19.3 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1](edit)
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.2 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-12-2013&group=1&gblog=70

ความคิดเห็นที่ 10-21
GravityOfLove, 29 มิถุนายน เวลา 07:44 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
              ๒. อัฏฐกนาครสูตร พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479&pagebreak=0&bgc=lavender

             สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี
             คฤหบดีชื่อทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ไปยังเมืองปาตลีบุตร
ด้วยกรณียกิจอย่างหนึ่ง และประสงค์จะพบท่านพระอานนท์
             แต่ว่าท่านพระอานนท์อยู่ที่บ้านเวฬุวคาม เขตนครเวสาลี จึงไม่ได้พบ
             เมื่อทสมคฤหบดีทำกรณียกิจที่เมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
จึงไปยังนครเวสาลีเพื่อพบท่านพระอานนท์
             ทสมคฤหบดีถามท่านพระอานนท์ว่า
             ธรรมข้อหนึ่ง ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไป
(อุทิศกายและใจ) ในธรรมนั้นแล้ว จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
             และย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้ มีอยู่หรือไม่?
             ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี ...
             ทสมคฤหบดีถามว่า ธรรมข้อนี้ เป็นอย่างไร ...?
             ท่านพระอานนท์ตอบว่า
             ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
             แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
             ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
             เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย
             ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดี
เพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (เป็นพระอนาคามี) เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ
(เมื่อตายไปจะเกิดที่สวรรค์ชั้นสุทธาวาส)
             จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
              ๒. ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
             ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ ...
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๓. ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป
             บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้ ...
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๔. ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
             มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ ...
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             คำว่า สมถะและวิปัสสนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2
             คำว่า โอปปาติกะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอรัมภาคิยสังโยชน์_5&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุทธาวาส&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             ๕. ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปทุกทิศ เป็นมหัคคตะ
             (มหัคคตะหมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร
เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ
และปัญญาอันยิ่งใหญ่)
             ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้
... มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๖. ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ... ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้กรุณาเจโตวิมุตินี้ ...
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๗. ภิกษุมีใจประกอบด้วยมุทิตา ... ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้มุทิตาเจโตวิมุตินี้ ...
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๘. ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา ... ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ชัดว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ ...
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจโตวิมุตติ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4

             ๙. ภิกษุเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา
             เพราะดับปฏิฆสัญญา (สัญญาในรูป ... โผฏฐัพพะ)
             เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ)
โดยประการทั้งปวงอยู่
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
             แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้ ... มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๑๐. ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
             แม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ ...  มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
             ๑๑. ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
             เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
             แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ ... มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป

             เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดีกล่าวชื่นชม
ท่านพระอานนท์ว่า
             บุรุษกำลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง ได้พบขุมทรัพย์ถึง ๑๑ ขุม
ในคราวเดียวกัน ฉันใด
             ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กำลังแสวงหาประตูอมตะประตูหนึ่ง
ได้พบประตูอมตะถึง ๑๑ ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น
             เรือนของบุรุษมีประตู ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้
บุรุษเจ้าของเรือนก็อาจทำตนปลอดภัยได้โดยอาศัยประตูใดประตูหนึ่ง ฉันใด
             ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น อาจทำตนให้ปลอดภัยได้โดยอาศัยประตูอมตะ
ประตูใดประตูหนึ่งใน ๑๑ ประตู
             พวกอัญญเดียรถีย์ยังแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์ได้
ก็ไฉน ข้าพเจ้าจะไม่ทำการบูชาท่านพระอานนท์เล่า
             จึงให้ประชุม (นิมนต์) ภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองปาตลีบุตรและเมืองเวสาลี
พร้อมกัน แล้วถวายอาหารอันอันประณีตด้วยมือของตน
             ถวายผ้าคู่แก่ภิกษุทุกรูป ถวายไตรจีวรแก่ท่านพระอานนท์
             แล้วให้สร้างวิหาร ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์

[แก้ไขตาม #10-22]

ความคิดเห็นที่ 10-22
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน เวลา 03:05 น.

GravityOfLove, 19 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             คหบดีวรรค
             ๒. อัฏฐกนาครสูตร พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479&pagebreak=0&bgc=lavender
7:38 AM 6/29/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             ๕. ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปทุกทิศ เป็นมหัคคตะ
             (หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร
เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเกสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ
และปัญญาอันยิ่งใหญ่)
             เนื่องจากในวงเล็บขยายความคำว่า มหัคคตะ
             ดังนั้น ควรระบุให้ชัดเจนว่ากำลังขยายความคำนี้ เพราะอาจทำให้
เกิดความเข้าใจผิดไปว่า กำลังขยายความคำอื่นเช่น เมตตา.
             กล่าวคือ เมตตาเป็นมหัคคตะ ชั้นรูปาวจร.
             ๕. ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปทุกทิศ เป็นมหัคคตะ
             (มหัคคตะหมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร
เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ
และปัญญาอันยิ่งใหญ่)

             ๙. ...
อากาศหาที่สุดมิได้เพราะล่วงรูปสัญญา
             แก้ไขเป็น
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา

             ๑๐. ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่
             แก้ไขเป็น
             ๑๐. ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่

             ๑๑. ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า
ไม่มีอะไรเพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
             แก้ไขเป็น
             ๑๑. ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

ความคิดเห็นที่ 10-23
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน เวลา 03:10 น.

             คำถามในอัฏฐกนาครสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. พระสูตรนี้ สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นก่อนหรือหลังพระพุทธปรินิพพาน?

ความคิดเห็นที่ 10-24
GravityOfLove, 30 มิถุนายน เวลา 07:00 น.

ขอบพระคุณค่ะ
--------------------
            ตอบคำถามในอัฏฐกนาครสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. รูปฌาน ๔, พรหมวิหาร ๔ (อัปปมัญญา ๔), อรูปฌาน ๓ ข้อแรก
เป็นธรรมปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง มีความดับเป็นธรรมดา
             ถ้าตั้งอยู่ในธรรม คือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ (บรรลุพระอรหัต)
             หรือถ้ายังยินดีเพลิดเพลินในสมถะหรือวิปัสสนา (ยังไม่บรรลุพระอรหัต)
จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๔ ให้ (บรรลุเป็นพระอนาคามี)
             ๒. การปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าการปฏิสนธิในอบายด้วยกุศลไม่มี
------------------------------------
             2. พระสูตรนี้ สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นก่อนหรือหลังพระพุทธปรินิพพาน?
ข้อมูล
             แต่เดิมมา ปาฎลีบุตรเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ ปาฏลิคาม เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู โอรสพระเจ้าพิมพิสาร ครองนครราชคฤห์ ก่อนพุทธปรินิพพานแปดปี ทรงตั้งเมืองปาฏลีคาม ไว้เป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อป้องกันการรุกรานจากกษัตริย์แคว้นวัชชี และหมายเป็นที่ยกพลข้ามแม่น้ำคงคา ไปรบกับกษัตริย์แคว้นวัชชีด้วย พระพุทธเจ้าก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานไม่นาน เคยเสด็จถึงปาฏลีคามครั้งหนึ่ง และทรงมีพระพุทธทำนายไว้ว่า ต่อไป ณ สถานที่นี้จะเป็นนครใหญ่ รุ่งโรจน์ไพศาลกว่านครใดในชมพูทวีป
//www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/426.html
สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดหลังพุทธปรินิพพาน
             เพราะเมืองปาฏลีบุตรถูกสร้างก่อนพุทธปรินิพพานเพียง ๘ ปี
และก่อนพุทธปรินิพพานเพียงเล็กน้อย พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงเมืองนี้
แล้วทรงทำนายว่า ต่อไปเมืองนี้จะเจริญรุ่งเรือง
            ทสมคฤหบดีน่าจะไปทำธุระที่เมืองใหญ่ๆ นั่นคือไปตอนที่เมืองนี้เจริญรุ่งเรืองแล้ว
ไม่น่ามีธุระที่เมืองเล็กๆ

ความคิดเห็นที่ 10-25
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน เวลา 19:16 น.

GravityOfLove, 12 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
...
6:59 AM 6/30/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดหลังพุทธปรินิพพาน
             เพราะกล่าวถึงเมืองปาตลีบุตร อันเป็นเมืองใหม่
ซึ่งสร้างเมื่อใกล้การปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
             และเพราะพระสูตรไม่ได้กล่าวว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงประทับอยู่ ณ สถานที่ใด เมื่อเกิดพระสูตร.

ความคิดเห็นที่ 10-26
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน เวลา 19:17 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือเสขปฏิปทาสูตร [พระสูตรที่ 3].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              เสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=24

              โปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=36

              ชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

ความคิดเห็นที่ 10-27
GravityOfLove, 1 กรกฎาคม เวลา 20:39 น.

             คำถามอรรถกถาเสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=24&bgc=lavender
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ปกิณณกกถาที่ประกอบด้วยการอนุโมทนาฉลองสันถาคาร พึงทราบว่าชื่อธรรมีกถา ในที่นี้ว่า กาปิลวตฺถุเก สกฺเย พหุเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย.
             ๒. ธรรมกถา
             ๓. ในพระบาลีนั้น คาถาเหล่านี้เท่านั้น ท่านยกขึ้นสู่สังคีติ (สังคายนา) ส่วนปกิณณกธรรมเทศนาหาขึ้นสู่สังคีติไม่.
             ๔. คำว่า จิรกตํปิ ความว่า การบำเพ็ญข้อปฏิบัติคือมหาวัตร ๘๐ มีเจติยังคณวัตรเป็นต้นอันตนเองหรือคนอื่นกระทำด้วยกายมานาน.
               คำว่า จิรภาสิตํปิ ความว่า คำที่ตนเองหรือผู้อื่นกล่าวด้วยวาจามานาน ได้แก่กถาที่ว่าด้วยการอุทิศเอง การให้ผู้อื่นอุทิศ การประชุมธรรม การแสดงธรรมและเลียบเคียงด้วยความเคารพ คือวจีกรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจถ้อยคำที่ควรอนุโมทนาเป็นต้น.
               คำว่า สริตา อนุสฺสริตา ความว่า เมื่อกายกรรมนั้นกระทำมานานด้วยกาย ชื่อว่ากาย เป็นกายวิญญัติ เมื่อวจีกรรมกล่าวมานาน ชื่อว่าวาจา เป็นวจีวิญญัติ แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นรูปจิตและเจตสิกที่ยังรูปนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นรูป ย่อมระลึกและตามระลึกว่า รูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
               อธิบายว่า ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น แท้จริงในที่นี้ท่านประสงค์เอาสติที่ยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยสตินั้น อริยสาวกนั้นพึงทราบว่า ชื่อว่าสริตา เพราะระลึกได้ครั้งเดียว. ชื่อว่าอนุสฺสริตา เพราะระลึกได้บ่อยๆ.
             ๕. คำว่า ปญฺญาย สมนฺนาคโต คือ เป็นผู้พร้อมด้วยวิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา.
               ในคำว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า วิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญานั้นแล ท่านเรียกว่านิพเพธิกา เพราะเป็นเครื่องแทงตลอด. อธิบายว่า ประกอบด้วยนิพเพธิกปัญญานั้น.
               บรรดาวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาทั้งสองนั้น มรรคปัญญาชื่อว่านิพเพธิกา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าเจาะแทง คือทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ไม่เคยเจาะแทงที่ไม่เคยทำลายเสียได้โดยตัดได้ขาด. วิปัสสนาปัญญาชื่อว่านิพเพธิกา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าเจาะแทงทำลายกองโลภะเป็นต้นได้โดยเจาะแทงทำลายได้ชั่วขณะ และเพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญา อันเป็นเครื่องเจาะแทง เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจะเรียกว่านิพเพธิกาก็ควร. มรรคปัญญาทำทุกข์ในวัฏฏะให้สิ้นไปโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ
               แม้ในคำว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา วิปัสสนาทำทุกข์ในวัฏฏะและทุกข์ เพราะกิเลสให้สิ้นไป ด้วยอำนาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์.
               อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนานั้นก็พึงทราบว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ แม้เพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญาอันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์.  
             ๖. ความที่ภิกษุนี้พร้อมด้วยธรรม ๑๕ มีความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น ก็เหมือนการกระทำกิริยา ๓ อย่างในกะเปาะไข่ของแม่ไก่นั้น

