วัดหงส์รัตนาราม วัดสวย กรุงเทพฯ พิกัดสายบุญ ที่ต้องไปไหว้ขอพร
วัดหงส์รัตนาราม วัดสวย กรุงเทพฯ พิกัดสายบุญ ที่ต้องไปไหว้ขอพร
วัดหงส์รัตนาราม ตั้งอยู่ ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พิกัด : https://goo.gl/maps/9HeK9L5MgXFbA2MK9 



วันนี้ผมจะพามาเที่ยวที่วัดที่ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งสถานีรถไฟฟ้า
MRTอิสราภาพ ที่เป็นรูปหงส์สีทอง ซึ่งเป็นรูปที่มาจากวัดแห่ง "วัดหงส์รัตนาราม" 



วันนี้ตื่นเช้ากันสักหน่อย ออกไปไหว้พระ เสริมบุญกันที่ วัดสวย
ของ กรุงเทพ  กันดีกว่า เป็นวัดที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย เก่าแก่ และอยู่มาอย่างยาวนาน
แล้วด้วย นั่นก็คือวัดที่มีชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม หรือ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร แห่งนี้



ประวัติ วัดหงส์รัตนาราม วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร หรือเรียกสั้นๆ
ว่า วัดหงส์รัตนาราม เป็น วัดสวย ของ กรุงเทพฯ แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่
ที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เดิมชาวบ้านจะเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ 



เพราะตั้งตามเศรษฐีชาวจีนผู้สร้างวัดในสมัยอยุธยา คือ นายหง นั่นเอง ซึ่งต่อมา
ในสมัยพระเจ้าตากสิน ก็ได้มาเป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงปฏิสังขรณ์บูรณะต่างๆ
จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามใหม่โดยใช้ชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม



ไฮไลท์ ของ วัดหงส์รัตนาราม ภายในวัดก็จะมีพระอุโบสถที่สร้างมาตั้งแต่
สมัยพระเจ้าตากสิน โดยมีเรื่องเล่ากันว่าพระองค์มักจะเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานที่วัดนี้
ซึ่งในพระอุโบสถจะมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญคือ หลวงพ่อแสน นั่นเอง



 เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์โลหะ ปางมารวิชัย ที่สำคัญและงดงามอย่างมาก
อีกทั้งยังเก่าแก่โบราณหาชมยากมากๆ อีกด้วย



นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ทั้ง สระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก
 รวมไปถึงลวดลายที่สวยงามของบานประตู ทั้งด้านหน้า
และด้านหลัง โดยจะตกแต่งเป็นรูปหงส์เกาะกิ่งไม้ ได้รับการยกย่องว่างดงามแบบที่หาดู
ได้ยากมาก



นึกว่า วัดสวย ที่อยู่ตามจังหวัดอื่นๆ นะเนี่ย แต่จริงๆแล้ว อยู่ในกรุงเทพฯ นี่เอง
ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีวัดที่งดงามได้ขนาดแบบนี้ และยังเก่าแก่มากๆ หลงเหลือในเมืองกรุงด้วย



อีกอย่างว่ากันว่าเป็นวัดที่เหล่าอาชีพอย่างทหารและตำรวจให้ความเคารพนับถือกันอย่างมาก
ด้วยนะ ใครอยากไปกราบสักการะก็ลองไปกันได้เลย



ภาพในกรอบเหนือประตูหน้าต่างมีทั้งสิ้น 57 ภาพ แบ่งเป็น 19 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ภาพ
เล่าเรื่องตำนานพระแก้วมรกตตั้งแต่การสร้าง ณ เมืองปาตลีบุตร จนถึงตอนที่อัญเชิญ
มาประดิษฐานยังนครลำปาง ถึงสมัยพระเจ้านรินทรซึ่งเป็นเนื้อหาตามที่ปรากฏใน "รัตนพิมพวงษ์"



หลวงพ่อสุข หรือ หลวงพ่อทองคำแห่งวัดหงส์รัตนาราม เคยถูกพอกด้วยปูนจนกลายเป็น
พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์มาก่อน จนใน พ.ศ. 2499 พระสุขุมธรรมาจารย์
เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามในเวลานั้นพบรอยกะเทาะบริเวณพระอุระ



เห็นเนื้อในของพระพุทธรูปเป็นสีทองสุกปลั่ง จนนำมาสู่การกะเทาะปูนออก
เผยให้เห็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยองค์งามข้างใน และด้วยความสุกปลั่งของทองคำ
จึงเป็นที่มาของชื่อ "หลวงพ่อทองคำ" ส่วนชื่อ "หลวงพ่อสุข" นั้น สันนิษฐานว่ามาจาก
การที่พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยนั่นเอง



อีกหนึ่งความสำคัญของหลวงพ่อสุข คือการเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่มีจารึกที่ฐาน
(อาจจะสังเกตยากสักหน่อย เพราะเรามองท่านในมุมเงย) ความสำคัญของจารึกหลักนี้มี
ทั้งการเป็นจารึกที่ระบุศักราชที่สร้างพระพุทธรูปเอาไว้ คือ พ.ศ. 1967 รวมถึงระบุชื่อผู้สร้าง



คือ พระยาศรียศราช ซึ่งพอเราเอาชื่อนี้ไปหาในเอกสารทางประวัติศาสตร์อื่น
พบว่าพระยาศรียศราชคือบุตรของ พระยาเชลียง ผู้ครองเมืองสวรรคโลกด้วย จึงเป็นไป
ได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นที่เมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย



อีกหนึ่งสถานที่สำคัญของวัดหงส์รัตนารามที่อาจจะไม่ได้เก่าแก่เท่าพระอุโบสถ
หรือพระวิหารของวัด แต่สถานที่นี้ก็สำคัญและเป็นที่รู้จักไม่แพ้กัน นั่นก็คือ
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ ศาลพระเจ้าตาก



ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีที่มาจากตำนานถึงเหตุการณ์หลังจาก
สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ได้มีการอัญเชิญพระบรมศพ
ผ่านวัดหงส์รัตนาราม ขณะนั้น



หนึ่งในคนในขบวนที่ถือพานรองพระโลหิตหันไปเห็นพระเจ้าตากไร้พระเศียรยืนอยู่ที่
พระอุโบสถของวัดจนทำพานรองพระโลหิตในมือหล่น จากนั้นจึงนำดินที่มีพระโลหิตมาปั้น
เป็นพระรูป แล้วตั้งไว้ภายในศาลไม้ที่ตำแหน่งนั้น และตำแหน่งที่ว่าก็คือบริเวณต้นโพธิ์
ใกล้กับศาลปัจจุบันนั่นเอง



ส่วนศาลหลังปัจจุบันซึ่งเป็นอาคารทรงไทยสมัยใหม่นั้น สร้างขึ้นโดยความร่วมมือ
ของกองทัพเรือและคณะผู้ศรัทธาแทนที่หลังเดิมซึ่งเป็นไม้ในตำแหน่งของศาลไม้นั้นเมื่อ
พ.ศ. 2527 ภายในประดิษฐานพระบรมรูปหล่อของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ขนาดเท่าพระองค์จริง



วัดหงส์รัตนารามแห่งนี้เป็นอีกวัดที่ผ่านกาลเวลามานับร้อยปี ผ่านร้อนผ่านหนาว
ผ่านเรื่องราวมามากมาย และทิ้งริ้วรอยแห่งอดีตเอาไว้ผ่านตำนาน เรื่องเล่า และสิ่งที่
มองเห็น-จับต้องได้ อย่างงานศิลปกรรมที่ทำให้เราเห็นถึงความเก่าแก่และความสำคัญ



ของวัดได้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งสัมผัสได้เพียงแค่ลองเดินเข้ามาเท่านั้น เราก็จะมองเห็น
และสัมผัสถึงเรื่องราวของวัดได้ไม่ยาก สิ่งสำคัญก็คือ การเปิดใจเดินเข้ามา ปล่อยให้
เรื่องราวที่ฟังผ่านหู ความงามที่ไหลผ่านตา เราก็จะซาบซึ้งไปกับทุกสิ่งในวัดนี้ได้ไม่ยาก
เลยครับ ถ้าไม่เชื่อ ขอเชิญมาพิสูจน์ด้วยตัวเองสักครั้งครับ



ขอบคุณข้อมูล : https://readthecloud.co/wat-hong-rattanaram-ratchaworawihan/ 



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก  "งานนวราตรี 2566"  พิธีแห่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
(วัดแขก สีลม)
 
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube PT Channel : 
https://www.youtube.com/channel/UCGZdHn45JVfiyGdW4wZE0Tw 



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : ผ่านวัยเยาว์
ศิลปิน : Phumin
Vote : ท่องเที่ยวไทย




Create Date : 30 ตุลาคม 2566
Last Update : 30 ตุลาคม 2566 0:25:56 น.
Counter : 2380 Pageviews.

1 comments
春和歌山市 : Wakayama Zoo Park, Taga Shrine, Maruman Ramen mariabamboo
(20 เม.ย. 2567 09:39:39 น.)
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ Wat Phrasri Rattana Mahathat, Phitsanulok. nanakawaii
(21 เม.ย. 2567 07:36:08 น.)
สงกรานต์หรรษา จันทราน็อคเทิร์น
(18 เม.ย. 2567 11:24:41 น.)
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณปัญญา Dh, คุณกะว่าก๋า, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณmariabamboo, คุณหอมกร, คุณnonnoiGiwGiw, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณhaiku, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณsunmachon, คุณทนายอ้วน, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณpeaceplay, คุณkatoy, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว

  
มีรถไฟฟ้าแล้วน่าจะมีคนไปเที่ยวเยอะจ้า

โดย: หอมกร วันที่: 30 ตุลาคม 2566 เวลา:7:36:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Pitchayut8.BlogGang.com

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]

บทความทั้งหมด