|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
8 กันยายน 2557
|
|
|
|
Ebola : ไวรัสมรณะแห่งกาฬทวีป (4)

TKM-Ebola เป็นยาที่ผลิตโดยบริษัท Tekmira Pharmaceuticals Corp ในเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ประเทศเดียวกับ Defyrus Inc. ผู้คิดค้นยา MB-30
ตัวยา ฃเป็น lipid nanoparticle technology ชนิด Small interfering RNAs ออกฤทธิ์โดยทำหน้าที่รบกวนอย่างจำเพาะต่อโปรตีน 3 ชนิด คือ L polymerase, membrane-associated protein (VP24) และ polymerase complex protein (VP35) ของไวรัสอีโบล่า
ปรกติเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์จะอาศัยรหัสพันธุกรรมเพื่อให้เซลล์เจ้าบ้าน ผลิตโปรตีนที่ไวรัสจำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวมันเอง เมื่อยา Si RNA เข้าสู่เซลล์มันจะทำหน้าที่แย่งจับกับสายพันธุกรรมของไวรัส โดยยานี้เป็นรหัสพันธุกรรมสั้นๆ ที่ใกล้เคียงกับไวรัสแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
เมื่อรหัสเปลี่ยนไป ผลที่ได้คือเซลล์เจ้าบ้านผลิตโปรตีนที่ไม่ใช่สิ่งที่ไวรัสต้องการ เทคนิคนี้เรียกว่า gene knockdown แต่รายละเอียดการทำงานที่แท้จริงยังไม่ชัด เนื่องจาก TKM-Ebola เป็นยาตัวแรกที่เข้าสู่ตลาดในยากลุ่ม Si-RNA ยาที่ฉีกกฎทุกอย่างที่เราเคยรู้จัก ที่อาจจะพาเราทะลุขีดจำกัดในต่อสู้กับโรคติดเชื้อ
มกราคม 2014 ได้รับอนุญาตให้ทดสอบความปลอดภัยในมนุษย์ช่วงที่ 1 กรกฎาคม 2014 ถูกสั่งให้หยุดการทดสอบเนื่องจากมีบางคนแสดงอาการ ที่ป่วยคล้ายไข้หวัด 7 ส.ค. 2514 US-FDA ได้แก้ไขคำสั่งห้ามการทดสอบ เป็นอนุญาตให้ทดสอบได้เป็นรายๆ ตามที่คณะกรรมการจะเห็นควร
แปลว่าอาจจะมีบางคนที่ได้รับยานี้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ยาตัวต่อไปเป็นของบริษัท BioCryst Pharmaceuticals ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฏเป็นข่าวมากนัก มีเพียงแจ้งว่าจะเข้าหารือกับองค์การอนามัยโลก ในวันที่ 6-7 กันยายน 2014 เพื่อขอส่งยา BCX 4430 ให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่าได้มีโอกาสได้ใช้ทดลองใช้
พัฒนามาจากยาแอนตีไวรัส Peramivir ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนมาแล้ว ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น กลไกการทำงานนั้นทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ RNA-Polymerase ที่จำเป็นต่อขบวนการจำลองตนเองของไวรัส RNA ดูแล้วน่าจะเป็นยาในกลุ่มเดียวกันกับ Favipiravir ที่กล่าวไว้ข้างต้น ตอนนี้มีข่าวว่า ควรนำเลือดของผู้ป่วยที่หายจากโรคนี้มาใช้ในการศึกษา เพื่อผลิตเป็นยาในการรักษาโรค ในปี 1999 เคยมีการทดลองนำเลือด จากผู้ที่หายป่วยมาฉีดเข้ายังผู้ติดเชื้อ พบว่า 7 ใน 8 คนรอดชีวิต แต่เป็นการทดลองหลังการติดเชื้อหลายวัน ซึ่งอาจจะเป็นการหายเอง
หลังจากนั้นก็มีการศึกษาต่อมา พบว่า ไม่มีการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันในผู้ที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนำเลือดไปทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่า อัตราการตายก็ไม่ลดลง ยังไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้ แต่ก็เป็นปัญหาที่ต้องขบคิดให้ได้ว่า
เมื่อภูมิคุ้มกันไม่มีผลต่อการป้องกันโรค แล้วเราจะสร้างวัคซีนได้อย่างไร

มีการวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่ามาหลายรูปแบบ แต่ที่มีความเป็นไปได้ถึงขั้นการทดลองในมนุษย์มี 2 ชนิด คือ
recombinant attenuated vesicular stomatitis virus (VSV) ซึ่งเป็นงานวิจัยของบริษัท NewLink กับกระทรวงสาธารณสุขแคนาดา และ recombinant chimp adenovirus type 3 งานวิจัยร่วมของ NIAID และ บริษัท GlaxoSmithKline
NIAID/GSK Ebola vaccine มี 2 รูปแบบ คือ monovalent Zaire strain และ Biovalent Zaire & Sudan strain โดยใช้ adenovirus เป็นพาหะ ส่วนบริษัท NewLink ใช้ vesicular stomatitis virus (VSV) ที่ก่อโรคในปศุสัตว์ที่ถูกทำให้อ่อนแรงเป็นพาหะ
แล้วดัดแปลงพันธุกรรมแทรกยีนที่สามารถแสดงโปรตีนของอีโบล่าไว้ เมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกายก็น่าจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้รู้จักและจดจำไว้ โดยทั้งสองบริษัทได้ทำการยื่นขอทดสอบในมนุษย์กับ US-FDA และแคนาดาเสนอที่จะส่งมอบวัคซีนของตนให้กับประเทศต่างๆ ในแอฟริกา
ถึงตรงนี้ เราก็พอจะเข้าใจถึงการต่อสู้ของมนุษย์ ในความพยายามที่เอาชนะไวรัสมรณะแห่งแอฟริกานี้ให้ได้ เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่สงครามครั้งนี้จะสิ้นสุดลง คนไทยอาจจะมองว่า เป็นเรื่องไกลตัวเสียเหลือเกิน
Ebola Virus Antibodies in Fruit Bats, Bangladesh
Create Date : 08 กันยายน 2557 |
|
2 comments |
Last Update : 8 กันยายน 2557 16:48:36 น. |
Counter : 2001 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|