19.7 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.6 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-61
ฐานาฐานะ, 11 กรกฎาคม เวลา 11:55 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๕. ชีวกสูตร เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043&bgc=lavender&pagebreak=0
4:01 AM 7/11/2013

             ย่อความได้ดีครับ.
             มีข้อติงดังนี้ :-
             ได้ยินมาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงเพื่อถวาย (อุทิศมังสะ) พระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์
             ดังนี้ ชนเหล่านี้กล่าวตรงกับที่พระองค์ตรัส ไม่กล่าวตู่พระองค์ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง
หรือว่า กล่าวธรรมอันสมควรแก่ธรรม ไม่มีข้อติเตียน?
ควรแก้ไขเป็น
             ได้ยินมาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงเพื่อถวาย (อุทิศมังสะ) พระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ดังนี้
             ชนเหล่านี้กล่าวตรงกับที่พระองค์ตรัส ไม่กล่าวตู่พระองค์ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง
หรือว่า กล่าวธรรมอันสมควรแก่ธรรม ไม่มีข้อติเตียน?

             หมอชีวกโกมารภัจจ์กราบทูลว่า ตนหมายถึงการละราคะ โทสะ และโมหะ เป็นต้นนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปหาน
             หมอชีวกโกมารภัจจ์กราบทูลว่า
             ตนหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4

             เลือกแบบใดแบบหนึ่ง (บรรทัดเดียวน่าจะเหมาะกว่า)

ความคิดเห็นที่ 10-62
ฐานาฐานะ, 11 กรกฎาคม เวลา 12:15 น.

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ในประโยคว่า
             บรรดาสหธรรมิก ๕ รูป อาหารที่เขาทำอุทิศแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ย่อมไม่สมควรแก่สหธรรมิกหมดทุกรูป.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56
             คำว่า สหธรรมิก ๕ หมายถึงอะไร?

             3. เมื่อจบพระสูตรนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 10-63
GravityOfLove, 11 กรกฎาคม เวลา 12:38 น.

              ตอบคำถามชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. เนื้อที่ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น
เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ
             ๒. ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่
บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ
             ๔. เรื่องราวของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์
             ๕. ปฏิจจ กัมมัง แปลว่า กระทําเจาะจงตน หรือเป็นชื่อของนิมิตตกรรม. กรรมที่
อาศัยตนเป็นเหตุกระทํามีอยู่ในเนื้อนั้น
              เป็นแนวคิดของเดียรถีย์ คือ ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นด้วย
ปาณฆาตกรรมเหมือนกับฆ่าเอง
              ๖. ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นเนื้อที่เขาทําเจาะจง มารู้ภายหลังที่ฉันแล้ว ไม่ต้องแสดงอาบัติ
              ส่วนภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ (เนื้อที่ไม่ควรฉัน ๑๐ ประการ) มารู้ภายหลังฉันแล้ว
ต้องแสดงอาบัติ
             ภิกษุที่รู้ ไม่ได้ฉันเอง แต่นำมาถวายต่อภิกษุรูปอื่น ภิกษุที่ถวายไม่เป็นอาบัติทั้งสองกรณี
             ๗. เนื้อที่ไม่ควรฉัน ๑๐ ชนิด คือ
             เนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว
             ๘. เมื่อสงสัยว่าทายกฆ่าเจาะจงหรือทายกใช้เนื้ออกัปปิยะหรือไม่
ภิกษุควรถามทายกก่อนรับ
- - - - - - - - - -
             2. ในประโยคว่า
             บรรดาสหธรรมิก ๕ รูป อาหารที่เขาทำอุทิศแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ย่อมไม่สมควรแก่สหธรรมิกหมดทุกรูป.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56
             คำว่า สหธรรมิก ๕ หมายถึงอะไร?
สหธรรมิก ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน
             แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส แห่งพระสุตตันตปิฎก มี ๗ คือ
ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา;
             ในสัตตาหกรณียะ หมายถึง ๕ อย่างแรกเท่านั้น เรียกว่า สหธรรมิก ๕
             (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สหธรรมิก
             ตอบว่า หมายถึง สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี
             เพราะข้อห้ามนี้ไม่รวมถึงอุบาสก อุบาสิกา
- - - - - - - - - -
             3. เมื่อจบพระสูตรนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้อะไรบ้าง?
             ตอบว่า ได้บรรลุโสดาปัตติผล
             หมอชีวกโกมารภัจจ์ผู้นี้ถวายพระโอสถระบายอ่อนๆ ระบายพระกาย
ที่มากไปด้วยโทษของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56&bgc=lavender

ความคิดเห็นที่ 10-64
ฐานาฐานะ, 11 กรกฎาคม เวลา 13:26 น.

GravityOfLove, 41 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043
12:37 PM 7/11/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้บรรลุโสดาปัตติผล ก่อนหรือหลังพระสูตรนี้
ยังไม่สามารถกำหนดได้ แต่จากประวัติของท่านในคำว่า ชีวก แสดงว่า
ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลก่อนพระสูตรนี้.
             คำว่า ชีวก [บางส่วน]
             หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า
ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวาย
ในอัมพวัน คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ชีวก

ความคิดเห็นที่ 10-65
ฐานาฐานะ, 11 กรกฎาคม เวลา 13:28 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ชีวกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043

              พระสูตรหลักถัดไป คืออุปาลิวาทสูตร [พระสูตรที่ 6].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              อุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=62

              กุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=84

              อภัยราชกุมารสูตร   
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91

ความคิดเห็นที่ 10-66
GravityOfLove, 13 กรกฎาคม เวลา 14:48 น.

             ขออนุญาตทยอยถามนะคะ
             อุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477&bgc=lavender&pagebreak=0
             ไม่เข้าใจอุปมาเรื่องลูกลิงค่ะว่าสรุปอย่างนี้ได้อย่างไร
             ท่านผู้เจริญ วาทะของนิครนถ์ผู้เขลา ก็ฉันนั้น  ควรเป็นที่ยินดีของคนเขลาเท่านั้น
ไม่ควรเป็นที่ยินดี ไม่ควรซักไซร้ ไม่ควรพิจารณาของบัณฑิตทั้งหลาย.
             ท่านผู้เจริญ วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ฉันนั้น
ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิตทั้งหลายเท่านั้น แต่ไม่ควรซักไซร้ และไม่ควรพิจารณาของคนเขลาทั้งหลาย.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-67
ฐานาฐานะ, 13 กรกฎาคม เวลา 20:24 น.

              ตอบว่า สันนิษฐานว่า
              คำสั่งหรือคำขอให้จับลูกวานรทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง.
เป็นคำสั่งฯ ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นบุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมจึงกล่าวว่า
ลูกวานรไม่ควรจะทุบ ไม่ควรจะขัดสี.
              บุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม อุปมาเป็นบัณฑิต เพราะรู้ว่า
อะไรควร อะไรไม่ควร ในกิจการย้อม.
              คำสั่งหรือคำขอให้จับลูกวานรทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง
เป็นเหมือนคำของนิครนถ์ผู้เขลา ไม่ควรพิจารณาในการกระทำตาม.

              คำสั่งหรือคำขอให้นำคู่ผ้าใหม่ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง
เป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นบุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมจึงยอมรับ
และการทำตามคำสั่งหรือคำขอให้ทำนั้น.
              คำสั่งหรือคำขอให้นำคู่ผ้าใหม่ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง
เป็นเหมือนวาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คือควรพิจารณาและกระทำตาม.
             อุปาลิวาทสูตร ข้อ 81
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๘๑

ความคิดเห็นที่ 10-68
GravityOfLove, 13 กรกฎาคม เวลา 21:08 น.

ขอบพระคุณค่ะ

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๗๐] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้พึงเป็นผู้
สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาป
ด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๗๐

             ฉบับมหาจุฬาฯ ทำให้ดูเป็นข้อๆ ดังนี้
             ๑. เว้นน้ำดิบทุกอย่าง
             ๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
             ๓. ล้างบาปทุกอย่าง
             ๔. รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป

             ในอรรถกถาอธิบายว่าสังวร ๔ คือไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดปด ไม่หวังกามคุณ ๕ คะ
             สรุปว่าสังวร ๔ ได้แ่ก่อะไรคะ

             ในคำเหล่านั้นคำว่า จตุยามสํวรสํวุโต ความว่า ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวม ๔ ส่วน คือไม่ฆ่าสัตว์เอง ไม่ใช้ให้เขาฆ่าสัตว์ ไม่ชอบใจต่อผู้ฆ่าสัตว์ส่วนหนึ่ง ไม่ลักทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้เขาลักทรัพย์ ไม่ชอบใจต่อผู้ลักทรัพย์ส่วนหนึ่ง ไม่พูดเท็จเอง ไม่ใช้ให้เขาพูดเท็จ ไม่ชอบใจต่อผู้พูดเท็จส่วนหนึ่ง ไม่หวังกามคุณเอง ไม่ใช้ให้เขาหวังในกามคุณ ไม่ชอบใจต่อผู้หวังกามคุณส่วนหนึ่ง.
            ในคำเหล่านั้น คำว่า ภาวิตํ เขาหมายความว่า กามคุณ ๕.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=62&bgc=lavender

             ๒. ในคำนี้ว่า กายกมฺมํ วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ ได้แก่ เจตนา ๒๐ คือเจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ เจตนาฝ่ายอกุศล ๑๒ ที่ถึงการยึดถือ การรับ การปล่อยและการเคลื่อนไหวในกายทวาร ชื่อว่ากายกรรม. เจตนา ๒๐ นั้นแลที่ไม่ถึงการยึดถือเป็นต้นในกายทวาร ที่ให้ถึงการเปล่งวาจาเกิดขึ้นในวจีทวาร ชื่อว่าวจีกรรม. เจตนาฝ่ายกุศลและอกุศล ๒๙ ที่ไม่ถึงความไหวในทวารทั้งสองที่เกิดขึ้นในมโนทวาร ชื่อว่ามโนกรรม.
            ๓. ก็นิครนถ์นี้เสพแต่น้ำร้อนเท่านั้น เมื่อไม่ได้น้ำร้อนก็เสพแต่น้ำข้าวและน้ำผักดองแทน เขาต้องการดื่มและต้องการบริโภคน้ำเย็นนั้นแม้ด้วยจิต เพราะเหตุนั้น มโนทัณฑะของเขาจึงแตก เพราะไม่ได้ดื่มและบริโภคน้ำเย็นนั้น เขาไม่อาจจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะรักษากายทัณฑะและวจีทัณฑะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องการดื่มหรือต้องการบริโภคน้ำเย็น ขอท่านโปรดให้แต่น้ำเย็นเท่านั้นเถิด.
            กายทัณฑะและวจีทัณฑะของเขาแม้รักษาไว้อย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะชักจุติและปฏิสนธิได้. ส่วนมโนทัณฑะแม้แตกไปแล้วก็ยังชักจุติและปฏิสนธิได้อยู่นั่นเอง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า กายทัณฑะและวจีทัณฑะต่ำทราม มีกำลังอ่อน มโนทัณฑะมีกำลังใหญ่
            แม้อุบาสกนั้นก็วิตกว่าเขากำหนดด้วยอำนาจ. คำถามว่า ก็อัสสาสะและปัสสาสะของอสัญญีสัตว์ย่อมเป็นไปไม่ได้แม้ทั้ง ๗ วัน แต่อสัญญีสัตว์เหล่านั้นเขาไม่เรียกว่าตาย เพราะเพียงมีแต่ความเป็นไปแห่งสันตติของจิตเท่านั้น เมื่อใดจิตของอสัญญีสัตว์เหล่านั้นไม่เป็นไป เมื่อนั้นจึงตาย. จะถึงความเป็นผู้ที่เขาควรกล่าวว่า จงนำสัตว์เหล่านั้นไปเผาเสีย. กายทัณฑะปราศจากการไป ไม่ขวนขวาย วจีทัณฑะก็เหมือนกัน แต่สัตว์เหล่านั้นยังจุติบ้าง ปฏิสนธิบ้าง ก็ด้วยจิตอย่างเดียว แม้เพราะเหตุนี้ มโนทัณฑะจึงใหญ่ มโนทัณฑะเท่านั้นชื่อว่าใหญ่ ก็เพราะจิตแม้แตกไปแล้วก็ยังชักจุติและปฏิสนธิได้.

ความคิดเห็นที่ 10-69
GravityOfLove, 14 กรกฎาคม เวลา 12:10 น.

//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13.0&i=62&p=3&bgc=lavender

             ๔. เป็นประดุจงูพิษ เพราะอรรถว่าต้องนั่งไกลๆ.
             ๕. คำว่า ธมฺมจกฺขุ ํ นี้เป็นชื่อของมรรค ๓ ในพรหมายุสูตรข้างหน้าและของอาสวักขยญาณในจุลลราหุโลวาทสูตร.
             หมายความว่าคำว่า ธรรมจักษุ ในจุลลราหุโลวาทสูตรหมายถึง ได้บรรลุอรหัตตมรรค หรือคะ?
             ท่านพระราหุลได้บรรลุอรหัตตมรรค (เพราะชัดเจนว่าพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย)
             เทวดาหลายพันตน (สมมติว่ามี ๓๐๐๐ พันตน) ได้ธรรมจักษุ
             ในอรรถกถาอธิบายว่า บางพวกได้อรหัตตมรรค
             หมายความว่า ๓๐๐๐ ตนทั้งหมดได้อรหัตตมรรค? หรือว่าใน ๓๐๐๐ ตนนี้ บางพวกก็ได้อรหัตตมรรคคะ?
             บริบทของคำว่า ธรรมจักษุ ในพระสูตร เหมือนๆ กันเลยนะคะ
แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า บรรลุระดับไหนถ้าไม่ได้อ่านอรรถกถา?
             (บางพระสูตร อ่านบริบทก็ทราบได้ เช่น ในพรหมายุสูตร
พรหมายุพราหมณ์เป็นอุปปาติกะ (อนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น)
             จูฬราหุโลวาทสูตร
             [๘๐๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลจึงชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
             ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่านพระ-
*ราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลายพันตนนั้น
ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม
อันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?๑๔/๘๐๙

ความคิดเห็นที่ 10-70
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม เวลา 10:21 น.

GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. [๗๐] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้พึงเป็นผู้
สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาป
ด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๗๐

              ฉบับมหาจุฬาฯ ทำให้ดูเป็นข้อๆ ดังนี้
              ๑. เว้นน้ำดิบทุกอย่าง
              ๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
              ๓. ล้างบาปทุกอย่าง
              ๔. รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป

              ในอรรถกถาอธิบายว่าสังวร ๔ คือไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดปด ไม่หวังกามคุณ ๕ คะ
              สรุปว่าสังวร ๔ ได้แก่อะไรคะ

              ในคำเหล่านั้นคำว่า จตุยามสํวรสํวุโต ความว่า ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวม ๔ ส่วน
คือไม่ฆ่าสัตว์เอง ไม่ใช้ให้เขาฆ่าสัตว์ ไม่ชอบใจต่อผู้ฆ่าสัตว์ส่วนหนึ่ง ไม่ลักทรัพย์เอง
ไม่ใช้ให้เขาลักทรัพย์ ไม่ชอบใจต่อผู้ลักทรัพย์ส่วนหนึ่ง ไม่พูดเท็จเอง ไม่ใช้ให้เขาพูดเท็จ
ไม่ชอบใจต่อผู้พูดเท็จส่วนหนึ่ง ไม่หวังกามคุณเอง ไม่ใช้ให้เขาหวังในกามคุณ
ไม่ชอบใจต่อผู้หวังกามคุณส่วนหนึ่ง.
              ในคำเหล่านั้น คำว่า ภาวิตํ เขาหมายความว่า กามคุณ ๕.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=62&bgc=lavender

ตอบว่า
              ข้อ 1. เว้นน้ำดิบทุกอย่าง หรือน้ำเย็น (น้ำที่ไม่ได้ต้มให้ร้อน)
ก็ประสงค์ว่า จะไม่เบียดเบียนตัวสัตว์ในน้ำนั้น อันสงเคราะห์ด้วยการเว้นการฆ่าสัตว์
              ข้อ 4. รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป น่าจะหมายถึงระวังใจไม่ให้
หวังในกามคุณ 5.
              พวกนิครนถ์ก็ฝึกฝนไปตามปฏิภาณของพวกเขา ซึ่งไม่บริสุทธิ์อะไรนัก
เช่น ในอุโปสถสูตร มีกล่าวไว้
              สรุปว่า น่าจะตามอรรถกถานั่นเอง.
              อุโปสถสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=5421&Z=5666


              ๒. ในคำนี้ว่า กายกมฺมํ วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ ได้แก่ เจตนา ๒๐ คือเจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘
เจตนาฝ่ายอกุศล ๑๒ ที่ถึงการยึดถือ การรับ การปล่อยและการเคลื่อนไหวในกายทวาร ชื่อว่ากายกรรม.
เจตนา ๒๐ นั้นแลที่ไม่ถึงการยึดถือเป็นต้นในกายทวาร ที่ให้ถึงการเปล่งวาจาเกิดขึ้นในวจีทวาร ชื่อว่าวจีกรรม.
เจตนาฝ่ายกุศลและอกุศล ๒๙ ที่ไม่ถึงความไหวในทวารทั้งสองที่เกิดขึ้นในมโนทวาร ชื่อว่ามโนกรรม.
อธิบายว่า เป็นการอธิบายกรรม 3 อย่างโดยทวาร
              กล่าวคือ เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล 8 และเจตนาฝ่ายอกุศล 12 อันเป็นกุศลและอกุศล (ชั้นกามาวจร)
              คำว่า จิต 89
              ก. โดยชาติประเภท
               1. อกุศลจิต 12
               - โลภมูลจิต 8
               - โทสมูลจิต 2
               - โมหมูลจิต 2
               2. กุศลจิต 21 (37)
               - มหากุศลจิต 8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จิต_89

              ๓. ก็นิครนถ์นี้เสพแต่น้ำร้อนเท่านั้น เมื่อไม่ได้น้ำร้อนก็เสพแต่น้ำข้าวและน้ำผักดองแทน
เขาต้องการดื่มและต้องการบริโภคน้ำเย็นนั้นแม้ด้วยจิต เพราะเหตุนั้น มโนทัณฑะของเขาจึงแตก
เพราะไม่ได้ดื่มและบริโภคน้ำเย็นนั้น เขาไม่อาจจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะรักษากายทัณฑะและวจีทัณฑะ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องการดื่มหรือต้องการบริโภคน้ำเย็น ขอท่านโปรดให้แต่น้ำเย็นเท่านั้นเถิด.
              กายทัณฑะและวจีทัณฑะของเขาแม้รักษาไว้อย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะชักจุติและปฏิสนธิได้.
ส่วนมโนทัณฑะแม้แตกไปแล้วก็ยังชักจุติและปฏิสนธิได้อยู่นั่นเอง ดังนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า กายทัณฑะและวจีทัณฑะต่ำทราม มีกำลังอ่อน มโนทัณฑะมีกำลังใหญ่
              แม้อุบาสกนั้นก็วิตกว่าเขากำหนดด้วยอำนาจ. คำถามว่า ก็อัสสาสะและปัสสาสะของอสัญญีสัตว์
ย่อมเป็นไปไม่ได้แม้ทั้ง ๗ วัน แต่อสัญญีสัตว์เหล่านั้นเขาไม่เรียกว่าตาย เพราะเพียงมีแต่ความเป็นไป
แห่งสันตติของจิตเท่านั้น เมื่อใดจิตของอสัญญีสัตว์เหล่านั้นไม่เป็นไป เมื่อนั้นจึงตาย. จะถึงความเป็น
ผู้ที่เขาควรกล่าวว่า จงนำสัตว์เหล่านั้นไปเผาเสีย. กายทัณฑะปราศจากการไป ไม่ขวนขวาย
วจีทัณฑะก็เหมือนกัน แต่สัตว์เหล่านั้นยังจุติบ้าง ปฏิสนธิบ้าง ก็ด้วยจิตอย่างเดียว แม้เพราะเหตุนี้
มโนทัณฑะจึงใหญ่ มโนทัณฑะเท่านั้นชื่อว่าใหญ่ ก็เพราะจิตแม้แตกไปแล้วก็ยังชักจุติและปฏิสนธิได้.
              ขอบพระคุณค่ะ
9:08 PM 7/13/2013

ตอบว่า เป็นสถานการณ์ว่า ถ้านิครนถ์ประพฤติตามกายทัณฑะและวจีทัณฑะ
แต่ปรารถนาน้ำเย็น อันไม่ได้ จึงกระทำกาล จะเกิดที่ไหน?
              เมื่ออุบาลีคฤหบดีกราบทูลว่า
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่ นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนิครนถ์ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ.
              จึงเป็นอันขัดแย้งกับคำของตนเองว่า
              กายทัณฑะนี้ยิ่งใหญ่ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.
              เพราะคำตอบของเขา กลับถือเอาใจหรือมโนเป็นใหญ่ในคำตอบ.
              ส่วนเนื้อความเรื่องอสัญญีสัตว์ น่าจะมีนัยว่า
              อุบาลีคฤหบดีบัญญัติการตาย ก็ด้วยจิตอย่างเดียวเป็นสำคัญ
คือแม้ไม่หายใจเข้าออก (กาย) ไม่พูดอะไร (วจี) 7 วัน ก็อาจจะยังไม่ตาย
ถ้าจิตยังมีการสืบต่ออยู่.

ความคิดเห็นที่ 10-71
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม เวลา 10:48 น.

             ๔. เป็นประดุจงูพิษ เพราะอรรถว่าต้องนั่งไกลๆ.
อธิบายว่า สันนิษฐานนัยว่า
             คนมีบุญมาก หรือทำบุญมาแล้ว จะมีอานุภาพมาก
กล่าวคือ ผู้คนหรือสัตว์อื่นๆ มักยำเกรง ไม่เข้าไปใกล้ทำความรำคาญ.
หรือกล่าวแบบง่ายๆ ว่า มีบริเวณของตนเอง.

             ๕. คำว่า ธมฺมจกฺขุ ํ นี้เป็นชื่อของมรรค ๓ ในพรหมายุสูตรข้างหน้าและของอาสวักขยญาณในจุลลราหุโลวาทสูตร.
             หมายความว่าคำว่า ธรรมจักษุ ในจุลลราหุโลวาทสูตรหมายถึงได้บรรลุอรหัตตมรรค หรือคะ?
ตอบว่า น่าจะหมายถึงว่า ในจุลลราหุโลวาทสูตร
             เทวดาหลายพันตนผู้บรรลุถึง 4 อย่าง คือบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกก็เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นพระขีณาสพ.

             ...
             หมายความว่า ๓๐๐๐ ตนทั้งหมดได้อรหัตตมรรค? หรือว่าใน ๓๐๐๐ ตนนี้ บางพวกก็ได้อรหัตตมรรคคะ?
ตอบว่า น่าจะเป็นบางพวกได้อรหัตตมรรค ... บางพวกได้โสตาปัตติมรรค.
             แต่ว่า คำว่า เทวดาหลายพันตน อาจจะไม่ใช่ 9 พันตนเป็นอย่างมาก
แต่อาจจะมากเป็นแสนก็ได้.

             ...
             บริบทของคำว่า ธรรมจักษุ ในพระสูตร เหมือนๆ กันเลยนะคะ
แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า บรรลุระดับไหนถ้าไม่ได้อ่านอรรถกถา?
             (บางพระสูตร อ่านบริบทก็ทราบได้ เช่น ในพรหมายุสูตร
             พรหมายุพราหมณ์เป็นอุปปาติกะ (อนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น)
ตอบว่า ก็ต้องอ่านอรรถกถา และ/หรือพิจารณาจากบริบท ตามที่กล่าวไว้นั่นเอง.

ความคิดเห็นที่ 10-72
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม เวลา 10:56 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ๑. อรรถกถกตรงกับพระไตรปิฎก ๒ ข้อ คือข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ และข้อ ๒ ระวังกามคุณ
ยังเหลือเรื่อง ลักทรัพย์และพูดเท็จที่จัดเข้าข้อที่เหลือในพระไตรปิฎกไม่ได้เป๊ะๆ นะคะ
สรุปว่า ย่อความตามพระไตรปฎกนะคะ
              ๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
              ๓. ล้างบาปทุกอย่าง
- - - - -
             ๒. ทั้งอกุศลจิต ๑๒ และกุศลจิต ๘ อยู่ในกามาวจรทั้งคู่หรือเปล่าคะ
- - - - -
             ๓. นิครนถ์ตอนจะตาย ใจคิดอยากได้น้ำเ็ย็นไหมคะ
             ถ้าใจคิดอยากได้น้ำเย็น ก็ไม่ได้เกิดเป็นเทวดาใช่ไหมคะ
             ถ้าแม้ใจก็ไม่คิดอยากได้น้ำเย็น ตายไปจึงได้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือคะ

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:43:31 น.
Counter : 641 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog