วัดมอญในเมืองกรุง ที่ วัดประดิษฐาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
วัดมอญในเมืองกรุง ที่ วัดประดิษฐาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร 
วัดประดิษฐาราม ตั้งอยู่ ซอยอิสรภาพ 17 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร 
พิกัด : https://goo.gl/maps/Qte4ki3zLSj56sVv7 



วันนี้ผมมาไหว้พระที่วัดมอญที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร แต่ว่าอยู่ฝั่งธนบุรี
เป็นวัดเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก ผมพูดกับแม่ว่าผมไปไหว้พระวัดมอญมา แม่ผมบอกว่า



"แถวบ้านเรามีวัดมอญด้วยหรอ" ผมเลยบอกไปว่า มีสิอยู่แถวๆ MRTอิสราภาพ ตรงข้าม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผมเลยเปิดรูปให้แม่ดู แม่ผมบอกว่าความรู้ใหม่เลยนะนี่



เดียวผมพามารู้จักวัดประดิษฐาราม หรือ วัดมอญ กันนะครับ 
วัดประดิษฐาราม หรือ วัดมอญ เป็นวัดราษฏร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย



ตั้งอยู่ในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 6 ไร่ 82.20 ตารางวา



จุดเด่นคือพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระนอน และเจดีย์คู่ทรงมอญ



"วัดมอญ" (ประดิษฐาราม) วัดประดิษฐาราม เป็นวัดเก่าที่มีมาแต่เดิมในธนบุรี
เมื่อเริ่มมีเจ้าอาวาสมอญ และมีชาวมอญอพยพมาอาศัยอยู่โดยรอบจึงมีชื่อเรียกง่ายๆ



ว่า “วัดมอญ” (ตามอักษรภาษามอญที่ปรากฏทั่วไปในวัดว่า “เภี่ยโม่น = วัดมอญ”)
และกลายเป็นวัดของชาวมอญใหม่ ซึ่งอพยพมาเข้ามาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)



และอาศัยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ย่านคลองบางไส้ไก่ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า”บ้านมอญ”
มีบ้านใกล้เรือนเคียงเป็น “บ้านลาว” และ “บ้านแขก” 



ซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน เชื่อว่าล้วนทำงานอยู่ใต้บังคับ
สมเด็จเจ้าพระยา (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ – ช่วง บุนนาค) 



ชาวมอญในชุมชนวัดประดิษฐารามมีฝีมือทางด้านทหารเรือได้รับราชการสังกัด
กองเรือในสมัยโบราณ มีหลักฐานเป็นซากเรือโบราณอยู่ภายในวัด



นอกจากอักษรมอญ “เภี่ยโม่น” (ที่เขียนไม่ค่อยถูกนัก) ที่พบเห็นได้ภายในวัดแล้ว
ก็น่าเสียดายที่ชุมชนโดยรอบที่สืบเชื้อสายมาจากชาวมอญใหม่ครั้งกระนั้นไม่ค่อยจะ
หลงเหลือความเป็นมอญให้เห็นชัดเจนเสียแล้ว



แต่พบว่ามีแรงงานมอญสัญชาติพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนรอบวัดประดิษฐาราม
เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เป็นการผสมผสานสายธารวัฒนธรรมมอญผ่านการเวลา 2 ยุคสมัย



อาคารเสนาสนะ โบสถ์เป็นโบสถ์ขนาดเล็กมีช่อฟ้าใบระกาหน้าบันเป็นไม้พื้นเรียบ
เซาะร่องทำลายประดับกระจกสีอย่างลายเครือเถาดอกพุดตาน



มีวิหารหลังเล็กอยู่ข้างโบสถ์ หน้าบันวิหารเป็นลายปูนปั้นเครือเถากรอบหน้าบันด้านล่าง
ปั้นรูปนกในท่าเอี้ยวตัว (ไม่ใช่หงส์) 1 ตัว



ซ้ายมือของโบสถ์เป็นระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่ดินหลังระเบียงคด
พระพุทธไสยาสน์เป็นวังพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)



ระเบียงคดเดิมมุงด้วยกระเบื้องหางปลา ต่อมาได้รื้อลงมุงด้วยสังกะสีลอนเล็กแทน
วัดมีเจดีย์บรรจุอัฐิน้อยใหญ่ 4–5 องค์ เป็นเจดีย์ทรงไทยย่อมุมไม้สิบสอง



ด้านหลังโบสถ์มีเจดีย์มุมละ 1 องค์ คงเหลือเพียงองค์เดียว
เป็นเจดีย์ทรงไทยย่อไม้สิบสองเหมือนกัน



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก ภัตตาคารจีนชือเหมือนร้านอาหารตะวันตก ที่
ภัตตาคารลอนดอน จังหวัดปัตตานี
 
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube PT Channel : 
https://www.youtube.com/channel/UCGZdHn45JVfiyGdW4wZE0Tw 



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : พิจารณา
ศิลปิน : Musketeers Ft. MAIYARAP
Vote : ท่องเที่ยวไทย




Create Date : 17 เมษายน 2566
Last Update : 17 เมษายน 2566 0:38:41 น.
Counter : 7644 Pageviews.

2 comments
Slow Life ในเมืองเลย Alex on the rock
(15 เม.ย. 2567 07:44:23 น.)
ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มฟื้นคืนชีพ สวยสุดซอย
(12 เม.ย. 2567 14:13:40 น.)
Day 7 เที่ยววันสุดท้าย Arashiyama กลางสายฝน khimyo
(10 เม.ย. 2567 12:51:53 น.)
แชร์ประสบการณ์... ตามรอยสแลมดังก์ ที่คามาคุระ-โตเกียว imuya
(10 เม.ย. 2567 00:13:46 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSweet_pills, คุณRain_sk, คุณปัญญา Dh, คุณnewyorknurse, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณหอมกร, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณปรศุราม, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณpeaceplay, คุณhaiku, คุณกะว่าก๋า, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร

  
ไม่วงเล็บบอกไม่รู้เลยว่าวัดมอญจ้า

โดย: หอมกร วันที่: 17 เมษายน 2566 เวลา:7:51:20 น.
  
คนน้อยคงไปก่อนสงกรานต์นะครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 17 เมษายน 2566 เวลา:8:45:58 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Pitchayut8.BlogGang.com

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]

บทความทั้งหมด