21.9 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.8 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-88
ฐานาฐานะ, 28 สิงหาคม เวลา 23:01 น.

GravityOfLove, 14 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๓. มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441&Z=4660&bgc=mistyrose&pagebreak=0
...
10:21 PM 8/28/2013

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 8-89
ฐานาฐานะ, 28 สิงหาคม เวลา 23:05 น.

             คำถามในมหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441&Z=4660

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำถามในภิกขุปุจฉาเป็นต้น ข้อ 255-256
             คำถามนั้นบ่งบอกอะไรที่เกี่ยวกับปริพาชกวัจฉโคตรผู้ถามได้บ้าง?

ความคิดเห็นที่ 8-90
GravityOfLove, 28 สิงหาคม เวลา 23:40 น.

             ตอบคำถามในมหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441&Z=4660

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุและภิกษุณีที่เป็นพระอรหันต์มีจำนวนมาก
             อุบาสกและอุบาสิกาที่เป็นพระอนาคามีมีจำนวนมาก
             อุบาสกและอุบาสิกาที่เป็นพระสกทาคามีและพระโสดาบันมีจำนวนมาก
             ๒. ถ้าพระผู้มีพระภาคเท่านั้นบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
แต่บริษัท ๔ ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จะไม่บริบูรณ์
             ๓. พระพุทธองค์ทรงให้เจริญธรรม ๒ คือ สมถะและวิปัสสนา
ถ้าเหตุเพียงพอแก่ผล ก็สามารถบรรลุอภิญญา ๖ ข้อใดหรือหลายข้อได้
             ๔. ท่านพระวัจฉโคตรปริพาชกได้อุปสมบทแล้วครึ่งเดือน
ก็บรรลุเป็นพระอนาคามี
             แล้วมาเข้าเฝ้าพระองค์ ทูลขอให้ทรงแสดงธรรมยิ่งขึ้นไปอีก             
             ๕. ท่านวัจฉโคตรปริพาชกเคยเป็นสัสสตทิฏฐิ (มีความเห็นว่าเที่ยง)
             ๖. ท่านวัจฉโคตรปริพาชกบรรลุเป็นพระอรหันต์ในพระสูตรนี้ และได้อภิญญา ๖
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             2. คำถามในภิกขุปุจฉาเป็นต้น ข้อ 255-256
             คำถามนั้นบ่งบอกอะไรที่เกี่ยวกับปริพาชกวัจฉโคตรผู้ถามได้บ้าง?
             ตอบว่า ท่านวัจฉโคตรคิดว่า พระอรหันต์มีแต่พระผู้มีพระภาคเท่านั้น
             และคิดว่า พระเสขะคงมีจำนวนน้อย

ความคิดเห็นที่ 8-91
ฐานาฐานะ, 28 สิงหาคม เวลา 23:53 น.

             ตอบคำถามในมหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441&Z=4660

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุและภิกษุณีที่เป็นพระอรหันต์มีจำนวนมาก
             อุบาสกและอุบาสิกาที่เป็นพระอนาคามีมีจำนวนมาก
             อุบาสกและอุบาสิกาที่เป็นพระสกทาคามีและพระโสดาบันมีจำนวนมาก
             ๒. ถ้าพระผู้มีพระภาคเท่านั้นบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
แต่บริษัท ๔ ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จะไม่บริบูรณ์
             ๓. พระพุทธองค์ทรงให้เจริญธรรม ๒ คือ สมถะและวิปัสสนา
ถ้าเหตุเพียงพอแก่ผล ก็สามารถบรรลุอภิญญา ๖ ข้อใดหรือหลายข้อได้
             ๔. ท่านพระวัจฉโคตรปริพาชกได้อุปสมบทแล้วครึ่งเดือน
ก็บรรลุเป็นพระอนาคามี
             แล้วมาเข้าเฝ้าพระองค์ ทูลขอให้ทรงแสดงธรรมยิ่งขึ้นไปอีก
             ๕. ท่านวัจฉโคตรปริพาชกเคยเป็นสัสสตทิฏฐิ (มีความเห็นว่าเที่ยง)
             ๖. ท่านวัจฉโคตรปริพาชกบรรลุเป็นพระอรหันต์ในพระสูตรนี้ และได้อภิญญา ๖

             ตอบคำถามได้ดีครับ ข้อ 6 ควรจะกล่าวว่า เป็นผู้ได้วิชชา 3
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             2. คำถามในภิกขุปุจฉาเป็นต้น ข้อ 255-256
             คำถามนั้นบ่งบอกอะไรที่เกี่ยวกับปริพาชกวัจฉโคตรผู้ถามได้บ้าง?
             ตอบว่า ท่านวัจฉโคตรคิดว่า พระอรหันต์มีแต่พระผู้มีพระภาคเท่านั้น
             และคิดว่า พระเสขะคงมีจำนวนน้อย
11:40 PM 8/28/2013
             คำถามนี้ เป็นคำถามแสดงความเห็น จึงไม่กล่าวว่าผิด หากไม่ผิดจริงๆ
             คำถามในภิกขุปุจฉาเป็นต้น น่าบ่งบอกว่า
             ท่านวัจฉโคตรปริพาชกเป็นคนฉลาด เมื่อจะประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนานี้
ก็ทูลถามก่อน นัยว่า สาวกที่บรรลุผลสูงสุดมีบ้างไหม หรือสาวกที่บรรลุผลที่ตนต้องการมีบ้างไหม
อย่างไร เพราะหากไม่มีเลย จะประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนานั้นๆ ทำไม.

ความคิดเห็นที่ 8-92
ฐานาฐานะ, 29 สิงหาคม เวลา 00:57 น.

             คำถามเบาๆ ว่า
             ในหัวข้อว่า ความเป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ ข้อ 257-258
             นัยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.
             นัยนี้ ละม้ายคล้ายนัยในพระสูตรหลักที่ศึกษามาแล้ว พระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 8-93
GravityOfLove, 29 สิงหาคม เวลา 06:42 น.

ในปาสาทิกสูตรค่ะ
ข้อ ๑๐๓ - ๑๐๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=2537&Z=3181&pagebreak=0#103

             ย่อความปาสาทิกสูตร (ส่วนหนึ่ง)
             พระผู้มีพระภาคตรัสถึงความสมบูรณ์ของพรหมจรรย์ (พระศาสนา) ว่า
ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้คือ
             ๑. ศาสดาเป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ
             ๒. ภิกษุผู้เป็นสาวกเป็นเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ได้รับแนะนำ เป็นผู้แกล้วกล้า
และบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ (หลุดพ้นแล้ว) สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ
สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาท (ข้อกล่าวของผู้อื่น) ที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี
โดยชอบธรรม
             ๓. พระภิกษุสาวกผู้เป็นปานกลาง (มัชฌิมะ) ... พระภิกษุสาวกผู้เป็นใหม่ (นวกะ) ...
             พระภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรี ... ปานกลาง  ... ผู้ใหม่ ...
             อุบาสกผู้นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์
             (ขั้นต่ำพระโสดาบันคือรักษาศีล 8 ประจำ
แต่อุบาสกปุถุชนรักษาศีล 8 ประจำ ก็พอสงเคราะห์ได้,
ขั้นสูงคืออุบาสกผู้เป็นพระอนาคามี เช่นจิตตคหบดี)...
             อุบาสกผู้นุ่งขาวห่มขาวบริโภคกาม
             (ขั้นต่ำพระโสดาบันคือมีศีล 5 มั่นคง รักษาศีล 8 เป็นบางคราว
แต่อุบาสกปุถุชนรักษาศีล 8 เป็นบางคราว) ...
             อุบาสิกาผู้นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์
             (ขั้นต่ำพระโสดาบันคือรักษาศีล 8 ประจำ แต่อุบาสิกาปุถุชนรักษาศีล 8 ประจำ
ก็พอสงเคราะห์ได้, ขั้นสูงคืออุบาสิกาผู้เป็นพระอนาคามี เช่น ท่านนันทมารดาเป็นต้น) ...
             อุบาสิกาผู้นุ่งขาวห่มขาวบริโภคกาม
             (ขั้นต่ำพระโสดาบันคือมีศีล 5 มั่นคง รักษาศีล 8 เป็นบางคราว
แต่อุบาสิกาปุถุชนรักษาศีล 8 เป็นบางคราว) ...
             ๔. พรหมจรรย์นั้น มากไปด้วยลาภ ได้แก่ ปัจจัยดำรงชีวิต หาได้ง่าย มีมาก
คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ยารักษาโรค
             มียศ (น่าจะหมายถึง) แม้พระราชาก็เลื่อมใส แม้เดียรถีย์ก็เกรง
             พรหมจรรย์จะชื่อว่า แพร่หลายกว้างขวางเป็นปึกแผ่น ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบดังกล่าว

ความคิดเห็นที่ 8-94
ฐานาฐานะ, 29 สิงหาคม เวลา 07:13 น.

GravityOfLove, 30 นาทีที่แล้ว
ในปาสาทิกสูตรค่ะ
ข้อ ๑๐๓ - ๑๐๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=2537&Z=3181&pagebreak=0#103
6:41 AM 8/29/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 8-95
ฐานาฐานะ, 29 สิงหาคม เวลา 07:15 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาวัจฉโคตตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660

              พระสูตรหลักถัดไป คือทีฆนขสูตร [พระสูตรที่ 24].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              ทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269

              มาคัณฑิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4769&Z=5061
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276

ความคิดเห็นที่ 8-96
GravityOfLove, 29 สิงหาคม เวลา 09:04 น.

             คำถามทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
             ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
             อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้. อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น
ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-97
ฐานาฐานะ, 30 สิงหาคม เวลา 13:58 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
             ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
             อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้. อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น
ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
             ขอบพระคุณค่ะ
9:04 AM 8/29/2013

             อธิบายว่า
             ปริพาชกชื่อทีฆนขะ ประกาศความเห็นของตนเองว่า
             ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
>>>>
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
<<<<
             นัยก็คือ ถ้าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ท่าน ความเห็นอย่างนั้นของท่าน ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
             ปริพาชกชื่อทีฆนขะ ก็ตอบว่า ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น
เป็นอันว่า เขาตอบสับสนเอง มุ่งจะรักษาวาทะของตน ก็เป็นอันว่า แม้ความเห็นนี้ของเขา ก็ไม่ควรแก่เขา.
>>>>
             อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
...
<<<<
             เป็นอาการของบุคคลที่ถือความเห็นต่างๆ และทิฏฐิอื่นๆ ละได้ยาก
คนที่ละความเห็นได้มีน้อยกว่า คนที่ละความเห็นและไม่ไปถือความเห็นอื่นๆ อีก.

             คำว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
             สิ่งทั้งปวงตามปฏิภาณของเขา ก็เป็นแต่สิ่งที่เขาเห็น เขารู้จัก
เช่น ความเป็นไปแห่งสังขาร การเกิดขึ้นของสังขารเป็นต้น
             คำว่า ไม่ควรแก่เรา ก็คือ ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ควรเป็นไป
เป็นการประกอบด้วยความปรารถนาว่า อย่าเกิดขึ้นอีก ไม่ควรเป็นไปอีก
             โดยนัยก็เป็นการบอกว่า เป็นทิฏฐิข้างอุจเฉททิฏฐิ ข้างขาดสูญ.

ความคิดเห็นที่ 8-98
GravityOfLove, 30 สิงหาคม เวลา 18:54 น.

ปริพาชกชื่อทีฆนขะ ก็ตอบว่า ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น
ความเห็นนี้ ความเห็นนั้น คือความเห็นใดคะ

ความคิดเห็นที่ 8-99
ฐานาฐานะ, 30 สิงหาคม เวลา 20:19 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
ปริพาชกชื่อทีฆนขะ ก็ตอบว่า ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น
ความเห็นนี้ ความเห็นนั้น คือความเห็นใดคะ
             ความเห็นนี้ คือ พระพุทธดำรัส
             ความเห็นนั้น คือ ความเห็นแรกที่เขากล่าวไว้.
             ปริพาชกกล่าวด้วยไปนึกว่าจะรวมความเห็น (พระพุทธดำรัส)
เข้าไว้ในความเห็นแรก (สิ่งทั้งปวง).
             นัยว่า ถึงพระพุทธดำรัสจะจริงหรือเหมาะแก่เขา ความเห็นเดิมก็ยังจริงอยู่.

             ในบทนั้นมีความว่า แม้ความเห็นของท่านก็ไม่ควร
คือ แม้ความเห็นที่ท่านชอบใจยึดถือไว้ครั้งแรกก็ไม่ควร.
             บทว่า เอสา เจ เม โภ โคตม ทิฏฺฐิ ขเมยฺย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
หากความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า. ความว่า หากความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เราของเราผู้เห็นว่า เพราะสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา พึงควรไซร้.
             ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
             แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
             แม้ความเห็นนั้นก็ควรเหมือนความเห็นนี้แม้ถือเอาด้วยการถือเอาสิ่งทั้งปวงฉันนั้น.
ปริพาชกกล่าวด้วยเข้าใจว่าเรารู้โทษที่ยกในวาทะของตนขึ้นอย่างนี้ แล้วรักษาวาทะนั้น.
แต่โดยอรรถย่อมรับว่าความเห็นนั้นของปริพาชกไม่ควรแก่เราดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269

ความคิดเห็นที่ 8-100
GravityOfLove, 30 สิงหาคม เวลา 22:04 น.

             คำถามทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269&bgc=mistyrose

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัวพอใจยินดีในวัฏฏะ. อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมไม่สามารถละความเห็นได้เร็ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าความเห็นว่าเที่ยงนั้นมีโทษน้อย คลายช้า.
              ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงไม่ทำกุศล. เมื่อทำอกุศลย่อมไม่กลัว ไม่ชอบใจไม่ยินดีวัฏฏะ อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมละความเห็นได้เร็ว สามารถบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าได้. เมื่อไม่สามารถก็สะสมบุญบารมีเป็นสาวกแล้วนิพพาน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก คลายเร็ว.
             ๒. บทมีอาทิว่า สุขาปิ โข ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นเป็นจุณวิจุณไป.
             ๓. มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-101
ฐานาฐานะ, 30 สิงหาคม เวลา 23:40 น.

GravityOfLove, 52 นาทีที่แล้ว
             คำถามทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269&bgc=mistyrose

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่
จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัวพอใจยินดีในวัฏฏะ. อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมไม่สามารถละความเห็นได้เร็ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าความเห็นว่าเที่ยงนั้นมีโทษน้อย คลายช้า.
             ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่
จึงไม่ทำกุศล. เมื่อทำอกุศลย่อมไม่กลัว ไม่ชอบใจไม่ยินดีวัฏฏะ อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของ
พระพุทธเจ้า ย่อมละความเห็นได้เร็ว สามารถบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าได้. เมื่อไม่สามารถก็สะสม
บุญบารมีเป็นสาวกแล้วนิพพาน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก คลายเร็ว.
             อธิบายว่า อ่านแล้วก็เทียบอรรถกถาทั้งสองฉบับ เห็นว่า มีการอธิบายแตกต่างกันอยู่ คือ
             ฉบับมหามกุฏฯ ว่า
             เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่
จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัวพอใจยินดีในวัฏฏะ
             ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่
จึงไม่ทำกุศล.
             ฉบับมหาจุฬาฯ ว่า
             เพราะผู้เป็นสัสสตวาทีไม่รู้ว่า โลกนี้และโลกหน้ามี แต่รู้ว่า กรรมที่ทำดีและทำชั่วมีผล จึงทำกุศล
เมื่อทำอกุศลก็กลัว พอใจเพลิดเพลินวัฏฏะ ...
             ส่วนผู้เป็นอุจเฉทวาที ไม่รู้ว่า โลกนี้และโลกหน้ามี แต่รู้ว่า กรรมที่ทำดีและทำชั่วมีผล จึงไม่ทำกุศล
เมื่อทำอกุศลก็ไม่กลัว ไม่พอใจ ไม่เพลิดเพลินวัฏฏะ

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็น
             ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมไม่รู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่
จึงไม่ทำกุศล เมื่อทำอกุศลก็ไม่กลัว ไม่พอใจ ไม่เพลิดเพลินวัฏฏะ.
             ส่วนผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมรู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่
จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัว พอใจยินดีในวัฏฏะ
             หากผู้มีวาทะว่าเที่ยงจะไม่รู้อย่างแน่ใจว่า โลกนี้และโลกหน้ามีอยู่
แต่ก็น่าจะคล้อยไปทางเชื่อว่า โลกนี้และโลกหน้ามีอยู่.

             ๒. บทมีอาทิว่า สุขาปิ โข ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นเป็นจุณวิจุณไป.
             อธิบายว่า คำนี้มาในข้อ 13/273
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=273&Roman=0

             ความว่า อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
             เป็นการแสดงให้เห็นว่า เวทนาทั้ง 3 เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป
เป็นการแสดงให้เห็นความไม่มีสาระแก่นสารใดๆ เลย เหมือนของแตก
ละเอียดเป็นจุณ หาสาระไม่ได้เลย.

             ๓. มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ
             ขอบพระคุณค่ะ
10:03 PM 8/30/2013
             โดยปกติแล้ว ภิกษุผู้เป็นเอหิภิกขุ กล่าวคือ พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาต
โดยนัยเป็นต้นว่า จงเป็นภิกษุ มาเถิด ดังนี้แล้ว ผู้นั้น แม้เมื่อก่อนจะมีผมยาว
นุ่งห่มหนังเสือหรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่มีบาตรเป็นต้น
             เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะมีสภาวะเป็นพระภิกษุ เส้นผมก็สั้น อัฏฐบริขารก็ครบถ้วน.
             เส้นผมที่สั้น โดยไม่ต้องโกน เป็นที่มาของคำว่า มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวช

             มหากัจจายนเถรคาถา [บางส่วน]
             ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านเหล่านั้นมีผมและหนวดเพียง ๒ องคุลี
ทรงบาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นผู้คล้ายพระเถระมีพรรษา ๖๐ พรรษา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=366&p=1

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:16:33 น.
Counter : 467 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
12 ธันวาคม 2556
All Blog