19.8 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.7 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-73
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม เวลา 10:59 น.

             ๕. ดังนั้น คำว่า ธรรมจักษุ ก็หมายความถึงได้บรรลุพระอรหันต์ก็ได้ใช่ไหมคะ
             (จะได้เพิ่มในลิสต์ เพราะที่ผ่านมาเรียนมาหมายถึงมรรค ๓ เบื้องต้น)

ความคิดเห็นที่ 10-74
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม เวลา 11:09 น.    Block
GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ๑. อรรถกถกตรงกับพระไตรปิฎก ๒ ข้อ คือข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ และข้อ ๒ ระวังกามคุณ
ยังเหลือเรื่อง ลักทรัพย์และพูดเท็จที่จัดเข้าข้อที่เหลือในพระไตรปิฎกไม่ได้เป๊ะๆ นะคะ
สรุปว่า ย่อความตามพระไตรปฎกนะคะ
             ๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
             ๓. ล้างบาปทุกอย่าง
ตอบว่า ย่อความตามพระไตรปิฎกครับ.
อรรถกถกตรงกับพระไตรปิฎก
แก้ไขเป็น อรรถกถาตรงกับพระไตรปิฎก
สรุปว่า ย่อความตามพระไตรปฎกนะคะ
แก้ไขเป็น สรุปว่า ย่อความตามพระไตรปิฎกนะคะ
- - - - -
             ๒. ทั้งอกุศลจิต ๑๒ และกุศลจิต ๘ อยู่ในกามาวจรทั้งคู่หรือเปล่าคะ
ตอบว่า ใช่ครับ เป็นกามาวจรทั้งคู่.
- - - - -
             ๓. นิครนถ์ตอนจะตาย ใจคิดอยากได้น้ำเย็นไหมคะ
             ถ้าใจคิดอยากได้น้ำเย็น ก็ไม่ได้เกิดเป็นเทวดาใช่ไหมคะ
             ถ้าแม้ใจก็ไม่คิดอยากได้น้ำเย็น ตายไปจึงได้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือคะ
10:56 AM 7/15/2013
             คำเหล่านี้เป็นการบัญญัติของนิครนถ์ ไม่ใช่ว่าจะเป็นจริงตามนั้น
             การตอบคำถามให้เขาจนมุมด้วยคำของเขาเอง ต่างหากที่เป็นประเด็นครับ.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
             ๕. ดังนั้น คำว่า ธรรมจักษุ ก็หมายความถึงได้บรรลุพระอรหันต์ก็ได้ใช่ไหมคะ
             (จะได้เพิ่มในลิสต์ เพราะที่ผ่านมาเรียนมาหมายถึงมรรค ๓ เบื้องต้น)
10:59 AM 7/15/2013
ตอบว่า เพิ่มในลิสต์ได้เลยครับ แล้วกำหนดที่มาด้วยว่า
             นัยจากอรรถกถาจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=795

ความคิดเห็นที่ 10-75
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม เวลา 11:16 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไขคำถามดังนี้
           ๑. อรรถกถาตรงกับพระไตรปิฎก ๒ ข้อ คือข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ และข้อ ๔ ระวังกามคุณ
ยังเหลือเรื่อง ลักทรัพย์และพูดเท็จที่จัดเข้าข้อที่เหลือในพระไตรปิฎกไม่ได้เป๊ะๆ นะคะ
สรุปว่า ย่อความตามพระไตรปิฎกนะคะ
            ๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
            ๓. ล้างบาปทุกอย่าง

ความคิดเห็นที่ 10-76
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม เวลา 11:20 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๖. อุปาลิวาทสูตร เรื่องทีฆตปัสสีนิครนถ์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมืองนาลันทา
             สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ ณ เมืองนาลันทาพร้อมด้วย
บริษัทนิครนถ์จำนวนมาก
             ครั้งนั้น นิครนถ์ชื่อว่าทีฆตปัสสี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             ครั้นปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเสร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติกรรมในการทำบาปกรรมไว้กี่อย่าง?
             ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ทูลว่า
             นิครนถ์นาฏบุตรไม่ได้บัญญัติว่า กรรม แต่บัญญัติว่า ทัณฑะ
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อ โดยการสนทนามีเนื้อความดังนี้
             นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะในการทำบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ
             กายทัณฑะ วจีทัณฑะ และมโนทัณฑะ
             ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นคนละอย่างกัน
             กายทัณฑะมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม
             พระผู้มีพระภาคทรงให้ทีฆตปัสสีนิครนถ์ยืนยันว่า
กายทัณฑะมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ถึง ๓ ครั้ง

             ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กราบทูลถามพระองค์บ้างว่า
             พระองค์ทรงบัญญัติทัณฑะในการทำบาปกรรมไว้กี่อย่าง?
             พระองค์ตรัสตอบว่า
             พระองค์ไม่ได้บัญญัติว่า ทัณฑะ แต่บัญญัติว่า กรรม
             พระองค์บัญญัติกรรมในการทำบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ
             กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
             ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นคนละอย่างกัน
             มโนกรรมมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม
             ทีฆตปัสสีนิครนถ์ทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันว่า
มโนกรรมมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ถึง ๓ ครั้ง แล้วทูลลาไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรม_3

             หลังจากนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์เข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรที่กำลังนั่งอยู่
พร้อมกับคิหิบริษัท (บริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านพาลกะ) จำนวนมาก
โดยมีอุบาลีคฤหบดีเป็นประมุข
             แล้วเล่าเรื่องที่ตนสนทนากับพระผู้มีพระภาคให้ฟังทุกประการ
             นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวชมเชยทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า
             กล่าวได้ถูกต้องตรงตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้ทั่วถึงคำสอนของ
ศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้
             อุบาลีคฤหบดีได้ฟังดังนั้นก็แสดงความประสงค์จะไปยกวาทะ (โต้วาทะ)
พระผู้มีพระภาค ให้เหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับแกะมีขนยาวที่ขนแล้วฉุดกระชากลากไปมา ฯลฯ
             นิครนถ์นาฏบุตรเห็นดีด้วย และกล่าวว่า
             แท้จริงแล้วตนก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรืออุบาลีคฤหบดีก็ได้
ควรโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค
             แต่ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวคัดค้านโดยให้เหตุผลว่า
             พระผู้มีพระภาคเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของ
พวกอัญญเดียรถีย์ (พวกนอกศาสนา)
             นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า
             เป็นไปไม่ได้ที่อุบาลีคฤหบดีจะไปเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
มีแต่พระผู้มีพระภาคจะมาเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี
             ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรถึง ๓ ครั้ง
แต่นิครนถ์นาฏบุตรก็ยังยืนยันเช่นเดิม

             อุบาลีคฤหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน
             แล้วทูลถามถึงถ้อยคำสนทนาระหว่างพระองค์กับทีฆตปัสสีนิครนถ์
ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ตรัสเล่าความให้ฟังทุกประการ
             อุบาลีคฤหบดีทูลว่า
             ทีฆตปัสสีกล่าวตรงตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้ทั่วถึงคำสอนของ
ศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้             
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ถ้าอุบาลีคฤหบดีจะพึงอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ก็จะมีการเจรจากันในเรื่องนี้
             อุบาลีคฤหบดีกราบทูลยอมรับ พระองค์จึงตรัสถามว่า
             ๑. ถ้านิครนถ์เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น (เพราะถือว่าในน้ำเย็นมีสัตว์เล็กๆ อยู่)
ดื่มได้แต่น้ำร้อน เมื่อไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย ดังนี้
             นิครนถนาฏบุตรบัญญัติผู้นี้ว่า จะไปเกิดที่ไหน?
             ทูลตอบว่า
             เกิดในเทวดาจำพวกมโนสัตว์ เพราะเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวแล้วตายไป
             ตรัสเตือนให้คิดให้ดีเสียก่อนแล้วจึงตอบเพราะคำก่อนกับคำหลังไม่ต่อกัน
(คือเดิมชี้ว่า โทษหรือทัณฑ์ทางกายมีโทษมากกว่า แต่กลับตอบว่า มีใจเป็นเหตุ )
             แต่อุบาลีคฤหบดีก็ยังยืนยันว่ากายทัณฑะมีโทษมากกว่า
             ๒. นิครนถ์เป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือ
                (๑) ห้ามน้ำทั้งปวง (เว้นน้ำดิบทุกอย่างเพราะถือว่ามีสัตว์อยู่)
                (๒) ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง (ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง)
                (๓) กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง (ล้างบาปทุกอย่าง)
                (๔) ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว (รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป)
             แต่เมื่อเดินหน้าหรือถอยหลังยังทำให้สัตว์เล็กๆ จำนวนมากตายได้ ดังนี้
             นิครนถนาฏบุตรบัญญัติผู้นี้ว่า จะมีวิบาก (ผล) อย่างไร?
             ทูลตอบว่า ไม่บัญญัติกรรม (การกระทำ) ที่ไม่จงใจ (ไม่ได้เจตนา) ว่ามีโทษมาก
             ตรัสถามว่า ถ้าจงใจเล่า?
             ทูลตอบว่า ก็เป็นกรรมมีโทษมาก
             ตรัสถามว่า นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนไหน?
             ทูลตอบว่า ลงในส่วนมโนทัณฑะ
             ตรัสเตือนให้คิดให้ดีเสียก่อนแล้วจึงตอบเพราะคำก่อนกับคำหลังไม่ต่อกัน
(คือเดิมชี้ว่า โทษหรือทัณฑ์ทางกายมีโทษมากกว่า แต่กลับตอบว่า เจตนาสำคัญ)
             แต่อุบาลีคฤหบดีก็ยังยืนยันว่ากายทัณฑะมีโทษมากกว่า
             ๓. บ้านนาลันทานี้เป็นบ้านเจริญมั่งคั่ง มีคนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก
ถ้ามีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมาแล้วพูดว่า
             เขาจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน
ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยครู่เดียวเท่านั้น เขาจะสามารถทำเช่นนั้นได้หรือไม่?
             ทูลตอบว่า แม้คน ๑๐ คนหรือ ๕๐ คน ก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
             ตรัสถามว่า แ้ล้วถ้าเป็นสมณะหรือพราหมณ์ที่มีฤทธิ์
เป็นผู้มีความชำนาญในทางจิตพูดว่า เขาจะทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า
ด้วยใจคิดประทุษร้ายดวงเดียว เขาจะสามารถทำเช่นนั้นได้หรือไม่?
             ทูลตอบว่า แม้บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านหรือ ๕๐ บ้าน ก็สามารถทำเช่นนั้นได้
             ตรัสเตือนให้คิดให้ดีเสียก่อนแล้วจึงตอบเพราะคำก่อนกับคำหลังไม่ต่อกัน
(คือเดิมชี้ว่า โทษหรือทัณฑ์ทางกายมีโทษมากกว่า แต่กลับตอบว่า
ผู้มีอำนาจจิตสามารถทำได้)
             แต่อุบาลีคฤหบดีก็ยังยืนยันว่ากายทัณฑะมีโทษมากกว่า
             ๔. ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ กลายเป็นป่าทึบไปเพราะอะไร?
             ทูลตอบว่า เพราะะจิตคิดประทุษร้ายต่อพวกฤาษี
(เทวดาจึงลงโทษชาวเมือง เมืองจึงกลายเป็นป่า)
             ตรัสเตือนให้คิดให้ดีเสียก่อนแล้วจึงตอบเพราะคำก่อนกับคำหลังไม่ต่อกัน
(คือเดิมชี้ว่า โทษหรือทัณฑ์ทางกายมีโทษมากกว่า แต่กลับตอบว่า จิตประทุษร้ายเป็นเหตุ)
และเขาได้กล่าวไว้ว่าการสนทนาจะอยู่ในคำสัตย์               
             อุบาลีคฤหบดีกราบทูลว่า
             ตนชื่นชมยินดีต่อพระองค์ตั้งแต่อุปมาข้อแรกแล้ว แต่ปรารถนาจะฟังพระปฏิภาณ
การพยากรณ์ปัญหาอันวิจิตรของพระองค์ จึงยังแกล้งทำเป็นดุจถือตรงกันข้ามอยู่
             แล้วทูลสรรเสริญว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             ตนขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสให้คิดให้ดีเสียก่อน เพราะเขาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง
(คนจะครหาได้ว่า “พบนิครนถ์ก็ถึงนิครนถ์เป็นสรณะ พบพระองค์ก็ถึงพระองค์เป็นที่พึ่ง”)
             อุบาลีคฤหบดีก็ยิ่งชื่นชมยินดีต่อพระองค์มากขึ้น
             เพราะหากตนกล่าวเช่นนี้กับพวกอัญญเดียรถีย์ๆ คงเที่ยวประกาศไปทั่วเมืองว่า
ได้ตนเป็นสาวก อุบาลีคฤหบดีทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิตเป็นครั้งที่  ๒             
             ตรัสว่า ตระกูลของเขาเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว
พึงสำคัญบิณฑบาตอันเขาพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึง
(ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปหาต่อไปเถิด)
             อุบาลีคฤหบดีกราบทูลแสดงความเลื่อมใสยิ่งขึ้น
             เพราะตนเคยได้ยินแต่ว่าพระสมณโคดมตรัสให้ถวายทานแก่พระองค์
และสาวกของพระองค์เท่านั้น ไม่ควรให้แก่ผู้อื่นและสาวกของผู้อื่น
             ทานที่ถวายแก่พระองค์และสาวกของพระองค์เท่านั้นมีผลมาก
ที่ให้แก่ผู้อื่นและสาวกของผู้อื่นไม่มีผลมาก
             แต่ความจริงพระผู้มีพระภาคกลับทรงชักชวนให้ตนให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์
ซึ่งตนจะทราบกาลอันควรในการให้ทานนี้ต่อไป
             แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิตเป็นครั้งที่  ๓
             หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุบุพพิกถาแก่อุบาลีคฤหบดี คือ
             ทรงประกาศทานกถา (เรื่องทาน) ศีลกถา (เรื่องสีล) สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกามอันต่ำทราม เศร้าหมอง) และ
เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์ในการออกจากกาม)
             เมื่อทรงทราบว่า อุบาลีคฤหบดีมีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์
มีจิตสูง มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ๔
             ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคฤหบดี
ที่อาสนะนั้นเอง (บรรลุโสดาปัตติผล) แล้วได้ทูลลากลับไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุปุพพิกถา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมจักษุ

             เมื่อกลับถึงบ้านก็บอกกับนายประตูว่า
             ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปให้ปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ชายหญิง
             ให้เปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาค เพื่อสาวกของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา
             ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ก็ให้แจ้งตามนี้ และแจ้งว่า
             อย่าเข้าไปเลย อุบาลีคฤหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว
ถ้าต้องการอาหารก็หยุดรอตรงนี้ แล้วจะมีคนนำมาอาหารมาให้

             ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ทราบเรื่องดังกล่าว จึงไปเล่าให้นิครนถ์นาฏบุตรฟัง
             นิครนถ์นาฏบุตรฟังแล้วไม่เชื่อ แม้ทีฆตปัสสีนิครนถ์จะย้ำถึง ๓ ครั้ง
ทีฆตปัสสีนิครนถ์จึงจะไปดูให้แน่ด้วยตนเอง
             เมื่อทีฆตปัสสีนิครนถ์มาถึงบ้านอุบาลีคฤหบดีแล้ว นายประตูห้ามไม่ให้เข้า
แล้วแจ้งให้ทราบตามที่อุบาลีคฤหบดีสั่งไว้
             ทีฆตปัสสีกล่าวว่า ตนยังไม่ต้องการอาหาร
             แล้วกลับจากที่นั้น เข้าไปเล่าให้นิครนถ์นาฏบุตรฟังว่า
             เป็นความจริง อุบาลีคฤหบดีถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายา
อันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้วดังที่ตนเคยคาดไว้ แต่นิครนถ์นาฎบุตรไม่เชื่อ
             นิครนถ์นาฏบุตรฟังแล้วก็ยังไม่เชื่อแม้ทีฆตปัสสีนิครนถ์จะย้ำถึง ๓ ครั้ง
นิครนถ์นาฏบุตรจึงจะไปดูด้วยตนเองว่าจริงหรือไม่

