
 |
|
 |
 |
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
สังฆทาน
...
เคยสงสัยไหมครับว่าเราทำสังฆทานไปทำไม? การทำสังฆทานได้บุญมากมายมหาศาลจริงตามคำลือหรือเปล่า? การทำสังฆทานนอกจากไปซื้อและหิ้วถังเหลืองมาจากร้านแล้ว ไม่มีวิธีอื่นแล้วหรือ?
ตั้งแต่เด็กแล้วที่ผมถูกปลูกฝังความเชื่อเรื่องการทำสังฆทานผ่านหลักฐานเชิงประจักษ์ (ในความหมายของการประสบพบเห็น-ได้ยิน ด้วยประสบการณ์ของตัวเองนะครับ ไม่เกี่ยวกันกับอะไรว่าสิ่งที่พบเห็นถูกหรือไม่) ว่า
การทำสังฆทานเป็นการทำบุญที่ได้บุญมากที่สุด ทำสังฆทาน 1 ครั้ง ได้บุญเท่ากับการตักบาตรพระทุกเช้าเป็นเวลา 1 ปี หากชีวิตตกระกำลำบาก โดนมรสุมซัดสาด ให้ไปทำสังฆทานซะ...แล้วชีวิตจะดีขึ้น การทำสังฆทานคือการไปซื้อถังเหลืองที่บรรจุ...ผงซักฟอก ใบชา ผ้าจีวร น้ำปลา น้ำหวาน ข้าวสารหนึ่งถุงเล็กๆ จานหรือชามหรือแก้วน้ำ 1 ใบ และอื่นๆ... แล้วหิ้วถังนั้นไปหาเจ้าอาวาสหรือพระที่รู้จักนับถือกันแล้วกล่าวคำถวายสังฆทานตามภิกษุรูปนั้นในเวลาก่อนเที่ยง
ได้ประสบพบเห็นและเชื่อถือขนาด (สิ้น) คิดเอาเองว่า...ทำสังฆทานสักปีละครั้ง แล้วเวลาที่เหลือทั้งปีไม่ต้องทำบุญอะไรอีกก็ได้ เพราะได้ทำบุญใหญ่ไปแล้ว
ก่อนอื่นมาลองทราบกันก่อนดีกว่าว่าทำไมคนจึงเชื่อกันว่า...การทำสังฆทานเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก...
ในสมัยพุทธกาล นางปชาบดีได้ตั้งใจนำผ้าจีวรไปถวายแด่พระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ เมื่อได้แจ้งความประสงค์ต่อพระพุทธองค์ๆก็ทรงตรัสต่อนางมหาปชาบดี ว่าให้นางถวายผ้าจีวรนี้ต่อคณะสงฆ์โดยรวม จะเป็นการดีและเป็นบุญเป็นกุศลมากกว่าจะมาเจาะจงถวายให้พระองค์เอง นางปชาบดีได้ฟังจึงทำตามคำแนะนำของพระพุทธองค์ และท้ายที่สุดผ้าจีวรนั้นก็ถูกส่งมอบให้ภิกษุรูปหนึ่งที่กำลังมีความต้องการใช้ในขณะนั้น
จะเห็นได้จากเหตุการณ์ดังกล่าวว่า การถวายทานแก่สงฆ์เป็นสังฆทานได้บุญมากกว่าการถวายทานแก่พระพุทธเจ้าเสียอีก นั่นน่าจะเป็นที่มาที่ฝังเข้าสู่จิตใจของชาวพุทธทุกคนว่า การทำสังฆทานนั้น เป็นการทำทาน (ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ของการทำบุญ) ที่ได้บุญมากมาย (มหาศาล)
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การทำบุญ (หรือทาน) ย่อมไม่ใช่การสักแต่ว่ากระทำไปให้เสร็จสิ้นไปเป็นครั้งคราว ด้วยองค์ประกอบของการทำบุญที่จะได้บุญสูงสุดจะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. มีความบริสุทธิ์ในเบื้องต้น (เมื่อคิดและตั้งใจจะทำ) 2. มีความบริสุทธิ์ในขั้นกลาง (ขณะกระทำ) และ 3. มีความบริสุทธิ์ในขั้นปลาย (หลังจากได้กระทำเสร็จสิ้นแล้ว)
พิจารณาองค์ประกอบทั้งสามให้ถ้วนถี่มาประมวลกัน (ตามทรรศนะของผม) ก็คือ การมีความบริสุทธิ์ใจที่จะทำบุญ สิ่งของที่จะมอบนั้นหามาด้วยความสุจริต สิ่งของนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ ทั้งผู้ทำบุญและผู้รับตลอดจนถึงบุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง...จะไม่ได้รับผลกระทบในทางไม่ดีทั้งทางกายและจิตใจจากการทำบุญดังกล่าว
เมื่อทราบองค์ประกอบของการทำบุญแล้ว เราก็ลองมาพิจารณาดูว่า...เราจำเป็นต้องทำสังฆทานด้วยถังเหลืองที่ซื้อมาตามร้านหรือเปล่า?
ถ้านิ่งคิด นิ่งพิจารณาโดยใช้เหตุผลง่ายๆไม่จำเป็นต้องซับซ้อน เราก็จะพบว่า...ไม่จำเป็นเลย เราสามารถทำสังฆทานด้วยสิ่งอื่นใดก็ได้ที่เป็นประโยชน์ต่อสงฆ์ โดยที่เรามีความบริสุทธิ์ใจที่จะทำ แสวงหาสิ่งนั้นๆมาด้วยความสุจริต และไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ใครจากการทำสังฆทานของเรา
ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวไว้ในหนังสือธรรมะ-ทำไม ว่า บนเส้นทางบิณฑบาตของท่าน ทุกเช้าจะมีชายผู้หนึ่งถวายหนังสือพิมพ์แก่ท่าน 1 ฉบับ โดยกล่าวกับท่านว่า...ขอมอบ น.ส.พ.ฉบับนี้แก่สงฆ์ เพื่อที่เมื่อพระสงฆ์ได้มีความรู้จากการอ่านแล้วจะได้อบรมสั่งสอนฆราวาสได้ดียิ่งขึ้นไป การทำทานเช่นนี้แหละที่เป็นสังฆทานและเป็นทานที่บริสุทธิ์โดยแท้
ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการทำสังฆทานของฆราวาสโดยทั่วไปด้วย "ถังเหลือง" ว่า ควรพิจารณาดูสิ่งของในถังนั้นให้ดีว่ามีประโยชน์อันใดต่อสงฆ์ที่เราจะถวายถังนั้นให้หรือไม่ สิ่งของนั้นจะมีประโยชน์แก่พระสงฆ์เพียงไร เพราะเท่าที่ท่านเคยประสบมา พ่อค้าแม่ค้าบางรายก็ฉวยโอกาสเอาสิ่งของที่ไม่มีคุณภาพใส่ลงมาในถัง (อาจเพราะเห็นว่าผู้ซื้อไม่ได้เป็นผู้ใช้สิ่งของนั้นเอง ไม่น่าจะมาโวยกลับเอาทีหลังได้) ผลก็คือ สิ่งที่เราถวายพระสงฆ์ไปนั้นสูญเปล่า และหากเป็นอาหารที่ไม่มีคุณภาพยังอาจจะทำให้พระท่านอาพาธเสียอีก
การทำสังฆทานด้วยถังเหลืองน่าจะเป็นเพียงกรณีของการเติมเต็มความต้องการทางใจของชาวพุทธในโลกยุคปัจจุบันมากกว่าจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของสังฆทาน โดยอาศัยความสะดวก ความง่าย ความสบาย ความไม่คิดอะไรมากในการกระทำ...เพียงรู้สึกดีและสบายใจ (ด้วยความเชื่อที่ผิดๆ) ที่ได้ทำเท่านั้น โดยแทนสีเหลืองบนถังเปรียบดังสีของจีวร
โดยแท้แล้ว สังฆทานคือการทำบุญกับพระสงฆ์ด้วยความคาดหมายว่า เมื่อพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้รับการเกื้อหนุน-เกื้อกูลจากฆราวาสจนมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพแล้ว จะได้มีกำลังที่จะสั่งสอน-อบรมฆราวาสทั้งหลายให้มีความเห็นที่ถูกต้อง อยู่ในศีลในธรรมต่อไป และเมื่อพระสงฆ์สามารถดำรงอยู่ได้ในธรรมร่วมกับฆราวาส นั่นหมายถึงการที่ "พุทธศาสนา" ยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยเช่นกัน การดำรงอยู่ของพุทธศาสนาต่อไปนั้น จะเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างหนึ่งว่า ทายาทของเรา-เพื่อนมนุษย์ร่วมโลกของเราจะได้มีหลักคำสอนที่ดี มีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจอันประเสริฐต่อไปอีกแม้หลังจากหมดสิ้นยุคของเราไป
ในเรื่องของการทำทานแบบไม่เฉพาะเจาะจงนี้ เมื่อพิจารณากันให้ดี จะพบว่าเป็นการอบรมฆราวาสให้ไม่ยึดติดในตัวบุคคลหรือตัวพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เพราะถึงที่สุดแล้วก็มี "หลักธรรม" เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งอันแท้จริงของชาวพุทธทุกคนได้สืบไป ไม่ใช่เพียงแค่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง และการยึดมั่นถือมั่นไม่ว่าในตัวบุคคล สิ่งของ นามธรรม หรือแม้กระทั่งตัว "บุญ" เอง ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์แก่ผู้ยึดถือทั้งสิ้น
เรื่องความไม่ยึดติดในตัวพระสงฆ์กับการทำสังฆทานนี้ เคยมีธรรมเนียมในสมัยก่อนเช่นกันว่า เมื่อเราตั้งใจนำสิ่งของใดไปถวายเป็น "สังฆทาน" แก่วัดใดวัดหนึ่ง ให้เราถวายสิ่งของนั้นๆแก่พระสงฆ์รูปแรกที่ได้พบทันที ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถลดความยึดติดในตัวผู้รับได้ เพราะโดยปกติ เราๆท่านๆก็คงเห็นกันว่าหากเราต้องไปทำบุญ เราก็จะไปทำบุญกับเจ้าอาวาสหรือพระผู้มีชื่อเสียงประจำวัดนั้นๆมากกว่าที่จะไปทำกับพระสงฆ์รูปอื่นๆ
อีกทั้งสิ่งของที่เรานำไปถวายพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งอาจจะไม่เป็นที่จำเป็นสำหรับท่านในขณะนั้นเลยก็ได้ แต่ยังมีพระสงฆ์รูปอื่นที่มีความจำเป็นกว่า เมื่อเราถวายเป็น "สังฆทาน" คือไม่เฉพาะเจาะจง ก็จะมีโอกาสทำให้สิ่งของที่เราถวายนั้นเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงได้
มาสรุปสุดท้ายตรงนี้กับสิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังมาแต่เด็กว่า การทำสังฆทาน 1 ครั้ง เท่ากับการตักบาตร 1 ปีเต็มจริงหรือเปล่า?
ก็คงเป็นคำตอบง่ายๆนะครับว่า...ไม่จริงโดยสิ้นเชิง ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆคงไม่สามารถไปกะเกณฑ์ไปใช้มาตรวัดใดๆมาวัดได้ว่าทำอะไรแล้วจะได้บุญมากน้อยเท่าใด และมันก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องไปทำเช่นนั้นด้วย ขอเพียงสิ่งที่เราทำเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจตามองค์ประกอบของการทำบุญก็เป็นเรื่องเพียงพอแล้ว สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเองและผู้คนรอบข้าง ที่เมื่อมีเพิ่มขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นก็ควรจะมีเพิ่มขึ้น (ทำบุญให้มากขึ้น) หากเราสามารถทำได้
การไปกะเกณฑ์เอาโดยใช้มาตรวัดโน่นนี่ นอกจากไม่เป็นสาระประโยชน์ใดๆต่อตัวเองและคนรอบข้างแล้ว ยังก่อให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจจากความยึดมั่นถือมั่นอีกต่างหาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราไม่สามารถบรรลุเกณฑ์ (อันไม่เป็นสาระ) ของเราเองได้
หมายเหตุ: ข้อเขียนข้างต้นทั้งหมด ผมประมวลเอาจากความนึกคิดของตัวเอง ผ่านการอ่านหนังสือธรรมะ-ทำไมของ ว.วชิรเมธี และข้อเขียนของคุณเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ ในมติชนสุดสัปดาห์ รวมถึงหลักธรรมคำสอนอันเป็นประโยชน์ที่ได้เคยอ่านมาช้านาน เมื่อเป็นการประมวลเอาด้วยความนึกคิดของตัวเอง จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะเกิดความผิดพลาดและไม่สมบูรณ์ ฉะนั้น หากเกิดความผิดพลาดใดๆขึ้นมาก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ 
    
---ขอบคุณที่แวะมาครับ   ---
Create Date : 27 เมษายน 2549 |
Last Update : 27 เมษายน 2549 14:16:57 น. |
|
18 comments
|
Counter : 1742 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: เป่าจิน วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:16:41:00 น. |
|
โดย: ตุ๊กตาไขลาน วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:18:26:18 น. |
|
โดย: rebel วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:19:49:37 น. |
|
โดย: hunjang วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:21:49:08 น. |
|
โดย: นายเบียร์ วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:7:30:00 น. |
|
โดย: ZAkk Blade วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:12:35:53 น. |
|
โดย: Qooma วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:8:18:00 น. |
|
โดย: keyzer วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:14:47:36 น. |
|
โดย: lovelyberry IP: 202.42.154.133 วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:17:17:07 น. |
|
โดย: ตุ๊กตาไขลาน วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:18:10:47 น. |
|
โดย: rebel วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:21:28:15 น. |
|
โดย: เมย์ IP: 58.10.24.241 วันที่: 4 ธันวาคม 2549 เวลา:11:42:59 น. |
|
โดย: อฌิรษา IP: 203.144.144.164 วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:16:33:21 น. |
|
| |
|
The Legendary Midfielder |
 |
|
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
... " เพราะเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี, เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด, เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ " หากปรารถนาผลอันดี พึงสร้างเหตุสร้างปัจจัยอันดี "
... " ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ "
... " ทะเลทุกข์ไร้ขอบเขต กลับใจจะพบฟากฝั่ง "
... "หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น "ทำกรรมดีย่อมได้รับผลของกรรมดี ทำกรรมชั่วก็ย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว"
... "...กฎแห่งกรรมไม่เคยผิดพลาดมาก่อน "ไม่ว่าเราจะประสบพบกับคราวเคราะห์หนักหนาสาหัสแค่ไหน "ให้ระลึกไว้ว่านั่นเป็นสิ่งที่สมควรและสาสมแก่เราแล้ว "เป็นเพราะเราได้สร้างเหตุนั้นๆมาก่อน "ผลเช่นนี้จึงตามมา..."
|
|
 |
|
เวลาที่เราคิดทำสังฆทานที ถ้าไม่รีบด่วนจริงๆ เราจะเลือกของเองเลย ไม่ซื้อถังเหลืองแบบสำเร็จ
(เพราะก้เห็นเหมือนกันว่า ของมันไม่ค่อยได้คุณภาพน่ะค่ะ)
อ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะเลย