21.5 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 21.4 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16] ความคิดเห็นที่ 8-41 ความคิดเห็นที่ 8-42 GravityOfLove, 21 สิงหาคม เวลา 19:29 น. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 8-43 ฐานาฐานะ, 21 สิงหาคม เวลา 19:34 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า โคลิสสานิสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980 พระสูตรหลักถัดไป คือกีฏาคิริสูตร [พระสูตรที่ 20]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ กีฏาคิริสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222 จูฬวัจฉโคตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4235&Z=4315 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=240 อัคคิวัจฉโคตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4316&Z=4440 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=244 มหาวัจฉโคตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=253 ทีฆนขสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269 มาคัณฑิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4769&Z=5061 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276 ความคิดเห็นที่ 8-44 GravityOfLove, 21 สิงหาคม เวลา 20:21 น. คำถามกีฏาคิริสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. เนื้อความในอรรถกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางวันในสูตรนี้ (กกจูปมสูตร) แต่ในภัททาลิสูตรตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน. << //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263 ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางวัน ในภัททาลิสูตร. << ในสูตรนี้ (กีฎาคิริสูตร) ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางคืน. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222&bgc=seashell สรุปว่า ในภัททาลิสูตร ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลกลางคืนหรือกลางวันคะ ๒. บรมสัจจะ นิพพานสัจจะ ๓. ตั้งแต่ --> ส่วนท่านผู้พูดนอกรีตนอกรอยจับเอาบาลีนี้นี่แหละแล้วกล่าวว่า ... จงเข้าไปสู่วิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มยาคู ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 8-45 ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 04:48 น. GravityOfLove, 27 นาทีที่แล้ว คำถามกีฏาคิริสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. เนื้อความในอรรถกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางวันในสูตรนี้ (กกจูปมสูตร) แต่ในภัททาลิสูตรตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน. << //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263 ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางวัน ในภัททาลิสูตร. << ในสูตรนี้ (กีฎาคิริสูตร) ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางคืน. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222&bgc=seashell สรุปว่า ในภัททาลิสูตร ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลกลางคืนหรือกลางวันคะ ตอบว่า ในภัททาลิสูตร น่าจะทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางวัน. ๒. บรมสัจจะ นิพพานสัจจะ ตอบว่า คือ พระนิพพาน หรือนิโรธสัจจะนั่นเอง เพราะเป็นสัจจะอันประเสริฐ ยิ่งยวด. ๓. ตั้งแต่ --> ส่วนท่านผู้พูดนอกรีตนอกรอยจับเอาบาลีนี้นี่แหละแล้วกล่าวว่า ... จงเข้าไปสู่วิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มยาคู ขอบพระคุณค่ะ 8:20 PM 8/21/2013 อธิบายว่า อรรถกถากล่าวถึงพวกชอบพูดผิดทางเป็นต้น กล่าวคือ พวกนั้นถือเอาบาลีเป็นต้นว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดังนี้แล้วตีความตื้นๆ ว่า การเสพเสนาสนะที่สมควร การคบหากัลยาณมิตร การทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ นี้แหละเป็นโลกุตตรมรรค หรือขยายต่อไปว่า โลกุตตรมรรคเป็นไปในจิตหลายดวง หรือหลายขณะ เพราะว่า การเสพเสนาสนะที่สมควรก็ขณะหนึ่งๆ ซึ่งหลายขณะ การคบหากัลยาณมิตรก็ขณะหนึ่งๆ ซึ่งหลายขณะ การทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ก็เป็นอีกขณะหนึ่งๆ ซึ่งหลายขณะดังนี้. อรรถกถากล่าวแก้ว่า ในการเสพเสนาสนะที่สมควรก็มีการเห็นเสนาสนะเป็นต้น ด้วยจักษุวิญญาณ นั่งเดินนอนก็สัมผัสเสนาสนะด้วยกาย อันเป็นกายวิญญาณเป็นต้น. ก็จักษุวิญญาณเป็นต้นนี้ เป็นอัพยากฤต คือไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล เป็นเพียงอัพยากฤต โดยนัยทั่วไป ก็เป็นวิบากธรรมเท่านั้น. ส่วนโลกุตตรมรรคเป็นกุศลโดยแท้ ดังนี้แล้วพวกชอบพูดผิดทางเป็นต้น ควรละความเห็นเหล่านั้น ถ้าพวกเขาไม่ละความเห็นเหล่านั้น ก็ส่งไป (ไล่ไป) หาอะไรกินแล้วก็เงียบเสีย อย่ารบกวนผู้อื่นด้วยการแพร่ความเห็นนี้ (เติมเอง). ความคิดเห็นที่ 8-46 GravityOfLove, 23 สิงหาคม เวลา 09:51 น. ขอบพระคุณค่ะ จากอรรถกถา หมายความว่า โลกุตตรมรรค เกิดขึ้น ณ ขณะจิตเดียวหรือคะ ความคิดเห็นที่ 8-47 GravityOfLove, 23 สิงหาคม เวลา 10:27 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค ๑๐. กีฏาคิริสูตร คุณของการฉันอาหารน้อย //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3981&Z=4234&bgc=seashell&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในกาสีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า พระองค์ไม่ฉันโภชนะในราตรีเลย เมื่อปฏิบัติดังนั้น ก็เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ และทรงให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติดังนั้นด้วย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาค พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะฉันอาหารในเวลาวิกาล สมัยนั้น มีภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ (อยู่ในกลุ่มพระฉัพพัคคีย์ พวกภิกษุเหลวไหลทั้ง ๖) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในกีฏาคิรีนิคม ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุ แล้วได้กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ไม่ฉันโภชนะในราตรี ... และทรงให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติดังนั้นด้วย ภิกษุอัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะได้กล่าวว่า พวกตนฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาลในกลางวัน ก็มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญเช่นกัน เราจะละคุณที่ตนเห็นเอง แล้ววิ่งไปตามคุณอันอ้างกาลทำไม เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้อัสสชิภิกษุปุนัพพสุกภิกษุยินยอมได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลเล่าให้ฟัง พระผู้มีพระภาคตรัสให้ไปเรียกอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุมาเฝ้า เื่มื่อมาถึงแล้ว ก็ตรัสถามว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุทูลยอมรับว่า จริงเช่นนั้น พระพุทธเจ้าแสดงเวทนา ๓ และเวทนาที่ควรเสพ/ไม่ควรเสพ ตรัสว่า พระองค์ไม่ได้ทรงแสดงธรรมว่า บุรุษบุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข (อทุกขมสุขเวทนา) แล้ว อกุศลธรรมของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แต่พระองค์ทรงแสดงธรรมว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนา/ทุกขเวทนา/อทุกขมสุขเวทนา เห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ก็มี ส่วนเมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนา/ทุกขเวทนา/อทุกขมสุขเวทนา เห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ก็มี พระองค์ทรงรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา/ทุกขเวทนา/อทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้ ที่ทำให้อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อมเถิด เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนา/ทุกขเวทนา/อทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้ ที่ทำให้อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญเถิด ภิกษุที่ไม่มีกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทและ ภิกษุที่มีกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ พระองค์ย่อมตรัสว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ไม่มีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ทำกรณียกิจเสร็จแล้วด้วยความไม่ประมาท และภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท ภิกษุเหล่าใดยังเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงความเต็มปรารถนา ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันตขีณาสพ ยังปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าอยู่ พระองค์ย่อมตรัสว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น เพราะทรงเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านี้ เช่นนี้ว่า ไฉนท่านเหล่านี้ เมื่อเสพเสนาสนะอันสมควร (เสนาสนะอันสมควรแก่การปฏิบัติ มีกรรมฐานเป็นที่สบาย อันผู้อยู่ในเสนาสนะสามารถบรรลุมรรคผลได้) คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ (พละ ๕) ให้เสมออยู่ จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ (จะเป็นการดี ถ้าเมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร ฯลฯ จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์) บุคคล ๗ จำพวก บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ๑. อุภโตภาควิมุตบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด (สันตวิโมกข์ หรือวิโมกข์ 8) คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท (สันตวิโมกข์ หมายถึง อรูปฌานที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ และเพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐)) (กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๔, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๙/๕๕)) //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิโมกข์_8 ๒. ปัญญาวิมุตบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท ๓. กายสักขีบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางส่วนของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ เพราะทรงเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ๔. ทิฏฐิปัตตบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางส่วนของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้น เห็นแจ้งด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ... เข้าถึงอยู่ ๕. สัทธาวิมุตบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางส่วนของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ... เข้าถึงอยู่ ๖. ธัมมานุสารีบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางส่วนของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ... เข้าถึงอยู่ ๗. สัทธานุสารีบุคคล บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางส่วนของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ เพราะทรงเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_7 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4 คำว่า สัทธินทรีย์ เป็นต้น //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5 การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ตรัสว่า พระองค์ย่อมไม่ตรัสว่า การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้น (บรรลุอรหัตตผลในขั้นแรกทีเดียว) แต่ตรัสว่า การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษา (สิกขา) โดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติ (บำเพ็ญปฏิปทา) โดยลำดับ ดังนี้คือ กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง (สดับ) เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ (ทรงจำ) ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ (ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ) เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร (อุทิศกายใจ) เมื่อมีตนส่งไปแล้ว (อุทิศกายใจ) ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะ (หมายถึงนิพพานสัจจะ หรือนิโรธสัจจะ คือพระนิพพาน) ด้วยกาย (นามกาย หรือกองแห่งนามธรรม) และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา (ในที่นี้หมายถึงมรรคปัญญา (ม.ม.อ. ๒/๑๘๓/๑๔๒)) ถ้าไม่มีศรัทธา ฯลฯ แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธา_ความเชื่อ&detail=on [มีต่อ] ความคิดเห็นที่ 8-48 [ต่อ] บท ๔ (อริยสัจ ๔) ตรัสว่า บท ๔ อันยืนยันได้ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษ จะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ (คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบาย ดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า) พระองค์จะทรงแสดงธรรมให้ภิกษุทั้งหลายที่เมื่อได้สดับแล้ว จะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบท ๔ อันยืนยันได้ ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงแล้วนั้น ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า พวกไหนเป็นพวกตน และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ ตรัสว่า ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติ เหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ ที่ไม่สมควรต่อการต่อรองได้ว่า เมื่อสิ่งเช่นนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น แต่พระองค์ไม่พึงทำเหตุนั้น เพราะตถาคตไม่ข้องด้วยอามิส โดยประการทั้งปวงอยู่ สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา แล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า (หลักปฏิบัติของสาวกผู้มีศรัทธาฯ คือ) ๑. พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก ๒. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ ๓. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชา (น่าเลื่อมใส) ๔. มีความเพียรว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย (เมื่อยังไม่บรรลุฯ จะไม่หยุดความเพียรนั้นเลย) //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222&bgc=seashell#ความเพียรมีองค์_๔ สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้คือ ๑. อรหัตตผลในปัจจุบัน ๒. หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือ ยังมีอยู่ (มีอุปาทานเหลืออยู่) จะเป็นพระพระอนาคามี //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อามิส //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_4 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค [แก้ไขตาม #8-49] ความคิดเห็นที่ 8-49 ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 20:06 น. GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค ๑๐. กีฏาคิริสูตร คุณของการฉันอาหารน้อย //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3981&Z=4234&bgc=seashell&pagebreak=0 10:27 AM 8/23/2013 ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :- บรมสัจจะ (ในที่นี้หมายถึงนิพพานสัจจะ หรือนิโรธสัจจะ คือพระนิพพาน) ไม่น่าจะใส่คำว่า ในที่นี้ ทั้งนี้เพราะว่า คำนี้น่าจะหมายถึงนิพพานสัจจะในทุกที่. เห็นคำว่า บรมสัจจะ ทำให้นึกถึงพระสูตรชื่อว่า ธาตุวิภังคสูตร ธาตุวิภังคสูตร [บางส่วน] ดูกรภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=8748 //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=692&Roman=0 ความคิดเห็นที่ 8-50 ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 18:54 น. GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว ขอบพระคุณค่ะ จากอรรถกถา หมายความว่า โลกุตตรมรรค เกิดขึ้น ณ ขณะจิตเดียวหรือคะ 9:50 AM 8/23/2013 ตอบว่า ใช่ครับ โลกุตตรมรรคเกิดขึ้น ขณะจิตเดียว คือ โสดาปัตติมรรค 1 ขณะ, สกทาคามิมรรค 1 ขณะ, อนาคามิมรรค 1 ขณะ, อรหัตตมรรค 1 ขณะ. ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
ตอบคำถามในโคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
...
ตอบคำถามได้ดีครับ
1. ไม่ได้ลงเวลาไว้
2. พระสูตรนี้กล่าวถึงภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์
ทำให้เข้าใจขึ้นถึงสภาพการเป็นอยู่ของภิกษุบริษัทได้บ้าง.
3. พระสูตรนี้แม้จะกล่าวถึงพระภิกษุ แต่เมื่อศึกษาแล้ว
ควรเห็นว่าสามารถนำประยุกต์เพื่อการขัดเกลาในสภาพของผู้ศึกษาได้ เช่น
ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ แต่ปรากฎว่า ยังเป็นผู้คะนองกาย
คะนองวาจา เป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่
เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์
บุคคลผู้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว เช่น 1 นิกายบ้าง 2 นิกายบ้าง ...
ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย ... เจรจาเกลื่อนกล่น
กล่าวคือ สภาพความเป็นผู้คะนองกาย ... เจรจาเกลื่อนกล่น
ไม่ควรแก่ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่ควรแม้แก่ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน
ไม่ควรแม้แก่อนุปสัมบัน (ผู้ไม่ใช่ภิกษุภิกษุณี) เมื่อเห็นดังนี้แล้ว
ก็จะรับเอาเนื้อความแห่งพระสูตร เป็นแนวทางการขัดเกลาตนเองตามสภาพ.
อีกประการหนึ่ง ศึกษาการขัดเกลาเหล่านี้ไว้ ปลูกฝังความยินดี
ในการขัดเกลาไว้ น่าจะเป็นปัจจัยให้มีความยินดีในการขัดเกลา เมื่อได้โอกาส
บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคต.