24.2 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.1 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-16
ฐานาฐานะ, 11 พฤศจิกายน เวลา 19:59 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เทวทหสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511

              พระสูตรหลักถัดไป คือปัญจัตตยสูตร [พระสูตรที่ 2].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              ปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=28

              กินติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=793&Z=939
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=42

              สามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51

              สุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67

ความคิดเห็นที่ 7-17
GravityOfLove, 9 พฤศจิกายน เวลา 14:04 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ (คำถามนอกพระสูตรหลัก) ว่า
             "บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา
             บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า." อย่างไร

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย
ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=4443&Z=4845&pagebreak=0

             ด้วยคำว่า เยสํ มยิ สทฺธามตฺตํ เปมมตฺตํ นี้ท่านประสงค์เอาเหล่าบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาที่ไม่มีอริยธรรมอย่างอื่น แต่มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในพระตถาคตเท่านั้น.
             จริงอยู่ เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนาเกิดความเชื่ออย่างหนึ่ง ความรักอย่างหนึ่งในพระทศพล เธอก็เป็นเสมือนความเชื่อนั้น ความรักนั้น จับมือไปวางไว้ในสวรรค์. นัยว่า ภิกษุเหล่านั้นมีคติที่แน่นอน. ส่วนเหล่าพระเถระเก่าๆ เรียกภิกษุเหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274&p=1
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-18
ฐานาฐานะ, 9 พฤศจิกายน เวลา 20:05 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ (คำถามนอกพระสูตรหลัก) ว่า
             "บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา
             บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า." อย่างไร
...
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274&p=1
             ขอบพระคุณค่ะ
2:03 PM 11/9/2013

             อธิบายว่า
             ปุถุชนที่มีความเชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้จริง เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีความรัก กล่าวคือมีจิตอ่อนโยนในพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือเมตตาไมตรี (อันตรงกันข้ามกับโทสะพยาบาท)
เขาเหล่านั้น ก็มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปเบื้องหน้า
             โดยนัยนี้ กล่าวโดยนัยว่า ปุถุชนเหล่านั้นไม่ได้ทำกรรมหนัก มีมาตุฆาตเป็นต้น
เพียงเขาเหล่านั้นมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา ก็พอจะได้อุบัติในสวรรค์
เพราะจิตอันเป็นกุศลนี้.
             อรรถกถาอธิบายโดยนัยว่า
             ปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนา แม้ยังไม่บรรลุอริยมรรคใดๆ เลย เพียงเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น
ก็พอจะเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คล้ายๆ พระโสดาบันที่ต้องไปทุคติแล้ว
จึงกล่าวยกย่องว่า เป็นเหมือนพระโสดาบัน หรือพระจุลลโสดาบัน แต่ว่า นัยนี้ไม่รวมภพอื่นๆ หลังจากนั้น.
             นัยนี้ น่าจะคล้ายๆ ข้อ 131 ในพระสูตรชื่อว่า มหาปรินิพพานสูตร

             [๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน พวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษาใน
ทิศทั้งหลายย่อมมาเพื่อเฝ้าพระตถาคต พวกข้าพระองค์ย่อมได้เห็น ได้เข้าไปนั่ง
ใกล้ภิกษุเหล่านั้นผู้ให้เจริญใจ ก็โดยกาลล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาค พวกข้าพระ
องค์จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ พวกภิกษุผู้ให้เจริญใจ ฯ
             ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา
สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
             ๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
             ๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
             ๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
             ๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้
             สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ
             ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า
พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้
ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ
ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว
จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

//84000.org/tipitaka/read/?10/131

ความคิดเห็นที่ 7-19
ฐานาฐานะ, 9 พฤศจิกายน เวลา 20:19 น.

             อรรถกถาอธิบายโดยนัยว่า
             ปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนา แม้ยังไม่บรรลุอริยมรรคใดๆ เลย เพียงเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น
ก็พอจะเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คล้ายๆ พระโสดาบันที่ต้องไปทุคติแล้ว
จึงกล่าวยกย่องว่า เป็นเหมือนพระโสดาบัน หรือพระจุลลโสดาบัน แต่ว่า นัยนี้ไม่รวมภพอื่นๆ หลังจากนั้น.
             นัยนี้ น่าจะคล้ายๆ ข้อ 131 ในพระสูตรชื่อว่า มหาปรินิพพานสูตร
             แก้ไขเป็น
             อรรถกถาอธิบายโดยนัยว่า
             ปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนา แม้ยังไม่บรรลุอริยมรรคใดๆ เลย เพียงเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น
ก็พอจะเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คล้ายๆ พระโสดาบันที่ไม่ต้องไปทุคติแล้ว
จึงกล่าวยกย่องว่า เป็นเหมือนพระโสดาบัน หรือพระจุลลโสดาบัน แต่ว่า นัยนี้ไม่รวมภพอื่นๆ หลังจากนั้น.
             ควรเข้าใจนัยว่า เมื่อเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเชื่อในพระธรรมที่ทรงแสดงว่า
แม้พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นธรรมดี อันทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติถึงความสิ้นทุกข์ได้จริงเป็นต้น.
             นัยนี้ น่าจะคล้ายๆ ข้อ 131 ในพระสูตรชื่อว่า มหาปรินิพพานสูตร

ความคิดเห็นที่ 7-20
GravityOfLove, 9 พฤศจิกายน เวลา 21:32 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-21
GravityOfLove, 12 พฤศจิกายน เวลา 20:01 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
              ๒. ปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วนอนาคต มีทิฐิ
คล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่ง
ความเชื่อมั่นหลายประการ คือ
             ๑. อัตตาที่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป (สัญญีวาทะ)
(หลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา)
             ๒. อัตตาที่ไม่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป (อสัญญีวาทะ)
             ๓. อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เป็นของยั่งยืน
เบื้องหน้าแต่ตายไป (เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ)
             ๔. บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่
(อุจเฉทวาทะ)
             ๕. นิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ)
             รวมบทแห่งความเชื่อมั่นเหล่านี้ เป็น ๕ บท แล้ว เป็น ๓ บท
             เป็น ๓ ขยายเป็น ๕ นี้ อุเทศของบท ๕ ๓ หมวด ของความเชื่อมั่น
             (๕ ประการนี้ แสดงเป็น ๓ หมวด คือ)
             ๑. บัญญัติอัตตาที่มีอยู่ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป
             ๒. บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่
             ๓. กล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน

๑. อัตตาที่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป
             ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน
เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา
             (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๗) ชนิดมีสัญญาย่อมเยา ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันวิญญาณกสิณของอัตตามีสัญญาชนิดใด
ชนิดหนึ่งเหล่านี้ ที่เป็นไปล่วงชนิดทั้ง ๗ ว่า หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
             แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันอากิญจัญญายตนะว่า หาประมาณมิได้
ไม่หวั่นไหว ด้วยเหตุที่สัญญาอันบัณฑิตกล่าวว่าบริสุทธิ์ เยี่ยมยอด ไม่มีสัญญา
อื่นยิ่งกว่าสัญญาเหล่านี้
             ทั้งที่เป็นสัญญาในรูป ทั้งที่เป็นสัญญาในอรูป ทั้งที่เป็นสัญญาอย่างเดียวกัน
ทั้งที่เป็นสัญญาต่างกัน
             ไม่มีสักน้อยหนึ่ง (ไม่มีอะไร)
             เรื่องสัญญานั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
             (ตถาคตทราบว่า) ความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่
ทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง
นั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้

๒. อัตตาที่ไม่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป
             ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป
ย่อมบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา
             (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป (๑)
ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอสัญญีวาทะนั้น (๒)
             เพราะ (พวก ๒ เห็นว่า) สัญญาเป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร
             สิ่งดี ประณีต นี้คือความไม่มีสัญญา
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี (ว่า)
             เราจักบัญญัติการมาเกิด หรือการไปเกิด การจุติ การอุปบัติ ความเจริญ
ความงอกงาม ความไพบูลย์ นอกจากรูป นอกจากเวทนา นอกจากสัญญา นอกจาก
สังขาร นอกจากวิญญาณ เป็นไปไม่ได้

๓. อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป
             ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
             (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี
             สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป (๑)
ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น (๓)
             แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้า
แต่ตายไป (๒) ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (๓)
             เพราะ (พวก ๓ เห็นว่า) สัญญาเป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี
เป็นเหมือนลูกศร
             ความไม่มีสัญญา เป็นความหลง สิ่งดี ประณีตนี้ คือ ความมีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี (ว่า)
             สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติการเข้าอายตนะนี้
(ในที่นี้หมายถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ) ด้วยเหตุเพียงสังขารที่ตนรู้แจ้ง
(ในที่นี้หมายถึงสัญญาที่รู้แจ้งได้ทางทวาร ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
โดยได้เห็นได้ยินและได้ทราบ (สังขาร) (ในที่นี้หมายถึงสังขารที่หยาบ)
             การบัญญัติของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า
เป็นความพินาศของการเข้าอายตนะนี้ เพราะอายตนะนี้ ท่านไม่กล่าวว่า
พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของสังขาร
             แต่ท่านกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของขันธ์ที่เหลือจากสังขาร
(หมายถึงสังขารที่ละเอียดกว่าสังขารที่กล่าวมาข้างต้น)
             เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ
และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่
จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่
ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้

๔. บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่
             สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป (๑)
ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิด
ของสัตว์ที่มีอยู่ (๔)
             แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ว่ายั่งยืน
เบื้องหน้าแต่ตายไป (๒) ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอุจเฉทวาทะนั้น (๔)
             แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป (๓) ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอุจเฉทวาทะนั้น (๔)
             เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด (๑-๓) ย่อมหมายมั่นกาลข้างหน้า
กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ๆ
             เปรียบเหมือนพ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังว่า ผลจากการค้าเท่านี้
จักมีแก่เรา ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หวังว่า เราละโลกไปแล้ว
จักเป็นเช่นนี้ๆ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
             ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิด
ของสัตว์ที่มีอยู่ (๔) เป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไปตามสักกายะ
อยู่นั่น
             เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาผูกโซ่ล่ามไว้ที่เสาหรือที่หลักมั่น ย่อมวนเวียน
ไปตามเสาหรือหลักนั่นเอง
             เรื่องสักกายะนั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่
ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจาก
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             (สรุป) สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต
มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่ง
ความเชื่อมั่นหลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวยืนยันอายตนะ
๕ นี้ทั้งมวล หรือเฉพาะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง

วาทะแสดงทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต ๑๖
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต
ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเปล่า
             ๑. อัตตาและโลกเที่ยง
             ๒. อัตตาและโลกไม่เที่ยง
             ๓. อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง
             ๔. อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่
             ๕. อัตตาและโลกมีที่สุด
             ๖. อัตตาและโลกไม่มีที่สุด
             ๗. อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด
             ๘. อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
             ๙. อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน
             ๑๐. อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน
             ๑๑. อัตตาและโลกมีสัญญาย่อมเยา
             ๑๒. อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้
             ๑๓. อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว
             ๑๔. อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว
             ๑๕. อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์
             ๑๖. อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่
             สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
             อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า
             เป็นไปไม่ได้ที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์
จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ
ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ
             เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้ในญาณเท่านั้น แม้ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่า
อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น
             (อุปาทาน ในที่นี้หมายถึง ทิฏฐุปาทาน เพราะความเห็นเช่นนี้จัดเป็น
มิจฉาญาณทัสสนะ)
             เรื่องอุปาทานนั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่
ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจาก
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             วาทะที่เหลืออีก ๑๕ ประการ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปาทาน

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 7-22
[ต่อ]

๕. นิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ)
             ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้
โดยประการทั้งปวง เพราะสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต
เสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ (ปีติในฌานที่ ๑ และ ๒) ด้วยสำคัญว่า
             เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่
             (กามสังโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความทะยานอยากในกามคุณ ๕
(คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่าใคร่))
             เมื่อปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก
             เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น
แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
             เรื่องปีติเกิดแต่วิเวกนั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของ
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
จากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             ๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้
โดยประการทั้งปวง เพราะสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้
             เมื่อก้าวล่วงปีติเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขเสมือนปราศจากอามิสอยู่
(สุขในฌานที่ ๓) ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุขอยู่
             เมื่อสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก
เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส
             เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น
แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
             เรื่องสุขเสมือนปราศจากอามิสนั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบาย
เป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             ๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้
โดยประการทั้งปวง เพราะสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้
             เมื่อก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้
ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ (เวทนาในฌานที่ ๔) ด้วยสำคัญว่า
             เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่
             เมื่อเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอดับ ย่อมเกิดสุขเสมือน
ปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่
สุขก็มิใช่
             เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น
แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
             เรื่องเวทนาอันทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ
และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบาย
เป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             ๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้
โดยประการทั้งปวง เพราะสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต
เสียได้
             เมื่อก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส
ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว
เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี
             ท่านผู้นี้ ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทาที่ให้สำเร็จนิพพานอย่างเดียวโดยแท้
แต่ก็ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่า
ยังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นปีติอันเกิดแต่วิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นสุขเสมือนปราศจากอามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่
             และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์นี้
             เรื่องอุปาทานนั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของ
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
จากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้

วาทะของพระพุทธองค์
             บทอันประเสริฐ สงบ (สันติวรบท) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เอง
ด้วยปัญญาอันยิ่งนี้ คือ
             ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ (ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก)
ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น (อนุปาทาวิโมกข์ โดยปกติหมายถึง
นิพพาน แต่ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาบัติ)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อายตนะ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #7-23]

ความคิดเห็นที่ 7-23
ฐานาฐานะ, 13 พฤศจิกายน เวลา 15:24 น.

GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๒. ปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
8:00 PM 11/12/2013

             ย่อความได้ดีครับ
             ความคิดเห็นส่วนตัวดังนี้ :-
             หัวข้อย่อความว่า วาทะของพระพุทธองค์ อันตามด้วยเนื้อความ
ในข้อ [๓๗] หรือ {๓๗} [๓๐] ก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยเลย.
             เนื่องจาก ข้อ 37-40 น่าจะเป็นเนื้อความขยายข้อว่า กล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน
หรือในพรหมชาลสูตร ข้อว่า ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
//84000.org/tipitaka/read/?9/50

             แล้วแม้เนื้อความในท้ายข้อ 40 ว่า
             และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น บัณฑิตก็เรียกว่า อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์นี้
เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของ
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด
ออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ
             ดังนั้น จึงไม่ควรใช้หัวข้อนี้
             หากจะใช้หัวข้อนี้ ควรใช้ในข้อ 41
             [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่
ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้น
ได้ด้วยไม่ถือมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

ความคิดเห็นที่ 7-24
GravityOfLove, 13 พฤศจิกายน เวลา 15:31 น.

วาทะของพระพุทธองค์ เปลี่ยนเป็น ๕. นิพพานในปัจจุบัน
ถูกต้องไหมคะ
(แกรวิตี้ก็หาข้อ ๕ ไม่เจออยู่พอดี)

ความคิดเห็นที่ 7-25
ฐานาฐานะ, 13 พฤศจิกายน เวลา 15:54 น.

วาทะของพระพุทธองค์ เปลี่ยนเป็น ๕. นิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ)

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:02:05 น.
Counter : 1188 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog