20.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
20.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 5-75
GravityOfLove, 5 สิงหาคม เวลา 15:22 น.

             คำถามภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252

             ๑. [๑๖๓] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์
สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูกรภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใน
พระนครสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอ
ต้องแทงตลอดว่า ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่า
ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็
มิได้แทงตลอดแล้ว. ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษา
อยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
ในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว. ดูกรภัททาลิ เหตุที่
เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสกมากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เรา
ว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์สิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้
แทงตลอดแล้ว. ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสิกามากด้วยกันอาศัยอยู่ใน
พระนครสาวัตถี แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาใน
ศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว. แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอด
ว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้น
จักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิสาวกของพระสมณโคดม เป็นพระเถระองค์หนึ่ง ไม่ทำให้บริบูรณ์ใน
สิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
             ๒. [๑๖๔] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลัง
สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
อริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่ม
ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?
             ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
             ดูกรภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่หรือ?
             ๓. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรม
วินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะไม่ข่มแล้วข่มเล่า
ซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ แล้วทำเป็นเหตุ?
             ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลาย
ว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในกายนอกมากลบเกลื่อน
ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำขน
ให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ ดีละหนอ
ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยประการที่อธิกรณ์นี้ไม่พึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด
             ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลาย
จักข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ ความรัก
พอประมาณ ของเธออย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย. ดูกรภัททาลิ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับ
ภิกษุทั้งหลายที่จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็น
ปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะไม่ข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ.
             ๖. ข้อ ๑๖๙, ๑๗๐ สัมพันธ์กับข้อ ๑๗๑ อย่างไรคะ
             ๗. [๑๗๒] ดูกรภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรม
กำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก. พระศาสดายังไม่
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์
ในธรรมวินัยนี้. ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อนั้น
พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความ
เป็นหมู่ใหญ่. ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ เมื่อนั้นอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงจะ
ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อ
กำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น. อาสวัฏฐานิยมธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้
ตราบเท่าสงฆ์ที่ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ... ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ ... ยังไม่ถึงความ
เป็นพหูสูต ... ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใด สงฆ์เป็นผู้ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น.
             ๘. [๑๗๓] ดูกรภัททาลิ ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม แก่เธอ
ทั้งหลาย ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลาย ได้มีอยู่น้อย เธอยังระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ?
             ๙. ความว่า ได้ยินว่า พระเถระแต่ก่อนเมื่อทายกใส่อาหารลงในบาตรแล้วถวายเนยใส ฉันเนยใสร้อนหน่อยหนึ่งแล้วล้างมือนำส่วนที่เหลือไปภายนอก นั่งฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พระศาสดาตรัสหมายถึงอย่างนั้น. แต่ท่านพระภัททาลิคิดว่า หากภิกษุฉันอาหารที่ทายก ถวายเต็มบาตรคราวเดียวแล้วล้างบาตรนำอาหารที่ได้เต็มด้วยข้าวสุกไปในภายนอกแล้วพึงฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พึงควรอย่างนี้. นอกไปจากนี้ใครเล่าจะสามารถ. เพราะฉะนั้นท่านพระภัททาลิจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารแม้อย่างนี้ได้.
             ๑๐. ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าความผิดของท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนอย่างนี้ จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าวอย่างนี้
             ๑๑. ก็เมื่อพระเถระนั้นโอดครวญอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงข่มทับถม พระเถระนั้นแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุใดพึงเคี้ยวก็ดี พึงบริโภคก็ดี ซึ่งของเคี้ยวของบริโภค ในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.  
             ตอนอ่านตรงนี้คิดว่า ท่านพระภัททลิเป็นต้นเหตุที่ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้
แต่พออ่านต่อไปๆ มีลิงค์ วิกาลโภชนสิกขาบท
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=10873&Z=10931

             ซึ่งไม่ใช่เรื่องราวท่านพระภัททลิ แต่เป็นเรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
             สรุปว่าที่เข้าใจตอนแรกนั้น ไม่ถูกต้องใช่ไหมคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-76
ฐานาฐานะ, 6 สิงหาคม เวลา 19:26 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             คำถามภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252

             ๑. [๑๖๓] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์
สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ...

อธิบายว่า สิ่งที่ท่านพระภัททาลิ ควรรู้ ต้องรู้จึงจะเหมาะสม แต่กลับไม่รู้
             เช่นคำว่า แม้พระผู้มีพระภาคจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์
ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้
             แต่กลับไม่รู้ในเหตุนี้เป็นต้น.

             ๒. [๑๖๔] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลัง
สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
อริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่ม
ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?
             ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
             ดูกรภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่หรือ?
อธิบายว่า สันนิษฐานนัยว่า แม้พระอริยบุคคลก็ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย
กล่าวคือ ว่าง่าย.
             สมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทต่างๆ อยู่นั้น
             ท่านพระภัททาลิเป็นปุถุชนอยู่ และว่ายาก.

             ๓. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรม
วินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะไม่ข่มแล้วข่มเล่า
ซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ แล้วทำเป็นเหตุ?

             {๑๖๘}[๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว  ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อะไรหนอ  เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุ
ทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้  ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์)  อนึ่ง
อะไรหนอ  เป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้ภิกษุทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้  ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์)  พระพุทธเจ้าข้า”

อธิบายว่า
             สันนิษฐานว่า ท่านพระภัททาลิถามถึงอะไรเป็นเหตุให้พระภิกษุทั้งหลาย
คอยอบรมภิกษุบางรูป แต่ไม่คอยอบรมภิกษุบางรูป.
             คำตอบน่าจะเพราะว่า กรุณาในพระภิกษุรูปที่มีศรัทธาพอประมาณ (ไม่มากนัก)
จึงกล่าวตักเตือน ไม่ให้ทำผิด อันทำให้อยู่ในพระศาสนานี้ได้ (ศรัทธาพอประมาณ ไม่เสื่อมไป)
             ส่วนข้อ 169 น่าจะเป็นลักษณะของการต้องอาบัติ บ่อยก็ตาม ไม่บ่อยก็ตาม
ถ้าว่ายากสอนยาก ไม่อ่อนน้อม จะระงับอธิกรณ์โดยไม่รวดเร็ว (น่าจะอบรมนาน เพื่อให้เห็นโทษ)
ถ้าว่าง่าย อ่อนน้อม เห็นโทษของตนเอง จะะงับอธิกรณ์โดยรวดเร็ว.

             ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ ...
             ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณ ...
อธิบายไว้ในข้อก่อนแล้ว

             ๖. ข้อ ๑๖๙, ๑๗๐ สัมพันธ์กับข้อ ๑๗๑ อย่างไรคะ
ตอบว่า น่าจะเป็นเหตุหนึ่งๆ ของการข่มแล้วข่มเล่า
             ข้อ 169 แสดงการต้องอาบัติมาก แต่ว่ายากและว่าง่าย
             ข้อ 170 แสดงการต้องอาบัติบางครั้ง แต่ว่ายากและว่าง่าย
             ข้อ 171 แสดงปัจจัยเรื่องการมีศรัทธาพอประมาณ (ไม่มากนัก) จึงต้องข่มแล้วข่มเล่า
เพื่อให้หลีกทางที่ผิด จึงอยู่ในพระศาสนานี้ได้ต่อไป คือศรัทธาพอประมาณไม่เสื่อมสิ้นไป.

             ๗. [๑๗๒] ดูกรภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรม
กำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก. ...
อธิบายว่า
             ดูกรภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน
สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก.
             นี้เป็นการทรงแสดงเหตุของการที่การบรรลุพระอรหัตผล มีน้อยลง
คือสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม คือไม่ประพฤติธรรม
พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน คือสัตว์ทั้งหลายไม่ตั้งใจเล่าเรียน.

             พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า
ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้. ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้
เมื่อนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น ...
             นี้เป็นการทรงแสดงกาละและอกาละ คือกาลและไม่ใช่กาลที่จะบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย.

             ๘. [๑๗๓] ดูกรภัททาลิ ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม แก่เธอ
ทั้งหลาย ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลาย ได้มีอยู่น้อย เธอยังระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ?
อธิบายว่า ทรงแสดงว่า อุปมาเรื่องม้าอาชาไนย ได้เคยแสดงไว้แล้ว
ในกาลที่พระภิกษุยังมีไม่มาก แล้วทรงถามท่านพระภัททาลิว่า ยังจำได้ไหม?

             ๙. ความว่า ได้ยินว่า พระเถระแต่ก่อนเมื่อทายกใส่อาหารลงในบาตรแล้วถวายเนยใส ฉันเนยใสร้อนหน่อยหนึ่ง
แล้วล้างมือนำส่วนที่เหลือไปภายนอก นั่งฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พระศาสดาตรัสหมายถึงอย่างนั้น.
แต่ท่านพระภัททาลิคิดว่า หากภิกษุฉันอาหารที่ทายก ถวายเต็มบาตรคราวเดียวแล้วล้างบาตรนำอาหารที่ได้เต็มด้วยข้าวสุก
ไปในภายนอกแล้วพึงฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พึงควรอย่างนี้. นอกไปจากนี้ใครเล่าจะสามารถ. เพราะฉะนั้น
ท่านพระภัททาลิจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารแม้อย่างนี้ได้.
ตอบว่า ผมก็ไม่เข้าใจเนื้อความนี้ กล่าวคือ ไม่เข้าใจอาการการฉันท่านพระภัททาลิ
แต่สันนิษฐานกว้างๆ ว่า ท่านพระภัททาลิคงจะต้องการฉันมากกว่านั้น และฉันในเวลาวิกาล เลยเที่ยงวันไป.

             ๑๐. ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าความผิดของท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนอย่างนี้ จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าวอย่างนี้
อธิบายว่า น่าจะหมายถึงว่า ภิกษุทั้งหลายเห็นว่า ความผิดอันนี้ปรากฎอย่างกว้างขวาง
อาจจะแสดงว่า ที่ปล่อยให้ปรากฎอย่างกว้างขวาง คงเพราะว่ายาก ไม่สำนึกผิดและแสดงโทษของตนโดยเร็ว
ดังนั้น ภิกษุนี้เพราะว่ายากอย่างนี้ น่าจะสำนึกผิดและการทำคืนได้ยาก.

             ๑๑. ก็เมื่อพระเถระนั้นโอดครวญอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงข่มทับถมพระเถระนั้นแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุใดพึงเคี้ยวก็ดี พึงบริโภคก็ดี ซึ่งของเคี้ยวของบริโภค ในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.  
             ตอนอ่านตรงนี้คิดว่า ท่านพระภัททลิเป็นต้นเหตุที่ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้
แต่พออ่านต่อไปๆ มีลิงค์ วิกาลโภชนสิกขาบท
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=10873&Z=10931

             ซึ่งไม่ใช่เรื่องราวท่านพระภัททลิ แต่เป็นเรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
             สรุปว่าที่เข้าใจตอนแรกนั้น ไม่ถูกต้องใช่ไหมคะ
             ขอบพระคุณค่ะ
3:22 PM 8/5/2013

ตอบว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาใกล้กัน กล่าวคือ เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทแล้ว
ก็ทรงตรัสแสดงคุณของการฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว.
             อีกอย่างหนึ่ง ในอรรถกถากีฏาคิริสูตรแสดงไว้ว่า
             แม้พวกเธอเห็นอานิสงส์ ๕ อย่างเหล่านี้ ก็จงฉันอาหารเว้นการฉันในราตรีเสีย.
ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้เว้นการฉัน ๒ อย่างเหล่านี้ คือ
การฉันในเวลาวิกาลในกลางคืน ๑ การฉันในเวลาวิกาลในกลางวัน ๑ ในคราวเดียวกัน.
ในสมัยหนึ่ง ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางวันเสียเท่านั้น. ครั้นกาลเวลาล่วงไป
พระองค์ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางคืนเสีย จึงตรัสอย่างนี้.
             เพราะเหตุไร. เพราะการฉัน ๒ คราวเหล่านี้เป็นการสะสม หมกมุ่นในวัฏฏะ
มิได้แล่นออกไปได้ดุจน้ำไหลลงแม่น้ำ กุลบุตรผู้ละเอียดอ่อนเจริญเพราะบริโภคอาหารดี
ในเรือนแม้ที่สงบเงียบ เว้นการบริโภค ๒ ครั้งในคราวเดียวกันเท่านั้นย่อมลำบาก เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงให้เว้นในคราวเดียวกัน. ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาล
ในกลางวัน ในภัททาลิสูตร. ในสูตรนี้ ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางคืน.
ก็เมื่อให้ละ ทรงคุกคามหรือทรงข่ม. พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์อย่างนี้ว่า พวกเธอจักรู้คุณ
คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย เพราะการละการบริโภคเหล่านั้นเป็นปัจจัย แล้วจึงทรงให้เว้นเสีย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

ความคิดเห็นที่ 5-77
GravityOfLove, 6 สิงหาคม เวลา 21:34 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ๑. [๑๖๓] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์
สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูกรภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใน
พระนครสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

             ไม่เข้าใจเลยค่ะ แปลว่า แม้เรื่องง่ายๆ ธรรมดาๆ เธอก็ไม่เข้าใจ หรือคะ

ความคิดเห็นที่ 5-78
ฐานาฐานะ, 6 สิงหาคม เวลา 21:46 น.

             ไม่เข้าใจเลยค่ะ แปลว่า แม้เรื่องง่ายๆ ธรรมดาๆ เธอก็ไม่เข้าใจ หรือคะ
             ถูกต้องแล้วครับ.

ความคิดเห็นที่ 5-79
GravityOfLove, 6 สิงหาคม เวลา 23:04 น.

            ๗. [๑๗๒] ดูกรภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรม
กำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก. พระศาสดายังไม่
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์
ในธรรมวินัยนี้. ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อนั้น
พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
             อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความ
เป็นหมู่ใหญ่. ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ เมื่อนั้นอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงจะ
ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อ
กำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น.
             อาสวัฏฐานิยมธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้
ตราบเท่าสงฆ์ที่ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ... ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ ... ยังไม่ถึงความ
เป็นพหูสูต ... ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใด สงฆ์เป็นผู้ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น.
             หมายความว่า เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่จึงจะทรงบัญญัติสิกขาบท คือคนยิ่งมาก เรื่องยิ่งเยอะ ยิ่งวุ่นวาย ใช่ไหมคะ
             เมื่อมีลาภยศมาก อธิบายว่า พอรวยก็เริ่มแสดงความไม่ดีออกมาหรือคะ
             เมื่อเป็นพหูสูต อธิบายว่า พอเก่งขึ้นเริ่มแสดงความไม่ดี มีมานะในความรู้ตัวเองหรือคะ
             เมื่อเป็นรัตตัญญู อธิบายว่า พอบวชนานเริ่มแสดงความไม่ดี มีมานะว่าตนบวชนานหรือคะ

ความคิดเห็นที่ 5-80
ฐานาฐานะ, 6 สิงหาคม เวลา 23:45 น.

             หมายความว่า เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่จึงจะทรงบัญญัติสิกขาบท คือคนยิ่งมาก เรื่องยิ่งเยอะ ยิ่งวุ่นวาย ใช่ไหมคะ
             ตอบว่า น่าจะใช้ได้ครับ
             แต่ในอรรถกถายกเรื่องอนุบัญญัติในมุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ เป็นตัวอย่างครับ
             มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=289

             เมื่อมีลาภยศมาก อธิบายว่า พอรวยก็เริ่มแสดงความไม่ดีออกมาหรือคะ
             ในอรรถกถายกเรื่องการให้ขนมแก่อเจลกเป็นตัวอย่างในเรื่องลาภ
             กล่าวง่ายๆ คือ พอมีมาก ก็มีคนมาขอ จึงมีระเบียบการให้.
             อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=527

             ในอรรถกถายกเรื่องดื่มน้ำเมาเป็นตัวอย่างในเรื่องยศ
             ซึ่งไม่ค่อยเห็นความสัมพันธ์นัก กล่าวคือ ท่านพระสาคตะก็เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ
ปราบนาคได้สำเร็จแล้ว ก็มีชื่อเสียง ชาวบ้านก็ต้องการถวายของชอบใจแก่ท่าน
สุดท้ายมาลงที่ถวายสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ.

             สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=575

             เมื่อเป็นพหูสูต อธิบายว่า พอเก่งขึ้นเริ่มแสดงความไม่ดี มีมานะในความรู้ตัวเองหรือคะ
             ในอรรถกถายกเรื่องการเทียบเคียงความรู้ที่ได้ฟังมา แต่เทียบเคียงไม่รอบคอบ
เช่น เห็นพระภิกษุห่มผ้าเนื้อละเอียด อันจัดเป็นสัมผัสที่กาย เป็นกามาวจร
ก็ยังบรรลุธรรมได้ จึงเทียบเคียงไปผิดทางว่า แม้เสพกาม (เมถุน) ก็น่าจะได้
หรือว่า ไม่เป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรคผลของพระภิกษุ.

             สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=662

             เมื่อเป็นรัตตัญญู อธิบายว่า พอบวชนานเริ่มแสดงความไม่ดี มีมานะว่าตนบวชนานหรือคะ
11:04 PM 8/6/2013
             ในอรรถกถายกเรื่องเมื่อพระภิกษุบวชนานแล้ว ก็มีพรรษามาก
ดังนั้น ผู้มีพรรษาน้อย (2-3 พรรษา) ไม่ควรเป็นพระอุปัชฌายะ
และแม้มีพรรษามากพอแล้ว แต่โง่เขลา ก็ไม่ควรเป็นพระอุปัชฌายะเหมือนกัน.
             พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก
             พระอุปัชฌายะมีการศึกษาน้อยกว่าสัทธิวิหาริก
//84000.org/tipitaka/read/?4/90-91

             สรุปแล้ว ที่เข้าใจถูกต้องกี่ข้อหนอ?

ความคิดเห็นที่ 5-81
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 00:09 น.

ขอบพระคุณค่ะ ไม่ถูกสักข้อค่ะ
คุ้นๆ ว่าอรรถกถาก็อธิบายตรงนี้ แต่อ่านรอบแรกงงว่า ทำไมไม่สัมพันธ์กัน
ตอนนี้เริ่มเห็นว่า สัมพันธ์กันแล้วค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-82
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 00:17 น.

            รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 5-83
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 11:28 น.

พระฉัพพัคคีย์ คือกลุ่มภิกษุเหลวไหล ๖ รูปใช่ไหมคะ
ก็เหมือนกับที่มีกลุ่มพระปัญจวัคคีย์
คือไม่ได้เป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ได้เป็นชื่อพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ความคิดเห็นที่ 5-84
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 12:32 น.

อ่านเรื่องพระสาคตะจบแล้วค่ะ ประทับใจตรงนี้
ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้าดังนกพิราบทุกๆ ครัวเรือนแล้ว เมื่อจะ
เดินออกจากเมือง, ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง.

             ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้หรือ?

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=575

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:52:05 น.
Counter : 511 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog