Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

รำลึก........ตุลาลัย (เขียนให้คิด) เฉลิมชัย ยอดมาลัย



ขียนให้คิดได้น่าสนใจ เลยเอามาฝาก




เฉลิมชัย ยอดมาลัย

รำลึก........ตุลาลัย (เขียนให้คิด)


แมงเม่าเจ้าร่วงจากฟ้า ลงมาสู่ดินสิ้นสูญ

ร่างเจ้าทับถมเพิ่มพูน เกื้อกูลแมกไม้ให้งาม

แมงเม่าเจ้าร่วงจากฟ้า ลงมา ลงมาหนึ่ง สอง สาม

สี่ ห้า หก เจ็ด ร่วงตาม เจ้าอยากทวงถามเรื่องใด

ถามถึงเรื่องสั้นสั้น ที่เจ้าเคยฝันทิ้งไว้

หรือว่าถามถึงเรื่องที่เก่าไกล ซึ่งไม่มีใครจดจำ


(เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)





ตุลาฯ ความหวังหรือความหลัง

วันที่ 14 ตุลาคม 2516 คือเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือวันที่พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยให้สังคมไทยและสังคมโลกได้ตระหนักรู้ในพลัง บริสุทธิ์ของนิสิตนักศึกษาปัญญาชน พลังบริสุทธิ์นี้เองที่เป็นกลไกสำคัญยิ่งตัวหนึ่ง ที่ทำให้รัฐบาลทรราชต้องพ้นไปจากอำนาจที่ยึดครองไว้ยาวนานหลายปี

ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไปคงจำได้ดีว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาฯคือวันที่มีผู้คนมากมายถึงห้าแสนคนได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลถนอม-ประ ภาส (จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร) โดยมีนิสิตนักศึกษาเป็นหัวหอกนำขบวน

ช่วงยามแห่งเดือนตุลาคมหรือพูดให้ตรงประเด็นก็คือวันที่ 14 ตุลาฯ เปรียบเสมือนความหวังอันรุ่งโรจน์ของสังคม ที่เชื่อมั่นว่าพลังบริสุทธิ์จะเป็นพลังที่ต่อสู้เพื่อขจัดความเลวร้ายทางกา รเมืองให้หมดไป

แต่แล้วเดือนตุลาคมที่เกี่ยวข้องกับพลังบริสุทธิ์ก็กลายเป็นเพียงสายลมที่ พั ดผ่านแล้วเลยไป เพราะเพียงแค่คล้อยหลังไปไม่ถึง 10 ปี พลังบริสุทธิ์ก็ดูเสมือนว่าไม่สนใจใยดีกับความเป็นไปของบ้านเมืองอีกต่อไป ตุลาฯจึงกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความหลังมากกว่าความหวัง



ตุลาลัย ชัยชนะหรือสูญเสีย

ต่างคนต่างก็มีมุมมองเกี่ยวกับ14 ตุลาฯ หลากหลายผิดแผกกันไป บางกลุ่มอาจนึกถึงในแง่มุมด้านการต่อสู้ทางการเมืองของคนหนุ่มคนสาวหัวก้าวห น้า บ้างก็อาจหวนระลึกถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของนิสิตนักศึกษาปัญญาชน

แต่คนอีกมากมายกลับมองเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเหตุการณ์แห่งความสูญเสียและเจ็บ ป วด โดยเฉพาะคนที่ต้องสูญเสียบุคคลที่เขารักไปอย่างไม่มีวันเรียกกลับคืนมาได้ บางคนต้องกลายเป็นคนสติวิปลาส บางคนกลายเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

แน่นอนเหลือเกิน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ปรากฏการณ์ 14 ตุลาฯ คือความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของประชาชนธรรมดา เพราะมันคือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ประชาชนไทยจำนวนมากมายมหาศาล รวมตัวลุกขึ้นสู้กับอำนาจเผด็จการที่กดขี่ข่มเหงมายาวนาน

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หนึ่งในแกนนำขบวนการนิสิตนักศึกษาในครั้งนั้น เคยเขียนในเรื่องสั้นของเขาว่า "การต่อสู้ 14 ตุลาฯนั้น พูดอย่างถึงที่สุดก็เป็นเพียงบทโหมโรงของโศกนาฏกรรมอีกหลายอย่างที่ตามหลังม า" (ตุลาคมรำลึก ตุลาคม 2535)

"โดยตัวของมันเอง การพังทลายของรัฐบาลเผด็จการชุดหนึ่งมิใช่การแก้ปัญหาอะไรมากนัก หลากเป็นการเปิดช่องให้ความทุกข์โศกที่ถูกกักเก็บเอาไว้หลายทศวรรษได้ระเบิด ปะทุออกมาโดยปราศจากการปิดกั้น"

"เสรีภาพหลังวันที่ 14 ตุลาฯ มิใช่บทเพลงกล่อมเด็ก ไม่ใช่เทวีในชุดขาว หากเป็นคลื่นความร้อนที่แผ่ซ่านปกคลุมไปทั่วทั้งแผ่นดินไทย ผู้คนทุกหมู่เหล่าต่างเรียกหาส่วนที่หายไปของตนเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะหมายถึงเก้าอี้การเมือง กำไร ค่าแรง ที่ดินหรืออะไรก็ตาม"




14 ตุลาฯผ่านไป แต่สังคมไทยยังเหมือนเดิม

ก่อนยุค 14 ตุลาฯ สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำ มีคนยากคนจน มีคนทุกข์คนยาก มีคนลำบาก มีปัญหาข้าวยากหมากแพง มีรัฐบาลเผด็จการและมีการแบ่งชนชั้นในสังคม

แต่วันนี้ผ่านไปแล้ว 35 ปี สังคมไทยก็ยังคงมีความเหลื่อมล้ำ มีคนยากคนจนและดูเหมือนว่าจะยากจนหนักกว่าเดิมด้วย มีคนทุกข์ยากเต็มแผ่นดิน ปัญหาข้าวยากหมากแพงก็รุนแรงหนักกว่ายุคก่อน รัฐบาลยังคงเป็นเผด็จการไม่ต่างไปจากเดิม และที่สำคัญยังคงมีอภิสิทธิ์ชนเกลื่อนล้นเต็มแผ่นดิน นักการเมืองโกงกินก็มากหลาย ส่วนคนในสังคมก็ยังคงแบ่งเป็นชนชั้นตามเดิม นี่แสดงว่าไม่มีอะไรพัฒนาเลยหรือไรบนแผ่นดินผืนนี้

เด็กและเยาวชนรวมถึงผู้ที่ศึกษาอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งถือกำเนิดมาจากครอบครัวที่ร่ำรวยล้นฟ้า จำนวนมากของคนกลุ่มนี้ไม่เคยตระหนักและสำนึกว่าเมืองไทยมีคนอดอาหารจนเสียชี วิต เด็กบางคนนึกไม่ออกเสียด้วยซ้ำไปว่าคนยากคนจนมีสภาพอย่างไร

ฉะนั้นจึงไม่ต้องประหลาดใจที่สังคมไทยในวันนี้ จึงมีแต่เด็กและเยาวชนที่สวมใส่เครื่องแบบนิสิตนักศึกษา แต่ทว่าลึกๆ แล้วพวกเขาหาใช่ปัญญาชนไม่ เพราะคนกลุ่มนี้อาจจะมีความทรงจำอันดีเลิศ สามารถท่องบ่นและจดจำตำราได้มากมาย แต่ในเบื้องลึกแล้วเขาไม่สามารถใช้สติปัญญาเพื่อรับรู้ความทุกข์ยากที่เกิดข ึ้นในบ้านเมือง

ส่วนนายทุนก็ยังคงกดขี่ค่าแรงกรรมกรและคนงานโดยไม่เห็นแก่มนุษยธรรม นายทุนจำนวนไม่น้อยผันตัวเองเข้าสู่แวดวงการเมือง กลายเป็นนายทุนการเมืองไปโดยปริยาย ใช้ทุนเป็นบันไดตะกายสู่อำนาจรัฐ เมื่อมีอำนาจรัฐก็ใช้อำนาจนั้นกอบโกยแสวงหาทุนต่อไปโดยมิรู้จบ



ผู้ใหญ่ก็รอเด็ก เด็กก็รอผู้ใหญ่ ตกลงใครจะนำสังคมนี้


นิสิตนักศึกษาคือเยาวชนที่อาจจะอ่อนต่อโลก แต่เขาคือความหวังของสังคมไทย เป็นความหวังที่จะช่วยพาให้สังคมไทยก้าวไปในทางที่เจริญ

เสกสรรค์กล่าวว่าเคยสนทนากับอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ถามเสกสรรค์ว่า "คุณยอมรับไหมว่าตอนนั้นคุณพลาด"

เสกสรรค์ตอบว่า "ใช่ ผมพลาด แต่พวกเราเป็นใครเล่า ก็เด็กๆ ทั้งนั้น ผมก็อยากให้มีผู้ใหญ่มาคิดหาทางออกให้บ้านเมืองเหมือนกัน มาชี้ทางออก บอกทางไปให้พวกเรา แต่ตอนนั้นคนรุ่นท่านหายไปไหนกันหมด ไม่เห็นมีใครสักคนที่จะช่วยเราได้"

เมื่อพินิจพิเคราะห์บทสนทนานี้แล้ว ทำให้สะท้อนใจเหลือเกินว่า บ้านนี้เมืองนี้จะหวังพึ่งใครได้ ครั้นหวังจะพึ่งเด็กหรือคนรุ่นใหม่ เขาก็อาจจะด่วนได้ใจเร็วเร่งรีบจนเสียรูปการณ์ แต่ครั้นหวังจะพึ่งผู้ใหญ่ ก็รอไปด้วยความเลื่อนลอยและว้าเหว่ หรือว่าบ้านนี้เมืองนี้จะพึ่งได้ก็เพียงแค่พระสยามเทวาธิราชเจ้าเพียงเท่านั้น



ลมหายใจแห่ง 14 ตุลาฯ หมดสิ้นแล้วหรือ

ความภาคภูมิใจในวีรกรรมอันหาญกล้าของปัญญาชนคนรุ่นใหม่ในปรากฏการณ์แห่ง เดือ นตุลาฯ กลายเป็นประวัติศาสตร์ที่คนส่วนมากลืมเลือนจนนึกไม่ออก คนไทยหลายคนมองเหตุการณ์เดือนตุลาฯเป็นเสมือนแค่ฉากการต่อสู้ในละครน้ำเน่า นิสิตนักศึกษาหลายคนไม่เคยตระหนักว่าเหตุการณ์นี้สำคัญอย่างไร ไม่ต้องอะไรมาก ขนาดนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางคน ยังตอบข้อสอบวิชาที่สอนโดย ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ว่า "เหตุการณ์ 14 ตุลาคมเกิดขึ้นในปี 2519" บางคนก็เขียนว่า "เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2516" หนักไปกว่านั้นบางคนบอกว่า "14 ตุลาฯคือวันเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475"

ช่างเป็นเรื่องเศร้าสะเทือนใจเหลือเกิน แต่ไม่สามารถร้องไห้ได้ นี่ขนาดเป็นนักศึกษาในสถาบันชั้นเลิศของเมืองไทย ยังตอบได้เช่นนี้ แล้วจะยังมีหวังอันใดเหลือไว้บนแผ่นดินนี้บ้าง

เสกสรรค์ประเมินว่า แรงเหวี่ยงทางประวัติศาสตร์ของ 14 ตุลาฯนั้นยาวนานประมาณ 8 ปี เริ่มต้นอย่างก้องกระหึ่มเมื่อ 2516 แล้วแผ่วหายไปในปี 2524 ระหว่างกลางเป็นเพียงลีลาที่วูบไหวในประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่แน่ใจว่าหักเหไปในทิศทางใด

นักศึกษาที่เป็นหัวหอกนำการเดินขบวนเรียกร้องเสรีภาพ เป็นปากเป็นเสียงให้คนยากคนจนกลับถูกฝ่ายที่สูญเสียอำนาจรัฐติดตามไล่ล่าหมา ยเอาชีวิต หลายคนต้องเข้าป่าหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ผู้ที่ต้องหลบหนีเข้าป่าหลายคนไม่สามารถเอาชีวิตรอดกลับมาได้อีก ศพของนิสิตนักศึกษาจำนวนมากถูกฝังอยู่ในเขตป่า หลายคนต้องทนสู้กับอำนาจรัฐอย่างยาวนานกว่าจะกลับออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอี กครั้ง

โรคประจำตัวอย่างหนึ่งที่ปัญญาชนซึ่งเคยผันตัวเองไปเป็นนักรบในแดนป่าอย่าง เ สกสรรค์บอกกับสังคมคือ โรคกลัวการพลัดพราก ซึ่งอาจเกิดมาจากการได้พบเห็นความตายและความผันผวนของโลกมาจนเกินไป

ผู้ซึ่งผ่านเวทีชีวิตในป่า หลังเหตุการณ์เดือนตุลาฯหลายคนบอกตรงกันว่า แม้เมืองไทยจะผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ และพฤษภาทมิฬ 35 มาแล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นว่าสังคมไทยจะพัฒนาไปได้ดังใจหวัง

นักรบป่าหลายคนบอกว่าไม่เคยเสียใจกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจกระทำลงไปเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ก็รู้สึกสะท้อนใจเหลือเกินเมื่อเห็นว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับบ้านเมืองของเรายังคงไม่ต่างไปจากเหตุการณ์ก่อน 14 ตุลาฯ บางคนบอกว่าแม้สังคมไทยจะผ่านความสูญเสียอย่างมหาศาลมาแล้วหลายครั้ง แต่สุดท้ายมันก็คล้ายจะกลับไปเป็นดังเดิม เหตุการณ์เดือนตุลาฯและสงครามประชาชนอาจไม่ช่วยให้ผู้คนบนแผ่นดินนี้เรียนรู ้อะไรเลยกระมัง


ตุลาคมมิได้เป็นเพียงปฏิทินประวัติศาสตร์
แต่หากคือตำนานชีวิตหลากสีสัน
ทั้งสวยงามและเศร้าหมอง เช่นกับฤดูใบไม้ร่วง



แมงเม่าเจ้าร่วงจากฟ้า ลงมาสู่ดินสิ้นสูญ

ร่างเจ้าทับถมเพิ่มพูน เกื้อกูลแมกไม้ให้งาม



เฉลิมชัย ยอดมาลัย


มาจาก //www.naewna.com/news.asp?ID=125334

ส่งโดย: ppom






Create Date : 28 กันยายน 2551
Last Update : 28 กันยายน 2551 19:54:05 น. 0 comments
Counter : 1626 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]