Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เป็นเบาหวานทำไมต้องตัดขาตัดเท้า? การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน (นำมาฝาก)

 

เป็นเบาหวานทำไมต้องตัดเท้า?
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 100 คน จะเกิดแผลที่เท้า 10 คน  และ 4 คน ที่จะต้องถูกตัดขา และ 1-2  คนที่ได้รับการผ่าตัดครั้งแรก จะต้องผ่าตัดครั้งที่สองอีกภายใน 5 ปีต่อมา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวานมีอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมามากกว่า 10 ปี พบว่าหากเป็นเบาหวานนาน 25 ปีขึ้นไป มีโอกาสต้องถูกตัดขาสูงถึงร้อยละ 11
- เป็นชาย เสี่ยงกว่าเพศหญิง
- อายุที่เกิดมักจะเกิน 65 ปี
- คุมเบาหวานไม่ดี น้ำตาลสูงทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี
- การสูบบุหรี่
- มีโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ

โดยปกติเมื่อเป็นแผลและเกิดการติดเชื้อ ร่างกายจะมีเม็ดเลือดขาวคอยไปกำจัดแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย แต่เพราะเส้นเลือดที่ขาจะยาวกว่าเส้นเลือดที่แขน ทำให้โอกาสที่เส้นเลือดจะผิดปกติมีมากกว่า เมื่อเส้นเลือดตีบตัน เลือดที่ไปเลี้ยงปลายขาก็จะน้อยลง ถ้าเกิดเป็นแผลแม้จะเป็นเพียงแผลเล็กๆ แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อจะทำให้แผลเน่าเร็วขึ้น เพราะเม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าไปกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ เมื่อผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้า แผลจึงมักหายยากและเรื้อรัง ลุกลามได้ง่าย จึงเป็นต้นเหตุในการตัดขา ซึ่งพบสูงถึง 15-40 เท่าของผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย
1.การเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งรับความรู้สึก ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือโดนวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงหรือการกดรัดที่เท้า จึงเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
2.โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน เมื่อมีการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น เดินแล้วปวดเท้า คลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้า มีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า (การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น)
3.การติดเชื้อง่าย ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ระดับน้ำตาลสูง จะทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อโรคลดลง
4.ภาวะเส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ไม่มีเหงื่อออกผิวหนัง ผิวหนังแห้ง คัน หากเกาอาจมีแผลแตกและติดเชื้อได้ง่าย

สัญญาณที่แสดงว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า
- ขน ที่เท้าหรือขา จะน้อย
- สีของผิวเปลี่ยนไปเช่นคล้ำขึ้น หรือ ซีด
- อุณหภูมิของผิวหนัง ร้อนขึ้น หรือ เย็นลง อุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
- เท้าบวม คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
- ปวดขา เวลาเดินได้ซักระยะหนึ่ง ต้องหยุดพัก เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเดินได้น้อยลง
- แผลที่เท้าหายช้า
- เล็บหนาตัว เล็บขบและมีเชื้อราที่เล็บ

โดยทั่วไปในคนที่เป็นเบาหวานแล้วมีแผลเกิดขึ้น แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยยังทำการตรวจพิเศษอีกอย่างหนึ่งควบคู่ไปด้วย นั่นคือ ตรวจวัดความดันของหลอดเลือดที่ขาเทียบกับที่แขนหรือที่เรียกว่า ABI ซึ่งจะเป็นการคัดกรองผู้ป่วยว่ามีภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันหรือไม่ โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0.9-1.4ซึ่งหากพบว่าค่า ABI ต่ำกว่า 0.9 แสดงว่าผู้ป่วยอาจจะมีภาวะหลอดเลือดตีบตันเกิดขึ้นแต่ถ้าต่ำกว่า 0.4 หมายความว่าโอกาสที่ผู้ป่วย จะต้องถูกตัดขานั้นค่อนข้างสูง



การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน

•    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ใกล้เคียงกับปกติ ซึ่งจะช่วยให้เส้นประสาทรับความรู้สึกและระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

•    ลดน้ำหนักตัว เพราะยิ่งมีน้ำหนักตัวมากเกินก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

•    งดบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

•    เพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่เท้า ด้วยการบริหาร
- บริหารขา ยืนเกาะขอบโต๊ะ แกว่งขาไปด้านหน้า ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วแกว่งไปด้านหลังค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
- บริหารน่อง นั่งเก้าอี้ กระดกปลายเท้าขึ้นจนรู้สึกน่องตึง นับ 1-10 แล้วเหยียดปลายเท้าลง นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
- บริหารเท้า ด้วยการ ขยับหมุนข้อเท้า และ งอเหยียดนิ้วเท้า บ่อย ๆ

•    ไม่ควรนั่งพับเพียบ คุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ ไขว่ห้าง เพราะเส้นเลือดที่อยู่ในข้อพับถูกกด ทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าได้ไม่ดี

•    หมั่นสังเกตเล็บเท้า และผิวหนังของเท้า เป็นประจำทุกวัน อาจใช้กระจกส่องบริเวณส้นเท้า ฝ่าเท้าก็จะทำให้มองเห็นได้ง่ายและทั่วทั้งเท้า ถ้าไม่แน่ใจว่ามองเห็นได้ทั่วหรือไม่ ก็ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยดูให้ ถ้าพบว่าผิวหนังผิดปกติ เช่น มีสีแดง มีรอยฟกช้ำ รอยแผล ผิวหนังบวม  ผิวหนังนูนแข็ง หรือ ตาปลา  ไม่ควรรักษาเอง ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจ บางครั้งอาจต้องผ่าตัดหรือถ่ายภาพรังสี ดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในแผลด้วยหรือไม่

•    ล้างเท้าด้วยสบู่อ่อน ๆ และ น้ำอุ่น ในตอนเช้าและก่อนนอน แล้วเช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะ ง่ามนิ้วเท้า และ ส้นเท้า อาจทาแป้งเพื่อป้องกันความชื้น ถ้าผิวแห้งมากก็ทาครีมบำรุงผิว แต่ไม่ควรทาครีมในง่ามนิ้วเท้าเพราะจะทำให้ผิวหนังเปียกชื้นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

•    ตัดเล็บเท้าบ่อย ๆ ใช้ตะไบขอบเล็บให้เรียบ ไม่คม  พยายามตัดเล็บในแนวตรง ไม่ควรตัดเล็บเป็นแนวโค้งเข้าไปลึก ๆ  ถ้าเล็บแข็งและตัดยาก อาจแช่ในอ่างน้ำอุ่นก่อนประมาณ 15 - 20 นาที จะช่วยทำให้เล็บนิ่มลงและตัดง่ายขึ้น

•    ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้ว่าจะอยู่ในบ้าน ควรใส่รองเท้าแตะ ที่มีพื้นแข็งเพื่อป้องกันการเกิดแผล

•    เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เช่น ขนาดพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป ปลายรองเท้ากว้าง พอให้นิ้วเท้าขยับเคลื่อนไหวได้

•    ไม่ควรสวมรองเท้าคู่เดียวตลอดทุกวัน ควรจะมีอีกคู่ ใส่สลับกัน ทุก 2-3 วัน เพื่อลดความอับชื้น

•    ควรเปลี่ยนรองเท้าในช่วงเวลาแต่ละวัน เช่นช่วงเช้าใส่รองเท้าคู่ที่หนึ่งไปทำงาน เวลาเที่ยงให้เปลี่ยนใส่รองเท้าคู่ที่สอง ในช่วงเย็นก็เปลี่ยนเป็นรองเท้าใส่ในบ้าน เพื่อช่วยให้เท้าไม่ถูกกดหรือรัดในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานานและเกิดแผลกดทับ

•    ควรใส่รองเท้าไม่มีส้น หรือ ส้นสูงไม่เกิน 1 นิ้ว เพราะถ้าใส่ส้นสูงเกินไป ก็จะทำให้น้ำหนักไปลงที่ปลายเท้ามากขึ้น

•    ควรใช้รองเท้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือ รองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น รองเท้าผ้าใบ รองเท้าหนังสัตว์

•    ควรใส่ถุงเท้าอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเสียดสีกับรองเท้า ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้ายจะนุ่มและระบายอากาศได้ดี

•    ตรวจสอบรองเท้าก่อนสวมใส่ ว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่

•    ผู้ที่มีรูปเท้า นิ้วเท้า ผิดปกติ ควรใส่รองเท้าที่ออกแบบและตัดเฉพาะคน (custom-designed shoes) ตามลักษณะเท้า


...........................................



6 วิธี ดูแลเท้าสกัดแผล “เบาหวาน”
หมอแนะ 6 วิธีดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันการเกิดแผลแบบไม่รู้ตัว เหตุเลือดเลี้ยงน้อย ปลายประสาทเสื่อม ชี้หากลุกลามอาจถูกตัดขา

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักพบภาวะแทรกซ้อนตามระบบและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาและวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ระยะแรก ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะต่างๆ โดยผู้ป่วยควรสังเกตความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะเท้า เพราะเมื่อเป็นเบาหวานมานานจะทำให้เส้นเลือดส่วนปลายที่มาเลี้ยงขาและเท้าตีบ ร่วมกับมีการเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้มีโอกาสเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย

เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณแผล จึงมีโอกาสเกิดการลุกลามและเรื้อรังของแผล นำไปสู่การตัดขาในที่สุด ทั้งนี้ ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเบาหวานมีประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า จำนวนนี้ร้อยละ 14-24 ต้องถูกตัดขา ดังนั้น การป้องกันการเกิดแผลที่เท้าจะช่วยลดอัตราการตัดขา ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลระยะยาว

นพ.สุพรรณกล่าวว่า ผู้ป่วยเบาหวานชายมีความเสี่ยงเกิดแผลที่เท้ามากกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ระยะเวลาการเป็นเบาหวานนานกว่า 15 ปี ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคลดลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ได้แก่ ภาวะทางหัวใจ ทางสายตามีปัญหาการมองเห็น และทางไต มีความผิดปกติของเส้นประสาทและเส้นเลือดส่วนปลาย ได้แก่ การชาปลายมือ ปลายเท้า ทำให้ประสาทสัมผัสการป้องกันการเกิดแผลเสียไป เท้าผิดรูป ทำให้การลงนํ้าหนักที่เท้าผิดปกติ การสูบบุหรี่มีผลทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เคยมีประวัติการเกิดแผลที่เท้ามาก่อน พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีแผลที่เท้ามาก่อน มีโอกาสการเกิดแผลที่ตำแหน่งเดิมภายในระยะเวลา 2-5 ปี

“วิธีดูแลเท้า คือ
1. อย่าเดินเท้าเปล่า เพราะถ้าเหยียบถูกของมีคม
หนามแหลมหรือของร้อน จะเป็นแผลแบบไม่รู้ตัว

2. การตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรงๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ

3. ถ้าเป็นหูดตาปลา หรือตุ่มน้ำที่เท้า ไม่ควรทำเอง ทั้งแกะ ตัดออก ใช้เข็มบ่งตุ่มพอง ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ชะแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซและพลาสเตอร์อย่างนิ่ม อย่าปิดด้วยพลาสเตอร์ธรรมดา

4. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ หลังจากทำกิจกรรมทุกครั้ง
โดยต้องเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตรงซอกเท้าและห้ามถูแรงๆ

5. อย่าสวมรองเท้าหรือถุงเท้ารัดแน่นเกินไป

6. หากพบอาการผิดปกติบริเวณเท้า เช่น สีของเท้าเปลี่ยนแปลง รู้สึกเจ็บปวด ไม่สบายเท้า ผิวหนังที่เท้าแตก หรือมีนํ้าเหลืองไหล เท้าบวม ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพราะหากรักษาช้าและไม่ถูกวิธีอาจถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง” อธิบดีกรมแพทย์กล่าว

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

*****************************

ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายจากโรคเบาหวาน หรือบางคนอาจเรียก “เบาหวานลงเท้า” ภาษาทางการแพทย์เรียก  diabetic polyneuropathy มีอาการแสดงได้หลากหลาย

ในระยะแรก บางรายจะมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือน โดนนํ้าร้อนลวกบริเวณเท้าทั้งสองข้าง หรือ บางรายอาจมีอาการปวดแปลบ ๆ คล้ายเข็มตำบริเวณเท้าหรือเหมือนโดนไฟฟ้าช็อต ส่วนใหญ่มักมีอาการตอนกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ถ้าเป็นรุนแรงก็อาจมีอาการทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางรายกลายเป็นโรคซึมเศร้า

อาการเหล่านี้สามารถรักษาหรือบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาร่วมกับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด

อย่างไรก็ตาม อาการ “เบาหวานลงเท้า” ที่พบบ่อยกว่า คือ อาการชา โดยเริ่มที่บริเวณเท้าทั้งสองข้างก่อน แล้วค่อย ๆ ลุกลามไปยังมือทั้งสองข้าง อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ความรุนแรงของอาการชามีตั้งแต่อาการน้อยมาก ๆ คือ ไม่รู้สึกว่าชา ต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์ ไปจนถึงอาการรุนแรง คือ ชามากจนไม่รู้สึกสัมผัส ซึ่งในบางรายอาจมีปัญหาต่อการเดินและการทรงตัว ทำให้หกล้มได้ง่าย

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลบทความนี้จะกล่าวเฉพาะอาการเท้าชา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เกิดในผู้เป็นเบาหวานได้บ่อยโดยเฉพาะเมื่อเป็นเบาหวานมานาน ๆ และควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก เกิดขึ้นจากระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม ทำให้สูญเสียประสาทรับความรู้สึก ลักษณะอาการเท้าชาที่เกิดจากโรคเบาหวาน มักจะมีอาการชาหรือคล้ายเป็นเหน็บและความรู้สึกสัมผัสลดลง ทำให้เมื่อเท้าสัมผัสของมีคม จะไม่รู้สึกเจ็บ

อาการเท้าชาที่เกิดขึ้นมักจะมีอาการทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน และเริ่มชาจากปลายนิ้วเท้าก่อน แล้วเริ่มชาไล่ขึ้นไปบริเวณหลังเท้าและขาทั้งสองข้าง ในกรณีรุนแรงจะมีระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมร่วมด้วย ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าทั้งสองข้างแห้ง ปริแตกได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรัง ถ้ามีระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมอยู่นาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อเล็ก ๆ บางมัดบริเวณเท้าฝ่อลง เกิดเท้าบิดผิดรูป ซึ่งจะส่งผลต่อนํ้าหนักที่กดทับบริเวณฝ่าเท้าเวลาเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่เท้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา โดยเฉพาะถ้ามีความผิดปกติของหลอดเลือดส่วนปลายร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอาการชา หรือ ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม ได้แก่ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การควบคุมระดับนํ้าตาลที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ ระดับไขมันในเลือดสูง และ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

     ดังนั้นการรักษาที่สำคัญคือ การควบคุมระดับนํ้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ควบคุมความดันโลหิตและระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ งดการสูบบุหรี่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในรายที่มีอาการชามาก ๆ แล้ว การรักษามักไม่ได้ผลดี

การรับประทานวิตามินบีมัก ไม่ช่วย ทำให้อาการชาดีขึ้น เพราะอาการชาไม่ได้เกิดจากการขาดวิตามิน

ยารักษาปลายประสาทอักเสบบางชนิดอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้บ้างแต่ไม่สามารถทำให้อาการชาหายไปได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เพื่อพิจารณาให้ยาตามความเหมาะสม

ส่วนยาสมุนไพร อาหารเสริม ยาลูกกลอน ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการลดอาการดังกล่าว

นอกจากการรับประทานยาตามแพทย์สั่งแล้วนั้น เมื่อมีอาการเท้าชา อาจเกิดแผลโดยไม่รู้สึกตัวได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดเท้าด้วยนํ้าสะอาดและสบู่อ่อน วันละสองครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอนทุกวัน ทำความสะอาดทุกครั้งที่เท้าเปื้อนสิ่งสกปรก เช็ดเท้าให้แห้งทันทีรวมทั้งบริเวณซอกนิ้วเท้า

ตรวจเท้าก่อนนอน สำรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน เพื่อดูว่ามีแผลขนาดเล็ก ๆ หนังด้านแข็ง ตาปลา รอยแตกหรือการติดเชื้อราเกิดขึ้นหรือไม่

ตรวจสอบรองเท้าก่อนการสวมใส่เสมอเพื่อดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมซ่อนอยู่ภายในซึ่งอาจทำอันตรายต่อเท้าและเกิดแผลได้

สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้า เลือกใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดี เหมาะสมกับรูปเท้าและทำจากวัสดุที่นุ่ม ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น ไม่มีตะเข็บหรือมีตะเข็บน้อย และมีเชือกผูก เพื่อให้ปรับความพอดีกับเท้าได้

หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่ทำด้วยยางหรือพลาสติกและรองเท้าแตะประเภทที่ใช้นิ้วเท้าคีบสายรองเท้า เนื่องจากทำให้มีโอกาสเกิดการเสียดสีเป็นแผลได้ง่าย

ห้ามแช่เท้าในนํ้าร้อน หรือใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนวางที่เท้า

ดูแลเท้า  เล็บเท้า และตัดเล็บเท้าโดยผู้ชำนาญอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันเล็บขบ การอักเสบของนิ้วเท้า ห้ามตัดตาปลาหรือหนังด้านแข็งด้วยตนเอง

           การรักษาระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมจากโรคเบาหวานที่เป็นมานานแล้วมักได้ผลการรักษาไม่ดี ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนชนิดนี้ หรือ กรณีเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นแล้ว การให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า โดยพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจประเมินระดับความรู้สึกที่เท้าโดยใช้เครื่องมือการตรวจที่ได้มาตรฐาน (monofilament test) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ควบคุมระดับนํ้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามแพทย์แนะนำ รวมทั้งควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวข้างต้น และหากพบมีแผล แม้เพียงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดแผลทันที ในกรณีแผลไม่ดีขึ้นหรือไม่แน่ใจ ให้รีบพบแพทย์เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ

     ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย 



.........................................

โรคเบาหวาน (DiabetesMillitus)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-03-2008&group=4&gblog=24

 

ตาปลา

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=44

 

รองเท้าใครคิดว่าไม่สำคัญ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=41

 

โรคนิ้วหัวแม่เท้าเกออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=5&gblog=35

 

เล็บขบ ( IngrowingNail )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=42

 

เลือดออกไต้เล็บ (ห้อเลือด )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=43






Create Date : 22 มีนาคม 2551
Last Update : 27 สิงหาคม 2564 1:42:31 น. 3 comments
Counter : 12034 Pageviews.  

 
บทความที่ดีค่ะ เมื่อวานมีลูกค้ามาถาม เป็นHeb B แบบพาหะ รักษาไม่หายเหรอคะ ตอบไปว่าไม่หาย แต่ไม่ค่อยแน่ใจ ใช่หรือเปล่าคะ


โดย: Toon16 วันที่: 22 มีนาคม 2551 เวลา:12:12:30 น.  

 

ใช่ครับ ... รักษาไม่หาย .. แต่ก็สามารถคุมอาการไม่ให้มากขึ้นได้ ..



โดย: หมอหมู วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:17:36:26 น.  

 


//th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090428195719AA3hdKn

การรักษาแผลด้วยหนอนแมลงวัน.?

ได้ ดูรายการสำรวจโลก เรื่องชีวศัลย์กรรม(ไม่แน่ใจชื่อเรื่อง) โดยแพทย์ได้ใช้หนอนแมลงวัน พิษของผึ้ง ในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะการใช้หนอนรักษาแผลที่รักษาไม่หายด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น แผลจากเบาหวาน หรือแผลติดเชื้อเรื้อรัง คือ อยากทราบว่าในประเทศไทยเรามีการรักษาด้วยวิธีนี้หรือไม่ มีการศึกษา พัฒนาหรือ การทดลองใช้บ้างหรือไม่อย่างไร และที่ไหนใช้วิธีนี้ในการรักษาบ้าง?

คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเจ้าของคำถาม

โรงพยาบาลที่มีการรักษาด้วยหนอนบำบัด คือ โรงพยาบาลนพรัตน์ โรงพยาบาลรามคำแหง โรงพยาบาลเกษมราฎร์ ประชาชื่น สำหรับ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาฯ อยู่ในขั้นตอนของการทำวิจัย

[ จากผู้ตอบ - อย่างไรก็ดี บทความนี้ตั้งเเต่ปี2005เเล้ว ดังนั้นป่านนี้จึงน่าจะมีเพิ่มในอีกหลายโรงพยาบาลเเล้ว เเละที่วิจัยอยู่คือจุฬาฯเเละมหิดลนั้นก็่น่าจะเป็นระบบที่ดีเเล้วครับ ]

อ่านเพิ่ม-
//www.agalico.com/board/archive/index.php/t-1380.html


สำหรับ ในประเทศไทย ได้มีการทดลองใช้หนอนจากแมลงวันชนิดนี้รักษาแผลในผู้ป่วยที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ เป็นหนอง เป็นฝี กว่า10 รายแล้ว และผลการรักษาก็เป็นที่น่าพอใจทั้งต่อแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยเอง ทั้งนี้ในการรักษานั้น แพทย์จะนำหนอนแมลงวันที่ผ่านการเพาะเลี้ยงอย่างสะอาดและปลอดเชื้อนั้นประมาณ 200 กว่าตัว ใส่ในถุงผ้าก๊อซหรือถุงสมุนไพรแล้วนำไปโปะไว้บริเวณที่เป็นแผล ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วนำออกมาทำลายทิ้ง จากนั้นก็เปลี่ยนเอาหนอนชุดใหม่ใส่เข้าไปอีก อย่างไรก็ตามจำนวนหนอนที่ใส่เข้าไปนั้นก็ขึ้นอยู่กับการประเมินสภาพบาดแผล ของแพทย์ด้วยว่าจะต้องใช้หนอนเท่าไร ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำการรักษา 3 – 4 ครั้ง แผลก็จะดีขึ้นมากแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 15,000 บาท .....

อ่านเพิ่ม
//www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1177
..............................................................................

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี..นำหนอนแมลงวันมาใช้รักษาผู้ป่วยที่ศูนย์ผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เมื่อประมาณต้นปี 2548....
....ขั้นตอนในการรักษาเมื่อคนไข้มาถึงโรงพยาบาล จะมีการประเมินบาดแผลก่อน ถ้าแผลไม่มีเนื้อตายก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยหนอนแมลงวัน แต่ถ้าเป็นแผลเนื้อตาย ติดเชื้อเรื้อรัง ต้องสอบถามคนไข้ก่อนว่าจะรักษาด้วยหนอนแมลงวันหรือไม่ โดยอธิบายให้เห็นถึงข้อดีข้อเสีย ถ้าคนไข้ยอมรักษา ก็ทำการสั่งหนอนแมลงวันจากบริษัทที่จัดจำหน่าย โดยหนอนแมลงวันที่นำมารักษาจะบรรจุอยู่ถุงไนลอนที่มีรูพรุนขนาดเล็กเป็นแผ่น ขนาด 5 x 6 เซนติเมตร และขนาด 7 x 8 เซนติเมตร มีหนอนประมาณ 200 ตัวราคาประมาณ 3,000 บาท

อ่านเพิ่ม
//www.agalico.com/board/archive/index.php/t-499.html
..............................................................................

ขณะนี้มีการใช้หนอนบำบัดที่โรงพยาบาลหลายแห่งในกรุงเทพฯ ส่วนในต่างจังหวัดมีที่โรงพยาบาล อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว

แต่ข้อจำกัดของหนอนบำบัดนั้น จะไม่สามารถใช้รักษาบาดแผลที่มีความลึกมากได้ และบางรายอาจจะเกิดอาการแพ้ รวมทั้งต้องใช้เวลาในการบำบัดพอสมควร และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะผ้าปิดแผลหนอนบำบัดที่ทำออกมาขายนั้น จะมีหนอนอยู่ 200 ตัวต่อแผ่น จำหน่ายในราคาแผ่นละ 3,000 บาท และจะต้องใช้ผ้าปิดแผลนี้ประมาณ 3 ครั้ง ดังนั้น ในกรณีแผลเล็กใช้แค่แผ่นเดียวจะใช้ค่ารักษาหลักหมื่นทีเดียว

รายละเอียดในการใช้ กับแผลต่างๆ ดังนี้

- Diabetic foot ulcers แผลเนื่องจากโรคเบาหวานบริเวณเท้า
- Decubitus ulcers แผลกดทับจากโรคเบาหวาน
- Ulcers cruris
- MRSA and other wound infections แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus และอื่น ๆ
- Necrotizing tumor wounds แผลเนื้อเยื่อตาย
- Necrotizing fasciitis แผลพังผืดอักเสบ - Burns แผลไหม้
- Thrombangitis obiterans
- Bacterial soft tissue infections และแผลเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ

อ่านเพิ่ม -
//www.geocities.com/ruammitra/sick-maggotherapy.html



แถม ลิงค์ที่น่าสนใจ

//th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080528134453AAY01c6

//www.oknation.net/blog/print.php?id=88413

//www.doctor.or.th/node/5775

//www.elib-online.com/doctors53/gen_health001.html

//www.scimag.info/topic_detail.php?emag_id=%20&%20topic_id=259%20&%20topic_value=15

//www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=80

//www.si.mahidol.ac.th/km/etnurse/05_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%20%28Cleansing%29.pdf



โดย: หมอหมู วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:14:11:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]