23.11 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.10 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-125
ฐานาฐานะ, 16 ตุลาคม เวลา 00:56 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๕. จังกีสูตร เรื่องจังกีพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10194&Z=10534&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:48 PM 10/15/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย มีสักคนไหมที่กล่าวอย่างนั้น
ควรแก้ไขเป็น
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย มีสักคนไหมที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้

             บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้น
โดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริงสิ่งอื่นเปล่า
             ควรเว้นช่องว่างเป็น
             บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้น
โดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า

กาปทิกมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
             ควรเว้นวรรค และขีดเส้นใต้.
กาปทิกมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก

ความคิดเห็นที่ 6-126
ฐานาฐานะ, 16 ตุลาคม เวลา 00:57 น.

             คำถามในจังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10194&Z=10534

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-127
GravityOfLove, 16 ตุลาคม เวลา 10:12 น.

             ตอบคำถามในจังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10194&Z=10534

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ธรรม ๕ ประการ คือ ความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามกัน ความ
ตรึกตามอาการ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ ทั้ง ๕ ประการนี้ มีวิบาก
เป็น ๒ ส่วนในปัจจุบัน คือ เป็นจริงหรือเป็นเท็จ
             ๒. ข้อปฏิบัติเพื่อตามรักษาสัจจะ, ข้อปฏิบัติเพื่อตรัสรู้สัจจะ,
ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุสัจจะ
             ๓. มหาอํามาตย์ผู้สามารถพยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วได้เรียกว่า นักการ
             ๔. ไม่มีผู้ใดสามารถวัดขนาดของพระพุทธเจ้าได้
กระทั่งอสุรินทราหู ซึ่งสูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ ยังต้องแหงนคอดูพระองค์
             ๕. แม้พระพุทธเจ้าจะพึงกล่าวคุณของ พระพุทธเจ้า หากกล่าวคุณ
ของกันและกันไปตลอดทั้งกัป กัปพึงสิ้นไปในระหว่างเป็นเวลาช้านาน
พระคุณของพระตถาคต หาสิ้นไม่
             ๖. ฤๅษีอัฏฐกะเป็นต้น เหล่านั้น ตรวจดูด้วยตาทิพย์ ไม่ทําการเบียดเบียนผู้อื่น
เทียบเคียงกับพระดํารัสของพระกัสสปพุทธเจ้า แล้วร้อยกรองมนต์ทั้งหลายไว้
             ส่วนพราหมณ์พวกอื่นเติมการฆ่าสัตว์เป็นต้นเข้าไป ทําลายพระเวททั้งสาม
ทําให้ผิดกับพระดํารัสของพระพุทธเจ้า
             ๗. เป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที คือเป็นผู้กล่าวถึงการกระทำ ความเพียร
ผลของความเพียรเป็นต้นมีอยู่จริง
             ไม่ใช่พวกกล่าวลอยๆ ว่า การหลุดพ้นมีเองมาเอง ไม่ต้องพยายามอะไร
หรือพยายามก็ไร้ผล
             กรรมวาที กิริยวาที จะตรงข้ามกับทิฏฐิ 3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทิฏฐิ_3

ความคิดเห็นที่ 6-128
ฐานาฐานะ, 16 ตุลาคม เวลา 14:57 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
...
10:11 AM 10/16/2013
2:06 PM 10/16/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ท้ายพระสูตร ปรากฏว่า มาณพชื่อว่ากาปทิกะได้ถึงไตรสรณคมน์
             คำถามว่า จังกีพราหมณ์ได้ถึงไตรสรณคมน์หรือไม่?
             การที่พราหมณ์ต่างเมืองสรรเสริญชมเชยจังกีพราหมณ์อย่างมาก
พราหมณ์ต่างเมืองเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์อะไร?

ความคิดเห็นที่ 6-129
GravityOfLove, 16 ตุลาคม เวลา 15:48 น.

             คำถามว่า จังกีพราหมณ์ได้ถึงไตรสรณคมน์หรือไม่?
             ตอบว่า หลังจากจบพระธรรมเทศนาแล้ว สันนิษฐานว่า ยังไม่ถึงไตรสรณคมน์ค่ะ
แต่จังกีพราหมณ์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคตามเป็นจริง น่าจะเป็นปัจจัยต่อการถึงสุคติ
โลกสวรรค์หรือต่อการบรรลุมรรคผลในอนาคตได้
------------------------
             การที่พราหมณ์ต่างเมืองสรรเสริญชมเชยจังกีพราหมณ์อย่างมาก
พราหมณ์ต่างเมืองเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์อะไร
             เนื้อความในอรรถกถาบางส่วน
             พราหมณ์เหล่านั้นได้ยินว่าท่านจังกีพราหมณ์จะไป จึงพากันคิดว่า
ท่านจังกีพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง ก็โดยมากพราหมณ์ทั้งหลายพวกอื่นถึง
พระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง จังกีพราหมณ์นี้เท่านั้นยังไม่ได้ไป หากจังกีพราหมณ์นี้นั้น
จักไป ณ ที่นั้นไซร้ ถูกพระสมณโคดมดลใจด้วยเล่ห์สำหรับดลใจก็จักถึงสรณะ
ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็จักไม่ประชุมกันที่ประตูบ้านของจังกีพราหมณ์นั้น
เอาละ พวกเราจักกระทำการขัดขวางการไปของจังกีพราหมณ์นั้น.

             พราหมณ์มีจังกีพราหมณ์เป็นต้นประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329&p=1

             ตอบว่า เพราะกลัวจังกีพราหมณ์จะหันไปนับถือพระผู้มีพระภาคเป็นสรณะ
แล้วพวกตนจะเสียลาภจากการมาชุมนุมกันที่บ้านของจังกีพราหมณ์
(เพราะจังกีพราหมณ์เป็นพราหมณ์ที่เป็นใหญ่เป็นโตมาก)

ความคิดเห็นที่ 6-130
ฐานาฐานะ, 16 ตุลาคม เวลา 16:09 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
...
3:47 PM 10/16/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             การที่พราหมณ์ต่างเมืองสรรเสริญชมเชยจังกีพราหมณ์อย่างมาก
มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้จังกีพราหมณ์เข้าไปพระผู้มีพระภาค เพราะกลัว
ผลของการได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคของจังกีพราหมณ์
             การสรรเสริญเหล่านั้นหวังจะให้เกิดอติมานะแก่จังกีพราหมณ์
หากอติมานะเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะกระด้าง เป็นเหตุให้ไม่เป็นเข้าเฝ้า.
             แต่จังกีพราหมณ์ไม่ได้ติดในความสรรเสริญเหล่านั้น
ทั้งกล่าวคำสรรเสริญพระผู้มีพระภาค โดยเอนกปริยาย.

             ลาภ สักการะ ความสรรเสริญเยินยอต่างๆ เหล่านี้
พวกอสัตบุรุษติดกันมาก.
             เทวทัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=21&A=1971&w=สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว

             คำว่า อติมานะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อติมานะ&detail=on

ความคิดเห็นที่ 6-131
ฐานาฐานะ, 16 ตุลาคม เวลา 16:19 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จังกีสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534

              พระสูตรหลักถัดไป คือเอสุการีสูตร [พระสูตรที่ 46].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              เอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10535&Z=10724
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=661

              ธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=672

              วาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11070&Z=11248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=704

              สุภสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709

              สคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=734

ความคิดเห็นที่ 6-132
GravityOfLove, 16 ตุลาคม เวลา 16:38 น.

             บทว่า อตฺตวธาย คพฺภํ คณฺหาติ ความว่า คนทั้งหลายผสมแม่ฬานั้นกับพ่อม้า
แม่ม้าอัสดรนั้นตั้งท้องแล้ว เมื่อถึงเวลาก็ออกลูกไม่ได้ ยืนเอาเท้าทั้ง ๒ ตะกุยแผ่นดิน
เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงผูกเท้าทั้ง ๔ ของมันไว้ที่หลัก ๔ หลัก ผ่าท้องนำลูกออก
มันจึงตาย ณ ที่นั้นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงตรัสถึงแม่ม้าอัสดรนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=68

             เพิ่งทราบค่ะว่ามีเรื่องแบบนี้ด้วย น่าสงสารนะคะ

ความคิดเห็นที่ 6-133
GravityOfLove, 16 ตุลาคม เวลา 17:21 น.

             คำถามเอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10535&Z=10724

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เปรียบเหมือนบุรุษขัดสน ไม่มีของๆ ตน ยากจน ชนทั้งหลาย
พึงแขวนก้อนเนื้อไว้เพื่อบุรุษนั้นผู้ไม่ปรารถนาว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงเคี้ยวกินก้อนเนื้อนี้เสีย
และพึงใช้ต้นทุน ฉันใด พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้แก่
สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้รับปฏิญาณ.
             ๒. เราย่อมบัญญัติโลกุตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่
ของบุรุษ เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์สกุลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพบังเกิด
ขึ้นในวงศ์สกุลใดๆ บุรุษนั้นย่อมถึงความนับตามวงศ์สกุลนั้นๆ  ...
ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทร ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นศูทร.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-134
ฐานาฐานะ, 16 ตุลาคม เวลา 20:21 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามเอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10535&Z=10724

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. เปรียบเหมือนบุรุษขัดสน ไม่มีของๆ ตน ยากจน ชนทั้งหลาย
พึงแขวนก้อนเนื้อไว้เพื่อบุรุษนั้นผู้ไม่ปรารถนาว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงเคี้ยวกินก้อนเนื้อนี้เสีย
และพึงใช้ต้นทุน ฉันใด พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้แก่
สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้รับปฏิญาณ.
              อธิบายว่า เมื่อโคของพ่อค้าเกวียนตายลง พ่อค้าเกวียนจะนำส่วนของโค
ไปให้แก่คนอื่นๆ แม้เขาไม่ปรารถนา และต้องจ่ายค่าเนื้อ (บังคับให้ซื้อ) แก่พ่อค้าเกวียน
              การกระทำนี้ ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ไม่ปรารถนา กล่าวคือ ทำโดยพลการฉันใด
              พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ไปบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการแก่ผู้อื่น
โดยไม่ได้รับการเห็นชอบจากผู้อื่นฉันนั้น.

              ๒. เราย่อมบัญญัติโลกุตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่
ของบุรุษ เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์สกุลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพบังเกิด
ขึ้นในวงศ์สกุลใดๆ บุรุษนั้นย่อมถึงความนับตามวงศ์สกุลนั้นๆ  ...
ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทร ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นศูทร.
              ขอบพระคุณค่ะ
5:20 PM 10/16/2013

              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              อริยทรัพย์อันเป็นทรัพย์ที่แท้จริงมีอยู่ (ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่)
              บุคคลนั้น เมื่อเกิดในสกุลพราหมณ์ ก็นับว่าเป็นพราหมณ์
              บุคคลนั้น เมื่อเกิดในสกุลกษัตริย์ ก็นับว่าเป็นกษัตริย์
...
              บุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์หรืออาการที่พราหมณ์บัญญัติไว้เลย
              นัยก็คือ พราหมณ์บัญญัติโดยไม่ได้รับปฏิญาณ.

              คำว่า อริยทรัพย์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยทรัพย์

ความคิดเห็นที่ 6-135
GravityOfLove, 16 ตุลาคม เวลา 20:54 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-136
GravityOfLove, 16 ตุลาคม เวลา 20:55 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๖. เอสุการีสูตร เรื่องเอสุการีพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น เอสุการีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า
             พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการ คือ
             ๑. บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอพราหมณ์
             ๒. บัญญัติการบำเรอกษัตริย์ คือ กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอกษัตริย์
             ๓. บัญญัติการบำเรอแพศย์ คือ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอแพศย์
             ๔. บัญญัติการบำเรอศูทร คือ ศูทรเท่านั้นพึงบำเรอศูทรด้วยกัน
             พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้
             ท่านพระโคดมตรัสการบำเรอนี้อย่างไร?
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             โลกทั้งปวงย่อมอนุญาตข้อนั้นแก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า
จงบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้หรือ?
             ทูลตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้น
             ตรัสว่า เปรียบเหมือนบังคับบุรุษผู้ขัดสนให้ซื้อก้อนเนื้อ ทั้งๆ ที่
เขาไม่ต้องการก้อนเนื้อนั้น ฉันใด
             พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้
แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้รับปฏิญาณ (ฝ่ายอื่นไม่ได้เห็นชอบด้วย)
             แล้วตรัสต่อไปว่า
             เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง
             เพราะถ้าบำเรอแล้ว มีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี สิ่งนั้นไม่ควรบำเรอ
             ถ้าบำเรอแล้ว มีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว สิ่งนั้นควรบำเรอ
             ถ้าแม้ชนทั้งหลายจะพึงถามกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรอย่างนี้ว่า
             เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี หรือว่าเมื่อท่านบำเรอ
สิ่งใดอยู่ พึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว ในกรณีเช่นนี้ท่านจะพึงบำเรอสิ่งใด?
             เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
             เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ มีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี ข้าพเจ้าไม่บำเรอสิ่งนั้น
             เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ มีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว ข้าพเจ้าบำเรอสิ่งนั้น
             เราจะกล่าวว่าประเสริฐ เพราะเกิดในสกุลสูง (กษัตริย์ พราหมณ์),
เพราะมีวรรณะอันยิ่ง (กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์), เพราะมีโภคะมาก (วรรณทั้ง ๔
รวมทั้งจัณฑาล) ก็หามิได้
             จะได้กล่าวว่าเลวทราม เพราะเกิดในสกุลสูง, เพราะมีวรรณะอันยิ่ง,
เพราะมีโภคะมาก ก็หามิได้
             เพราะว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ
มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
             เพราะฉะนั้นเราจึงไม่กล่าวว่า ประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ
             บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ ก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า เลวทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ
             เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง
             ถ้าบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญาย่อมเจริญ สิ่งนั้นเรากล่าวว่าพึงบำเรอ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อารยวัฒิ_5

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ทูลถามว่า
             พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการ คือ
             ๑. ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์ คือ การเที่ยวไปเพื่อภิกษา
แต่พราหมณ์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ทำกรรมมิใช่กิจ เหมือน
คนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ฉะนั้น
             ๒. ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์ คือ แล่งธนู ...
             ๓. ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์  คือ กสิกรรมและโครักขกรรม ...
             ๔. ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของศูทร คือ เคียวและไม้คาน
แต่ศูทรเมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ทำกรรมมิใช่กิจ เหมือน
คนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ฉะนั้น
             ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่ากระไร?
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             โลกทั้งปวงย่อมอนุญาตข้อนี้แก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า จงบัญญัติ
ทรัพย์ ๔ ประการนี้หรือ?
             ทูลตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้น
             ตรัสอุปมาเหมือนเดิม แล้วตรัสต่อไปว่า
             เราย่อมบัญญัติโลกุตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่
ของบุรุษ ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลใด ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นสกุลนั้น
             เปรียบเหมือนไฟอาศัยปัจจัยใดๆ ติดอยู่ ย่อมถึงความนับตามปัจจัยนั้นๆ
             (บุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์หรืออาการที่พราหมณ์บัญญัติไว้เลย)
             คำว่า อริยทรัพย์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยทรัพย์

             ตรัสต่อไปว่า
             ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทรบวช
เป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์
             ตรัสถามว่า
             พราหมณ์เท่านั้นหรือสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนในที่นั้น กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ?
             เอสุการีพราหมณ์ทูลตอบว่า
             ไม่ใช่เช่นนั้น แม้วรรณ ๔ ทั้งหมด ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนในที่นั้นได้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์
หรือศูทร บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออก
จากทุกข์
             ตรัสถามต่อไปว่า พราหมณ์เท่านั้นหรือ สามารถถือเอาเครื่องสีตัว
สำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลี กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถ
หรือ ...
             สกุลกษัติย์และสกุลพราหมณ์เท่านั้นหรือ สามารถสีไฟให้เกิดขึ้นได้
สกุลคนจัณฑาล สกุลนายพราน สกุลช่างจักสาน สกุลช่างรถ สกุลคนเทหยากเยื่อ
ไม่สามารถหรือ ...
             เอสุการีพราหมณ์ทูลตอบว่า
             ไม่ใช่เช่นนั้น แม้วรรณ ๔ ทั้งหมด ก็สามารถทำเช่นนั้นได้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์
หรือศูทร บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออก
จากทุกข์
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูลว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
             ขอเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

[แก้ไขตาม #6-137]

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 12:52:25 น.
Counter : 440 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog