อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ตาบอดเนื้อตาย ภัยร้ายจาก ฟิลเลอร์

การใช้ สารเติมเต็ม หรือ ฟิลเลอร์ สำหรับรักษาปัญหาผิวพรรณนั้น ใช้หลักการ คือ ผิวหนังซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือใยคอลลาเจน มีหน้าที่สำคัญโดยเป็นองค์ประกอบที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่ผิว หนัง ทำให้ผิวพรรณมีรูปทรงเต่งตึง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่วัยชรา พบว่าใยคอลลาเจนจะค่อย ๆ มีจำนวนลดน้อยลง มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผิวหนังจะมีลักษณะบางลง เกิดริ้วรอยริ้วรอยเหี่ยวย่น เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าวจึงมีความพยายามหาทางแก้ไขโดยการฉีดสารจากภายนอกเข้า ไปในผิวหนังเพื่อทดแทนใยคอลลาเจนที่สลายไปหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฟิลเลอร์”

177518186

ชนิดของ ฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ได้แก่

  1. แบบชั่วคราว (temporary filler) มีอายุใช้งานประมาณ 4 – 6 เดือน แต่มีความปลอดภัยสูง สลายตัวได้เองตามธรรมชาติ เช่น กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid, HA)
  2. แบบกึ่งถาวร (semi permanent filler) มีอายุใช้งานประมาณ 2 ปี มีความปลอดภัยปานกลาง
  3. แบบถาวร (permanent filler) เช่น ซิลิโคน หรือ พาราฟิน หลังฉีดแล้วจะอยู่ในผิวตลอดไป ไม่สลายตามธรรมชาติ มักพบผลข้างเคียงระยะยาว

ฟิลเลอร์ที่ใช้ฉีด เข้าใต้ผิว เพื่อเพิ่มปริมาตรของใบหน้า ทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ หรือเพื่อลดริ้วรอยบนใบหน้าชนิดที่เป็นร่องลึกนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ กรดไฮยาลูโรนิก เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉื่อย ไม่ทำให้เกิดการแพ้ มีความคงตัว และอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน อีกทั้งยังสามารถเสื่อมสลายไปเอง ไม่เกิดปัญหาสะสมในร่างกาย

ในประเทศไทยมีเพียงกรดไฮยาลูโรนิกเท่านั้น ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณสมบัติของ ฟิลเลอร์

กรดไฮยาลูโรนิกที่ใช้ เป็นสารเติมเต็มจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้น ขนาดโมเลกุล โครงสร้าง และความแข็งของสาร สารที่มีขนาดของโมเลกุลเล็กจะเหมาะกับการใช้รักษาริ้วรอยตื้น ๆ และคงอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6 เดือน ในขณะที่สารที่มีขนาดของโมเลกุลใหญ่จะใช้สำหรับการเพิ่มปริมาตรของใบหน้า และการรักษาริ้วรอยหรือร่องขนาดลึก ซึ่งจะคงอยู่ในร่างกายได้นาน 6-12 เดือน ริ้วรอยที่นิยมใช้การฉีดสารเติมเต็มเพื่อรักษา เช่น รอยย่นบริเวณหว่างคิ้ว รอยตีนกา และรอยย่นบนหน้าผาก สารเติมเต็มยังสามารถเพิ่มปริมาตรของใบหน้าบริเวณแก้ม ร่องแก้ม และบริเวณอื่น ๆ ได้ด้วย

ข้อชี้บ่งของ ฟิลเลอร์

สำหรับการรักษาปัญหา ผิวพรรณในปัจจุบัน ฟิลเลอร์จะถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย เราสามารถใช้ฟิลเลอร์กับการรักษาปัญหาผิวพรรณได้โดยการแก้ไขปัญหาริ้วรอยของ ผิวอันเนื่องมาจากวัย เช่น ริ้วรอยบริเวณหน้าผาก หางตา และร่องแก้มโดยการฉีด ฟิลเลอร์จะสามารถเติมเต็มใยคอลลาเจนที่หายไป ทำให้ริ้วรอยบริเวณดังกล่าวตื้นขึ้น สภาพผิวดูดีขึ้น การแก้ไขปัญหาแผลเป็นชนิดผิวบุ๋ม เช่น การเกิดแผลบุ๋มจากสิวอักเสบ เป็นต้น กรณีดังกล่าวนี้ สามารถใช้ฟิลเลอร์เติมเต็มทำให้แผลบุ๋มดีขึ้น อย่างไรก็ตามต้องเลือกชนิดแผลผิวบุ๋มที่เหมาะสมต่อการรักษา โดยแผลนั้นต้องไม่มีพังผืดในบริเวณใต้แผลบุ๋ม มิฉะนั้นผลการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร และการใช้ฟิลเลอร์ฉีดเพื่อเสริมเนื้อเยื่อผิวหนังให้มีลักษณะนูนเต็มขึ้น กว่าเดิม (augmentation) เช่น เสริมจมูก เสริมคาง ริมฝีปาก หรือฉีดเพื่อทำให้รูปทรงของหน้าดูอวบอิ่มกว่าเดิม

ผลข้างเคียงของ ฟิลเลอร์

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่

  1. เกิดผื่นแดงบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ หรือรอยช้ำบริเวณฉีดซึ่งหายได้เอง
  2. การเกิดรอยนูน หรือผิวไม่เรียบเนื่องจากเทคนิคการฉีดที่ตื้นเกินไป หรือเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม และอาการแพ้กรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งขึ้นอยู่กับปฎิกิริยาของร่างกายผู้ได้รับการฉีดเอง
  3. เกิดปัญหาการเคลื่อนย้าย (migration) เช่น ฉีดดั้งจมูกแล้วฟิลเลอร์เคลื่อนไหลไปที่ปลายจมูก ดังนั้นถ้าต้องการฉีดฟิลเลอร์เพื่อเสริมคางหรือจมูก ต้องเลือกฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เพื่อให้ฟิลเลอร์ชนิดนั้นมีความหนืดเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดปัญหาการเคลื่อนย้ายจากบริเวณที่ฉีด และทำให้มีอายุใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
  4. อาการแพ้สารฟิลเลอร์ที่ให้ลักษณะเป็นก้อนนูนแดงอักเสบ อาการแพ้ชนิดนี้บางครั้งอาจพบได้ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็น เวลาหลาย ๆ เดือนหรือเป็นปี ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับอายุใช้งานของฟิลเลอร์ชนิดนั้นๆ
  5. การที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่งโดยฉีดเข้าไปในหลอดเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดเนื้อตายบริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยง หรือฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดตาบอด เนื่องมาจากฟิลเลอร์ที่ฉีดเกิดไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ซึ่งขณะนี้พบในประเทศไทยและต่างประเทศแล้ว

ปัจจุบันมีวารสารทาง การแพทย์อย่างน้อย 41 เรื่อง รายงานผู้ป่วยรวมถึง 61 ราย ที่เกิดผลข้างเคียงอย่างรุนแรงหลังการฉีดสารเติมเต็ม โดยตำแหน่งที่ฉีดแล้วทำให้เกิดเนื้อตายได้บ่อยที่สุดคือ จมูก (33.3%) และร่องแก้ม (31.2%) และตำแหน่งที่ฉีดแล้วทำให้เกิดตาบอดได้บ่อยที่สุดคือ หว่างคิ้ว (58.3%)และร่องแก้ม (33.3%)จากวารสารทางการแพทย์พบมีรายงานผู้ป่วยตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์ใน ประเทศเกาหลี 44 ราย และในสหรัฐอเมริกา 3 ราย ในประเทศไทยไม่เคยมีรายงานในวารสารทางการแพทย์ แต่มีการยืนยันผู้ป่วยแล้ว 8 ราย

156621161

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังสำหรับการเลือกใช้สารเติมเต็มเพื่อความสวยงาม คือ

  1. ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนทุกครั้ง
  2. เลือกใช้บริการกับคลินิกที่มีมาตรฐานและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล (ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ กฎกระทรวงว่าด้วยการประกอบกิจการสถานพยาบาล พ.ศ. 2545) อย่างถูกต้อง
  3. ไม่ควรใช้สารอื่น ๆ ที่ไม่แน่ใจในมาตรฐานและความปลอดภัยมาฉีดเป็นอันขาด

คำเตือน

ขอเตือนผู้ที่อยากมาฉีดสารเติมเต็มโดยเฉพาะการฉีดเสริมดั้งจมูกหรือในส่วน อื่น ๆ ของร่างกาย ขอให้พิจารณาศึกษาหาข้อมูล ทั้งสถานที่ที่จะรับบริการ สารที่แพทย์จะฉีดให้ และตัวแพทย์ที่ฉีดด้วย ถึงแม้ว่าผลข้างเคียงที่ร้ายแรงพบได้ไม่บ่อย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีอันตรายมาก และแม้ว่าสารที่ฉีดได้มาตรฐานผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้เครื่องมืออุปกรณ์การฉีดที่ได้มาตรฐาน แต่ผู้ที่ฉีดขาดความชำนาญ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีความชำนาญฉีดถูกต้องตามหลักวิชาทุกประการ แต่ผู้รับบริการที่ลักษณะทางกายวิภาคผิดไปจากที่ควร (เช่น อาจได้รับอุบัติเหตุมีพังพืด หรือเคยเสริมจมูกมาแล้ว) หรือเป็นความแปรผันของเส้นเลือดที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็เป็นสาเหตุของผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้

ในประเทศไทยได้จัด ประเภทของสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์ไว้เป็นยา การนำเข้าต้องผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งได้รับเพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งฟิลเลอร์ทั้งหมดที่ผ่านการรับรองจาก อย. ในปัจจุบันจะเป็นกรดไฮยาลูโรนิกทั้งสิ้น โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลของสารเติมเต็มที่ได้ อย. หรือที่เว็บไซต์ //fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp?id=drug สารเติมเต็มนอกเหนือจากนี้ ถือเป็นสารเติมเต็มที่ผิดกฎหมาย

การฉีดสารเติมเต็ม ต้องฉีดโดยแพทย์เท่านั้น

คำแนะนำ

การฉีดสารเติมเต็ม ควรฉีดในสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์พร้อม มีความสะอาด และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยต้องตรวจสอบหลักฐานสำคัญ เช่น

  1. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
  2. ต้องมีรูปถ่ายติดไว้ที่ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เห็นอย่างชัดเจน และ
  3. แพทย์ที่ให้การตรวจรักษาจะต้องตรงกับรูปถ่ายที่ติดไว้หน้าห้องตรวจในคลินิก
หากเข้าไปใช้บริการแล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว หรือไม่ครบถ้วน ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นสถานพยาบาลเถื่อน ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนคุ้มครองผู้รับบริการสุขภาพ โทร.0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมงหากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามที่ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย โทร. 02-716-6857 เว็บไซต์ www.dst.or.th หรืออีเมล์ contact@dst.or.th
ขอบคุณที่มาจาก : สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประทศไทย
 รศ. พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา
ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
c b Sushada.ch Z วิธีรักษาสุขภาพ



Create Date : 22 ธันวาคม 2557
Last Update : 22 ธันวาคม 2557 9:23:18 น. 1 comments
Counter : 1050 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:16:26:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.