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 10-77
[ต่อ]

             นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทจำนวนมากไปยังที่อยู่ของอุบาลีคฤหบดี
             นายประตูเห็นดังนั้นก็ห้ามไม่ให้เข้าไป แล้วแจ้งตามที่อุบาลีคฤหบดีสั่งไว้
             นิครนถ์นาฏบุตรจึงให้นายประตูไปบอกว่า
             ตนและนิครนถ์บริษัทจำนวนมากมายืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก อยากจะพบท่าน
             นายประตูรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้วเข้าไปแจ้งอุบาลีคฤหบดีๆ จึงให้
ปูลาดอาสนะอย่างดีไว้ที่ศาลาประตูกลาง แล้วตนก็นั่งอาสนะนั้นเอง
             แล้วให้ไปเชิญนิครนถ์นาฏบุตรและบริษัทเข้ามาได้
             ถ้าเป็นเมื่อก่อน ถ้าอุบาลีคฤหบดีเห็นนาฏบุตรมา ไม่ว่าไกลเท่าใด
ก็จะไปต้อนรับถึงที่ แล้วจัดอาสนะอย่างดีเลิศให้นั่ง
             แต่บัดนี้อุบาลีคฤหบดีนั่งบนอาสนะที่เลิศนั้นเอง แล้วเชิญให้นิครนถ์นาฏบุตร
นั่งอาสนะอื่น
             นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า
             ท่านเป็นบ้าเสียแล้วหรือ ท่านเป็นคนเขลาเสียแล้วหรือ
             ท่านกล่าวว่าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม
             แต่เมื่อกลับมาแล้วเหมือนถูกวาทะดุจไม้ขื่ออันใหญ่สวมปากมา ฯลฯ
             ท่านถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้วหรือ
             อุบาลีคฤหบดีกล่าวว่า
             มายาอันเป็นเครื่องกลับใจนี้ดี แม้ใครๆ ควรจะกลับใจด้วยมายานี้
เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
             แล้วอุปมาให้ฟังว่า
             เรื่องเคยมีมาแล้ว ภริยาให้สามีนำลูกลิงไปให้ช่างผู้ชำนาญการย้อม
ย้อมลูกลิงให้น้ำ้ย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง
             แต่ช่างย้อมบอกว่า ลูกลิงตัวนี้ควรแต่จะย้อมเท่านั้น
ไม่ควรจะทุบ ไม่ควรจะขัดสี ฉันใด
             วาทะของนิครนถ์ผู้เขลา (ภริยา) ก็ฉันนั้น  
             ควรเป็นที่ยินดีของคนเขลา (สามี) เท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี
ไม่ควรซักไซร้ ไม่ควรพิจารณาของบัณฑิตทั้งหลาย (ช่างย้อม)
             ต่อมา สามีนั้นถือคู่ผ้าใหม่เข้าไปหาช่างย้อมนั้นอีก
ให้ย้อมคู่ผ้าใหม่ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง
             ช่างย้อมบอกว่า คู่ผ้าใหม่ของท่านนี้ ควรจะย้อม ควรจะทุบ
ควรจะขัดสี ฉันใด
             วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ฉันนั้น ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิตทั้งหลายเท่านั้น
             แต่ไม่ควรซักไซร้ และไม่ควรพิจารณาของคนเขลาทั้งหลาย
(เพราะพระพุทธพจน์เป็นสิ่งลึกซึ้งเปรียบเหมือนมหาสมุทร คนเขลาไม่สามารถหยั่งถึงได้)
             นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า
             บริษัทพร้อมทั้งพระราชาต่างก็รู้ว่าท่านเป็นสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร
แล้วเราทั้งหลายจะทรงจำท่านว่าเป็นสาวกของใครเล่า?
             อุบาลีคฤหบดีลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ
             แล้วประกาศตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
             พร้อมด้วยสรรเสริญพระคุณอย่างยืดยาว ดังนี้
             ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นนักปราชญ์
             ...
             ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระฤาษีที่ ๗
(พระฤาษีที่ ๗ หมายถึงพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่งในบรรดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์ คือ
พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ... พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า)
            ...
            ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ตัดตัณหาได้ขาด
ทรงตื่นอยู่ ปราศจากควัน ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาได้
            ผู้ควรรับการบูชา ทรงได้พระนามว่ายักขะ
(เพราะแสดงอานุภาพได้ หรือเพราะไม่ปรากฏพระองค์) เป็นอุดมบุคคล
             มีพระคุณไม่มีใครชั่งได้ เป็นผู้ใหญ่ ทรงถึงยศอย่างยอดเยี่ยม
             นิครนถ์นาฏบุตรถามว่า
             ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนาคุณของพระสมณโคดมไว้แต่เมื่อไร?
             อุบาลีคฤหบดีตอบว่า
             เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้คนขยัน พึงร้อยกรอง
ดอกไม้ต่างๆ กองใหญ่ ให้เป็นพวงมาลาอันวิจิตรได้ ฉันใด
             พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ก็ฉันนั้น ทรงมีพระคุณควรพรรณนาเป็นอเนก
ทรงมีพระคุณควรพรรณนาตั้งหลายร้อย
             ก็ใครจักไม่ทำการพรรณนาพระคุณของพระองค์ผู้ควรพรรณนาพระคุณได้เล่า
             ครั้นเมื่อนิครนถ์นาฏบุตรทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคไม่ได้
โลหิตอันอุ่นได้พลุ่งออกจากปากในที่นั้นเอง

[แก้ไขตาม #10-78]

ความคิดเห็นที่ 10-78
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม เวลา 05:14 น.

GravityOfLove, 16 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๖. อุปาลิวาทสูตร เรื่องทีฆตปัสสีนิครนถ์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477&bgc=lavender&pagebreak=0
...
11:19 AM 7/15/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             นิครนถ์นาฏบุตรเห็นดีด้วย และกล่าวว่า
             แท้จริงแล้วตนก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรืออุบาลีคฤหบดีก็ได้ก็ได้
แก้ไขเป็น
             นิครนถ์นาฏบุตรเห็นดีด้วย และกล่าวว่า
             แท้จริงแล้วตนก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรืออุบาลีคฤหบดีก็ได้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

(คนจะครหาได้ว่า “พบนิครนถ์ก็ถึงนิครนถ์เป็นสรณะ พบพระก็ถึงพระเป็นที่พึ่ง”)
แก้ไขเป็น
             (คนจะครหาได้ว่า
             “พบนิครนถ์ก็ถึงนิครนถ์เป็นสรณะ พบพระผู้มีพระภาคก็ถึงพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง”)
หรือแก้ไขเป็น
(คนจะครหาได้ว่า “พบนิครนถ์ก็ถึงนิครนถ์เป็นสรณะ พบพระองค์ก็ถึงพระองค์เป็นที่พึ่ง”)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             แล้วกลับจากที่นั้น เข้าไปเล่าให้นิครนถ์นาฏบุตรฟังว่า
             เป็นความจริง อุบาลีคฤหบดีถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายา
อันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้วดังที่ตนเคยคาดไว้ แต่อุบาลีคฤหบดีไม่เชื่อ
             ถามว่า ใครไม่เชื่อหนอ นิครนถ์นาฏบุตรหรืออุบาลีคฤหบดี?

ความคิดเห็นที่ 10-79
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม เวลา 05:24 น.
             คำถามในอุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 10-80
GravityOfLove, 16 กรกฎาคม เวลา 05:54 น.

ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไขเป็น
             เป็นความจริง อุบาลีคฤหบดีถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายา
อันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้วดังที่ตนเคยคาดไว้ แต่นิครนถ์นาฎบุตรไม่เชื่อ
------------------------------
             ตอบคำถามในอุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติกรรม ในการทําบาปกรรมไว้3 ประการ
             คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
             ทรงบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทําบาปกรรม
             ๒. วัตรของพวกนิครนถ์
             ๓. อุบาลีคฤหบดีเมื่อได้ฟังอุปมาที่พระองค์ทรงแสดงก็ถึงไตรสรณะ
             และเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาจบก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
             ๔. ทีฆตปัสสี หมายถึงนิครนถ์ผู้มีชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นผู้บำเพ็ญตบะมานาน
             ๕. พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสมโนกรรมฝ่ายอกุศลว่ามีโทษมาก
จึงตรัส หมายถึง นิยตมิจฉาทิฏฐิ
             ๕. หลังจากที่นิครนถ์นาฏบุตรกระอักโลหิตแล้ว พนักงานคานหาม
ก็นำออกจากพระนครพาไปด้วยคันหาม ๕ คน ถึงนครปาวา
             ต่อมาไม่นานนัก เขาก็เสียชีวิตที่นี่
             ๖. เรื่องป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่ามาตังคะ

ความคิดเห็นที่ 10-81
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม เวลา 13:28 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
...
             ตอบคำถามในอุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477
...
5:53 AM 7/16/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรพยากรณ์ผิดพลาด
แต่ทีฆตปัสสีก็ยังไม่ออกจากลัทธิของนิครนถ์นาฏบุตร
และยังไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค.
             ในข้อนี้จะสันนิษฐานอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 10-82
GravityOfLove, 16 กรกฎาคม เวลา 18:39 น.

             ข้อมูลดังนี้
             - ชื่อ ทีฆตปัสสี แปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะมานาน
             - จากอรรถกถา แสดงว่าน่าจะเป็นผู้มีปัญญาน้อย
             ในบริษัทนั้น อุบาลีคฤหบดีเท่านั้นเป็นคนมีปัญญาอยู่หน่อย
             - ยืนยันไม่อยากให้อุบาลีคฤหบดีไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ๓ ครั้ง
             ประมวลได้ว่า
             เป็นผู้มีปัญญาน้อย และดึงดันในความเห็นตัวเอง
การที่เขาได้บำเพ็ญตบะมานานแล้ว ก็ไม่อยากเปลี่ยนวัตรเดิมๆ ของตัวเอง
แม้สิ่งใหม่นั้นจะมีเหตุมีผลมากกว่า
             เหมือนคนแบกมัดเปลือกป่านที่แบกมานานแล้วไม่ยอมทิ้งไปเพื่อ
สิ่งที่มีค่ากว่าในปายาสิราชัญสูตร
             ปายาสิราชัญสูตร
//84000.org/tipitaka/read/?10/327

ความคิดเห็นที่ 10-83
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม เวลา 19:24 น.

GravityOfLove, 17 นาทีที่แล้ว
...
6:39 PM 7/16/2013
             เฉลยว่า เป็นคำถามให้แสดงความเห็น ดังนั้น หากไม่ผิดชัดเจนจะไม่กล่าวผิด.
             ความเห็นส่วนตัว :-
             เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรพยากรณ์ผิดพลาด
แต่ทีฆตปัสสีก็ยังไม่ออกจากลัทธิของนิครนถ์นาฏบุตร
             แสดงว่า เขายินดีหรือยอมรับได้ต่อการที่ศาสดาผู้มีปัญญาน้อย
กล่าวผิดพลาด ไม่รู้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นกล่าวว่าเห็น ผู้ประกอบด้วยพาลธรรม
             กล่าวคือ ยอมรับได้ที่มีศาสดาหรือสหธรรมิกเป็นคนพาล.
             หรืออีกประการหนึ่ง เขามีความพอใจในการประพฤติวัตรแบบนิครนถ์
โดยไม่ต้องเลื่อมใสใครๆ กล่าวคือไม่ต้องมีใครชักจูง.

และยังไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค.
             แสดงว่า ความพอใจในวัตรของเขา ความพอใจในทิฏฐิของเขา
ปิดบังโอกาสในการฟังธรรม ปิดบังโอกาสการพิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังมา.

             จูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=14&A=2187&w=ภักดี

ความคิดเห็นที่ 10-84
GravityOfLove, 16 กรกฎาคม เวลา 19:43 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 9:56:12 น.
Counter : 393 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog