19.12 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 19.11 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-12-2013&group=2&gblog=8 ความคิดเห็นที่ 10-116 ความคิดเห็นที่ 10-117 ฐานาฐานะ, 21 กรกฎาคม เวลา 17:25 น. GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว พหุเวทนิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1726&Z=1832 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของ พระอุทายี และพระอุทายีก็ไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ดูกรอานนท์แม้เวทนา ๒ เราได้กล่าวโดยปริยาย คำว่า บรรยาย ปริยาย ความหมายเหมือนกันไหมคะ และแปลว่าอะไรคะ อ่านในอรรถกถา แปลว่า เหตุ ก็ยังไม่เข้าใจดีค่ะ อธิบายว่า ปริยาย แปลว่า การเล่าเรื่อง, บรรยาย; อย่าง, ทาง, นัยอ้อม, แง่ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย#find3 ประโยคว่า นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามบรรยาย ก็แปลว่า นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมรับไม่ยอมตามแง่หรือนัยหรือเหตุผลที่พระอุทายียกมา ------------------------------------------------------------------------------------------- ๒. เวทนา ๔, ๕, ๑๘ ได้แก่อะไรคะ ตอบว่า เวทนา 4 ไม่รู้ครับ. เวทนา 5 คือ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา&original=1#find3 [112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ feeling) 1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย bodily pleasure or happiness) 2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย bodily pain; discomfort) 3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ mental happiness; joy) 4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ mental pain; displeasure; grief) 5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ indifference) เวทนา 5 นี้ เรียกเต็มมี อินทรีย์ ต่อท้ายทุกคำ เป็น สุขินทรีย์ เป็นต้น สํ.สฬ. 18/433/287. //84000.org/tipitaka/read/?18/433 เวทนา 18 น่าจะมาจาก เวทนา 6 (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; ดู [113]) x 3 (ที่เป็นโสมนัส โทมนัส และอุเบกขา; ดู [111]) //84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=111 //84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=113 //84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=358 ---------------------------------------------------------------------------------------------- ๓. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธาน แล้วจบเทศนาลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัต ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล ดังนี้. ทราบได้อย่างไรว่าจบเทศนาลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัตคะ เพราะพระอนาคามีก็สามารถเข้านิโรธสมาบัติเหมือนกัน ตอบว่า ผู้เข้านิโรธสมาบัติ ก่อนเข้าก็น้อมไปในพระนิพพาน เมื่อออกก็น้อมไปในพระนิพพาน แม้พระอนาคามีผู้เชี่ยวชาญในฌานสมาบัติ จะสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้เหมือนกันก็ตาม แต่การน้อมไปสู่พระนิพพาน ก็ยังเรียกว่า น้อมไปเพื่ออรหัต กล่าวคือปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตอยู่นั่นเอง. ------------------------------------------------------------------------------------------- ๔. สุขที่มีผู้เสวย สุขที่ไม่มีผู้เสวย สุขจากกามคุณและจากสมาบัติเป็นสุขที่มีผู้เสวย ส่วนจตุตถฌานสุขเพราะสงบและประณีต สุขจากนิโรธสมาบัติเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวย คือเป็นสุขเมื่ออยู่ในภาวะนั้น หรือว่าออกจากภาวะนั้นแล้วค่อยเป็นสุขคะ ตอบว่า สันนิษฐานว่า เป็นสุขเพราะดับสัญญาและเวทนาได้ ซึ่งก็คือเป็นสุขเมื่ออยู่ในภาวะนั้น. คำถามที่เคยถามคุณฐานาฐานะเรื่องสุขจากนิพพาน ก็จัดเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวยด้วยหรือเปล่าคะ ขอบพระคุณค่ะ 9:05 AM 7/21/2013 ตอบว่า พระนิพพานเป็นสุข เพราะระงับสังขารทั้งปวง (สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์) พระพุทธพจน์ :- [๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข ดังนี้ ฯ //84000.org/tipitaka/read/?10/186 ความคิดเห็นที่ 10-118 GravityOfLove, 21 กรกฎาคม เวลา 21:36 น. ๑. ในเนื้อความพระไตรปิฎก มีทั้งคำว่า บรรยาย และปริยาย ทั้งสองคำนี้ ความเหมายเหมือนกันเลยใช่ไหมคะ ๔. สุขในนิพพาน เป็นสุขที่มูผู้เสวยหรือไม่มีผู้เสวยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 10-119 ฐานาฐานะ, 21 กรกฎาคม เวลา 21:45 น. ๑. ในเนื้อความพระไตรปิฎก มีทั้งคำว่า บรรยาย และปริยาย ทั้งสองคำนี้ ความเหมายเหมือนกันเลยใช่ไหมคะ ตอบว่า คำว่าบรรยายและปริยาย เป็นคำเดียวกันเลยครับ - - - - - - - - - เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของพระอุทายี และพระอุทายีก็ไม่ยอมตามบรรยาย อันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ //84000.org/tipitaka/read/?13/99 {๙๙.๑} เอวํ วุตฺเต ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ เอตทโวจ สนฺตญฺเญว โข อานนฺท ปริยายํ ปญฺจกงฺโค ถปติ อุทายิสฺส นาพฺภินุโมทิ ๒- //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=99&Roman=0 - - - - - - - - - ๕. สุขในนิพพาน เป็นสุขที่มีผู้เสวยหรือไม่มีผู้เสวยค่ะ ตอบว่า ไม่มีผู้เสวย. ความคิดเห็นที่ 10-120 GravityOfLove, 21 กรกฎาคม เวลา 21:50 น. เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 10-121 GravityOfLove, 21 กรกฎาคม เวลา 22:18 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค ๙. พหุเวทนิยสูตร เรื่องช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1726&Z=1832&bgc=lavender&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เชตวนาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ เข้าไปหาท่านพระอุทายี แล้วกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร? ท่านพระอุทายีตอบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ช่างไม้กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนาและทุกขเวทนา ทั้ง ๒ ท่านต่างก็กล่าวอย่างนี้อยู่ถึง ๓ ครั้ง ไม่มีใครยินยอมกัน ท่านพระอานนท์ได้สดับถ้อยคำเจรจาของท่านพระอุทายีกับนายช่างไม้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลถ้อยคำเจรจาของท่านพระอุทายีกับ นายช่างไม้ทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามปริยาย (บรรยาย/นัย/เหตุผล) อันมีอยู่ของท่านพระอุทายี และท่านพระอุทายีก็ไม่ยอมตามปริยายอันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ แม้เวทนา ๒ พระองค์ก็ตรัสโดยปริยาย ถึงเวทนา ๓ เวทนา ๔ เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘ พระองค์ก็ตรัสแล้วโดยปริยาย //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย#find3 [อรรถกถา] เวทนา ๒ คือ ทางกายและทางใจ เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๕ คือ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส และอุเบกขา เวทนา ๖ คือ โดยทวาร ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น เวทนา ๑๘ คือ เวทนา ๖ ที่เป็นโสมนัส โทมนัส และอุเบกขา เวทนา ๓๖ คือ โสมนัสที่อาศัยเรือน ๖ โสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ ๖ โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ ๖ โทมนัสที่อาศัยเรือน ๖ อุเบกขาที่อาศัยเรือน ๖ อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ ๖ เวทนา ๑๐๘ คือ เวทนาเหล่านั้นในอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_2 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_3 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_5 ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ หากผู้ใดไม่รู้ตามด้วยดี ไม่สำคัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่พระองค์ทรงแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จะบาดหมาง ทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันแลกันด้วยหอก คือปากอยู่ ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำคัญตามด้วยดี ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่แสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จะพร้อมเพรียง บันเทิง ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมระคนกับน้ำ แลดูกันด้วยสายตาเป็นที่รักอยู่ สุขในกาม (สุขที่มีผู้เสวย) กามคุณ ๕ คือ ๑. รูปอันจะพึงรู้ด้วยจักษุอันสัตว์ปรารถนา ใคร่ พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๒. เสียงอันจะพึงรู้โดยโสต ... ๓. กลิ่นอันจะพึงรู้ด้วยฆานะ ... ๔. รสอันจะพึงรู้ด้วยชิวหา ... ๕. โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้ด้วยกาย อันสัตว์ปรารถนา ใคร่ พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5 สุขโสมนัสอันใดย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ สุขและโสมนัสนี้เรียกว่า กามสุข ไม่ทรงยอมรับรู้คำกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ คือ สุขในรูปฌานและอรูปฌาน (สุขที่มีผู้เสวย) ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้แล ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ (เป็นสุขเพราะสงบและประณีต) ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ ๗. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ ๘. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาบัติ_8 ไม่ทรงยอมรับรู้ ... ประณีตกว่าสุขนี้ คือ สุขจากสัญญาเวทยิตนิโรธ (สุขที่ไม่มีผู้เสวย) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า (เพราะดับสัญญาและเวทนาได้ เป็นภาวะที่ไม่มีทุกข์) //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัญญาเวทยิตนิโรธ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุปุพพวิหาร_๙ เป็นไปได้ว่า พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะกล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสสัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้จะอธิบายอย่างไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ตรัสว่า ท่านพระอานนท์ควรตอบไปว่า พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายถึงสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติ (สัญญาเวทยิตนิโรธ) ไว้ในสุขหามิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ (ในฐานะใดๆ) พระตถาคตย่อมบัญญัติ ที่นั้นๆ (ฐานะนั้นๆ) ไว้ในสุข พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค [แก้ไขตาม #10-122] ความคิดเห็นที่ 10-122 ฐานาฐานะ, 22 กรกฎาคม เวลา 04:33 น. GravityOfLove, 32 นาทีที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค ๙. พหุเวทนิยสูตร เรื่องช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1726&Z=1832&bgc=lavender&pagebreak=0 ... 10:17 PM 7/21/2013 ย่อความได้ดีครับ ขอติงเล็กน้อยดังนี้ :- นี่เป็นสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า น่าจะเป็น นี้เป็นสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ความคิดเห็นที่ 10-123 ฐานาฐานะ, 22 กรกฎาคม เวลา 04:37 น. คำถามในพหุเวทนิยสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1726&Z=1832 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? 2. ชื่อพระสูตรแปลว่าอะไร? ความคิดเห็นที่ 10-124 GravityOfLove, 22 กรกฎาคม เวลา 08:08 น. ตอบคำถามในพหุเวทนิยสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1726&Z=1832 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. เวทนาจะมีกี่ประเภท ก็ขึ้นอยู่กับปริยาย (นัย) ในการพิจารณา ๒. สุขที่ดียิ่งกว่าและประณีตยิ่งกว่า เป็นลำดับดังนี้คือ สุขในกาม สุขในสมาบัติ ๙ โดยมีสุขจากนิโรธสมาบัตืดีและประณีตที่สุด ๓. สุขในกามและสุขในสมาบิติ ๘ เป็นสุขที่มีผู้เสวย สุขในนิโรธสมาบัติ (และนิพพาน) เป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวย ๔. สุขในจตุตถฌานเป็นสุขเพราะสงบและประณีต สุขในนิโรธสมาบัติเป็นสุขเพราะดับสัญญาและเวทนาได้ และเพราะเป็นภาวะที่ไม่มีทึกข์ (สุขในนิพพานเป็นสุขเพราะระงับสังขารทั้งปวง (สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์)) - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 2. ชื่อพระสูตรแปลว่าอะไร? คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : พหุ คำอ่าน (ภาษาบาลี) : พะ-หุ คำแปลที่พบ : มาก, เจริญ, หนักหนา คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : เวทนา คำอ่าน (ภาษาบาลี) : เว-ทะ-นา คำแปลที่พบ : ธรรมชาติอันเสวยอารมณ์, ความรู้, ความอิ่มใจ, สุขใจ, ความเจ็บปวด //www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp ตอบว่า แปลว่า เวทนาหลายประเภท ความคิดเห็นที่ 10-125 ฐานาฐานะ, 22 กรกฎาคม เวลา 15:40 น. GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามในพหุเวทนิยสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1726&Z=1832 ... 8:08 AM 7/22/2013 ตอบคำถามได้ดีครับ. ความคิดเห็นที่ 10-126 ฐานาฐานะ, 22 กรกฎาคม เวลา 15:44 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า พหุเวทนิยสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1726&Z=1832 พระสูตรหลักถัดไป คืออปัณณกสูตร [พระสูตรที่ 10]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ อปัณณกสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1833&Z=2382 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=103 จูฬราหุโลวาทสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2383&Z=2540 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125 มหาราหุโลวาทสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2541&Z=2681 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133 จูฬมาลุงโกยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2682&Z=2813 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=147 มหามาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=153 ภัททาลิสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160 ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
คำถามพหุเวทนิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1726&Z=1832
กรุณาอธิบายค่ะ
๑. เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรอานนท์ นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของ
พระอุทายี และพระอุทายีก็ไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ดูกรอานนท์แม้เวทนา ๒ เราได้กล่าวโดยปริยาย
คำว่า บรรยาย ปริยาย ความหมายเหมือนกันไหมคะ และแปลว่าอะไรคะ
อ่านในอรรถกถา แปลว่า เหตุ ก็ยังไม่เข้าใจดีค่ะ
๒. เวทนา ๔, ๕, ๑๘ ได้แก่อะไรคะ
๓. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธาน
แล้วจบเทศนาลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัต ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล ดังนี้.
ทราบได้อย่างไรว่าจบเทศนาลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัตคะ
เพราะพระอนาคามีก็สามารถเข้านิโรธสมาบัติเหมือนกัน
๔. สุขที่มีผู้เสวย สุขที่ไม่มีผู้เสวย
สุขจากกามคุณและจากสมาบัติเป็นสุขที่มีผู้เสวย
ส่วนจตุตถฌานสุขเพราะสงบและประณีต
สุขจากนิโรธสมาบัติเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวย
คือเป็นสุขเมื่ออยู่ในภาวะนั้น หรือว่าออกจากภาวะนั้นแล้วค่อยเป็นสุขคะ
คำถามที่เคยถามคุณฐานาฐานะเรื่องสุขจากนิพพาน
ก็จัดเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวยด้วยหรือเปล่าคะ
ขอบพระคุณค่ะ