาว ตรงไปยังไมโครโฟน แล้วเริ่มกล่าว

“ในเมื่อเป็นที่รู้กันว่า ชีวิตแต่งงานที่อยู่กันอย่างมีความสุขยั่งยืน ประสบความสำเร็จมีไม่ถึง 50% ถ้าเป็นแบงก์ก็คงไม่มีใครให้กู้ ถ้าเป็นพันธบัตรก็ยิ่งกว่า junk bond ทำร้านอาหารยังจะสำเร็จง่ายกว่า ผมจะไม่อวยพรละ เพราะคำอวยพรที่ใช้ๆกันคงไม่ศักดิ์สิทธิ์” ท่านอาจารย์เริ่ม speech

เจ้าบ่าวกำมือจิกนิ้วตัวเอง ในใจคิดว่า พอเริ่มพูดก็ชักจะไม่เป็นมงคลละ ในขณะที่เจ้าสาวตั้งอกตั้งใจฟังอาจารย์ของเธอ

แทนที่จะยืนพูดที่ไมโครโฟนต่อเหมือนคนอื่นๆ  ท่านอาจารย์ปลดไมค์ออกมาถือไว้ในมือ และเดินพูดบนเวที

“ผมเลยขอพูดสั้นๆแทน รับรองสั้นกว่า TED Talk อีก ไม่น่ามีประเด็นอะไรต้องให้โอวาทมาก เพราะเท่าที่ผ่านมาในช่วงเป็นแฟนกัน ดูเหมือนเจ้าสาวผู้เป็นลูกศิษย์ผม เธอได้ใช้หลัก “tit for tat” ตาม game thoery ที่ Robert Axelrod ได้ว่าไว้จนสำเร็จ  นั่นคือ ถ้าฝ่ายหนึ่งดีด้วย เราก็ดีด้วย หากไม่ดีด้วย เราก็ไม่ดีด้วย แต่ต้องไม่เก็บมาแก้แค้น และไม่คิดแต่จะเอาชนะ ด้วยวิธีนี้ ก็จะเรียนรู้กันและกัน และปรับตัวเข้าหากันในที่สุด  การที่มีวันแต่งงานในวันนี้ได้ ก็บอกได้แล้วว่าทฤษฎีนี้ได้ผลจริง อีกอย่าง ผมเป็นคนให้เธอยืมหนังสือของ Robert Axelrod เองแหละ ได้ยินว่า เอาวางไว้ข้างที่นอนเลย”

เสียงหัวเราะของแขกในงาน ทำให้เจ้าบ่าวใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง 

“เดี๋ยวหนูคืนหนังสือให้นะคะ” เจ้าสาวหันไปพูด

“ไม่ต้องละ คุณเก็บไว้ หลักการนี้มันต้องใช้ไปตลอดชีวิตคู่  ถือว่าหนังสือเป็นของขวัญชิ้นหนึ่งละกัน” ท่านอาจารย์พูด และกล่าวต่อ

“ถึงแม้ตามสถิติชีวิตแต่งงานมีความเสี่ยงสูง แต่เราบริหารความเสี่ยงให้น้อยลงได้ อย่างแรกที่สำคัญมากคือ อย่าไปแสวงหาความ perfect ที่ไม่มีจริง เอาแค่ ไปถึง “Nash Equilibrium” ก็พอ”  ท่านอาจารย์หันหน้าไปมองเจ้าสาว เธอสบตา แล้วรู้ว่าอาจารย์ของเธอต้องการอะไร : อาจารย์ต้องการให้เธอเป็น “ดอกจัน” หรือ footnote นั่นเอง

“Nash Equilibrium นะคะ คือ สภาวะใน Game Theory ที่ผู้เล่น ซึ่งในที่นี้มีสองฝ่าย อาจจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการหมด แต่ประนีประนอมกันได้ในระดับหนึ่ง และสามารถอยู่ในสภาพสมดุลนี้ไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอีก เพราะมันดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว” เจ้าสาวอธิบาย

อาจารย์พยักหน้า “นั่นแหละ ต้องยอมถอยกันคนละฝ่าย ถอยในประเด็นที่ถอยได้ เหลือแต่ความเป็นตัวตน อันนี้ไม่ต้องถอย เพราะเราจะไม่มีตัวตนเหลือ และอย่าไปคิดใช้ dominant strategy ที่คิดจะเอาชนะอีกฝ่ายให้ได้ ชีวิตคู่ไม่ใช่ zero sum game ไม่ใช่ “Game of Chicken” ที่เหมือนกับวัยรุ่นขับรถพุ่งเข้าหากัน ใครกลัว หรือ chicken out คือ หลบก่อน เป็นคนแพ้ นั่นคือ “คนมีเหตุผลแพ้  คนไม่แคร์ชนะ”  ซึ่งการแต่งงานควรจะเป็น cooperative game ที่มีการร่วมมือกันเพื่อไปสู่จุดหมาย ไม่ใช่เป็นหนังซีรีส์ที่มีแพ้-ชนะ เป็นยกๆ”

“นักคณิตศาสตร์พิสูจน์กันแล้วครับว่า ในระยะยาว อย่างชีวิตการแต่งงานนั้น  การใช้ cooperative strategy เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย ถ้าจะเป็น dominant strategy ค่อยเหมาะกับคนที่คุณจะเจอครั้งเดียวแล้วไม่เจออีก ประเภท one night stand - แต่นั่นแหละ ก็ยังมีคนชอบใช้ dominant strategy กับชีวิตคู่ ซึ่งคุณอาจจะ win the battle ในวันนี้ บนความเสียใจของอีกฝ่าย แต่คุณจะ lose the war ในวันหลัง และวันสุดท้ายของสงครามกลางเมือง หรือที่จริง “สงครามกลางบ้าน” นั้น จะไม่มีใครชนะจริงเลย”



เจ้าบ่าวแอบชำเลืองสำรวจสีหน้าของแขกที่มางาน - ยังฟังอยู่..พอมีสาระ.. น่าจะรอดๆ.. เขาคิด

“สาเหตุที่เรามักจะคิดเอาชนะกัน ก็เพราะเราคิดเรื่องแฟร์ไม่แฟร์ นี่แหละครับ ผมขอใช้หลัก “Comparative Advantage” ทางเศรษฐศาสตร์ มาใช้ขจัดความกังวลเรื่องใครเสียสละมากกว่าใคร” ว่าแล้ว อาจารย์ก็หันหน้าไปทางเจ้าสาวผู้เป็นลูกศิษย์

เธอพยักหน้า และรับบท footnote ทันที “Comparative Advantage นะคะ คือหลักการที่ว่า ต่างคนต่างมีความสามารถคนละแบบ และเอาความชำนาญนั้นมาแลกเปลี่ยนกัน แทนที่จะมาแย่งแข่งในเรื่องที่ชำนาญเหมือนกัน”

อาจารย์กล่าวต่อ “ในสมัยโบราณนั้น comparative advantage มีโดยธรรมชาติ คิอผู้ชายทำงานข้างนอก ผู้หญิงทำงานบ้าน แต่สมัยนี้ ผู้หญิงผู้ชายเก่งเท่ากันแล้ว ทำให้เกิดปัญหาประเภท”ฉันทำมากกว่าเธอ”  เราจึงควรหลีกเลี่ยงการแบ่งงานเชิงปริมาณ เช่น ทำคนละครึ่ง เพราะนั่นเท่ากับว่าเราต้องมาตรวจนับว่าแต่ละคนทำถึงครึ่งหรือไม่ ซึ่งก็ชวนทะเลาะกันอีก แต่ถ้าเราตกลงแบ่งงานในสิ่งที่แต่ละคนถนัด ก็ไม่ต้องมาระแวง มาคอยนับ คอยจับผิด ทำนองเดียวกับการค้าระหว่างประเทศ ที่ถ้าต่างคนต่างผลิตและขายของที่ตนถนัด การขาดดุลการค้าก็ไม่ใช่เรื่องเสียเปรียบอะไร” 

เสียงแขกในงานพึมพำดูเหมือนเห็นด้วย เจ้าบ่าวเริ่มคลายเครียด ส่วนเจ้าสาวของเขาทำท่าจดจ่อเหมือนกับนักเรียนฟัง lecture มากกว่าจะวางท่าเป็นเจ้าสาวบนเวทีแต่งงาน

“ในหนังสือ The Mathematics of Love ของ Hannah Fry สรุปงานวิจัยที่บอกไว้ครับว่า เวลามีเรื่องผิดใจกัน การมานั่งคุยเพื่อความเข้าใจกัน จะเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จของชีวิตคู่ ถ้าเก็บไว้ในใจ มันจะสะสมจนถึง critical mass และบันดาลความเสียหายฉับพลันได้ ดังนั้น การพยายามเก็บปัญหาไว้ จะไม่เป็นผลดี อันเป็นธรรมชาติว่าด้วย stability breeds instability หรือที่ว่า ความดูเหมือนเสถียรภาพนั้น ที่จริงคือ การบ่มเพาะความไร้เสถียรภาพ”

“และเวลาพูดคุยกันนั้น ที่สำคัญมากคือ อย่าลืมเรื่อง “Prosecutor’s Fallacy” ซึ่งเป็นสาเหตุร้ายอันดับหนึ่งในการผิดใจกัน” พูดจบ อาจารย์หันไปทางเจ้าสาว

“ค่ะ เอาสั้นๆนะคะ Prosecutor’s Fallacy คือ ความเข้าใจผิดว่า ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ a จากการเกิดของเหตุการณ์ b เป็นอย่างเดียวกันกับ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ b จากการเกิดของเหตุการณ์ a ซึ่งไม่ถูกต้อง…”

“เช่น..” อาจารย์พูดต่อ “..ภรรยาสรุปทันทีว่า สามีห่างเหินไป หมายถึงมี something แน่ เพราะการมี something ย่อมทำให้สามีห่างเหิน ซึ่งคิดอย่างนี้ไม่เป็นตรรกะ เพราะถึงแม้ว่า การแอบไปมีกิ๊กทุกเคส ทำให้สามีห่างเหินกับภรรยาก็จริง ก็ไม่ได้หมายความว่า การห่างเหินทุกเคสจะต้องมีกิ๊กเสมอไป เขาอาจจะมีปัญหาในใจให้ขบคิด หรือกำลังซึมเศร้าจากงานก็ได้ การด่วนสรุปจึงเป็นการมโนไปเอง ทั้งที่จริงๆไม่มีอะไรเลย”

อาจารย์หยุดพูดชั่วอึดใจ และชูแก้วในมือขึ้นมา “เอาละครับ ผมขอเชิญท่านผู้มีเกียรติ ดื่มให้กับคู่บ่าวสาว“

การดื่มตามด้วยเสียงไชโยสามครั้ง และแล้วก็ถึงช่วงสุดท้ายของงาน เจ้าสาวหันหลัง ในมือถือช่อดอกไม้กำใหญ่ผูกโบว์ ทุกคนนับพร้อมกัน หนึ่ง-สอง-สาม และเธอโยนช่อดอกไม้นั้นออกไป

ช่อดอกไม้นั้นละลิ่วลอยตกลงในมือของเพื่อนเจ้าสาวคนหนึ่ง ที่รอรับได้อย่างเหมาะเจาะ “เมื่อไหร่? เมื่อไหร่?” เป็นคำถามจากโฆษก ตามด้วยเสียงโห่ร้องของเพื่อนๆ

“ตอนนี้รอ 37% ก่อนค่ะ” เพื่อนเจ้าสาวคนนั้นตอบ …….


About the Author

สุรพร เกิดสว่าง (เม่น)
background จากการศึกษาและทำงานด้าน การเงินการธนาคาร เศรษฐศาสตร์ และ IT เชื่อว่าคนเราสามารถหาความสุขได้ง่ายๆจากความอยากรู้อยากเห็นและความสงสัย นอกจากการอ่านและเขียนแล้ว เขาใช้ชีวิตกับกิจกรรม outdoor หลากหลายชนิด



Create Date : 16 สิงหาคม 2560
Last Update : 16 สิงหาคม 2560 13:05:44 น. 1 comments
Counter : 1721 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:40:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]