bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : สะพานรัษฏาภิเษก ลำปาง, ลำปาง Thailand
พิกัด GPS : 18° 17' 34.41" N 99° 30' 3.26" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม






อย่างที่บอกไว้ในบล็อกท่องเที่ยวทั่วไทยวันก่อนว่าวันนี้จะพามาเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียในจังหวัดลำปางอีกที่นึงซ.งสถานที่ท่องเที่ยวนี้จะถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางก็ว่าได้นะครับ


สะพานรัษฏาภิเษก ลำปาง


ตั้งอยู่บนถนนรัษฏาสร้างข้ามแม่น้ำวัง ชาวลำปางเรียกสะพานรัษฏาภิเษกว่า “ขัวสี่โก๊ง (สะพานสี่โค้ง)” หรือ “ขัวหลวง (สะพานใหญ่)” หรือ “ขัวขาว (สะพานสีขาว)”ตามลักษณะของสะพาน






เมื่อแรกสร้างในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายเป็นสะพานไม้เพื่อเชื่อมการปกครอง 2 ฝั่งแม่น้ำวังคือ แขวงหัวเวียง (สวนดอก) (คือฝั่งที่เป็นตลาดและสถานที่ราชการ) กับ แขวงเวียงเหนือ (ฝั่งที่เป็นวัดพระแก้วดอนเต้า) เข้าด้วยกัน สร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2436 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 และถวายเป็นที่ระลึกเมื่อครั้งงานรัชดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานชื่อ “รัษฏาษิเษก” ถือว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้เพราะมีความยาวถึง 120 เมตร





สะพานไม้ได้พังลงในปีพ.ศ. 2444 เพราะในหน้าน้ำจะมีแพซุงล่องมาจากทางเหนือเต็มแม่น้ำวัง แพซุงเหล่านี้กระแทกสะพานจะทำให้เกิดความเสียหายและพังลงในที่สุด เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต จึงแจ้งไปยังกระทรวงมหาดไทยขอพระราชทานเงินมาสร้างสะพานใหม่ สะพานที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นสะพานไม้เสริมเหล็ก ไม่มีหลักฐานว่าสร้างเสร็จเมื่อใด มีแต่เพียงหลักฐานจากกรมโยธาธิการว่าพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดชเสด็จมาเปิดสะพานในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2448





ในปีพ.ศ. 2458 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานรัษฏาภิเษกที่เป็นสะพานไม้เสริมเหล็กก็ได้พังลงอีกเพราะเหตุผลเดิมคือต้านแรงกระแทกของแพซุงไม่ไหวกอปรกับสะพานมีอายุใช้งานถึง 10 ปี วิศวกรของกระทรวงคมนาคมที่มาสำรวจสภาพของสะพานก่อนจะซ่อมแซมเห็นว่าเดือยไม้ในจุดสำคัญๆผุเปื่อยจนไม่สามารถซ่อมแซมได้เห็นว่าควรจะสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กจะดีกว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้ควบคุมก่อสร้าง โดยมีบริษัทก่อสร้างและวิศวกรเยอรมันทำการก่อสร้างส่วนแรงงานก็เป็นชาวลำปางทั้งสิ้น เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีพ.ศ. 2459 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460






ในปี พ.ศ. 2463 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเล็งเห็นว่าจะมีแพซุงจำนวนมากไหลมาตามแม่น้ำวังแล้วจะต้องปะทะกับสะพานทำให้สะพานพัง จำต้องระเบิดสะพานทิ้งเพื่อจะได้ให้แพซุงไหลผ่านไปโดยไม่สร้างความเสียหายมาก แต่ระดับน้ำก็ลดลงไปก่อนที่แพซุงจะมาถึงสะพาน







และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพ.ศ. 2485 – 2488 มีการทาสะพานเป็นสีดำเพื่ออำพรางตาข้าศึกไม่ให้มาทิ้งระเบิด ครูลูซี สตาร์ลิง ผู้อำนวยการโรงเรียนวิชชานารี ในฐานะที่ปรึกษษฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขอยกเว้นการทำลายสะพานรัษฏาภิเษกโดยให้เหตุผลว่าจุดนี้มีเพียงทหารญี่ปุ่นที่เป็นทหารเสนารักษ์และเป็นย่านโรงพยาบาลไม่มีผลทางยุทธศาตร์ใดๆ แต่ก็ยังโดนกระสุนบินทางเครื่องบินอยู่บ้าง







สะพานรัษฏาภิเษก เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ทาสีขาวทั้งสะพาน มีรูปโค้งคันธนู 2 โค้ง 2 คู่ ยาว 120 เมตร ปลายสะพานทั้ง 2 ด้านมีเสาด้านละคู่ พวงมาลาบนยอดเสาหมายถึงพระมหากรุณธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครุฑหลวงสีแดงประดับอยู่ที่หน้าเสาทุกต้นหมายถึงตราแผ่นดินในรัชกาลที่ 6 ไก่ขาว เป็นสัญลักษณ์ของนครลำปาง และคำว่า “มีนาคม 2460” หมายถึงเดือน ปี ที่สะพานนี้สร้างเสร็จ (ครั้งที่3)






สะพานรัษฏาภิเษก เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพระกรุณาของผู้ครองนครลำปางและพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 รัชกาล คือรัชการที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ที่จะให้ประชาชนมีความสะดวกในการใช้ชีวิตโดยการเชื่อมเมืองทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน และยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและความเจริญรุ่งเรืองของจังหวัดของจังหวัดลำปาง ในขณะที่สะพานทาสร้างขึ้นรุ่นเดียวกันกับสะพานรัษฏาภิเษกไม่มีเหลืออยู่แล้ว แต่จังหวัดลำปางก็ยังอนุรักษ์สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของจังหวัดเอาไว้






Chubby Lawyer Tour ......................... เที่ยวไป .............. ตามใจฉัน






SmileySmileySmiley

Create Date :24 กุมภาพันธ์ 2559 Last Update :24 กุมภาพันธ์ 2559 18:36:28 น. Counter : 1471 Pageviews. Comments :14