คนแรกของประเทศไทยศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
ณ ตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
เป็นบุตรของนายดี และนางเนื่อง เกษจำรัส สมรสกับนางสาวสุดา วงศ์ขจรสุข
ชาวกรุงเทพฯ มีบุตรชาย 2 คน บุตรสาว 4 คน
ผมของใช้คำว่าอาจารย์นะครับ อาจารย์พูน เกษจำรัส เป็นพ่อของอาจารย์
ของผมที่ผมเคารพมากๆ ผมเลขขอหยิบประวัติ
ของอาจารย์พลู เกษจำรัส มาเขียนในบล๊อกของผม
ผมขอย้อนไปประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา อาจารย์พูน เกษจำรัส เป็นคนจังหวัดเพชรบุรี
เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาลูกศิษย์ เหล่าศิลปิน และผู้อยู่ในวงการศิลปะการถ่ายภาพ
ตลอดระยะเวลาที่รับราชการได้อบรมสั่งสอนวิชาการศิลปะการถ่ายภาพและ
งานศิลปะแขนงอื่นๆ ให้แก่ลูกศิษย์ รวมทั้งสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการถ่ายภาพ
ได้รับรางวัลเกียรติยศทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่อง
ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(ศิลปะภาพถ่าย)คนแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2531
"เส้นทางชีวิต" ฉบับนี้ขอร้อยเรียงเรื่องราวประวัติ อาจารย์พูน เกษจำรัส ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์(ศิลปะภายภาพ) ปี พ.ศ.2531 , บุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาสังคม
(ด้านศิลปะภาพถ่าย) ปี พ.ศ.2533
ผู้เขียนได้คัดย่อข้อมูลจากหนังสืออนุสรณ์ "พูน เกษจำรัส" ที่บุตร-ธิดาจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก
ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส ณ วัดตรีทศเทพวรสิหาร
กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2528
นายพูน เกษจำรัส เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2465 ที่บ้านฉาง หมู่ที่ 8 ตำบลหนองโสน
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายดี-นางเนื่อง เกษจำรัส
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 3 คน
ครอบครัวและยาติพี่น้องประกอบอาชีพทำนา แสดงหุ่นกระบอก เป็นช่างแกะสลัก
และงานศิลปะหลายแขนง ทำให้ ด.ช.พูนได้ซึมซับงานศิลปะมาตั้งแต่เด็ก
ในวัยเยาว์ ด.ช.พูน เริ่มเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดสิงห์ ตำบลหนองโสน
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี
(โรงเรียนคงคาราม) จนจบการศึกษาชั้น ม.6
ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ระหว่างเรียน นายพูนมีความมุมานะ ขยันหมั่นเพียร
จนมีผลการเรียนดีเยี่ยม สามารถทำคะแนนรวมได้เป็นที่ 1 ของชั้น อีทั้งนายพูนมีอุปนิสัย
บุคลิกลักษณะดี สุขุม มีความรับผิดชอบงานในต่อหน้าที่สูง จึงเป็นที่รักใคร่นิยมชมชอบของเพื่อน
ได้รับมอบหมายจากครู-อาจารย์ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าชั้นตลอดมา
นายพูนมีความรักและสนใจในศิลปะภาพถ่าย ชอบเล่นกล่องเป็นชีวิตจิตใจ จึงได้ใช้
วิชาความรู้ทางศิลปะภาพถ่ายหารายได้เพื่อใช้เป็นทุนในการศึกษา จนสำเร็จการศึกษา
ในระดับประโยคครูประถมการช่าง(ปป.ช.)และประโยคครูวาดเขียนโท(วท.) ชั้นสูงสุด
นายพูนได้เข้าการศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นรุ่นแรก
(นักศึกษาคนแรกของหมาวิทยาลัยศิลปากร-นักศึกษาเลขประจำตัวหมายเลข 1)
สมัยนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเรือดำน้ำข้าศึกเข้ามาปิดอ่าวไทย
ส่งผลให้ไม่มีเครื่องปั้นส่งมาขาย นายพูนซึ่งมีความเป็นช่างโดนชาติกำเนิด
ชำนาญงานหลายอย่าง จึงทำเครื่องปั้นใช้เองโดยการตัดเหล็กและตะไบเหล็ก
กลึงไม้สารพัด ทำเหมือนของนอกทุกอย่างเหล่านักศึกษาและอาจารย์
ที่รู้ข่าวต่างพากันมาสั่งทำไม้ปั้นและเครื่องปั้นอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้
นายพูนมีรายได้และสามารถส่งตัวเองเรียนจนจบ
อนุปรัญญาศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรมและประติมากรรม
(การศึกษาชั้นสูงสุดในขณะนั้น)
เมื่อสำเร็จการศึกษานายพูนได้ทำงานครั้งแรก โดยเป็นครูสิลปะที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตรียน
อยู่ 1 ปี จากนั้นได้รับการบรรจุเป็นครูตรีที่โรงเรียนเพาะช่าง กระทั่งได้พบรักกับ
อาจารย์สุดา เกษจำรัส(วงศ์ขจรสุข) อาจารย์สอนวิชาศิลปหัตกรรมที่
วิทยาเขตเพาะช่าง มับุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน
หลังจากแต่งงานอาจารย์พูนใช้เวลาว่างขากการสอนหนังสือ ศึกษาิชาอัดรูป ล้างรูป
และขยายภาพด้วยตนเอง เริ่มแรกทำการล้างฟิล์ม ขยายภาพในสุ่มไก่ขนาดใหญ่ใช้ผ้าคลุม
จากนั้นได้ทำห้องมืดแบบถาวรขึ้นที่บ้านพัก มัผู้คนให้ความสนใจในฝีมือแวะเวียน
ไปให้ถ่ายรูป อยู่ตลอดเวลา
อาจารย์พูนสอนอยู่ที่เพาะช่างได้ 6 ปี ก็ย้ายไปสอนที่ โรงเรียนอุเทนถวาย สอนได้ไม่กี่เดือน
วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ได้ขอให้ย้ายมาสอนประจำที่แผนกวิชาช่างถ่ายรูป
(ปัจจุบันคือสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนต์)
ซึ่งอาจารย์พูนได้บุกเบิกการสอนวิชาถ่ายภาพให้นักศึกษามาหลายต่อหลายรุ่น
จนมีศิษย์จำนวนมากทั่วประเทศ
ต่อมาอาจารย์พูนได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกวิชาถ่าภาพ และหัวหน้าคณะวิชาช่างพิมพ์
ช่างภาพ จนเกษียณอายุราชการ และยังเป็นอาจารย์สอนพิเศษตลอดมา
กระทั้งในปี พ.ศ.2530 ได้แต่งตั้งเป็น "ศาสตราจารย์พิเศษ" วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
(วิทยาเขตกรุงเทพฯ) ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชทงคลกรุงเทพ
ที่ผ่านมาอาจารย์พูนได้ถ่ายทอดวิชาการศิลปะการถ่ายภาพและงานศิลปะแขนงอื่นๆ ให้
แก่ลูกศิษย์เป็นจำนวนมากให้ได้รับความรู้ ทั้งยังได้สร้างผลงานด้านศิลปะการถ่ายภาพอยู่ใน
คอลัมน์ประจำของนิตยสาร ตั้งแต่การพิมพ์ระบบเก่าเป็นภาพขาว-ดำ ใช้น้ำยากัดสังกะสีโรย
ผงย่างไฟ และพิมพ์ด้วยแท่นนอนอย่างฉับ-แกระ จนเปลี่ยนเป็รแม่พิมพ์ตามกระบวนการพิมพ์
ออฟเซท แยกสีด้วยคอมพิวเตอร์ รวมทั้งยังมีผลงานดีเด่นและแพร่หลายได้รับรางวัล
ทั้งประกาศนิยบัตร โล่รางวัลอย่างมากมาย จนเป็นที่ยอมรับจากวงการถ่ายภาพทัระดับชั้น
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากนี้อาจารย์พูนยังเป็นศิลปินที่มีบทบาทและให้บริการแก่สังคมอย่างกว้างขวาง
เคยเป็น กรรมการฝ่ายศิลป์และการพิมพ์ให้แก้โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษางานช่าง
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,เป็นผู้เขียนคำบรรยาภาษาไทย
"หนังสือภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9"
เป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการและเขียนพระราชประวัติทางการถ่ายภาพโครงการ "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์
พัฒนาประเทศ" เป็นที่ปรึกษาการถ่ายภาพของบริษัทฟูจิ โฟโต้ ฟิล์ม(ประเทศไทย) จำกัด,
เป็นกรรมการก่อตั้งสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์,
เป็นนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ หลายสมัยนาน 11 ปี
แต่ละตำแหน่งอื่นๆอีกมากมาย
ด้านเกียรติประวัติดังกล่าว คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ประกาศยกย่อง
ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(ศิลปะภาพถ่าย)
คนแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2531
คณะอนุกรรมการเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการพัฒนาสังคม
(ด้านศิลปะภาพถ่าย) ประจำปี พ.ศ.2533
อาจารย์พูนได้ทำงานที่ถือว่าสำคัญที่สุดในชีวิตคือการได้เขียนคำบรรยาภาพฝีพระหัตถ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่รวมพิมพ์เป็นเล่มในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
นอกจากนี้ครั้งดำรงตำแหน่งนายกวมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯนำคณะกรรมการบริหารฝ่ายทูลเกล้าฯถวายเข็มทองคำ
ศิลปะการถ่ายภาพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่พระองค์ทรงค่าอเนกอนันต์ประการ
ทั้งด้านการถ่ายภาพและศิลปะวิทยาการถ่ายภาพสร้างสรรค์จรรโลงสังคม โดยทรงสัมผัสชีวิตจริง
ในชนบทและทรงใช้กล้องถ่ายภาพเป็นร่อนนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการหลวงและ
โครงหารอันเนื่องมาจากพระราชดำรินับพันโครงการ ตลอดจนได้เป็นผู้นำเสด็จทอดพระเนตร
และถวายคำอธิบายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานแสดงภาพของสมาคม
ภาพถ่ายแห่งประเทศไทยฯ ในปี พ.ศ.2502
มีอยู่ครั้งหนึ่งอาจารย์พูนได้ฟังเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน"เกิดความประทับใจและความคิด
อยากถ่ายทอดจิตนาการลงบนภาพถ่ายเป็นสื่อประกอบเพลง จึงตระเวนไปถ่ายภาพเทวดาจาก
ผนังโบสถ์ ถ่ายต้นไม้ ผืนไร่ ท้องนา จากนั้นนำภาพมาล้าง อัดขยาย ในห้องมืดที่บ้าน โดยใช้วิธี
ซ้อนภาพเข้าเป็นภาพเดียวกันให้สอดคล้องกสมกลืนกับเรื่องราวจากบทเพลงจัดใส่รวมกัน
จากนั้นใช้ปากกาแร้งขูดภาพ แต่งแต้มพู่กันและหมึกจีน พยายามขูดขีดแต่งแต้มจนได้ภาพ
ดูคล้ายรุกขเทวดากำลังโปรยปรายสายฝนลงมา และหวังไว้ว่าหากภาพนี้เสร็จสมบูรณ์
จะถวายพรระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรให้จงได้
แต่ท่านได้ล้มป่วยด้วยเหตุเส้นเลือดในสมองตีบ
ขณะนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์
เชิญแจกันดอกไม้พร้อมเชิญกระแสพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานให้กำลังใจแด่
อาจารย์พูนอยู่เสมอมา
เมื่ออาการทุเลาลงและสามารถกลับมาพักรักษาตัวที่บ้านแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงกระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ นายเชาวน์ ศิลวันต์ องคนมตรี เป็นผู้แทนพระองค์เชิญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ(ต.จ.ว.) พระราชทานในแก่อาจารย์พูน
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2536
ต่อมาอาจารย์พูน มีอาการทรุดลงกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชอีกครั้ง พระองค์ทรง
พระกรุณาโปรเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า(ท.จ.)
ซึ่งเป็นเกียรติยศชั้นสูงสุดที่อาจารย์พูนได้รับ
ขอขอบคุณภาพ จากเพจ Facebook Poon Kesjamras :
https://www.facebook.com/Poon.Kesjamras/photos/?ref=page_internalฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว :
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341ขอบคุณเพลง : สายฝน
ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
Vote : ประวัติศาสตร์