21.2 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.1 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-8
ฐานาฐานะ, 14 สิงหาคม เวลา 03:25 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๖. ลฑุกิโกปมสูตร เรื่องพระอุทายี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3253&Z=3507&bgc=seashell&pagebreak=0
...
8:09 PM 8/13/2013

             ย่อความได้ดี มีข้อติงดังนี้ :-
             ลำดับนั้น เวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่เร้น (คือออกจากผลสมาบัติ)
             คำในวงเล็บ อาจทำให้ตีความได้ว่า ออกจากที่เร้น แปลว่า ออกจากผลสมาบัติ
             ซึ่งที่จริงแล้ว การออกจากที่เร้น คือการออกจากสถานที่หลีกเร้น
ส่วนเมื่ออยู่ในที่เร้นแล้ว จะเจริญกรรมฐานใด สมาบัติใด หรือจะไม่เจริญสมณธรรมเลย
ก็แล้วแต่บุคคลนั้น.
             ดังนั้น ควรแก้ไขว่า (ในที่นี้คือออกจากผลสมาบัติ)
- - - - - - - - - - - - - - -

             แต่พอพระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุทั้งหลายละการฉันโภชนะในเวลาวิกาลในเวลากลางวัน
ตนมีความน้อยใจ มีความเสียใจ เพราะคฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธาจะถวายให้
             ควรให้เนื้อความชัดเจนดังนี้ว่า
             แต่พอพระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุทั้งหลายละการฉันโภชนะในเวลาวิกาลในเวลากลางวัน
ตนมีความน้อยใจ มีความเสียใจ เพราะคฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธาจะถวายของควรเคี้ยว ของควรบริโภค
อันประณีต ในเวลาวิกาลในกลางวัน.
- - - - - - - - - - - - - - -

             ครื่องผูกของเขานั้นเป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือน
แก้ไขเป็น
             เครื่องผูกของเขานั้นเป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือน
- - - - - - - - - - - - - - -

(รู้ว่า อุปธิเป็นเหตุแห่งทุกข์ (อุปธิ ในที่นี้หมายถึงเบญจขันธ์))
             ควรแก้ไขด้วยคำเดิมว่า
(รู้ว่า อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์ (อุปธิ ในที่นี้หมายถึงเบญจขันธ์))
             ความเห็นส่วนตัวว่า คำว่า เหตุแห่งทุกข์ เป็นคำเฉพาะอันได้แก่ ตัณหา.
>>>>>>
             ดูกรอุทายี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ว่าเบญจขันธ์อันชื่อว่าอุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์ ครั้นรู้
ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปธิ แล้วน้อมจิตไปในนิพพานเป็นที่สิ้นอุปธิ บุคคลนี้เรากล่าวว่า ผู้อัน
กิเลสคลายแล้ว มิใช่ผู้อันกิเลสประกอบไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของ
ต่างกันในบุคคลนี้ เรารู้แล้ว. ดูกรอุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
//84000.org/tipitaka/read/?13/181

ความคิดเห็นที่ 8-9
ฐานาฐานะ, 14 สิงหาคม เวลา 03:27 น.

             คำถามในลฑุกิโกปมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3253&Z=3507

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ชื่อพระสูตรนี้ แปลว่าอะไร?

ความคิดเห็นที่ 8-10
GravityOfLove, 14 สิงหาคม เวลา 10:25 น.
ขอบพระคุณค่ะ
------------------------------------------
             ตอบคำถามในลฑุกิโกปมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3253&Z=3507

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ก่อนที่ยังไม่ได้บัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายฉันทั้งเวลาเช้า วิกาลกลางวัน
และวิกาลกลางคืน
             ต่อมา พระองค์ทรงบัญญัติให้งดการฉันในกลางวันก่อน
             ต่อมาจึงให้งดการฉันในเวลาเย็น
             ๒. ก่อนที่ยังไม่ได้บัญญัติสิกขาบท มีอยู่ที่ภิกษุไปบิณฑบาตกลางคืน
แล้วชาวบ้านตำหนิว่า พ่อแม่ของภิกษุตายเสียแล้ว ท่านเอามีดที่คมเชือด
ท้องเสียยังจะดีกว่าการที่ท่านเที่ยวบิณฑบาตในเวลาค่ำมืดเพราะเหตุแห่งท้อง
             ๓. ภิกษุที่บ่น และไม่เื่ชื่อฟังพระผู้มีพระภาค
             โทษแม้เพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็น
เครื่องผูกอันมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่
             เป็นเครื่องผูกมัดมีกำลังเพราะโมฆบุรุษมีศรัทธาอ่อน มีปัญญาอ่อน
แม้โทษเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ก็เป็นของใหญ่ละได้ยาก ดุจวัตถุแห่งปาราชิกฉะนั้น
             ๔. ภิกษุที่บ่น แต่ก็เื่ชื่อฟังพระผู้มีพระภาค
             โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้นเป็นโทษที่ละได้ง่าย
เพราะกุลบุตรทั้งหลายมีศรัทธามากมีปัญญามาก
              แม้วัตถุแห่งปาราชิกอันเป็นของใหญ่ก็ละได้ง่าย ดุจเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏฉะนั้น
             ๕. เครื่องผูกใดๆ จะเหนียวแน่นมั่นคงหรือบอบบางไม่มั่นคง ต่อบุคคลใดๆ
ก็ควรพิจารณาว่า บุคคลนั้นๆ สามารถทำลายสละเครื่องผูกนั้นไปได้หรือไม่
              การทำลายเครื่องผูกของอุปมามนุษย์ ก็ด้วยกำลัง (พละ ๕) ของบุคคลนั้นเอง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5

             ๖. บุคคล ๔ จำพวก คือ ละไม่ได้ ละได้ ละได้เร็ว และไม่มีอุปธิ
             ในแต่ละจำพวกสามารถเป็นได้ทั้งปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
             ๗. ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ เป็นกามสุข ความสุขไม่สะอาด
ความสุขของปุถุชนไม่ใช่สุขของพระอริยะ อันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทําให้มาก
ควรกลัวแต่สุขนั้น
             ความสุขที่เกิดจากฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นความสุขที่เกิดจากความออกจากกาม
ความสุขที่เกิดจากความสงัด ความสงบ ความสัมโพธิ (ความสุขเกิดจากการตรัสรู้) อันบุคคลควรเสพ
ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น
             ๘. ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๓ ยังมีอะไรหวั่นไหว
             ส่วนฌานที่ ๔ นั้น ไม่หวั่นไหว
             ๙. ฌานที่ ๑ จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไม่ควรทําความอาลัย จงละเสีย
------------------------------------------
             2. ชื่อพระสูตรนี้ แปลว่าอะไร?
             ชื่อพระสูตรคือ ลฑุกิโกปมสูตร แปลว่า อุปมาด้วยนางนกมูลไถ
             บทว่า ลฏุกิกา (บาลีเป็น ลฑุกิกา) สกุณิกา คือ นางนกมูลไถ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=175&bgc=seashell

             คำศัพท์ที่ค้นหา โอปม
             ผลการค้นหาพบคำแปลทั้งหมด 1 ศัพท์
             คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : โอปมฺมํ
             คำอ่าน (ภาษาบาลี) : โอ-ปัม-มัง
             คำแปลที่พบ : เปรียบ, อุปมา
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

ความคิดเห็นที่ 8-11
ฐานาฐานะ, 14 สิงหาคม เวลา 17:52 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในลฑุกิโกปมสูตร ...
10:24 AM 8/14/2013

             ตอบคำถามได้ดี แต่มีที่ผิดอยู่บ้าง
             คำว่า
              ๖. บุคคล ๔ จำพวก คือ ละไม่ได้ ละได้ ละได้เร็ว และไม่มีอุปธิ
              ในแต่ละจำพวกสามารถเป็นได้ทั้งปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
             เฉพาะ 3 จำพวกแรกเท่านั้นที่มีนัยเป็นได้ทั้งทั้งปุถุชน ... พระอนาคามี
             บุคคลจำพวกไม่มีอุปธิ คือพระอรหันต์.
             ตอบผิด เพราะพิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิด?
             อรรถกถาว่า
             บทว่า นิปาโต คือตกลงไปในกระทะเหล็ก. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านแสดง ๓ หมวด
คือ ยังละไม่ได้ ๑ ละ ๑ ละได้เร็ว ๑.
             ใน ๓ หมวดนั้น ชน ๔ จำพวกชื่อว่าละไม่ได้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=175

ความคิดเห็นที่ 8-12
GravityOfLove, 14 สิงหาคม เวลา 18:14 น.

ขอบพระคุณค่ะ
ตอบผิด เพราะพิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิด?
เพราะลืมนึกไปค่ะ ทราบว่าผู้ไม่มีอุปธิคือพระอรหันต์
แต่ตอนตอบลืมพิจารณาแต่ละข้อให้รอบคอบ

ความคิดเห็นที่ 8-13
ฐานาฐานะ, 14 สิงหาคม เวลา 18:17 น.

             รับทราบครับว่า ลืมรอบคอบ.

ความคิดเห็นที่ 8-14
ฐานาฐานะ, 14 สิงหาคม เวลา 18:23 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ลฑุกิโกปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3253&Z=3507

              พระสูตรหลักถัดไป คือจาตุมสูตร [พระสูตรที่ 17].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              จาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3508&Z=3666
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=186

              นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=195

              โคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=203

              กีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

ความคิดเห็นที่ 8-15
GravityOfLove, 15 สิงหาคม เวลา 11:35 น.

             คำถามจาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3508&Z=3666

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาค จงรับสั่ง
กะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์
เหมือนที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด
             บทว่า อนุคฺคหิโต ขอทรงอนุเคราะห์ คือทรงอนุเคราะห์ด้วยอามิสและธรรม
             ในที่นี้พวกเจ้าศากยะหมายถึง ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยธรรม ใช่ไหมคะ
             ๒. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประณาม
ภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า
             บัดนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย
             ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่
แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข
ในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้.

ดูกรสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูกรสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูกรสารีบุตร เธออย่าพึงให้จิต
เห็นปานนี้เกิดขึ้นอีกเลย.

             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า
             ดูกรโมคคัลลานะ เมื่อเราประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มีอย่างไร?
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว
จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า
             บัดนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย
             ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่
เรา และท่านพระสารีบุตรจักช่วยกันปกครองภิกษุสงฆ์ในบัดนี้.
ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงเรา หรือสารีบุตรและโมคคัลลานะเท่านั้น พึงปกครอง
             << พยัญชนะไม่ยากค่ะ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมพระเถระทั้งสองทูลตอบเช่นนี้
และทำไมตรัสตอบเ่ช่นนั้น
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-16
ฐานาฐานะ, 15 สิงหาคม เวลา 14:45 น.

              ข้อ 1. ตอบว่า ใช่ครับ ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยธรรม คือพระธรรมเทศนา.
              ข้อ 2. ตอบว่า พระเถระทั้งสอง ก็ทูลตอบไปตามความเป็นจริง
              กล่าวคือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลตอบโดยนัยว่า
              เมื่อพระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย ฯ
เราและท่านพระสารีบุตรจักอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์
              ประหนึ่งบุตรชายคนโตและคนรอง รับทำกิจของบิดา.
              ส่วนท่านพระสารีบุตรทูลตอบโดยนัยว่า ท่านน้อมจิตไปตามอย่างพระผู้มีพระภาค.
              ความเห็นส่วนตัวว่า เพราะท่านพระสารีบุตรมีปัญญามาก
เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคอย่างมาก เพราะมีปัญญาและความเลื่อมใสใน
พระผู้มีพระภาคมาก จึงอนุวัตรตามพระผู้มีพระภาค.
<<<<<
              พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันว่า
              ความจริงเรา หรือสารีบุตรและโมคคัลลานะเท่านั้น พึงปกครองภิกษุสงฆ์.
              และทรงตรัสแก่พระสารีบุตร เพื่อให้ขวนขวายอนุเคราะห์แก่ภิกษุสงฆ์ต่อไป
อย่าเพิ่งขวนขวายน้อยในการอนุเคราะห์แก่ภิกษุสงฆ์เลย.

              เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะยังไม่ปรินิพพาน
              สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด ทิศนั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า
ความไม่ห่วงใยย่อมมีในทิศนั้น.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=4327

ความคิดเห็นที่ 8-17
GravityOfLove, 15 สิงหาคม เวลา 15:25 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-18
GravityOfLove, 15 สิงหาคม เวลา 15:56 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๗. จาตุมสูตร เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3508&Z=3666&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อามลกีวัน ใกล้บ้านจาตุมา
             สมัยนั้น ภิกษุประมาณห้าร้อยรูป มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า
ไปถึงจาตุมคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             (พระเถระทั้งสองคิดว่า กุลบุตรเหล่านี้บวชแล้ว ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเลย
เราจักให้ภิกษุเหล่านี้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านี้ฟังธรรมจากพระองค์แล้ว
จักตั้งอยู่ตามอุปนิสัยของตน เพราะฉะนั้น พระเถระทั้งสองจึงพาภิกษุเหล่านั้นมา)
             ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวร
เป็นผู้มีเสียงสูง มีเสียงดัง (ส่งเสียงดังอื้ออึง)
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า
             ผู้ที่เสียงสูง เสียงดังนั้น เป็นใคร ราวกับชาวประมงแย่งปลากัน?
             เมื่อท่านพระอานนท์ทูลตอบแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งให้ไปตามภิกษุเหล่านั้นมา
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามเหตุที่ส่งเสียงดัง ครั้นแล้วตรัสว่า
             พวกเธอจงพากันไป เราประณาม (ขับไล่) พวกเธอ พวกเธอไม่ควรอยู่ในสำนักเรา
             ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้ว เก็บอาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกไป
             (สำนึกว่าเป็นความผิดของพวกตน และมีความเสียใจอย่างมาก)
             พวกเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกล จึงได้สอบถาม
             เมื่อทราบเรื่องราวแล้ว จึงขอให้ภิกษุเหล่านั้นนั่งรออยู่ก่อน พวกตนจะไปเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค และอาจทำให้ทรงเลื่อมใส (ทรงพอพระทัย) ได้
             พวกศากยะชาวเมืองจาตุมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลขอพระองค์
ให้ทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ (ชื่นชมการมาของภิกษุสงฆ์) ให้ทรงรับสั่งกับภิกษุสงฆ์
             ทูลขอพระองค์ให้ทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์เหมือนในกาลก่อน
(อนุเคราะห์ ในที่นี้หมายถึงการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรมเทศนา)
             ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ มีภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้
             เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรปรวนไป (เช่น สึกเพราะน้อยใจ)
             เปรียบเหมือนเมื่อพืชที่ยังอ่อนไม่ได้น้ำ หรือเปรียบเหมือนเมื่อลูกโคอ่อนไม่เห็นแม่
จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป (พืชเหี่ยวแห้งไป หรือลูกวัวซูบผอมจนตายเพราะหิวนม)
             ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดำริแห่งพระทัยของพระองค์ด้วยใจของตนแล้ว
หายไปในพรหมโลก มาปรากฏตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
             แล้วได้กราบทูลและอุปมาเหมือนที่พวกศากยะชาวเมืองจาตุมากราบทูลและอุปมา
             เจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม ได้สามารถทูลให้พระผู้มีพระภาค
ทรงเลื่อมใส ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยข้าวกล้าอ่อน และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงให้ภิกษุทั้งหลายไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(ท่านได้เห็นพรหมมาด้วยทิพยจักษุ ได้ยินเสียงทูลวิงวอนด้วยทิพโสต
ได้ทราบความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลื่อมใสแล้วด้วยเจโตปริยญาณ)
             และกล่าวว่า
             เจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหมทรงทำให้พระองค์เลื่อมใสแล้ว
ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยข้าวกล้าอ่อน และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน
             ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า
             เมื่อพระองค์ทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของท่านพระสารีบุตรได้มีอย่างไร
(มีความคิดอย่างไร)
             ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า
             ตนคิดว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคจะทรงมีความขวนขวายน้อย
ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ (เจริญธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ)
             แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เธอจงรอก่อน ดูกรสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูกรสารีบุตร เธออย่าพึงให้จิต
เห็นปานนี้เกิดขึ้นอีกเลย
             (ตรัสให้ท่านพระสารีบุตรขวนขวายอนุเคราะห์แก่ภิกษุสงฆ์ต่อไป อย่าเพิ่ง
ขวนขวายน้อยในการอนุเคราะห์แก่ภิกษุสงฆ์เลย ไม่ควรให้ความคิดเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีก)
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะด้วยคำถามเดียวกัน
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า  
             บัดนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรม
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่
             ตนและท่านพระสารีบุตรจะช่วยกันปกครอง (บริหาร) ภิกษุสงฆ์
             พระู้ผู้ีมีพระภาคทรงประทานสาธุการว่า
             ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงพระองค์ หรือท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระโมคคัลลานะเท่านั้น พึงปกครองภิกษุสงฆ์

ภัย ๔ อย่าง
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             ภัย ๔ อย่างนี้ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ภัย ๔ อย่าง คือ
             ภัยเพราะคลื่น ภัยเพราะจระเข้ ภัยเพราะน้ำวน ภัยเพราะปลาร้าย
             ภัย ๔ อย่างนี้ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ฉันใด
             ภัย ๔ อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้ ภัย ๔ อย่าง คือ
๑. ภัยเพราะคลื่น (อูมิภัย)
             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า
             เราเป็นผู้อันชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ(ความตาย)
โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย)
โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ท่วมทับแล้ว (ครอบงำ)
             เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว (ตกอยู่ในกองทุกข์) เป็นผู้อันทุกข์
ท่วมทับแล้ว (มีทุกข์ประดังเข้ามา)
             ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้
             เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตรผู้บวชนั้นว่า
             ให้ก้าวไปอย่างนี้ ฯลฯ ท่านพึงทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรอย่างนี้
             กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า
             เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ย่อมตักเตือนบ้าง สั่งสอนบ้าง ซึ่งคนอื่น
แต่มาบัดนี้ ภิกษุเหล่านี้ซึ่งเพียงคราวบุตรคราวหลานของเรา (อายุน้อย)
กลับมาตักเตือนพร่ำสอนเรา
             เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป
             คำว่าภัยเพราะคลื่นนี้ เป็นชื่อของความแค้นและความโกรธ

๒. ภัยเพราะจระเข้ (กุมภีลภัย)
             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า ฯลฯ
             เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตรผู้บวชนั้นว่า
             สิ่งนี้ท่านควรหรือไม่ควรเคี้ยวกิน/ฉัน/ลิ้ม/ดื่ม
             สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรเคี้ยวกิน ฯลฯ
             ท่านควรเคี้ยวกินในกาล (กาล หมายถึงเวลาตั้งแต่อรุณขึ้นถึงเที่ยงวัน)
ท่านไม่ควรเคี้ยวกินในวิกาล ฯลฯ
             กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า
             เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใดก็เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้
ไม่ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็ไม่เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้ ฯลฯ และในเวลาใดก็ได้
             ของที่คฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธา ที่ถวายให้ในวิกาลเวลากลางวันย่อมประณีต
ชะรอยภิกษุเหล่านั้นจะทำการห้ามปากในสิ่งนั้นเสีย ดังนี้
             เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป
             คำว่าภัยเพราะจระเข้นี้ เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง
             คำว่า กัปปิยะ, อกัปปิยะ, กาล, วิกาล
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กัปปิยะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิกาล

๓. ภัยเพราะน้ำวน (อาวัฏฏภัย)
             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า ฯลฯ
             เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย (เช่น สั่นศีรษะ) ไม่รักษาวาจา (เช่น พูดคำหยาบ)
ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย
             เขาเห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยกามคุณห้า
             เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรอ
อยู่ด้วยกามคุณห้า สมบัติก็มีอยู่ในสกุล เราสามารถจะบริโภคสมบัติ และทำบุญได้ ดังนี้
             เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป
             คำว่าภัยเพราะน้ำวนนี้เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

๔. ภัยเพราะปลาร้าย (สุสุกาภัย)
             กุลบุตรบางคนในโลกนี้  มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า ฯลฯ
             เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต
ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย
             เขาย่อมเห็นมาตุคาม (สตรี) ผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดีในบ้านหรือนิคมนั้น
             เพราะเหตุมาตุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ความกำหนัดย่อมตามกำจัดจิต
ของกุลบุตรนั้น เขามีจิตอันความกำหนัดตามกำจัดแล้ว (ทำให้ลำบาก)
             จึงบอกคืนสิกขาสึกไป
             คำว่าภัยเพราะปลาร้ายนี้ เป็นชื่อแห่งมาตุคาม
             (ผู้ใดไม่กลัวภัยเหล่านั้น ผู้นั้นสามารถดำรงอยู่ในศาสนานี้ได้)
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #8-19]

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:51:47 น.
Counter : 566 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
12 ธันวาคม 2556
All Blog