วิธีถอน "จองเวร" ของเมียหลวง เมียน้อย
ผู้ศึกษา :    มีความเข้าใจว่า ตอนนี้เราจะถูกกระทำแล้ว โดนคนอื่นมาทำร้ายเรา เราจะทำยังไง

ผู้รู้ :        เราต้องถอน "ตัวจองเวร" ออก คือ อโหสิกรรม อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นอโหสิ ตัวเราต้องรู้จักอโหสิให้คนอื่น 

    ตัวเองต้องรู้จักอโหสิกรรมให้กับบุคคลอื่น ถ้าไม่อย่างนั้น เราเอาแต่ให้คนอื่นมาอโหสิให้แก่เรา แล้วเราไม่รู้จักอโหสิให้แก่บุคคลอื่น เราก็จะถูก เราก็จะถูก "ตัวจอง" ตัวนี้บงการให้เราเป็นไป

ผู้ศึกษา :    เรื่องการจองเวรนี้จะเอาออกยากมาก เช่น ผัวจะให้อภัยเมีย เมียจะให้อภัยผัว

ผู้รู้ :         เพราะเขาไม่ยอมรับความจริงแห่งวิบากกรรมใช่มั้ย? เขาก็จะถามว่าทำไมวิบากกรรมถึงมีอย่างนี้

ผู้ศึกษา : ก็เพราะว่าเราเคยไปทำเขาก่อน แต่ว่าเขาก็จะมีความรู้สึกว่า ฉันโดนมากเกินไป

ผู้รู้ :         ถ้าเราโดนมากเกินไป ก็เอาเป็นว่า ทำยังไงดี?

ผู้ศึกษา :     สมมติว่า ผัวทำให้เราเจ็บแค้น เจ็บใจมาก ถ้าเป็นกรรมที่ผู้รู้ว่า อดีตชาติเราก็คงทำนิดเดียว แต่อันนี้รู้สึกว่ามีดอกเบี้ยเยอะ

ผู้รู้ :        นิดเดียวนี้ใครบอก

ผู้ศึกษา :     หนูบอกเอง

ผู้รู้ :        ถ้าบอกได้ก็ไม่ต้องมาหาอาจารย์ ไม่ใช่เหรอ

ผู้ศึกษา :     รู้สึกว่ามันเจ็บปวดมากเกินไป ขอให้น้อยกว่านี้จะได้มั้ย?

ผู้รู้ :        ได้!! ถ้าเราทำให้ถูกต้อง สิ่งการณ์ต่างๆ ก็จะลดโดยธรรมชาติ

ผู้ศึกษา :    อย่างนี้เราไม่ต้องการให้ผัวไปบ้านเมียน้อยไม่ได้หรือ? ผัวกลับมาหาเมียหลวงเมื่อไหร่ผิดเถียงกันเมื่อนั้น

ผู้รู้ :        ตกลงเราจะไม่จ่ายหนี้กรรมใช่มั้ย

ผู้ศึกษา :        เราก็จะจ่ายกรรมอยู่ แต่สมมติว่า ๑๐๐ ขอทยอยจ่าย ๕ อย่างนี้ได้มั้ย ไม่ต้องจ่ายเยอะขนาดนั้น

ผู้รู้ :        แล้วขอถามหน่อยว่า เราจะเอาเคราะห์ไว้กับตัวหรือเปล่า เราจ่ายเขาไม่ดีกว่าเหรอ

ผู้ศึกษา :    เขาทำเราเจ็บซะขนาดนี้ แล้วจะไม่ให้เราจองเวรอาฆาตหรือ? งั้นไม่จองผัวก็ได้แต่จะจองเมียน้อยมันดีกว่า อยากจะไปตีเมียน้อยดีกว่าได้หรือไม่?

ผู้รู้ :        ก็ในเมื่อเราอยากจอง ถ้าเราอยากจองเวรกรรมจะเพิ่มหรือจะลดล่ะ? ตกลงเราจะเอาลดหรือเอาเพิ่ม 

ผู้ศึกษา :    เอาลดค่ะ

ผู้รู้ :        ถ้าเราจะเอาลดก็อย่าไปจองสิ เราเจ็บตอนนี้ แต่อย่าไปเจ็บหลายๆ ที

ผู้ศึกษา :    ยังไงๆ จะอะไรก็ได้ แต่อย่าพาเมียน้อยมาที่บ้านของฉัน

ผู้รู้ :        โอ้!! ได้ 

ผู้ศึกษา :    แต่!! มันก็ยังพามา (ผัวพาเมียน้อยเข้าบ้าน)

ผู้รู้ :        ก็อยู่ที่สิทธิของเอ็ง เอ็งทำสิทธิได้แค่ไหน ถ้าทำสิทธิ์ไม่ได้แล้วจะมาห้ามเขาไม่ให้พามา ก็ในเมื่อเราไม่มีสิทธิ์ ถ้ามีสิทธิ์เขาก็มาไม่ได้

ผู้ศึกษา :    ถ้าอย่างนั้นแล้วหนูจะมีสิทธิ์ยังไง

ผู้รู้ :        ก็สร้างกุศลสิ เอามั้ย อาจารย์มีวิธีดีๆ เอามั้ย ตื่นเช้าขึ้นมาไหว้พระ แล้วพูดว่า "เราจะอโหสิกรรม สิ่งที่เขามาขอให้เขารับเป็นกุศล แล้วขอให้กรรมจงสลายไป" เขามาหนึ่งครั้งก็ขอให้เคลียร์กรรมกันไปเลย ให้สลาย ถ้าอย่างนี้ เขา (เมียน้อย) ยิ่งมาบ่อย วิบากกรรมก็ยิ่งหลุดง่าย ดีไม่ดีชวนเขามากินข้าวเรื่อยๆ เดี๋ยวก็หลุดไปเลย ยิ่งจ่ายหนี้กรรม กรรมก็ยิ่งลด

ผู้ศึกษา :    ก็จะกลายเป็นลดตัวจากอาฆาตพยาบาทกลายเป็นเมตตา กรุณาต่อกัน เมียหลวง เมียน้อยก็จะกลายเป็นเพื่อนกัน ผัวก็จะไม่ต้องปวดหัวล่ะ ผัวก็จะคุยดีกับเมียหลวง ผัวก็จะสบาย

ผู้เรียน :     ไม่เฉพาะเมียน้อยเท่านั้น สามารถพูดได้กับหมู่เพื่อนที่จะมาเป็นเมียน้อยของผัวเราก็ได้ คือ ของพี่ส่วนมากเมียน้อยจะเป็นหมู่เพื่อนของผัว ผัวของหนูจะให้ความสำคัญกับเพื่อนเยอะ

ผู้ศึกษา :    แล้วพี่จะตั้งฐานจิตยังไง

ผู้เรียน :     เราตื่นขึ้นมาแล้วก็ต้องขออโหสิกรรมให้กับเขา

ผู้รู้ :        ถ้าเราไปด่าเพื่อนผัวอยู่เรื่อย แต่เราไม่คิดว่าเพื่อนผัวเรามา มาเคลียร์กรรมของผัวเราไป ถ้าเราคิดอย่างนี้เราจะยัวะมั้ย?

ผู้เรียน :     ไม่ยัวะค่ะ

ผู้รู้ :        เขามาเขาก็มาเคลียร์กรรมไป ถ้าเขาไม่มาสิเราจะยุ่ง เพราะเขามาเราจะได้เคลียร์กรรมวิบากของเรา สมมติว่า วันนี้เขาไม่มา ก็ไม่ได้เคลียร์กรรม ผัวก็ต้องมาทะเลาะกับเรา ต้องตีเรา ด่าว่าเรา ถูกหรือไม่ แต่ถ้าคนนั้นมาแล้ว ตัวเจ้ากรรมนายเวรแทนที่จะขยายเพิ่มขึ้น กลับหลุดหายไป ฉะนั้น ผัวก็จะได้ไม่ต้องมาตีเรา ไม่ต้องมาด่าเรา เราไม่ต้องทุกข์ นี่เหมือนกับคำสอนของในหลวง "ยอมขาดทุนเพื่อได้กำไร" รู้จักขาดทุนบ้างจะได้มีกำไร 

    ฉะนั้น เราต้องรีบทำสิ่งดีๆ สิ่งดีๆ ทำ ถึงจะมีสิ่งดีๆ มาเกิดขึ้นได้

    เราอยากให้ผัวเรากลับมา เราต้องทำสิ่งดีๆ กับผัว แล้วผัวนั้นถึงจะกลับมาเป็นสิ่งดีๆ ให้กับเรา

    ถ้าเรามีตัวอาฆาต เราก็จะไปกล่าวร้ายเขา สร้างเรื่องแกล้งเขา ไปสร้างเรื่องหาเรื่องว่าเขาไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้

    ทีนี้เราจะแก้ความเจ็บของเรา ต้องแก้ให้ถูก ถ้าไม่ถูกเราก็จะยิ่งเจ็บไปเรื่อยๆ

    พอมีความเข้าใจมากขึ้น ก็ถูกวิธี ถ้าถูกต้องสัมมา (ถูกต้อง) ผลก็จะเป็นสัมมาใช่มั้ย ถ้าวิธีของเราเป็นมิจฉา (เห็นผิด) ผลก็จะมีมิจฉาตอบแทน มีมิจฉากี่เปอร์เซ็นต์ มิจฉาก็จะมาตามเปอร์เซ็นต์นั้น ขึ้นอยู่กับเรา

    ตัณหา กิเลส ก็เหมือนเช่นกันอย่างนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใส่อะไรลงไป เราจะเอาสัมมาหรือมิจฉาใส่ลงไป

    กิเลส ตัณหา เป็นตัวกลางๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ตัณหาไปในทางไหน ใช้ตัณหาไปทางในที่ถูกต้อง เช่น ตัณหาอยากทำดี ไม่อยากทำชั่ว อยากได้เงินมามากๆ แล้วเอามาช่วยเหลือคนอื่น เป็นต้น 

ผู้ศึกษา :    พระต่างๆ ก็จะคิดว่า กิเลสตัณหาไม่ดี ไม่ควรเอา เป็นทางลบ อย่างนี้เป็นอคติ

ผู้รู้ :        เช่น เดี๋ยวนี้หลวงพ่อลากเรือไปถึงจุดหนึ่งที่ถึงฝั่ง ลากเรือถึงฝั่ง แต่ปิ่นขึ้นฝั่งไม่ได้ งงมั้ย?

ผู้ศึกษา :    ผมจะเข้าใจถูกมั้ย ลากถึงฝั่ง หมายความว่า พาไปถึงล่ะ แต่ไม่สามารถตีความให้กระจ่างชัดเจนได้ ถ้าตีความตรงนี้ให้กระจ่างชัดเจนได้ ภูมิปัญญาของท่านก็จะขึ้นเลย

ผู้รู้ :        เขาลากถึงฝั่ง ก็ต้องละทิ้งสิ่งที่ลากมา ถ้าเราไม่ทิ้งสิ่งที่ลากมา เราจะลากขึ้นไปด้วย เป็นไปไม่ได้ คือ เราต้องวางถึงจะปิ่นขึ้นไปได้

ผู้ศึกษา :    ถ้าตัวที่หลวงพ่อต้องวาง คือ ตัวไหนครับ

ผู้รู้ :        ตัวประธาน คือ ทั้งหมด คือ เชือกมีปม ผ่านรูเข็มไม่ได้ เข็มนั้นจะหาประโยชน์ไม่

ผู้ศึกษา :    งั้นก็ผ่านยาก

ผู้รู้ :        ผ่านยากแต่ก็มีคนผ่านมาแล้ว หรือไม่มี ก็ต้องมี

ผู้ศึกษา :    ในเมื่อเรือช่วยเหลือเรามาแล้ว เราก็ต้องมีสายสัมพันธ์กับเรือนี้ แล้วเราจะตัดสายสัมพันธ์กับเรือนี้ได้ยังไง

ผู้รู้ :        เราต้องรู้ว่าเวลานี้เวลาอะไร เราต้องยอมรับในวาระแห่งธรรม วาระธรรมนี้ต้องหยุด เราก็ต้องหยุด วาระเวลานี้ต้องเกิดก็ต้องเกิด วาระนี้ถึงจุดควรต้องละ ก็ต้องละ เราไม่ละก็ขึ้นไม่ได้ นี่แหละ รู้วาระแห่งจิต ความจริงของธรรม แต่ไม่ยอมรับการปฏิบัติวาระแห่งความจริงของธรรมนั้นๆ ไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไม รู้ไปก็แค่นั้น

ผู้ศึกษา :    ถ้าเราเกิดความรู้สึกว่า "เสียดาย" ขึ้นมาล่ะ ทำยังไง

ผู้รู้ :        พอเราเสียดาย พอถึงวาระธรรมตรงนั้น ถ้าเราเสียดายเราก็ต้องคัดสรรใช่มั้ย? ถูกหรือไม่ เราก็ต้องคัดสรร ถ้าสมมติว่า เราไม่มีวาระว่าจะต้องรับความจริง ตรงนั้นจะหยุด แล้วเราจะคัดสรรมั้ย?

ผู้ศึกษา :    เราก็จะไม่คัดสรร

ผู้รู้ :        นั่นแหละ ก็จะลากไปทั้งหมด นี่แหละ ฟังเข้าใจหรือยัง

ผู้ศึกษา :    เราต้องรู้จักเลือกคัดสรร ไม่งั้นก็จะลากไปทั้งหมด เราก็ไม่ไหว

    สมมติว่า เราเห็นน้องพริตตี้คนสวย แล้วยังอาลัยอาวรณ์ล่ะ

ผู้รู้ :        ถ้าเราอาลัยอาวรณ์พริตตี้คนสวยใช่มั้ย แต่เวลานี้เราถ่ายรูปน้องพริตตี้ไปได้นี่ เราถ่ายรูปพริตตี้ มีเบอร์พริตตี้ เดี๋ยวก็คุยกันได้นี่ ถูกหรือไม่ แทนที่จะลากน้องพริตตี้คนสวยแบกหลังเราไปด้วย 

ผู้ศึกษา :    แล้วเราจะทำยังถ่ายรูปพริตตี้ไป แต่ไม่เอาตัวพริตตี้ไป มีวิธียังไง

ผู้รู้ :        อ้าว!! หนังสือทั้งเล่ม แล้วเราจะเอาหนังสือทั้งเล่มยัดใส่สมองของเรามั้ย        

ผู้ศึกษา :    ยัดไม่ได้    

ผู้รู้ :        เอ็งก็ต้องย่อยเป็นภูมิปัญญาเข้าไป เหมือนกับตอนนั้น ลุงนิยมฝันไปว่า แบกเศียรพระพุทธรูปไง เขาเอาแต่เศียรพระพุทธรูปแบกแล้วเหนื่อย พระพุทธเจ้าประทานเศียรมาให้ ๓ เศียร แล้วยกแค่เศียรเดียวจะตายเสียให้ได้ เขามาเล่าให้ฟัง ก็เลยอธิบายว่า เศียรก็คือหัว หัวก็คือปัญญา เราไปเอาเศียรของพระพุทธเจ้ามา อย่าว่าแต่ ๓ เศียรเลย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ยังเอามาได้เลย เอามาได้มั้ย?

ผู้ศึกษา :    เอามาได้ครับ

ผู้รู้ :        แล้วเอาหนังสือ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ยัดไปในหัวได้มั้ย มึงแบกไว้ได้มั้ย ยกไปไหนได้มั้ย

ผู้ศึกษา :    ไม่ได้ครับ 

ผู้รู้ :        แต่ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อยู่ในสมองเราได้ใช่มั้ย

ผู้ศึกษา :    ใช่ครับ

ผู้รู้ :        หนังสือสักกี่เล่ม เอาเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ แล้วเราจะไปแกะหนังสือทั้งหมดมั้ย?

ผู้ศึกษา :    ไม่ได้ แต่ผมยังไม่เข้าใจ

ผู้รู้ :        เอาล่ะ ตอนนี้ลองหลับตา รูปพริตตี้อยู่ในสมองมั้ย

ผู้ศึกษา :    อยู่ครับ

ผู้รู้ :        ก็นั่นแหละ แล้วจุดเด่นของพริตตี้อยู่ตรงไหน

ผู้ศึกษา :    ยิ้มหวาน

ผู้รู้ :        แล้วตอนนี้มึงหลับตา เห็นยิ้มหวาน ของพริตตี้มั้ย

ผู้ศึกษา :    เห็นครับ

ผู้รู้ :        แล้วพริตตี้ไปอยู่ที่ไหน ก็อยู่ในนี้แหละ        

ผู้ศึกษา :    แล้วเราต้องวางเรือนี้ แล้วเราต้องขึ้นจากฝั่ง แล้วเราต้องเอาพริตตี้มาอยู่ในนี้ แล้วเราจะขึ้นได้ยังไง

ผู้รู้ :        ทีนี้สังขารน้องพริตตี้มันหนัก วางไว้มั้ย หรือว่ามึงจะแบกไปด้วย    

ผู้ศึกษา :    เราต้องวางไว้

ผู้รู้ :        เราวางไว้เราก็ไปได้        

ผู้ศึกษา :    ไปได้แต่ก็ยังคิดถึง อาลัยอาวรณ์น้องพริตตี้อยู่

ผู้รู้ :        ก็อาลัยอาวรณ์ในสิ่งที่เราคัดสรรแล้วสิ หรือว่าเอ็งกินแล้วไม่ต้องขี้        

ผู้ศึกษา :    กินแล้วก็ต้องขี้ครับ

ผู้รู้ :        อ้าวเห็นหรือเปล่า ขี้ไปทำไม ก็เพราะว่าเราคัดสรรสิ่งที่ดีไว้ให้ร่างกาย สิ่งที่ไม่ดีก็ให้ออกไปเป็นขี้ หรือว่ามึงไม่ยอมขี้ ถึงว่ามึงทำไมขี้เยอะ (หัวเราะ) อยู่ในสมองหมด ถูกหรือไม่    

ผู้ศึกษา :    ถ้าอย่างนั้นขอตัวแทน ขอคัดสรรสักหนึ่งอย่าง

ผู้รู้ :        โอ้!! อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้กูแบกไปด้วย ง่ายๆ

ผู้ศึกษา :    มันก็มาเข้าที่ว่า ชื่นชมแต่ไม่หลงใหล

ผู้รู้ :        กูจะบอกมึง คำว่า "ชื่นชมแต่ไม่หลงใหล" อรหันต์คุยกันนะครับ รูปอื่นก็งงกันหมด แต่อรหันต์ก็อ๋อทันทีเลย พระอรหันต์ก็ต้องกินข้าวอยู่ แต่ไม่เคยไปหลงใหลรสชาติแห่งข้าวนั้น เหมือนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต บอกว่า กินข้าวไม่รู้รสก็แย่ จะไปสอนพวกมึงได้ยังไง ไม่ใช่ทัพพีเล๊าะ กินข้าวรู้รสรู้อะไรหมด แต่กูไม่หลงติดกับรูป รสชาติ นี่แหละ อรหันต์แล้ว


^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต



Create Date : 22 พฤษภาคม 2562
Last Update : 22 พฤษภาคม 2562 18:37:35 น.
Counter : 398 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
พฤษภาคม 2562

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31