|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๑๗ / ๑๘

พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
สอนพระกรรมฐานในระหว่างเข้าพรรษาปี ๒๕๒๑ อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๑๗ พระอรหัตตมรรค
...............บรรดาท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีล สมาทานศีลพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไป ขอท่านทั้งหลายตั้งใจสดับ อารมณ์ของพระอรหัตตมรรค ในขณะที่ท่านทั้งหลายตั้งใจสดับ จงตั้งใจฟังด้วยจิตเป็นสมาธิ คำว่าสมาธิคือมีอารมณ์ตั้งมั่นไปตามกระแสเสียงที่รับฟังและก็ใช้ปัญญาพิจารณาไปด้วย
...............คำว่าอรหัตตมรรคจะหมายความว่าท่านผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ มรรคะ นี่เขาแปลว่าเดิน เดินไปเพื่อความหมดกิเลสอย่างสิ้นเชิง ขอให้บรรดาท่านทั้งหลายทบทวนอารมณ์มาเดิมเสียก่อน ว่าการที่เราศีกษาพระกรรมฐานมาตั้งแต่ต้น คือตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ ฌานสมาบัติ และพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี ส่วนต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เราละอะไรกันได้บ้าง ถอยหลังไปโดยเฉพาะ สำหรับอารมณ์สมาธิมีอารมณ์ฌานเป็นต้น นั่นหมายความว่าเรามีอารมณ์ชนะนิวรณ์ ๕ ประการ นิวรณ์ ๕ ประการไม่สามารถจะเป็นเจ้านายใจของเราได้ ถือว่าเราเป็นผู้ชนะ เมื่อเป็นผู้ชนะนิวรณ์แล้ว ก็จงเป็นผู้ชนะตลอดไป อย่ากลับเป็นผู้แพ้ จงอย่าติดอารมณ์เดิม นี่ผมขอทวนต้น อารมณ์เดิมที่เคยศีกษามาจากไหน ติดตำรับตำรา ดูเหมือนว่าวันนี้จะได้ยินเสียงแว่วๆ ว่านักติดตำราจะปรากฎขึ้น นั่นระวังตัวให้ดี จงอย่าติดตำรา คำว่าตำรานั่นน่ะติดได้ จงมีปัญญาเท่าเทียมกับตำรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจงมุ่งอย่างเดียวคือการตัดกิเลส เพราะว่าการติดตำราเป็นปัจจัยไปสู่อบายภูมิ เป็นเหตุถือตัวถือตน นั่นเป็นส่วนของบุคคลที่ตกอยู่ในอารมณ์ของโลกียวิสัยเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้มีส่วนความเป็นพระอยู่เลย ประการที่ ๒ เมื่อเราอ่านตำราแล้วจงใช้ปัญญาพิจารณาตำรา ว่านิวรณ์ ๕ มีอะไรบ้าง ทำยังไงเราจึงจะชนะนิวรณ์ ๕ ได้ นี่ทวนอารมณ์ต้นนะ อารมณ์ฌานเป็นเครื่องฆ่านิวรณ์ แต่การทรงฌานสมาบัติเป็นของดี แต่ว่าดีเล็ก คำว่าดีเล็กก็คือไม่สามารถจะทำตนให้พ้นจากอบายภูมิได้
...............ต่อมาก็มีอารมณ์พระโสดาบัน เป็นเขตแห่งพระนิพพาน ท่านผู้ใดที่เข้าถึงพระโสดาบันย่อมไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ติดโน่นไม่ติดนี่ มีใจติดเฉพาะคือจับอารมณ์ความชั่วของตัวเท่านั้น เราเรียนกันมาถึงพระอนาคามี ตั้งแต่หนี่ง สักกายทิฏฐิ เราไม่ติดในกาย วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สีลัพตปรามาส เราจะเป็นผู้มั่นคงในศีล กามราคะ เราไม่ติดในกามารมณ์ ละได้เลย และก็ปฏิฆะ อารมณ์ของเราจะไม่ยุ่งกับอารมณ์ใดๆ ที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่ปรารถนาและไม่ปรารถนา นี่หลักสูตรที่เราศึกษากันมามีเท่านี้ ได้ถึงเพียงนี้ท่านชื่อว่าเป็นพระอนาคามี ฉะนั้นตำราอ่านก็อ่านเถอะ แต่ว่าจงละสังโยชน์ให้ได้ อย่าถือตัวถือตนว่าเคยเป็นอะไรมา เคยศึกษามาจากไหน มีความรู้ขนาดไหน แล้วจงเอาใจไปวัดใจของเราว่า สังโยชน์ตัวใดบ้างที่อยู่ในจิตของเรา ถ้ายังปรากฎว่ามีสังโยชน์ตัวใดหรือข้อใด ที่ใจเรายังข้องอยู่ จงทราบว่าเรายังเลวอยู่มาก จงสังวรในเรื่องนี้ให้ดี
...............วันนี้จะพูดถึงเรื่องอรหัตตมรรค สำหรับอรหัตตมรรคคือผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นพระอรหัตตผล เพื่อตัดกิเลสทั้งสิ้นให้หมดไปจากจิตของเรา เราก็ยังเหลือจากอนาคามีผลอีก ๕ ข้อ นั่นก็คือ ๑ รูปราคะ ได้แก่การติดอยู่ในรูปฌาน ๒ อรูปราคะ ได้แก่การติดอยู่ในอรูปฌาน ๓ มานะ การถือตัวถือตน ๔ อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้ง ๕ อวิชชา ความโง่ ท่านทั้งหลายอาจจะยังคิด ว่าในเมื่อเป็นพระอนาคามีแล้วยังโง่อีกหรือ ก็ต้องตอบว่ายังมีความโง่อยู่ พระอนาคามีตัดกิเลสหยาบได้หมด แต่ทว่ากิเลสที่ละเอียดที่เป็นอนุสัยยังมีอยู่ในใจของตน คือยังมีความเมาอยู่ในฌานสมาบัติ คือในรูปฌานและอรูปฌาน ยังมีการถือตัวถือตน ถือไม่มาก ถือน้อย ก็ถือว่ายังถืออยู่ ยังใช้ไม่ได้ ยังมีอารมณ์ฟุ้ง คือ อารมณ์นอกเหนือไปจากอารมณ์ของพระนิพพาน ยังมีการติดในฉันทะและราคะอยู่ในสักกายทิฏฐิบางประการ อาการทั้งหมดนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นอารมณ์เบา ก็ยังถือว่าโง่ โง่ตรงไหน โง่ตรงที่ว่าตนเองยังไม่เสร็จกิจ ยังมีภารกิจที่จะต้องทำแต่กลับคะนองตนว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าใช้ภาษาไทยแท้เขาเรียกว่าโง่บัดซบ อย่าลืมนะ ว่าพระอนาคามีนี่ยังโง่ จงอย่าติดโง่ วันนี้ได้ยินเสียงโง่ปรากฎ เสียงนี้จงทิ้งไป อย่าให้เข้ามาอยู่ในสมาคมและสังคมนี้ เพราะว่าที่นี่ต้องการอย่างเดียวคือ อารมณ์ของความบริสุทธิ์ของจิต ถ้าจิตบริสุทธิ์ เสียงมันก็บริสุทธิ์ อาการที่ออกทางกายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ เพราะว่าอารมณ์บริสุทธิ์ ในเมื่อเราเข้าถึงพระอนาคามีผลแล้ว เราจะปฏิบัติตนแบบไหน นี่วันนี้ผมจะพูดอรหัตตมรรคเพียงย่อๆ เพราะว่าผลแห่งการปฏิบัติอยู่ที่ความพากเพียรเอาจริงเอาจัง จงใช้จิตพิจารณาจิตไว้เสมอ การศึกษาในพระพุทธศาสนา ศึกษาเฉพาะโดยตรงในด้านของจิต ถ้าจิตของเราดี ทุกอย่างมันดีหมด ไม่มีอะไรเลว ถ้าจิตของเราเลวทุกอย่างมันก็เลวหมดเหมือนกัน จงจำไว้ให้ดีว่า อัตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทก์ความชั่วจิตของเราไว้เสมอ จงอย่าคิดว่าเราดี ถ้าเรามีความเห็นว่าเราดีเมื่อไหร่ เราก็เลวเมื่อนั้น
...............ตอนนี้เรามาพูดกันถึงการเข้าถึงความเป็นอรหัตตมรรค เมื่อได้อนาคามีผลแล้ว ก็มานั่งพิจารณาอาการของฌานสมาบัติ ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน สำหรับรูปฌานแต่อาการทรงอารมณ์ดี อารมณ์หนักแน่นหนักหน่วง อารมณ์ทรงตัว ในอรูปฌานมีอารมณ์เบา โปร่งดี จิตไม่ติดอยู่ในอากาสานัญจายตนะ หมายความว่าเราไม่เห็นอะไรเป็นสภาวะเป็นตัวเป็นตน มันมีสภาพโล่งสบาย วิญญาณัญจายตนะ เราไม่มองเห็นว่าอะไรมีสภาพเป็นตัวเป็นตน มันมีสภาพเป็นนามธรรม บ้านก็พัง คนก็พัง วัตถุก็พัง ดี จิตสบาย อากิญจัญญายตนะ เราเห็นว่าสภาพของโลกทั้งหมดมันไม่มีอะไรเหลือ จิตเป็นสุข ดี สบาย เนวสัญญานาสัญญายตนะ เราไม่ยึดอะไรมันทั้งหมด เป็นคนมีความจำเหมือนกับมีสภาพจำไม่ได้ ไม่ติดในอะไรทุกอย่าง จุดนี้แหละท่าน ทั้งรูปฌานที่มีอาการอารมณ์ทรงเข้าถึงอุเบกขารมณ์ เช่น ฌาน ๔ มีเอกัคตากับอุเบกขา เหลือตัวนิดเดียวคิดว่าเป็นอรหันต์ เพราะว่ามันกดนิวรณ์คือกดกิเลสเข้าไว้ แต่มีอารมณ์หนัก สำหรับอรูปฌานตัดเบาไปหมด ลอยตัว คิดว่าไม่มีอะไรเหลือแล้ว เราไม่ติดวัตถุธาตุทั้งหมดแม้แต่ร่างกายของเรา ใจเป็นสุขยังคิดว่านี่คือพระนิพพาน เสร็จ ถ้าคิดอย่างนี้ก็จมพัง เป็นความโง่ เราจงตั้งจิตคิดว่า รูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี เป็นบันไดสำหรับเราจะก้าว หรือว่าเป็นนั่งร้านสำหรับเราจะขึ้นไปชั้นสูง คืออารมณ์ของพระนิพพานแท้ๆ ได้แก่อรหัตตผล
...............ฉะนั้น เราจะไม่เมาในรูปฌานและอรูปฌาน แต่ว่าไม่ใช่ทิ้งรูปฌานและอรูปฌาน เราจะใช้รูปฌานและอรูปฌานเป็นประจำวันตลอด ๒๔ ชั่วโมง หมายความว่าถ้าตื่นอยู่เพียงใด เราจะทรงฌานไว้เป็นปรกติ จะกิน จะนอน จะนั่ง จะพูด จะคุย ดูหนังสือหนังหา ทำกิจการงาน จิตทรงอยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌานที่เราคล่องอยู่ จงอย่าวางฌานเสีย ผมบอกแล้วว่าฌานคือชิน ผมไม่นิยมคนที่เก่งฌานในการเข้านั่งหลับตาขัดสมาธิ ถ้าได้เพียงเท่านั้น ลืมตาฌานเคลื่อน อย่างนี้ผมยังถือว่าเลวมาก ยังเป็นผู้เข้าไม่ถึงฌาน ผู้มีอารมณ์ฌานจะต้องทรงอยู่ทุกอิริยาบถ อารมณ์จิตจะเป็นกุศลในตัวละอยู่เสมอ อย่างนี้เขาเรียกผู้ทรงฌาน ทรงฌานได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้ายังไม่ถือว่าดี คือถือว่าเป็นตัวหน่วงเหนี่ยว เหนี่ยวรั้งหรือดึงเข้าไว้ ได้แก่ สังโยชน์ ฉะนั้นเราจะไม่เห็นว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นจุดจบเป็นกิจที่เราจะพึงปฏิบัติ เราจะก้าวต่อไป ทรงกำลังใจไว้ฌานแล้วก็หันไปจับมานะ เพราะรูปฌานและอรูปฌานนี่เป็นของไม่ยาก มานะ ความถือตัวถือตน ถือเราถือเขา ถือพวกถือพ้อง ถือพี่ถือน้อง ถือว่าเราดีกว่าเขา หรือเราเลวกว่าเขา หรือเราเสมอเขา เราเป็นลูกศิษย์สำนักโน้น เราเป็นลูกศิษย์สำนักนี้ เรามีความรู้ชั้นนี้ มีความรู้ชั้นนั้น นี่มันเป็นความเลวของจิต เป็นอารมณ์ของคนที่โง่บัตซบเท่านั้นจะมีความรู้สีกอย่างนี้ เพราะอะไรจึงว่าอย่างนั้น
...............มันถือตัวถือตนถืออะไรกันล่ะ ความรู้ที่เรามีอยู่พาเราไปนิพพานได้มั้ย สำนักที่เราปฏิบัติพาเราไปนิพพานได้มั้ย ครูบาอาจารย์ผู้สอนพาเราไปนิพพานได้มั้ย ถ้าพาไปได้ล่ะก็พระพุทธเจ้าพาไปแล้วทุกคน สมเด็จพระทศพลทรงตรัสว่า อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตน่ะเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น ท่านจะไปไหนนั่นมันเรื่องของท่าน ไม่ใช่เรื่องของตถาคต จะดีจะชั่วมันเป็นเรื่องของท่าน จำข้อนี้ไว้ให้ดี และก็จงวางเสียให้หมด การถือตัวถือตนจงอย่ามี ถ้าท่านทั้งหลายมีความรู้สึกว่าสัตว์เดรัจฉานกับเราไม่เป็นที่รังเกียจกัน เราไม่รังเกียจสัตว์เดรัจฉานเพราะมีสภาวะความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด เขามีขันธ์ ๕ เรามีขันธ์ ๕ เขามีธาตุ ๔ เรามีธาตุ ๔ ร่างกายเขาสกปรกฉันใด ของเราก็สกปรกฉันนั้น ร่างกายเขากับร่างกายเรามันก็ไม่ใช่ใครเป็นเจ้าของ จิตผู้ครองร่างไม่ได้มีอำนาจเป็นเจ้าของร่างกาย ร่างกายมีสภาวะของมันไปตามกฎของธรรมดา ใครจะยึดเหนี่ยว เหนี่ยวรั้งมันไม่ได้ ทำใจให้เป็นสุข คนดี คนชั่ว คนเลว เรื่องของเขา เราถือเพียงอย่างเดียว ว่าเราทำจิตของเราให้บริสุทธิ์ เมื่อถึงเวลาจะคบหาสมาคม ก็ถือว่าการคบหาสมาคมในฐานะเป็นมิตร ไม่คิดจะรังเกียจคนและสัตว์ แล้วมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา ไม่ช้ามันก็พัง ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ฐานะไม่มีความหมาย วิชาความรู้ที่ศึกษามาไม่มีความหมาย เราตายแล้วมันไม่ตามไปด้วย เราจะไม่ยอมถือตัวถือตน ผมขอพูดไว้แต่เพียงย่อๆ เพราะขั้นอนาคามีแล้วปัญญาดีมาก ผมศึกษามาไม่มีใครเขาสอนผมแบบนี้ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาเองทั้งนั้น ส่วนใหญ่ท่านแนะนำให้แต่หัวข้อ ผมก็ใช้หนังสือปฏิบัติ ผมถือว่าหนังสือที่พระอรหันต์เขียนมาผมยอมรับนับถือ หนังสือที่พระอรหันต์แก้มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าอรรถกถาจารย์ ผมยอมรับนับถือ แต่ว่าของฎีกาจารย์กับเกจิอาจารย์นี่ผมไม่มอง เพราะว่าผมจับได้หลายจุดว่าท่านแก้เฝือมาก เราไปติดอย่างนั้นเราก็เสีย ฉะนั้นหนังสือที่เราอ่านเราควรจะดูว่าใครเป็นผู้เขียน ถ้าเป็นพระพุทธพจน์บทพระบาลีของพระพุทธเจ้าเรายอมรับ แต่ว่าจงพยายามทำใจให้เข้าถึง จิตเราหยาบเราเข้าใจหยาบ จิตละเอียดเราเข้าใจละเอียด แต่ทีนี้จิตเราเข้าถึงพระอนาคามี เราสามารถจะเข้าไปทำความเข้าใจในการที่จะเป็นพระอรหันต์ได้ง่าย เป็นอันว่าโยนกลองทิ้งไป เรื่องมานะถือตัวถือตน เท่านี้พอ ผมไม่พูดมาก ขั้นอนาคามีเราจะต้องพูดอะไรกันมาก พรุ่งนี้จะสรุปทั้งหมด
...............ต่อไป อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้ง ท่านผู้รับฟัง อาจจะแปลกใจว่าอะไรหนอ ทำไมพระอนาคามีนี่ยังจะฟุ้งอีกรึ ก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นสูง ถ้าตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม แล้วก็ไปนิพพานบนนั้น น่าจะไม่มีอารมณ์ฟุ้ง เราก็ต้องถอยหลังไปดู คำปรารภของพระเจ้ามหานาม ท่านท้าวมหานามเคยปรารภกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ทรงตรัสว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอนาคามี เพราะเหตุใดในบ้างโอกาส จิตของข้าพระพุทธเจ้านี้ยังมีอารมณ์ฟุ้ง พอใจในทรัพย์สิน องค์สมเด็จพระมหามุนินทร์ จึงได้มีพระพุทธฎีกาว่า มหาราชะ ขอถวายพระพร มหาราชบพิตรราชสมภาร อนาคามีนี่ยังมีอารมณ์ฟุ้ง คึอว่ายังติดอยู่บ้าง แต่ติดไม่มาก มีความรู้สึกว่าทรัพย์สินกับเราไม่ช้ามันก็จากกันไป ยังมีอารมณ์ฟุ้งนอกแนวทางพระนิพพานอยู่ ฉะนั้น ในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู จงทำความรู้สึกตัดอารมณ์ฟุ้งในฐานะที่จะเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะว่าเวลานี้เราถึงอรหัตตมรรคแล้ว ตัดฟุ้งตรงไหน ฟุ้งอารมณ์ทั้งหมด จะไม่ยอมให้ปรากฎว่าเป็นเจ้านายใจของเรา อารมณ์ของเราจะตั้งไว้โดยเฉพาะ นั่นก็คือ พระนิพพานเป็นอารมณ์ ว่าทำยังไงหนอเราจะตัดสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาให้สิ้นไป มันจะสิ้นหรือไม่สิ้นเพียงใดก็ตาม แต่ใจของเรานี้จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง นี่ถ้าบางอาจารย์ เขาฟังแล้วเขาจะคิดว่า เอ๊ะ นี่สอนกันยังไง สอนให้ติดพระนิพพาน เพราะว่าในพระไตรปิฎกท่านสอนว่า จงอย่าติดอะไรทั้งหมดแม้พระนิพพาน ทำใจให้โปร่งที่สุด ถ้ายังมีอารมณ์ติดอยู่ ยังว่าไม่ดี และจงเข้าใจตัวเราว่า ในเมื่อเรายังไม่ถึงอรหัตตผลเพียงใด หรือว่าเหมือนกับคนที่มีร่างกายไม่แข็งแรง จะไปไหนมันก็ต้องเกาะราว มีไม้เท้าเป็นธรรมดา นี่อย่าลืมว่าเรายังเป็นอรหัตตมรรค จะต้องเกาะราวสูงคือพระนิพพาน เกาะรอกที่สูง เหนี่ยวรอกจับรอกไว้ให้มั่น มิฉะนั้นมันจะพลาด ถ้าพลาดโอกาสแล้ว เวลาเราตาย ยังจะต้องทำกิจนี้ต่อไป เป็นอันว่าการตัดอารมณ์ฟุ้ง คือยึดถือพระนิพพานเป็นอารมณ์ มองทุกอย่างมันไม่ดีไปหมดในโลก เห็นว่ามันไม่ดีแต่เราไม่กลุ้ม ถือว่าเป็นธรรมดาของมัน ถ้ายังกลุ้มอยู่ยังใช้ไม่ได้
...............ต่อไปก็มาตัดอวิชชา อวิชชานี่ไม่มีอะไร ความจริงถ้าจิตเข้ามาถึงนี่แล้ว ไม่ต้องตัดอวิชชาก็ได้ มันตัดไปเสียแล้ว เนื้อแท้จริงๆ ของการปฏิบัติในการตัดสังโยชน์ ๑๐ เค้าตัดที่สักกายทิฏฐิตัวเดียว ไอ้ที่พูดกันมานี้เพื่อความเข้าใจ อวิชชาแปลว่าไม่รู้ ถ้าใครแปลอย่างนี้ เสร็จ คนทั้งหมด สัตว์ทั้งหมดที่เกิดมาโลก มีความรู้ทั้งหมด แต่ว่ารู้ไม่ครบ อวิชชาแยกออกได้เป็นสองศัพท์ คือตัวกิเลส ได้แก่ ฉันทะกับราคะ สองตัวนี่คืออวิชชา ที่ปรากฎมีมาในพระไตรปิฎกที่เราเรียกว่า ขันธวรรค ฉันทะมีความพอใจในทรัพย์สินบางอย่าง ฉันทะมีความพอใจในมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และก็ว่าพรหมสมบัติ ราคะเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกเป็นของดี ถ้าอารมณ์ยังติดดีจุดใดจุดหนึ่งอยู่ ติดมนุษย์ก็ดี ติดเทวดาก็ดี หรือว่าติดพรหมก็ดี ก็ชื่อว่าเรายังมีอวิชชาอยู่ เพราะอะไร เพราะเรายังโง่ ดินแดนมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ไม่ใช่เป็นดินแดนที่หมดทุกข์ ยังมีทุกข์ยังมีกังวล ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน และพระโยคาวจรทุกท่าน จงจำคำนี้ไว้ ใช้กำลังใจโดยเฉพาะ ว่ามนุสสโลก เทวโลก พรหมโลก เป็นดินแดนที่เรารังเกียจ เพราะเป็นดินแดนที่ไม่นำความสุขมาให้ เป็นดินแดนที่เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ มันจะเป็นทุกข์มากทุกข์น้อยก็ตาม ขึ้นชื่อว่าทุกข์แม้แต่นิดหนึ่งเราไม่ต้องการ ส่วนดินแดนที่เราต้องการนั่นก็คือ พระนิพพาน พระนิพพานมีดินแดนมั้ย นี่บางท่านยังต้องเถึยงใจของท่านอยู่ แต่เพื่อให้มั่นใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู ว่านิพพานเป็นดินแดนเอกันตบรมสุข เป็นสุขยอดเยี่ยมยิ่งกว่าดินแดนใดๆ จงทำใจของท่านให้เข้าถึงฌานสมาบัติ ฝึกหัดทิพจักขุญาณหรือมโนมยิทธิให้ได้ แล้วหลังจากนั้นทำใจของท่าน อย่างเลวถ้าต่ำที่สุดก็คือ โคตรภูญาณ หรือว่าถึงพระโสดาบัน ตอนนั้นท่านจะเข้าใจพระนิพพานได้ดี เพื่อเป็นการเปลี้องความรู้สึกของท่านนี้ จงทำตนให้เข้าถึง เมื่อตนยังไม่เข้าถึงซึ่งพระโสดาบันเพียงใด แล้วไม่สามารถได้ทิพจักขุญาณด้วย จงอย่าเถียงกับเขาเรื่องพระนิพพาน
...............เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน และพระโยคาวจรทั้งหมด มองดูเวลาก็เห็นว่าสมควรแก่เวลาที่จะพูด ต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลาย ตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะเห็นว่าเวลานั้นสมควรจะเลิก สวัสดี
ส่งให้เพื่อน
Create Date : 03 พฤษภาคม 2553 |
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 21:45:08 น. |
|
50 comments
|
Counter : 1163 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: นุ่มณอ่อนนุชจ้า (นุ่มณอ่อนนุช ) วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:57:58 น. |
|
|
|
โดย: nootikky วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:40:43 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้มเองค่ะ (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:46:50 น. |
|
|
|
โดย: CrackyDong วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:01:21 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:50:49 น. |
|
|
|
โดย: อัสติสะ วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:00:27 น. |
|
|
|
โดย: นู๋ Beee เองค่ะ (http://beee.bloggang.com) IP: 115.87.13.133 วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:09:26 น. |
|
|
|
โดย: cengorn วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:24:31 น. |
|
|
|
โดย: อ๋อซ่าส์ วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:27:38 น. |
|
|
|
โดย: nootikky วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:32:59 น. |
|
|
|
โดย: mastana วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:27:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:38:25 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 5 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:21:56 น. |
|
|
|
โดย: cengorn วันที่: 5 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:24:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:31:20 น. |
|
|
|
โดย: ชีวิตมีลีลา วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:06:02 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:40:06 น. |
|
|
|
โดย: หน่อยอิง วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:52:34 น. |
|
|
|
โดย: อัสติสะ วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:48:13 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:01:30 น. |
|
|
|
โดย: โซดาบ๊วย วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:05:25 น. |
|
|
|
โดย: ปลิวตามลม วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:40:47 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:40:10 น. |
|
|
|
โดย: addsiripun วันที่: 7 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:50:36 น. |
|
|
|
โดย: อ๋อซ่าส์ วันที่: 7 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:11:14 น. |
|
|
|
โดย: cd2lucky วันที่: 7 พฤษภาคม 2553 เวลา:23:56:13 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:58:11 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้มเองค่ะ (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:22:15 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:22:09 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:12:32 น. |
|
|
|
โดย: tukta (tukta510 ) วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:35:54 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:11:34 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:52:01 น. |
|
|
|
โดย: มินทิวา วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:22:38 น. |
|
|
|
โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 16 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:53:02 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เวลาฟังต้องทำสมาธิด้วยถึงจะได้บุญ
อนุโมทนาค่ะพี่ไผ่