ความคิดเห็นที่ 10-28
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม เวลา 05:39 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
              คำถามอรรถกถาเสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=24&bgc=lavender
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ปกิณณกกถาที่ประกอบด้วยการอนุโมทนาฉลองสันถาคาร พึงทราบว่าชื่อธรรมีกถา
ในที่นี้ว่า กาปิลวตฺถุเก สกฺเย พหุเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย.
อธิบายว่า
              กาปิลวตฺถุเก สกฺเย พหุเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย.
              มาจากข้อ 25
              อถ  โข  ภควา  กาปิลวตฺถเว  สกฺเย  ๔- พหุเทว
รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย สนฺทสฺเสตฺวา สมาทเปตฺวา สมุตฺเตเชตฺวา
สมฺปหํเสตฺวา
--------------------------------------------------------------
ยุ สกฺเก ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=25&Roman=0

              ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก
//84000.org/tipitaka/read/?13/25

              ธรรมีกถาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่พวกเจ้าศากยะ อรรถกถากล่าวว่า
เป็นกถาอนุโมทนาการถวายสันถาคาร แด่พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยก่อน.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๒. ธรรมกถา
              ธรรมกถา ก็คือ การกล่าวธรรม หรือธรรมีกถา.
ธรรมกถา การกล่าวธรรม, คำกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่กล่าวถึงธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม
ธรรมีกถา ถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม, การพูดหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมกถา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมีกถา
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๓. ในพระบาลีนั้น คาถาเหล่านี้เท่านั้น ท่านยกขึ้นสู่สังคีติ (สังคายนา)
ส่วนปกิณณกธรรมเทศนาหาขึ้นสู่สังคีติไม่.
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              คำว่า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก
              เท่านั้นที่ขึ้นสู่สังคีติ (สังคายนา) คือบรรจุในชั้นพระไตรปิฎก
              ส่วนอื่นๆ เช่น ดูก่อนมหาบพิตร การถวายที่อยู่เป็นทานใหญ่ ...
ไม่ได้ยกขึ้นสู่ชั้นพระไตรปิฎก. (แต่อยู่ในอรรถกถา)
              สันนิษฐานล้วน.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๔. คำว่า จิรกตํปิ ความว่า การบำเพ็ญข้อปฏิบัติคือมหาวัตร ๘๐ มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น
อันตนเองหรือคนอื่นกระทำด้วยกายมานาน.
              คำว่า จิรภาสิตํปิ ความว่า คำที่ตนเองหรือผู้อื่นกล่าวด้วยวาจามานาน ได้แก่กถาที่ว่าด้วย
การอุทิศเอง การให้ผู้อื่นอุทิศ การประชุมธรรม การแสดงธรรมและเลียบเคียงด้วยความเคารพ คือ
วจีกรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจถ้อยคำที่ควรอนุโมทนาเป็นต้น.
              คำว่า สริตา อนุสฺสริตา ความว่า เมื่อกายกรรมนั้นกระทำมานานด้วยกาย ชื่อว่ากาย
เป็นกายวิญญัติ เมื่อวจีกรรมกล่าวมานาน ชื่อว่าวาจา เป็นวจีวิญญัติ แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นรูปจิต
และเจตสิกที่ยังรูปนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นรูป ย่อมระลึกและตามระลึกว่า รูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านี้
เกิดขึ้นอย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
              อธิบายว่า ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น แท้จริงในที่นี้ท่านประสงค์เอาสติที่ยังโพชฌงค์
ให้ตั้งขึ้นด้วยสตินั้น อริยสาวกนั้นพึงทราบว่า ชื่อว่าสริตา เพราะระลึกได้ครั้งเดียว. ชื่อว่าอนุสฺสริตา
เพราะระลึกได้บ่อยๆ.

อธิบายว่า เป็นการอธิบายศัพท์คำว่า แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน
              จิรกตํปิ หรือ จิรกตมฺปิ น่าจะมาจาก
              จิร นาน, กต ทำแล้ว, ปิ แม้ รวมเป็นสิ่งที่ทำแล้วแม้นาน.
              จิรภาสิตํปิ หรือ จิรภาสิตมฺปิ น่าจะมาจาก
              จิร นาน, ภาสิต พูดแล้ว, ปิ แม้ รวมเป็นสิ่งที่พูดแล้วแม้นาน.
              สติมีกำลังสามารถระลึกถึงสิ่งที่ทำ/คำที่พูดไว้นานแล้วได้.
              เป็นอรรถาธิบายในข้อ 6
              ๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้
ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๕. คำว่า ปญฺญาย สมนฺนาคโต คือ เป็นผู้พร้อมด้วยวิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา.
              ในคำว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า วิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญานั้นแล ท่านเรียกว่า
นิพเพธิกา เพราะเป็นเครื่องแทงตลอด. อธิบายว่า ประกอบด้วยนิพเพธิกปัญญานั้น.
              บรรดาวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาทั้งสองนั้น มรรคปัญญาชื่อว่านิพเพธิกา เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่าเจาะแทง คือทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ไม่เคยเจาะแทงที่ไม่เคยทำลายเสีย
ได้โดยตัดได้ขาด. วิปัสสนาปัญญาชื่อว่านิพเพธิกา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าเจาะแทงทำลายกองโลภะ
เป็นต้นได้โดยเจาะแทงทำลายได้ชั่วขณะ และเพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญา อันเป็นเครื่อง
เจาะแทง เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจะเรียกว่านิพเพธิกาก็ควร. มรรคปัญญาทำทุกข์ในวัฏฏะให้
สิ้นไปโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์
โดยชอบ
              แม้ในคำว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา วิปัสสนาทำทุกข์ในวัฏฏะและทุกข์ เพราะกิเลสให้
สิ้นไป ด้วยอำนาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์.
              อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนานั้นก็พึงทราบว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ แม้เพราะ
เป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญาอันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์.
อธิบายว่า
              เป็นอรรถาธิบายในข้อ 7
              ๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็น
อริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ...
              กล่าวคือ ปัญญามีมากมาย เช่น ปัญญาในการครองจีวร ปัญญาพิจารณาโคจรอโคจร
ปัญญาพิจารณาอรรถ/ธรรม ฯลฯ
              แต่ในข้อนี้มุ่งที่ปัญญา เครื่องทำลายกิเลส ให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
              อันได้แก่วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา
วิปัสสนาปัญญา เห็นความเกิดและความดับ, มรรคปัญญา ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ปัญญาทั้งสองอย่างนี้ ทำลายกิเลส.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๖. ความที่ภิกษุนี้พร้อมด้วยธรรม ๑๕ มีความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น ก็เหมือน
การกระทำกิริยา ๓ อย่างในกะเปาะไข่ของแม่ไก่นั้น
              ขอบพระคุณค่ะ
8:39 PM 7/1/2013
              กิริยา 3 อย่าง คือ แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว
              หรือในเจโตขีลสูตร
              แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ
//84000.org/tipitaka/read/?12/233

ความคิดเห็นที่ 10-29
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม เวลา 10:37 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 9:00:22 น.
Counter : 971 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog