ตอบปัญหานักปราชญ์ตะวันตก เกี่ยวกับ "ศีล"

ตอบปัญหานักปราชญ์ตะวันตก เกี่ยวกับ "ศีล"

 

  ข้อความนี้ คัดมาจากหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หน้า ๗๑๓-๗๑๘ แล้วตอบคำถามเพิ่มเติมของหลวงพ่อประยุทธ์ ของนักปราชญ์ตะวันตกว่า


  "เคยมีปราชญ์ฝ่ายตะวันตบางท่าน เขียนข้อความทำนองตำหนิพระพุทธศาสนาไว้ว่า มีคำสอนมุ่งแต่ในทางปฏิเสธ (negative) คือ สอนให้ละเว้นความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ฝ่ายเีดยว ไม่ได้สอนย้ำชักจูงเร่งรัดพุทธศาสนิกให้ขวนขายทำดี (positive) ไม่ได้แนะนำว่า เมื่อเว้นชั่วนั้นๆ แล้ว จะพึงทำควมดีอย่างไรต่อไป มีคำสอนเป็นสกวิสัย (subjective) เป็นได้เพียงจริยธรรมแห่งความคิด (an ethic of thoughts) เป็นคำสอนแบถอนตัวและเฉื่อยเฉย (passive) ทำให้พุทธศาสนิกชนพอใจแต่เพียงแค่งดเว้นทำความชั่ว คอยระวังเพียงไม่ให้ตนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับบาป ไม่เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยการลงมือกระทำการปลดเปลื้องความทุกข์ และสร้างเสริมประโยชน์สุขจริงจัง"


  เราถือว่าเป็นความคิดเห็นของเขา เราไม่ถือเป็นสิ่งไม่ดี เราถือว่าเป็นกลางๆ ถือว่าเป็นข้อคิดของเขา ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้ ไม่ใช่ว่าใครที่คิดเห็นไม่ตรงกับเรากลายเป็นกล่าวหาเรา ให้ร้ายเรา เป็นการอคติ พระพุทธองค์ไม่เคยสอนอย่างนี้ แต่บางคนกลายเป็นคิดอย่างนี้หมด ใครแตะไม่ได้ ใครแตะเป็นปรปักษ์ เป็นอคติ


  บุคคลตะวันตกคนนี้เขายังเข้าใจพระพุทธศาสนาเพียงด้านเดียว เพราะไม่ได้เข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ฉะนั้น แนะนำว่าควรเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ถึงจะได้รู้ทั้งรอบด้าน สมมติว่ามือมีอยู่ ๕ นิ้ว เขารู้แค่ นิ้วเดียว


  "๑. ศีลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธธรรม มิใช่เป็นเทวโองการ หรือคำสั่งบังคับสำเร็จรูป ที่กำหนดให้ศาสนิกประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้้บ้าง สุดแต่เทวประสงค์ ด้วยอาศัยศรัทธาแบบภักดี ซึ่งไม่จำเป็นต้องทราบเหตุผลที่เชื่อมโยงต่อเนื่องมา"


  ศีลเป็นการชี้แนะ ไม่ได้บังคับว่าคุณจะทำหรือไม่ทำ คุณทำดีก็ได้รับผลดี คุณไม่ทำดีคุณก็ได้รับผลเสียหาย


  สิ่งที่ดียกขึ้นมา ดียังไงก็บอกเขา คุณต้องการคุณไปทำคุณจะได้ดีอะไร คุณไม่ทำคุณจะได้อะไร นี่คือ จริต นิสัย ปรัชญาของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่มีการไปบังคับใครให้ทำ


  เพราะว่าพระพุทธเจ้าถึงหลักประกาศชัดเจนเลยว่า "ทางสายกลาง" ถ้าพระพุทธเจ้าไปทำอย่างนั้น ก็จะผิดสายกลาง แต่ถามว่ามีการบังคับไหม? ก็มีเหมือนกัน แต่บังคับล่างๆ ขึ้นมา ตามกติกา ตามภูมิ ตามภาวะกรรม หรือสภาวธรรม 


  คุณพร้อมแล้ว คุณฟังแล้วคุณดีแล้ว พร้อมแล้วที่จะมาเป็นพระสงฆ์ ก็ต้องเข้ากติกาแล้ว พอเราฟังให้ดีแล้ว เราอยากจะเป็นอุบาสก อุบาสิกาถือศีล ๘ แล้ว เห็นไหม? คุณต้องสมัครใจก่อน พอถึวขั้นนี้แล้วก็จะมีขบวนการว่าจะให้ฝึกสอนยังไงเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย


  พระพุทธเจ้าจะคุยให้ฟังให้เกิดวิชชา ให้สรุปแล้วว่าจะต้องทำอย่างนี้ ถ้าเราบอกว่าจะเอาอย่างนี้เอา พระพุทธเจ้าท่านก็จะบอกว่าขั้นตอนที่ ๑ ถือศีล ๕ ก่อน ตอนที่ ๒ ถือศีล ๘  ขั้นตอนที่ ๓ ถือศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นขั้นๆ ตอนไป


  "๒. ในกระบวนการปฏิบัติธรรม หรือการฝึกอบรมพัฒนาชีวิตนั้น เมื่อมองในแง่ลำดับสิ่งที่จะต้องทำการให้ประณีตย่ิงขึ้นไปตามขั้น ก็ต้องจัดเตรียมพื้นฐานให้ราบรื่น ไม่ง่อนแง่น ไม่ขาดรพ่อง เริ่มด้วยละเว้น หรือกำจัดความชั่วก่อน แล้วจึงเสริมสร้างความดีให้บริบูรณ์ จนถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด เมหืนอจะปลูกพืชต้องชำระที่ดิน กำจัดสิ่งที่เป็นโทษก่อน แล้วจึหว่านพืชและบำรุงรักษาไปจนได้ผลที่หมาย


  ในระบบแห่งพุทธธรรมนั้น ศีลเป็นข้อปฏิบัติขั้นเริ่มแรกสุด มุ่งไปที่ความประพฤติพื้นฐาน จึงเน้นไปที่การละเว้นความชั่วต่างๆ ซึ่งเป็นจดเริ่มต้น พูดย้ำให้เห็นสิ่งที่ต้องการกำจัดอย่างชัดเจนเสียก่อน แบ้วจึงขยายขอบเขต ยกระดับความประพฤติให้สูงขึ้นไปในด้านความดี ด้วยอาสัยการปฏฺบัติในขั้นสมาธิและปัญญาเข้ามาช่วยมากขึ้นๆ โดยลำดับ"


  แม้ว่าเราจะรู้ แต่ถ้าผิดทางผิดเวลาก็จบ สรุป คือ เพราะว่าเราไม่เข้าใจสภาวธรรม หรือบุคคล


  ต้องเคลียร์อวิชชาในตัวเรา ถึงจะเข้าใจศีล ถึงจะรับศีลได้ ถ้าเราไม่เกิดวิชชา วิชชาไม่กระจ่างเรารับศีลไม่ได้หรอก เราต้องมีวิชชาถึงจะไปทำศีลได้ ไม่ใช่เพราะศีลทำให้เกิดวิชชา มันคนละเรื่องกัน นี่แหละเป็นการเข้าใจผิด


  เข้าใจผิดไปว่าเอาแต่ศีล แต่ไม่เอาวิชชา ในเมื่อเรารู้ศีลไม่กระจ่าง แล้วเราจะรักษาศีลไปได้กี่น้ำ เวลาเข้าพรรษากันที ก็จะเฮโลกันทำ ทำได้กี่น้ำ


  แสดงว่าต้องมีวิชชา ศีล สมาธิ ปัญญา เรียงอย่างนี้ถูกต้องไหม? เพราะถ้าไม่เข้าใจในศีล แล้วจะไปปฏิบัติศีลทำไม?


  สิ่งที่ร่ำเรียนกันมาเรียงลำดับ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา แต่ถ้าเรากลับกัน คือ ปัญญา สมาธิ และศีล 


  ก็เหมือนกับหลักธรรม พรหมวิหาร ๔ ที่ในการพิจารณาใช้ต้องกลับกัน คือ อุเบกขา มุทิตา กรุณา เมตตา


  เพราะถ้าเราไม่มีปัญญา เราจะมาทำสมาธิก็ไม่ได้


  สิ่งที่สุดยอดก็คือศีล แต่ไม่ใช่ปัญญา ทั้งๆที่ว่าเราชูป้ายว่า ปัญญาเหนือสุดยอดแล้ว ก็คือ ต้องมีศีล มีความเป็นปกติ


  สิ่งที่เรามีศีล เป็นปกติก็คือ ปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรมนั้นได้ แต่เราต้องมาจากปัญญาถึงจะเกิดสมาธิ แล้วจึงจะเกิดศีล ที่จะบ่งการทำอะไรต่างๆ


  บางครั้งหัวหน้าใหญ่หน่อย พวกสามเณรตีความหมายไม่เป็นไร เจ้าอาวาสตีความเอง ตีความไม่ถูกต้อง เป็นการเข้าข้างตัวเอง ก็กลายเป็นเลอะเทอะ เริ่มเปลี่ยนแล้ว ถ้าผู้รู้ในทางศาสนาหรือว่าผู้นำไปเปลี่ยน ยิ่งเลอะเลย ณ เวลานี้ผ่านมาเรื่อยๆ จนเวลานี้ข้างในผิดเพี้ยนไปเยอะแล้ว ก็ยังไม่รู้ก็ยังทู่ซี้ว่าถูกอีก เพราะว่าคนเปลี่ยนใบหน้าว่าถูกไง


  ต้นเหตุที่ทำผิดศีลกันเพราะเป็นเช่นนี้ แล้วเราก็ไม่อยากปฏิบัติศีลกัน เพราะเราขาดวิชชานี่เอง ต้องให้ปัญญาแก่เขาก่อน เขาถึงจะรักษาศีลได้ ถ้าไม่มีปัญญาก็รักษาศีลไม่ได้


  พระพุทธเจ้าท่านเทศน์สั่งสอนบอกว่า คุณทำแล้วจะได้ดีอะไร แล้วคุณไม่ทำแล้วคุณเสียอะไร แล้วให้เราตัดสินว่าเราจะเอายังไง เอาเริ่มตั้งแต่ขั้นศีล ๕ ก่อน ศีล ๘ ก่อน ถึงจะเป็นศีล ๒๒๗ ข้อก่อน อะไรอย่างนี้ จะเป็นขั้นๆ ไป


  เดี๋ยวนี้บางคนศีล ๕ ยังไม่เข้าใจ แต่กระโดดไปรักษาศีล ๒๒๗ ข้อกันแล้ว พอผ้าเหลืองห่มตัวลงไป คนที่ถือศีล ๘ ก็ต้องไปยกมือไหว้ ทั้งๆ คนนี้ศีล ๕ ยังไม่รู้เรื่องเลย นี่แหละ ผิดเพี้ยนไปแล้ว บอกให้แก้ตรงนี้ก็ยังไม่ยอมแก้ไข คือ ใครจะไปบวชต้องไปเรียนก่อน


  เดี๋ยวนี้ใครจะบวชแล้วเรียนก่อนบ้างมีไหม? ขนาดนี้สวดยังไม่ได้เลย ยังสวดแทนให้ ว่าตามนะ คนบวชก็ต้องพูดตามคนนำ เขาก็ไม่รู้ว่าพูดอะไร


  ธุดงค์ ก็คือ เราต้องข้อวัตรปฏิบัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเพื่อขัดเกลาตนเอง เช่น เราอยากจะขโมยของเขา เราติดนิสัยตัวนี้แล้ว ธุดงค์ก็คือว่า ตั้งกฎขึ้นมา ข้อวัตรปฏิบัติ บังคับไม่ให้เราไปขโมยของเขา นี่แหละเรียกว่าธุดงค์ ธุดงค์เป็นตัวๆ เลย


  "๓. ในระบบการฝึกฝนพัฒนาของไตรสิกขา ศีลยังมิใช่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงจุดหมายสูงสุดโดยตัวของมันเอง แต่เป็นการเตรียมสภาพทั่วไปของชีวิต ให้พร้อมสำหรับความเจริญงอกงามที่เป็นเนื้อหาสาระของชีวิตต่อไป คือการพัฒนาจิตใจ ที่เรียกสั้นๆ ว่า สมาธิ ซึ่งเข้ามาต่อทอดงานพัฒนาชีวิตสืบจากศีล และรับผลจากศีล


  โดยนัยนี้ คุณค่าด้านจิตใจของสีล จึงมีความสำคัญมาก คุณค่าทางจิตใจในขั้นศีล ก็คือ เจตนาที่จะงดเว้น หรือการไม่มีความดำริในการที่จะทำความชั่วใดอยู่ในใจ ซึ่งทำให้จิตใจบริสุทธิ์ปลอดโปร่ง ไม่มีความคิดวุ่นวายขุ่นมั่วหรือกังวลใดๆ มารบกรวน จิตใจจึงสงบ ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย


  เมื่อมีจิตใจสงบ เป็นสมาธิแล้ว ก็เกิดความแจ่มชัดและคล่องตัวในการที่จะให้ปัญญา คิดหาเหตุผล และหาทางดำเนินการสร้างสรรค์ความดีต่างๆ ให้ได้ผลในขั้นต่อไป"


  ศีล แปลว่า ปกติในธรรม


  ศีล เป็นพละกำลัง 


  สมาธิน่าจะเป็นกำลังมากกว่า แต่ไม่ใช่เลย "สมาธิ" คือ "รู้" แค่คงอยู่ได้ แต่ไม่ใช่ตัวกำลัง สมาธิเป็นตัวเสริม เสริมให้ศีลนี้มีกำลัง แต่ตัวกำลังนี้เป็นศีล พูดง่ายๆ ก็คือ 


  ศีลเป็นแนวหน้า เป็นทหารเอก ม้าเป็นสมาธิ เสริมให้ทหารเอกนี้มีพลัง วิชาที่จะรบกันเป็นปัญญา


  ทำไมถึงคิดว่าศีลนี้เป็นแนวหน้า เพื่ออะไร มีเหตุผลอะไร?


  ถ้าตรงนี้เราบอกว่าเราทำดี ตัวอะไรที่บอกเราว่าเราทำดีก็คือ ศีล เพราะเรามีศีล เราจึงบอกกับตัวเองว่าเราทำดี แต่เรารู้ว่าศีลนี้เป็นความดีได้ยังไง ก็เพราะว่าเรามีปัญญา แล้วเราจะทำให้ตัวดีของเรานี้คงอยู่ เราก็ต้องดำรงรักษาตลอดไป อยู่ได้ เข้มแข็ง ทำได้ต่อ ต้องมีสมาธิ


  นี่แหละ 3 in 1 แต่มีหน้า แต่ก็อยู่ในนั้น ฉะนั้น จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ คนไปเข้าใจผิดว่า ไปทำสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาเอง อย่างนี้ไม่ใช่


  แล้วมีอยู่คำหนึ่งว่า พระสงฆ์จะใช้ตัว ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนชาวบ้านจะใช้คำว่า ทาน ศีล ภาวนา 


  เราต้องมาแยกแยะก่อนว่า


  ทาน คือ การให้ การทำความดี


  ศีล ความหมายของชาวบ้านคือ ปฏิบัติความดี รักษาความดี


  ภาวนา ก็คือ การทำให้ความดีนี้ให้มากขึ้น


  พระสงฆ์ท่านก็ต้องมีทาน ศีล ภาวนาด้วยนี่ แต่ทำไมต้องมาแยกของพระสงฆ์ของชาวบ้าน ถ้าไม่แยก พระท่านก็กลายเป็นฆราวาสนะสิ


  เราลองมาดูกันนะ ปัญญานี่สำคัญไหม? ก็สำคัญ พระสงฆ์ท่านจึงเอาไว้เอง สงวนไว้ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ไม่มีคนตักบาตร ถ้าไม่อย่างนั้นใครๆก็มีปัญญาตัวนี้แล้วบ้านก็เป็นวัดแล้วนี่ แล้วทำไมต้องมาเข้าวัดล่ะ ก็ต้องสงวนไว้ เป็นกุศโลบาย อันนี้มีประโยชน์ ในเมื่อคุณมาเป็นพระภิกษุ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือปัญญา ต้องมาสอนชาวบ้าน


  เราจะเห็นได้ว่า ๒ ตัวล่าง คือ ศีล กับสมาธิ ใช้กันได้หมด สิ่งที่เด่นขึ้นมาก็คือ พระมีปัญญา


  สมมติว่า เขาทำดีไป แล้วรักษาความดี อันนี้ก็เป็นสมาธิชัดๆ เลย แต่เขาไม่รู้จึงมีสมาธิของพระไปเสริมให้ คือ ทำยังไงจะไปเสริมให้มีพลังแห่งความเป็นสมาธิ พระท่านก็จะทำตัวอย่างให้ดู คือ มีปัญญา และมีสมาธิ พอมีสมาธิก็จะมีการประกอบพิธีแล้ว คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ยุบหนอ พองหนอ พุทโธ สร้างรูปแบบวิธีการขึ้นมาแล้ว สร้างขึ้นมาให้มีสมาธิ แล้วเอาสมาธินี้ไปทำความดี ทำดีแล้วมีสมาธิเขาจึงจะรักษาความดีได้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็รักษาความดีไม่อยู่ คือ สร้างประคองที่จะใช้กันด้วยกัน แต่ต้องแยกให้เห็น ถ้าไม่เช่นนั้น ก็จะปินเกลียวกันเอง คนก็จะไม่นับถือพระ พระก็จะไม่มีสิทธิ์อะไรให้เขานับถือ เพราะไม่มีตัวอะไรให้เขานับถือ ฉะนั้น เอาปัญญามาไว้ให้พระเลย เพราะพระมีเวลาศึกษามากกว่า ไม่ต้องไปทำมาหากิน ให้ชาวบ้านต้องมาเลี้ยงพระ ทำไมต้องให้มาเลี้ยงพระ เพื่อให้พระเกิดความสำนึกว่าชาวบ้านไปทำมาหากินมาเลี้ยงดูเรานะ เรามีหน้าที่ต้องไปค้นคว้าสิ่งที่เป็นปัญญา ซึ่งชาวบ้านเขาขาดแล้วเอามาให้เขา นี่คือหน้าที่หลักของพระสงฆ์ แต่เดี๋ยวนี้พระสงฆ์ไม่ทำหน้าที่นี้ ไม่ไปไขว้คว้าปัญญามาให้ชาวบ้าน แต่!! เพียงแต่ไปแย่งงานชาวบ้านทำ เช่น สมาธิก็ไปแย่งชาวบ้านทำ ศีลก็ไปแย่งชาวบ้านทำ แม้แต่การทำทานก็ยังไปแย่งชาวบ้านทำ หน้าที่หลักก็คือเราต้องมีปัญญาต่างหาก แต่เวลานี้หน้าที่หลัก คือ ปัญญาไม่ให้แล้ว ไม่มีเลย มัวแต่ไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันหมด แต่หน้าที่อันสำคัญนี้โหลเลย 


  นี่แหละ พระพุทธเจ้ามอบปัญญาให้กับพระสงฆ์ แต่พระสงฆ์ไม่เอาเลย ไม่ทำ จึงเดือดร้อนชาวประชา จึงมีนักปราชญ์ชาวบ้านขึ้นมา มีบัณฑิตขึ้นมา ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะไม่มี เขาไม่ต้องคิดเอาไว้ที่พระหมด มีอะไรก็คุยกับพระ พระสอนมาเราก็ทำตาม แบ่งหน้าที่กันให้เรียบร้อย แต่เวลานี้พระไม่ทำ ชาวบ้านก็เลยต้องทำ พอชาวบ้านทำก็จะเกิดบุคคล ๓ จำพวกล่ะ


  ๑. ผู้หนึ่งทำแล้วยังเข้าใจเคารพซึ่งกันและกันอยู่


  ๒. อีกพวกหนึ่ง ชักไม่ล่ะ ฉันก็เท่ากับเขา เราทำไมต้องไปนับถือ เห็นไหม? เริ่มแล้ว


  ๓. พวกที่สาม พระยังแย่กว่าฉัน


  แล้วกลายเป็นว่าชาวบ้านอธิบายธรรมะได้ดีกว่าพระ เยอะแยะไป เช่น มีคำกล่าวว่า "อยากเก่งคอมฯ ให้ไปหาพระ อยากเก่งธรรมะให้ไปหาญาติโยม" 
  ทั้งๆ ว่า พระท่านเก่งคอมพิวเตอร์ แทนที่จะไปบวกกับปัญญา แต่เอาไปบวกกับอัตตา การเล่นเกมส์ การพูดคุยจีบสาว (บางรูป) สิ่งที่ควรจะเป็น ในเมื่อเราเก่งคอมพิวเตอร์ ก็เอาคอมพิวเตอร์นี้ไปบวกกับธรรมะ บวกกับปัญญา ก็จะทำให้ปัญญาพระแข็งแกร่งด้วย เพราะว่าได้เสริมของใหม่ไปด้วย  

 

"๔. ชีวิตที่ดี มีจิตใจที่เข้มแข็งดีงามมีความสุขเป็นส่วนสำคัญ ระบบจริยธรรมต้องประสานต่อเนื่องกันโดยตลอด ทั้งด้านจิตใจภายใน และความประพฤติทางกายวาจาภายนอก แะถือว่าจิตใจเป็นจุดเริ่มต้น จึงกำหนดที่เจตนาในใจเป็นหลัก ดังที่ทราบกันแล้วว่า กรรมอยู่ที่เจตนา ซึ่งเป็นตัวตัดสินให้การกระทำความดีต่างๆ เป็นไปด้วยความจริงใจอย่างแน่นอน มิใช่แต่เพียงไม่หลอกลวงคนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึงการไม่หลอกลวงตนเองด้วย ช่วยสร้างสภาพจิตที่ผ่องใส และตัดหนทางไม่ให้เกิดปัญหาทางจิตในด้านความขัดแย้งของความประพฤติ"


  สิ่งที่บรรยายนี้ละเอียดมาก แต่ศัพท์บางตัวที่ทำให้หรูไป เช่น ผ่องใส เพราะว่า บางคนทำดีแต่ไม่ "ผ่องใส" ก็มี แล้วทำไมทำดีแล้วต้องผ่องใส ทำดีแล้วไม่ผ่องใสก็มี เช่น เราจะไปเลี้ยงข้าวเขา แล้วหุงข้าวแล้วเราโมโหด้วย ก็มีเยอะแยะไป


  ถ้าผ่องใสเป็นตัวปัญญาอีกตัวหนึ่ง จะไม่เหมารวม


  การทำบุญแก้ทุกข์ไม่ได้ ตรงนี้ทำให้คนเข้าใจผิด


  "๕. องค์มรรคขั้นศีลสอนว่า ความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานที่สุดของบุคคลแต่ละคน ก็คือความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการไม่ให้มีความคิดที่จะทำความชั่วด้วยการเบียดเบียนหรือล่วงละเมิดต่อผู้อื่น อยู่ในจิตใจของตนเลย เมื่อมีความบริสุทธิ์นี้รองรับอยู่เป็นเบื้องต้นแล้ว ความรับผิดชอบนั้นจึงขยายกว้างออกไปถึงขั้นเป็นการธำรงรักษาและเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแ่หงคุณธรรมของตน ด้วยการขวนขวายทำความดี บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่คนอื่นๆ พูดสั้นๆ ว่า มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการที่จะละเว้นความชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่น ในการที่จะทำความดีแก่เขา"


  ถ้าธรรมะสูงไป คนทั่วไปจะทำไม่ได้ พอคนทำไม่ได้คนก็จะไม่ทำ


  คำที่สูงก็คือ "ความบริสุทธิ์" คุณบริสุทธิ์ได้ไหม? พอเราบริสุทธิ์ไม่ได้เราก็ไม่เอาดีกว่า ไม่ทันไร เพิ่งทำแล้วจะให้บริสุทธิ์ ในเมื่อปฏิบัติแล้วไม่บริสุทธิ์ก็เกิดความขัดแย้งในใจ ฉันเสแสร้งหรือเปล่า จะสงสัยว่าตนเองทำได้จริงหรือเปล่า ในเมื่อเราทำไม่จริงก็กลายเป็นหลอกเขาดีกว่า ไม่ทำดีกว่า
  เราจะเอาความบริสุทธิ์ทำไม ควรบอกกับตัวเองว่า พยายามให้รู้ รู้ตัวว่าเราทำถูกหรือทำผิด อย่างนี้ไม่ดีกว่าเหรอ พอรู้ตัวว่าทำถูกแล้วไม่ไปทำตามสิ่งที่ว่าผิด เขาก็จะเข้าใจว่าไม่ทำตามต่างหาก เขาก็จะลุกขึ้นสู้แล้ว แล้วอยู่ดีๆ ให้บริสุทธิ์ในใจขึ้นมา ไม่คิดอย่างนี้ขึ้นมามันเป็นไปได้ตรงไหน พอมันคิดขึ้นมากลายเป็นเสแสร้งนี่หว่า เราไม่ได้ เพราะว่าเราต้องคิด มันเป็นความคิดมันผิดตรงไหน เช่น เราไปเห็นผู้หญิงสวยแล้วบอกกับในใจตนเองว่า เราไม่อยากไปมีเพศสัมพันธ์กับเขาอย่างนี้ไม่ใช่ เพียงแต่ว่าอยากมีเพศสัมพันธ์กับเขาแต่เราไม่ไปทำเขา คือ คิดอยู่ในใจ เรามีกิ๊กอยู่ในใจอย่าไปนอกใจก็จบ ถ้านอกใจก็ซวยของเรา


  "๖. การกำหนดความหมายของศีลในแง่ละเว้นความชั่ว ไม่ให้มีความเสียหายและเบียดเบียนนั้นเป็นการกำหนดข้อปฏิบัติพื้นฐานแห่งความเป็นปกติ ทำให้เจตนาที่เป็นองค์ประกอบของจิตใจที่ออกมาเกี่ยวข้องด้านนี้ ปลอดพ้นความเสียหาย ไม่มีความชั่ว เมื่อมีความเรียบร้อยปกติปลอดสภาพยุ่งยากวุ่นวายเป็นพื้นฐาน ทั้งภายนอกและภายในแล้ว ในฝ่ายความดีงามเกื้อกูล ก็เป็นเรื่องที่จะพึงขยายออกไปได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัดและพัฒนาต่อไปสู่ความสมบูรณ์


  ตามความจริง ความดีเป็นเรื่องกว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด มีรายละเอียดแนวทางและวิธีการยักเยื้องไปได้มากมายตามฐานะและโอกาสต่างๆ ส่วนความชั่วที่จะต้องเว้น เป็นเรื่องกำหนดได้แน่นอน เช่น ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ ควรละเว้นการพูดเท็จด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่โอกาสและวิธีการที่จะทำความดีที่ปราศจากการพูดเท็จนั้นต่างกัน การวางหลักกลาง จึงระบุแต่ฝ่ายเว้นชั่วไว้เป็นเกณฑ์พื้นฐาน ส่วนรายละเอียด และวิธีการกระทำในขั้นบำเพ็ญความดี เป็นเรื่องในขั้นยายและประยุกต์ให้เหมาะสมกับฐานะ โอกาส และสภาพชีวิตของบุคคลต่อไป"
  ข้อนี้พูดดีมาก ทำให้คนงงมาก งงด้วยว่าไม่รู้จะทำยังไง เอาให้ใกล้กว่านี้ และชัดเจนกว่านี้ ก็คือว่า คุณทำอะไรอยู่ให้เหมาะสมแก่ตัว
  นี่เป็นโวหารเกินไป กลายเป็นว่าคนไม่รู้จะทำยังไง


  ถ้าสรุปในข้อนี้ก็คือ ทุกคนควรมีปัญญารู้ว่าผิดหรือถูก คุณรู้แล้วคุณต้องมาตัดสินใจสรุปว่าจะเอาหรือไม่เอา คุณตั้งเจตนาปฏิเสธ คุณเอาตั้งปณิธานจะทำยังไงก็ว่ากันไป สุดแล้วแต่ขั้นตอนค่อยไปพิจารณา จากน้อยไปหามาก เริ่มลดลง ละลง ไปถึงจนในที่สุดเราเลิกได้ แล้วจะมีเส้นทางให้เขารู้ว่าจะทำยังไง ถ้าไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่รู้ว่า แล้วจะให้เราทำยังไง เราต้องมีขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ ฯลฯ ให้เขา


  เวลาเขาถามว่า แก้กรรมไปทำไหม? แก้กรรมเพื่อให้เราเกิดสิทธิ์ ที่จะทำให้เราได้อยู่ อยู่อย่างเป็นทุกข์หรืออยู่อย่างเป็นสุข ถ้าอยู่อย่างเป็นสุขเราต้องแก้กรรม เราต้องแก้พฤติกรรมตรงนี้ ต้องสร้างเหตุใหม่ ถ้าเราไม่แก้เราก็ต้องทุกข์ เพราะเป็นเหตุเก่า แล้วทำถามว่าเวลานี้ทุกข์ไหมล่ะ? ก็ทุกข์ จึงต้องมาหาวิธีการแก้กรรม นี่แหละ ต้องทำ ทำไมต้องทำ




Create Date : 15 กรกฎาคม 2563
Last Update : 15 กรกฎาคม 2563 9:33:58 น.
Counter : 363 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กรกฏาคม 2563

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog