22.7 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.6 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-62
GOL 14 กย 19:09

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๑. ฆฏิการสูตร ว่าด้วยช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทาง แล้วได้ทรงแย้มพระสรวลในที่แห่งหนึ่ง
             ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า
             เพราะอะไรพระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระสรวล เพราะพระตถาคต
ทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี
             ท่านพระอานนท์จึงทูลถามพระองค์ พระองค์ตรัสว่า
             เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่แห่งนี้ได้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ (เวภัลลิคะ) เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ
มีคนมากและหนาแน่น
             พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่
             ได้ยินว่า ที่นี่เป็นพระอารามของพระองค์
             ได้ยินว่า ทรงประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี่
             ท่านพระอานนท์ได้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้นถวาย แล้วกราบทูลพระองค์
ประทับนั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ที่แห่งนี้จะได้เป็นส่วนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สองพระองค์ทรงบริโภค
             พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง แล้วตรัสต่อไปว่า
             ในนิคมนี้ มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายรัก
             ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อชวนโชติปาลมาณพไปเข้าไปเฝ้าพระกัสสป
สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยกล่าวว่า
             การได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ถือกันว่าเป็นความดี
             ฆฏิการะช่างหม้อชวนถึง ๓ ครั้ง แต่โชติปาลมาณพก็ปฏิเสธทั้ง ๓ ครั้ง
โดยกล่าวว่า
             จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นพระสมณะศีรษะโล้นนั้น
             ฆฏิการะช่างหม้อ จึงชวนไปอาบน้ำที่แม่น้ำ เมื่ออาบเสร็จแล้ว
ได้ชวนโชติปาลมาณพอีกว่า
             นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไปเฝ้า
พระองค์กันเถิด การได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
นั้น ถือกันว่าเป็นความดี
             ชวน ๓ ครั้ง แต่โชติปาลมาณพก็ปฏิเสธทั้ง ๓ ครั้ง โดยกล่าวว่า
             จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นพระสมณะศีรษะโล้นนั้น
             ฆฏิการะช่างหม้อได้จับโชติปาลมาณพที่ชายพกแล้วชวนอีก
             โชติปาลมาณพก็ปฏิเสธอีกว่า
             อย่าเลย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นพระสมณะศีรษะโล้นนั้น
             คราวนี้ฆฏิการะช่างหม้อจับโชติปาลมาณพผู้อาบดำเกล้าเสร็จแล้ว
โดยจับที่ผมแล้วชวนอีก
             ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ฉุกคิดว่า
             น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ที่ฆฏิการะช่างหม้อผู้มีชาติต่ำมาจับที่
ผมของตนผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว การที่ตนจะไปนี้ เห็นจะไม่เป็นการไปเล็กน้อย
             จึงได้กล่าวกับฆฏิการะช่างหม้อว่า
             การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่ชักชวนด้วยวาจา จับที่ชายพก
จนล่วงเลยถึงจับที่ผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้กันไปในสำนักของพระองค์
เท่านั้นเองหรือ?
             ฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             เท่านั้นเอง จริงเช่นนั้น ก็การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี
             โชติปาลมาณพจึงตกลงไป
             ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพจึงไปเฝ้าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
             ฆฏิการะช่างหม้อได้กราบทูลพระองค์ว่า
             นี่คือสหายรักของตน ขอพระองค์ทรงแสดงธรรมแก่สหายผู้นี้
             ครั้งนั้น พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อ
และโชติปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
             เมื่อจบพระธรรมเทศนา สหายทั้งสองชื่นชมพระภาษิต แล้วทูลลาไป
             โชติปาลมาณพได้ถามฆฏิการะช่างหม้อว่า
             เมื่อท่านฟังธรรมนี้อยู่ และเมื่อเช่นนั้นท่านจะออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตหรือ?
             ฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             เขาบวชไม่ได้ เพราะต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนชราและตาบอด
             โชติปาลมาณพกล่าวว่า
             ถ้าเช่นนั้น เราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
             ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระกัสสป
สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วโชติปาลมาณพก็ได้อุปสมบทในสำนักพระองค์
             ครั้นเมื่อโชติปาลมาณพอุปสมบทแล้วไม่นานประมาณครึ่งเดือน
             พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ในนิคมนี้ตามควรแก่
พระพุทธาภิรมย์แล้ว ก็เสด็จหลีกจาริกไปพระนครพาราณสี
             ได้ยินว่า ในคราวนั้นพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
             พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกิ เสด็จออกจากพระนครพาราณสี
ด้วยราชยานอย่างดี ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะไปเฝ้าพระองค์
             พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยังพระเจ้ากิกิกาสิราชให้ทรง
เห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
             พระเจ้ากิกิได้กราบทูลอาราธนาพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
รับภัตตาหารในวันพรุ่งนี้
             วันต่อมา ครั้นพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
             พระเจ้ากิกีกราบทูลขอพระองค์ทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของตน
ตนจะได้บำรุงพระสงฆ์
             พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
             อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว
             พระเจ้ากิกิทูลอาราธนาถึง ๓ ครั้ง พระองค์ก็ตรัสเช่นเดิม
             พระเจ้ากิกิทรงเสียพระทัย ทรงโทมนัส แล้วได้ทูลถามว่า
             มีใครอื่นที่เป็นอุปัฏฐากยิ่งกว่าตนหรือ
             พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
             มีอยู่  ชื่อฆฏิการะเป็นช่างหม้ออยู่ในนิคมชื่อเวภฬิคะ
             เขาเป็นอุปัฏฐากของพระองค์ นับเป็นอุปัฏฐากชั้นเลิศ
             พระเจ้ากิกิทรงเสียพระทัยมีความโทมนัสว่า
             พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษาในเมืองพาราณสีของตนเสียแล้ว
             ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มี และจะไม่มีในช่างหม้อฆฏิการะ
             ช่างหม้อฆฏิการะ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ
             เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์)
เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) เว้นขาดจากมุสาวาท (พูดเท็จ)
เว้นขาดจากน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
             ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่
             ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้หมดสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
             ช่างหม้อฆฏิการะ บริโภคภัตมื้อเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล
มีกัลยาณธรรม ปล่อยวางแก้วมณีและทองคำ ปราศจากการใช้ทองและเงิน
             ช่างหม้อฆฏิการะ ไม่ขุดแผ่นดินด้วยสากและด้วยมือของตน
นำมาแต่ดินตลิ่งพังหรือขุยหนูซึ่งมีอยู่ด้วยหาบ ทำเป็นภาชนะแล้วกล่าวว่า
             ในภาชนะนี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่ถั่วเขียว
หรือถุงใส่ถั่วดำไว้ แล้วนำภาชนะที่ต้องการนั้นไป
             ช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด
             ช่างหม้อฆฏิการะ (เมื่อตายจะ) เป็นอุปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา (สุทธาวาสภพ) เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์
ห้าประการหมดสิ้นไป (เป็นพระอนาคามี)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอปปาติกะ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ที่เกิดของพระอนาคามี&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอรัมภาคิยสังโยชน์_5&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_4

             ๑. ครั้งหนึ่ง พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จเข้าไปหามารดาบิดา
ของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า นี่คนหาอาหารไปไหนเสีย
             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุก
จากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
             อาตมภาพ (พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว
เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า
             เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา
             ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดครึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดา
ตลอด ๗ วัน
             ๒. ครั้งหนึ่ง เสด็จเข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่
แล้วได้ถามว่า นี่คนหาอาหารไปไหนเสีย
             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสด
จากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
             อาตมภาพ (พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้เอาขนมสดจากกระเช้า
เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า
             เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา
             ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดครึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดา
ตลอด ๗ วัน
             ๓. ครั้งหนึ่ง กุฏิของพระองค์รั่ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายพากันไปดูหญ้า
ที่บ้านของฆฏิการะช่างหม้อ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า
             หญ้าที่บ้านของฆฏิการะช่างหม้อไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือนเท่านั้น
             พระองค์รับสั่งให้รื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือน ที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่
             ภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่
             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า
             ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนหรือ
             ภิกษุทั้งหลายตอบว่า กุฎีของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว
             มารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวว่า เอาไปตามสะดวกเถิด
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า
             เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา
             ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดครึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดา
ตลอด ๗ วัน
             และครั้งนั้น เรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่ทั้งหลังนั้น มีอากาศเป็นหลังคา
อยู่ตลอด ๓ เดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว
             ฆฏิการะช่างหม้อมีคุณมากเพียงนี้
             เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้ากิกิทูลว่า
             เป็นลาภของฆฏิการะช่างหม้อแล้ว ฆฏิการะช่างหม้อได้ดีแล้ว
ที่พระผู้มีพระภาคทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เขา
             ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิได้ส่งเกวียนบรรทุกข้าวสารอย่างดีจำนวนมากและ
เครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสาร ไปพระราชทานแก่ฆฏิการะช่างหม้อ
             แต่ฆฏิการะช่างหม้อกล่าวว่า
             พระราชามีพระราชกิจมาก มีราชกรณียะมาก ของที่พระราชทานมานี้
อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด
             พระผู้มีพระภาคทรงเล่าจบอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
             อานนท์ เธอจะพึงมีความคิดเห็นว่า สมัยนั้น คนอื่นได้เป็นโชติปาลมาณพ
แน่นอน แต่ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้นเราได้เป็นโชติปาลมาณพ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ท่านพระอานนท์ ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
[แก้ไขตาม 3-63]

ความคิดเห็นที่ 3-63
ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 09:04 น.

GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 19:09 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๑. ฆฏิการสูตร ว่าด้วยช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
7:08 PM 9/14/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             โชติปาลมาณพกล่าวว่า
             ถ้าเช่นนั้น เขาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
             ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระกัสสป
สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วโชติปาลมาณก็ได้อุปสมบทในสำนักพระองค์
น่าจะแก้ไขเป็น
             โชติปาลมาณพกล่าวว่า
             ถ้าเช่นนั้น เราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
             ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระกัสสป
สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วโชติปาลมาณพก็ได้อุปสมบทในสำนักพระองค์

             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุก
จากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า
น่าจะแก้ไขเป็น
             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุก
จากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
             อาตมภาพ (พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว
เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า

             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสด
จากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า
น่าจะแก้ไขเป็น
             มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
             อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสด
จากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
             อาตมภาพ (พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้เอาขนมสดจากกระเช้า
เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.
             เมื่อฆฏิการะช่างหม้อทราบเรื่อง ก็มีความคิดว่า

ความคิดเห็นที่ 3-64
ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 09:09 น.

             คำถามในฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. พระสูตรนี้ได้เคยศึกษามาบ้างแล้ว ในตอนนั้น เพราะเรื่องอะไร
หรือมีบทเชื่อมอะไรจึงได้ศึกษาพระสูตรนี้ทั้งที่ยังไม่ใช่พระสูตรหลัก?

ความคิดเห็นที่ 3-65
GravityOfLove, 17 กันยายน เวลา 09:28 น.

ถ้าเช่นนั้น เราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
คำว่า เรา หมายถึงใครคะ
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-66
ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 09:33 น.

             ตอบว่า หมายถึงโชติปาลมาณพคนเดียว
             ฆ. เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดผู้ชราแล้ว มิใช่หรือ?
             โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
             คำว่า ถ้าเช่นนั้น คือเป็นการรับรู้ว่า ท่านฆฏิการะช่างหม้อไม่ออกบวช
เพราะต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดผู้ชราแล้ว.
             เราผู้เดียวจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

             ฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

ความคิดเห็นที่ 3-67
GravityOfLove, 17 กันยายน เวลา 09:42 น.

ฆฏิการะช่างหม้อ ได้พบพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์เลยนะคะ
คือตอนที่เป็นช่างหม้อและตอนที่เป็นฆฏิการะพรหม

ความคิดเห็นที่ 3-68
ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 09:57 น.

             ครับ อย่างน้อยก็ 2 พระองค์.
             อาจจะได้พบอีกก็ได้ในอนาคต เหมือนอย่างในมหาปทานสูตร ข้อ 55
//84000.org/tipitaka/read/?10/55

ความคิดเห็นที่ 3-69
GravityOfLove, 17 กันยายน เวลา 09:34:38 น.

             ตอบคำถามในฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. เรื่องในอดีตชาติของพระผู้มีพระภาคพระองค์นี้เมื่อครั้งเป็นโชติปาลมาณพ
             ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระกัสสปพุทธเจ้าได้พยายาม
ชักชวนพระโพธิสัตว์ชื่อโชติปาลมาณพซึ่งเป็นสหายรัก ด้วยการชักชวนด้วยวาจา (๖ ครั้ง)
จนจับที่ชายพกและจับที่ศีรษะ โชติปาละจึงยอมไปหาพระพุทธเจ้า
             ๒. มิตรภาพระหว่างพระโพธิสัตว์ (โชติปาลมาณพ) และเพื่อนรักชื่อฆฏิการะ
ซึ่งเป็นช่างหม้อ
             ฆฏิการะช่างหม้อเป็นพระอริยสาวกในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ชั้นพระอนาคามี เมื่อเสียชีวิตได้เป็นพรหม ต่อมาได้พบพระโพธิสัตว์ซึ่งได้ตรัสรู้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว และได้สนทนากัน (มาในฆฏิการสูตรที่ ๔)
             ฆฏิการสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1904&Z=1946

             วิบากของโชติปาลมาณพที่กล่าวดูหมิ่นพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ
ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปีกว่าจะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
            ว่าด้วยบุพจริยาของพระองค์เอง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7849&Z=7924
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=392
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=1&p=10#พรรณนาพุทธาปทาน

             ๓. ธรรมีกถาที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่โชติปาลมาณพ
ในที่นี้หมายถึงธรรมีกถาที่เกี่ยวข้องกับขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อนเพื่อการได้สติ
             (ท่านปรารถนาสัพพัญญุตญาณ หยั่งลง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ธรรมดาคนเช่น
ท่านไม่ควรอยู่ด้วยความประมาท)
             ๔. ธรรมดาพระโพธิสัตว์ย่อมบรรพชาในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
             ครั้นบวชแล้วย่อมไม่เป็นผู้มีเขาอันตกแล้วดุจสัตว์นอกนี้ ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล
แล้วเล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก สมาทานธุดงค์ ๑๓ เข้าป่า บำเพ็ญคตวัตรและ
ปัจจาคตวัตร
             กระทำสมณธรรม เจริญวิปัสสนา จนถึงอนุโลมญาณจึงหยุด ไม่กระทำความพยายาม
เพื่อมรรคผลต่อไป
             แม้โชติปาลมาณพก็ได้กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน
             ๕. ในอรรถกถานฬกปานสูตรที่เรียนผ่านมาแล้ว กล่าวถึงปาฏิหาริยกัป ๔ อย่าง
หนึ่งในนั้นคือ การที่ฝนไม่ตกในที่อยู่ของมารดาบิดาของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ
ก็มีที่มาจากฆฏิการสูตรนี้
             บริเวณบ้านของฆฏิการะ นั้น ฝนจะไม่ตกใส่ ลมและแดดไม่เบียดเบียนเป็น
อย่างนี้ไปตลอดกัปหนึ่ง
             นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864

             ๖. พระราชธิดาของพระเจ้ากิกิชื่ออุรัจฉทา ได้เป็นพระโสดาบันและครองราชสมบัติ
อยู่ ๗ วัน พระเจ้ากิกิได้ทรงสดับอนุโมทนาของพระศาสดาก็ได้เป็นพระโสดาบัน
             ๗. ชาวบ้าน ช่วยอุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม (ฆฏิการะช่างหม้อ) เพื่อบุญของตน
             ๘. การบัญญัติสิกขาบท ย่อมมีแก่พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น เขตแดนแห่งสิกขาบท
ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
----------------------------------------------------
             2. พระสูตรนี้ได้เคยศึกษามาบ้างแล้ว ในตอนนั้น เพราะเรื่องอะไร
หรือมีบทเชื่อมอะไรจึงได้ศึกษาพระสูตรนี้ทั้งที่ยังไม่ใช่พระสูตรหลัก?
             เพราะตอนนั้นแกรวิตี้ป่วย คุณฐานาฐานะก็เลยให้อ่านพระสูตรที่แสดง
มิตรภาพระหว่างท่านทั้งสองนี้
             เมื่ออ่านแล้วจะได้ "นำความยินดีมาให้"
- - - - - - -
      ขออนุญาตลาป่วยสักพักนะคะ เป็นหวัดอย่างแรงค่ะ
จากคุณ : GravityOfLove
เขียนเมื่อ : 19 ม.ค. 55 00:53:25

             ระหว่างที่ป่วยอยู่นี้ อ่านเรื่องมิตรภาพของ
             พระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคตม (พระองค์นี้) และ
อุบาสกผู้หนึ่งผู้เป็นอริยสาวก ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่ากัสสป.
             มิตรภาพนี้ อันพระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
                  สหายเก่าทั้งสอง ผู้มีตนอันอบรมแล้ว
                  ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด
                  ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

             เรื่องมิตรภาพนี้ เมื่อศึกษาแล้ว น่าจะนำความยินดีมาให้.
จากคุณ    : ฐานาฐานะ
เขียนเมื่อ    : 19 ม.ค. 55 21:55:58
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#151

ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 10:53 น.

GravityOfLove, 47 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824
...
9:33 AM 9/17/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ในข้อ 1 นั้นหลายอย่างได้มาจากการศึกษาครั้งก่อน
การศึกษาคราวนี้ เหมือนเป็นการทบทวนและทำการย่อความด้วย.
             ในข้อ 2 นั้น คำตอบคือมีการป่วยของคุณ GravityOfLove
เป็นบทเชื่อมให้ถึงพระสูตรนี้.
             ขออนุญาตลาป่วยสักพักนะคะ เป็นหวัดอย่างแรงค่ะ
จากคุณ : GravityOfLove
เขียนเมื่อ : 19 ม.ค. 55 00:53:25
             ขอถามว่า เมื่อเห็นคำถามนี้แล้ว นึกถึงคำตอบได้เลย
หรือว่า ต้องค้นก่อน จึงนึกคำตอบได้.

ความคิดเห็นที่ 3-70
GravityOfLove, 17 กันยายน เวลา 11:25 น.

นึกได้เลยค่ะ (และทำไว้สำหรับโพสต์คราวหน้าด้วยแล้ว เรื่องมิตรภาพ)

ความคิดเห็นที่ 3-71
ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 11:48 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-72
ฐานาฐานะ, 17 กันยายน เวลา 11:49 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ฆฏิการสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

              พระสูตรหลักถัดไป คือรัฐปาลสูตร [พระสูตรที่ 32].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              รัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6825&Z=7248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=423

              มฆเทวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7249&Z=7473
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=452

              มธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7474&Z=7662
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=464

              โพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486

ย้ายไปที่



Create Date : 13 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:32:32 น.
Counter : 564 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog