19.9 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.8 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-85
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม เวลา 21:35 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อุปาลิวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477

              พระสูตรหลักถัดไป คือกุกกุโรวาทสูตร [พระสูตรที่ 7].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              กุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=84

              อภัยราชกุมารสูตร   
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91

ความคิดเห็นที่ 10-86
GravityOfLove, 17 กรกฎาคม เวลา 15:02 น.

             คำถามกุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=84&bgc=lavender
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. คำว่า อปิจ เม อิทํ ภนฺเต ความว่า นายเสนิยะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่งเล่ากุกกุรวัตรนี้ ข้าพเจ้าสมาทานมาเป็นเวลายาวนาน แม้เมื่อปฏิบัติกุกกุรวัตรนั้น ก็ไม่มีความเจริญ เมื่อปฏิบัติผิดก็ไม่มีความเสื่อม (จั-ญ-ไร) กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำมาเป็นเวลาเพียงนี้ก็เกิดเป็นโมฆะ (ไม่มีผล) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อพิจารณาเห็น ความวิบัติของตัวเองจึงร้องไห้ พระเจ้าข้า.
             ๒. ถามว่า เจตนาในฌาน จงยกไว้ก่อน ทำไม กามาวจรจึงชื่อว่าอัพยาปัชฌมโนสังขาร.
             ตอบว่า อัพยาปัชฌมโนสังขารย่อมเกิดได้ในขณะเข้ากสิณ และขณะเสพกสิณเนืองๆ เจตนาฝ่ายกามาวจรต่อกับเจตนาปฐมฌาน เจตนาในจตุตถฌานต่อกับเจตนาในตติยฌาน ดังนั้น กุศลเจตนาต่างโดยกายสุจริตเป็นต้นเท่านั้น แม้ในทวารทั้งสาม พึงทราบว่า สังขาร.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-87
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม เวลา 20:02 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 15:02 น.
              คำถามกุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=84&bgc=lavender
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. คำว่า อปิจ เม อิทํ ภนฺเต ความว่า นายเสนิยะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อนึ่งเล่ากุกกุรวัตรนี้ ข้าพเจ้าสมาทานมาเป็นเวลายาวนาน แม้เมื่อปฏิบัติกุกกุรวัตรนั้น
ก็ไม่มีความเจริญ เมื่อปฏิบัติผิดก็ไม่มีความเสื่อม (จั-ญ-ไร) กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำมา
เป็นเวลาเพียงนี้ก็เกิดเป็นโมฆะ (ไม่มีผล) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อพิจารณาเห็น
ความวิบัติของตัวเองจึงร้องไห้ พระเจ้าข้า.

อธิบายว่า คำอธิบายนี้ อรรถกถาอธิบายในอยู่ข้อ 86
//84000.org/tipitaka/read/?13/86
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=86&Roman=0

              อธิบายว่า นัยว่า นายเสนิยะกล่าวว่า เขาสมาทานวัตรนี้มานานมาก
เมื่อปฏิบัติอยู่ไม่ได้เห็นมีความเจริญใดๆ น่าจะหมายถึงไม่ได้มีฌานและญาณใดๆ
เกิดขึ้นเลย กล่าวคือไม่เห็นอะไรจะดีขึ้นเลย.
              เมื่อปฏิบัติผิดก็ไม่มีความเสื่อม นัยคือ อาจจะมีบางครั้งที่ปฏิบัติผิด
จากกุกกุรวัตร กล่าวคืออาจไม่ได้เคร่งครัดบ้าง หรือเผลอเดินแบบมนุษย์เป็นต้น
ก็ไม่ได้มีความเสื่อมจากผลดีจากการปฏิบัติกุกกุรวัตร (เพราะกุกกุรวัตรไม่มีผลดี
อะไรเลย ทำให้ไม่มีความเสื่อมจากผลดีที่ไม่มี).
              นายเสนิยะกล่าวว่า เขาปฏิบัติมานานไม่มีผลตามที่ปรารถนาไว้
กล่าวคือความสุข ความเจริญ การได้ภพที่ประณีต เช่นความเป็นเทวดา
เป็นโมฆะ (ไม่มีผลตามที่หวัง) แต่มีผลที่ไม่ต้องการ กล่าวคือวิบัติต่างๆ
เช่นกำเนิดเป็นสุนัข กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือนรก
              เขาเห็นผลที่ไม่เป็นสุข ที่ไม่น่าปรารถนา จึงร้องไห้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๒. ถามว่า เจตนาในฌาน จงยกไว้ก่อน ทำไม กามาวจรจึงชื่อว่าอัพยาปัชฌมโนสังขาร.
              ตอบว่า อัพยาปัชฌมโนสังขารย่อมเกิดได้ในขณะเข้ากสิณ และขณะเสพกสิณเนืองๆ
เจตนาฝ่ายกามาวจรต่อกับเจตนาปฐมฌาน เจตนาในจตุตถฌานต่อกับเจตนาในตติยฌาน
ดังนั้น กุศลเจตนาต่างโดยกายสุจริตเป็นต้นเท่านั้น แม้ในทวารทั้งสาม พึงทราบว่า สังขาร.
              ขอบพระคุณค่ะ
3:01 PM 7/17/2013
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า อรรถกถาจะอธิบายเจตนาในขณะที่ยังไม่ได้เข้าฌาน
กล่าวคือ ผู้เริ่มต้นทำฌาน ก็เรียนการจดจำนิมิตของสมถะนั้นๆ เช่นกสิณต่างๆ เป็นต้น
เจตนาเพื่อให้บรรลุฌานจิต ก็จริง แต่ขณะนั้นยังไม่ได้บรรลุ จึงยังเป็นกามาวจรอยู่
              หรือแม้บุคคลที่ได้ฌานแล้ว เมื่อออกจากฌาน ก็ฝึกฝนการนึกถึงนิมิตกสิณ
ฝึกฝนให้คล่องแคล่วในการนึกถึงกสิณบ้าง รักษานิมิตนั้นๆ ไว้ เจตนาเหล่านี้
เป็นกามาวจร เจตนาในฌานเท่านั้นเป็นรูปวจรหรืออรูปวจรแล้วแต่กรณี.
              อัพยาปัชฌมโนสังขาร ประมวลมโนสังขารอันไม่มีความทุกข์ ในข้อ 88
ข้อย่อยว่า กรรมขาว มีวิบากขาว.
              ดูเหมือนว่า ในข้อว่า กรรมขาว มีวิบากขาว จะหมายถึงระดับสูงเลยทีเดียว
คือระดับเจตนาในฌาน และเจตนาในการขณะเข้ากสิณของผู้ที่ได้ฌานแล้ว
เพราะข้อว่า ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้ทรงแสดงพวกมนุษย์
และเทพบางเหล่า เป็นตัวอย่าง อันมีกุศลเจตนาระดับกามาวจร (ผู้ไม่มีฌานจิต)
              กล่าวคือ ในหมู่มนุษย์หรือเทพบางเหล่า ทุกข์ก็เกิดขึ้นได้
ดังนั้นจึงน่าหมายความว่า กุศลเจตนาระดับกามาวจรเป็นกรรมขาว ในกลุ่มของกรรม
ทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.
              ดังนั้น คำว่า กามาวจรจึงชื่อว่าอัพยาปัชฌมโนสังขาร จึงน่าหมายถึง
เจตนาการเข้ากสิณ (ขณะแห่งกามาวจร) ของผู้ได้ฌานแล้ว
              สำหรับเจตนาในฌาน จงยกไว้ก่อน เพราะพรหมโลกเป็นโลกอันไม่มีความทุกข์
ในคำว่า เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ นั่นเอง.

ความคิดเห็นที่ 10-88
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 20:43 น.

เขาเห็นผลที่ไม่เป็นสุข ที่ไม่น่าปรารถนา จึงร้องไห้.
แต่ในข้อ ๘๖ ความว่า ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น
สรุปว่า เขาร้องไห้เพราะอะไรคะ

ความคิดเห็นที่ 10-89
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม เวลา 21:43 น.

              ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น
สรุปว่า เขาร้องไห้เพราะอะไรคะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น

อธิบายว่า
              เขามิได้ร้องไห้โดยนัยของการถูกตำหนิหรือถูกด่า
แต่ร้องไห้ เพราะเห็นตามและเลื่อมใสการพยากรณ์นั้นว่า
เป็นความจริง และความจริงที่ว่า เขาทำกรรมอันมีวิบากเป็นทุกข์.

ความคิดเห็นที่ 10-90
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 21:50 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ลิงค์นี้ จะนำไปที่ใดคะ ดูเหมือนไปที่พระสูตรแบบเต็ม

ความคิดเห็นที่ 10-91
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม เวลา 22:11 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ลิงค์นี้ จะนำไปที่ใดคะ ดูเหมือนไปที่พระสูตรแบบเต็ม
9:50 PM 7/18/2013
              ตอบว่า ลิงค์นี้เต็มพระสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น
              แต่จะเน้นคำว่า ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น
ให้มีตัวหนาเข้มสีน้ำตาลแดงครับ.

ความคิดเห็นที่ 10-92
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 22:19 น.

ถ้ามีการเว้นวรรค สามารถเน้นแบบนี้ได้หรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 10-93
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม เวลา 22:33 น.

              ตอบว่า ได้ครับ แทนช่องว่างด้วยเครื่องหมาย + หรือ _
แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (ในกรณีที่ช่องว่างหลายเคาะ ก็นับจำนวน)
เช่น
              อย่าเลย ปุณณะ จงงดข้อนี้เสียเถิด
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=อย่าเลย+ปุณณะ+จงงดข้อนี้เสียเถิด
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=อย่าเลย_ปุณณะ_จงงดข้อนี้เสียเถิด

ความคิดเห็นที่ 10-94
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 22:40 น.

ทำไมประโยคนี้ไม่ได้คะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น+ที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพเจ้า

ความคิดเห็นที่ 10-95
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม เวลา 22:55 น.

              ตอบว่า ต้องอยู่บรรทัดเดียวกันครับ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=1478&w=ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น++ที่พระผู้มี
              สังเกตุว่า มีเครื่องหมาย + ติดกัน 2 อัน คือ ++

ความคิดเห็นที่ 10-96
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 23:01 น.

คนละบรรทัดไม่ได้เลยหรือคะ

ความคิดเห็นที่ 10-97
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม เวลา 23:08 น.

              ตอบว่า ไม่ได้ครับ.

ความคิดเห็นที่ 10-98
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 23:11 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 9:57:48 น.
Counter : 493 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog