22.6 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.5 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-51
ฐานาฐานะ, 13 กันยายน 2556 เวลา 19:38 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามเวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๓๙๘] ... ดูกรกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัส
อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข. (สุขเกิด
แต่กาม) ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าวสุขอันเป็นที่สุด
ของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ๑- ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.
@๑. หมายเอานิพพาน
             อธิบายว่า
             กามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย หรือ
             ความสุขโสมนัสที่เกิดจากกามคุณ 5 เลิศกว่ากามทั้งหลาย
             กามทั้งหลายมีทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม วัตถุกามบางครั้งเมื่อแปรเปลี่ยนไป
ก็เกิดทุกขเวทนาเป็นต้น ดังนั้น ดีที่สุดของสิ่งเหล่านั้น ก็คือความสุขจากสิ่งเหล่านั้น.
             นัยว่า ในบรรดาคนที่ไม่รู้อริยสัจเลย ก็มีเวทนาแตกต่างกัน
ในคนเหล่านั้น คนที่มีสุขเวทนาก็ดีที่สุดของคนเหล่านั้น
             เพราะอะไร เพราะว่า อย่างไรๆ พวกนั้นก็ไม่รู้อริยสัจ.

             กล่าวสุขอันเป็นที่สุดของกามว่าเลิศกว่ากามสุข
             นัยก็คือ สุขอันเกิดจากการสิ้นสุดของกาม ดีกว่า ประเสริฐกว่ากามสุข.
             นัยนี้ อาจหมายถึงสุขเวทนาของปฐมฌานเป็นต้นก็ได้
             หรือจะหมายถึงนัยสูงสุด คือนิพพานก็ได้ ล้วนดีกว่ากามสุข.

             ๒. [๔๐๑] ดูกรกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้เงื่อน
เบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ ดูกรกัจจานะ
ก็แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื้อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด
ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำ
ที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจาก
เครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
             ขอบพระคุณค่ะ
2:02 PM 9/13/2013
             อธิบายว่า
             เวขณสปริพาชกประสงค์จะด่าพระผู้มีพระภาค แต่ด่าด้วยการเปรียบเปรย
             เช่น คนที่ไม่รู้ แต่กล่าวว่า เรารู้ ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
             คำด่าของเขาเป็นจริง แต่คำด่าของเขาหรือลักษณะบุคคลที่เขากล่าวถึง
ไม่ใช่อาการของพระผู้มีพระภาค.
             ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงกล่าวย้อนคำไปว่า
             บุคคลที่มีลักษณะอาการอย่างนั้น ควรถูกข่มอย่างเหมาะสม.

             อุปมาเป็นต้นว่า
             คนหนึ่งรวยมาก อีกคนหนึ่งไม่รวย
             คนที่ไม่รวยไม่รู้ว่า อีกคนรวยมาก คนที่ไม่รวยก็ด่าคนรวยมากว่า
             คนที่ยากจน แต่อวดร่ำอวดรวย เป็นคนโอ้อวด มีถ้อยคำโอ้อวด
             คนหนึ่งรวยมากก็กล่าวตอบไปว่า คนที่ยากจน แต่อวดร่ำอวดรวย
ควรถูกตำหนิอย่างเหมาะสม เรื่องการบริหารเงินที่มีมากแล้วให้ได้ดอกผลงามๆ
เรื่องนี้เว้นไว้ก่อน คนที่รู้ความและเป็นคนขยัน ประสงค์จะมีทรัพย์มาก
จงมาหาเรา จงตั้งใจฟัง เราจะบอกวิธีที่เขานำไปปฏิบัติแล้ว จะร่ำรวยได้เห็นๆ.
             อุปมาแล้ว เข้าใจขึ้น หรืองงกว่าเดิมหนอ?

ความคิดเห็นที่ 3-52
GravityOfLove, 13 กันยายน 2556 เวลา 20:33 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๓๐. เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6464&Z=6595&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี
             ครั้งนั้น เวขณสปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             ทำไมจึงกล่าวอย่างนั้น ก็วรรณอย่างยิ่งเป็นอย่างไร
             เวขณสปริพาชกทูลตอบว่า
             วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง
             ตรัสถามว่า
             วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า
             ทูลตอบเหมือนเดิมว่า
             วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง
             ตรัสว่า
             วาจานั้นของท่านพึงขยายออกอย่างยืดยาว (นาน) แต่ไม่สามารถชี้วรรณนั้นได้
             เปรียบเหมือนบุรุษกล่าวว่า ตนรักหญิงคนนี้ แต่เมื่อถูกถามว่า
             นางเป็นใคร หน้าตาเป็นอย่างไร ชื่ออะำไร เป็นต้น ก็ตอบไม่ได้
             เมื่อถูกถามว่า ท่านรักผู้หญิงที่ท่านไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นหรือ
ก็ตอบว่า ถูกแล้ว
             เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของบุรุษนั้น ถึงเป็นคำใช้ไม่ได้
             เขาก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่ว่า
             วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง
แต่ไม่ชี้วรรณนั้น
             เวขณสปริพาชกกราบทูลว่า
             เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม วางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสว
ส่องแสงเรืองอยู่ ฉันใด ตัวตน (อัตตา) ก็มีวรรณ ฉันนั้น เมื่อตายไปย่อมเป็นของไม่มีโรค
             (ตัวตนหรืออัตตา ในที่นี้หมายถึง ตัวตนนั้นในเวลาเราตายย่อมรุ่งเรือง
ดุจขันธ์ในสุภกิณหเทวโลก หมายถึงขันธ์ที่เกิดในสุภกิณหเทวโลก)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุทาน#find2 #find2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุภกิณห&detail=on

             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงาม และประณีตกว่ากัน?
             - แก้วไพฑูรย์อันงาม วางไว้ที่ผ้ากัมผลแดง ย่อมสว่างไสว
กับแมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี
             ทูลตอบว่า แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี
             - แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี
กับประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี
             ทูลตอบว่า ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี
             - ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี
กับกองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในราตรี
             ทูลตอบว่า กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในเวลาราตรี
             - กองไฟในเวลาเดือนมืดในราตรี กับดาวพระศุกร์ใน
อากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี
             ทูลตอบว่า ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ฯลฯ
             - ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ฯลฯ
กับดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ
ในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน)
             ทูลตอบว่า ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ฯลฯ
             - ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ฯลฯ กับดวงอาทิตย์ในเวลา
เที่ยงตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝน
             ทูลตอบว่า ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ฯลฯ
             ตรัสต่อไปว่า
             เทวดาที่สู้แสงพระจันทร์พระอาทิตย์ไม่ได้ มีมากกว่าเทวดาพวกที่
สู้แสงพระจันทร์และพระอาทิตย์ได้
             ทรงรู้ทั่วถึงเทวดาพวกนั้นอยู่ แต่ก็ไม่ตรัสว่า
             วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็ชื่อว่า กล่าวอยู่ว่า
             วรรณใดที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง
             แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นให้ชัด
             กามคุณ ๕ คือ
             ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
เกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต  ...  
             ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ...
             ๔. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา  ...  
             ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ความสุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น
ความสุขโสมนัสนี้เรียกว่า กามสุข (สุขเกิดแต่กาม)
             กามสุขเลิศกว่ากามทั้งหลาย
             สุขอันเป็นที่สุดของกาม (สุขอันเป็นที่สิ้นสุดของกาม) เลิศกว่ากามสุข
             ความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้น เป็นเลิศ (หมายเอานิพพาน)
             เวขณสปริพาชกได้กราบทูลสรรเสริญว่า
             ข้อที่พระองค์ตรัสนั้น ตรัสดี น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา
             ตรัสว่า
             ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของกามก็ดี นี้
             ยากที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น
มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น
มีลัทธิอาจารย์เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้
             ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
(พระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่ากำลังประพฤติพรหมจรรย์)
             มีกรณียะได้ทำเสร็จแล้ว (กิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลส
จบสิ้นสมบูรณ์แล้ว กิจในอริยสัจ ๔ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเอง
แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่)
             มีภาระอันปลงลงแล้ว  (ปลงกิเลสภาระ (ภาระคือกิเลส)
ขันธภาระ (ภาระคือร่างกาย) และอภิสังขารภาระ (ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว)
             มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้วตามลำดับ
             มีสังโยชน์ในภพสิ้น (สังโยชน์ ๑๐) รอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
             ภิกษุเหล่านั้น จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็นที่สุดของกามนี้ได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกโกรธ ขัดใจ
             เมื่อจะด่าว่า ติเตียนพระผู้มีพระภาค คิดว่า เราจะให้พระสมณโคดม
ได้รับความเสียหาย จึงได้กราบทูลว่า
             ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น
ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย แต่ปฏิญาณอยู่ว่า
             เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้
             ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะ
เป็นคำต่ำช้าอย่างเดียว ถึงความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ๆ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ก็ถ้าเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ
             แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้ก่อน เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้ก่อน
             บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด
เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม
             เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง
             ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ
เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น
             เปรียบเหมือนเด็กทารกถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกที่ข้อเท้าทั้งสอง
ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง
             เครื่องผูกเหล่านั้นจะพึงหลุดไปเพราะเด็กนั้นถึงความเจริญ
เติบโตขึ้น (เครื่องผูกก็หลุดหรือถูกตัดออกไป) เขาพึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น
และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด
             บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้น เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง
             ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม
             เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็จะรู้เอง จะเห็นเอง
             จะทราบว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ
เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น
             (เหมือนเด็กทารกไม่รู้ตัวว่าถูกผูกไว้ ก็เปรียบเหมือนคนที่รู้ความ
ที่ยังไม่รู้ที่สุดแห่งอวิชชา
             เมื่อทารกโตขึ้นแล้ว ก็ตัดเครื่องผูกออกไป และรู้ตัวว่าหลุดพ้นแล้ว
             ก็เหมือนคนที่รู้ความ ที่ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสอนแ้ล้ว
หลุดพ้นจากอวิชชาด้วยอรหัตมรรค และรู้ตัวว่าหลุดพ้นแล้ว)
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลสรรเสริญว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม #3-53]

ความคิดเห็นที่ 3-53
ฐานาฐานะ, 13 กันยายน 2556 เวลา 20:50 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๓๐. เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6464&Z=6595&bgc=mistyrose&pagebreak=0
8:33 PM 9/13/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             สกุลุทายีปริพาชกกราบทูลว่า
แก้ไขเป็น
             เวขณสปริพาชกกราบทูลว่า

ความคิดเห็นที่ 3-54
ฐานาฐานะ, 13 กันยายน 2556 เวลา 20:54 น.

             คำถามในเวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6464&Z=6595

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-55
GravityOfLove, 13 กันยายน 2556 เวลา 20:59 น.

อมยิ้ม02 ก๊อปมา ลืมเปลี่ยนชื่อค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
--------------------
             ตอบคำถามในเวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6464&Z=6595

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ความสุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น
ความสุขโสมนัสนี้เรียกว่า กามสุข (สุขเกิดแต่กาม)
             กามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย
             สุขอันเป็นที่สุดของกาม คือ สุขอันเป็นที่สิ้นสุดของกาม เช่น
สุขเวทนาจากปฐมฌาน เป็นต้น เลิศกว่ากามสุข
             สูงสุดคือพระนิพพาน
             ๒. บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง
เมื่อปฏิบัติตามคำที่พระองค์ตรัสสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง
             ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ
เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น
             ๓. เวขณสปริพาชกเป็นอาจารย์ของสกุลุทายีปริพาชก
             เมื่อได้ยินว่าศิษย์ผู้นี้ซึ่งตนสอนเรื่องวรรณอย่างยิ่งดีแล้ว กลับแพ้วาทะ
พระผู้มีพระภาค จึงเดินทางมาเพื่อจะรู้ว่า แพ้ได้อย่างไร
จึงมาเปล่งอุทานในสำนักของพระองค์
             ๔. ทรงเทศนากามคุณ ๕ แก่เวขณสปริพาชก เพราะเขาเป็นผู้หนักในกาม
เมื่อได้ฟังแล้วจะได้เข้าใจง่าย

ความคิดเห็นที่ 3-56
ฐานาฐานะ, 13 กันยายน 2556 เวลา 21:06 น.

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามเบาๆ ว่า
             ในปริพพาชกวรรคนี้ ท่านผู้ใดได้บวชบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-57
GravityOfLove, 13 กันยายน 2556 เวลา 21:26 น.

             ปริพาชกวัจฉโคตรและมาคัณฑิยปริพาชกค่ะ และได้บรรลุพระอรหัตทั้งสองท่าน
             มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441&Z=4660&bgc=mistyrose&pagebreak=0
             มาคัณฑิยสูตร เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4769&Z=5061&bgc=mistyrose&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 3-58
ฐานาฐานะ, 13 กันยายน 2556 เวลา 21:35 น.

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             สำหรับสกุลุทายีปริพาชก แม้อรรถกถาจะกล่าวว่า
ภายหลัง (ชาติถัดไปได้บวช) ก็ต้องถือว่า ในชาติที่ได้ฟังพระสูตร
ไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระศาสนานี้.

ความคิดเห็นที่ 3-59
ฐานาฐานะ, 13 กันยายน 2556 เวลา 21:38 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เวขณสสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595

              พระสูตรหลักถัดไป คือฆฏิการสูตร [พระสูตรที่ 31].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              ฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6596&Z=6824
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=403

              รัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6825&Z=7248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=423

              มฆเทวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7249&Z=7473
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=452

              มธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7474&Z=7662
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=464

              โพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486

ความคิดเห็นที่ 3-60
GravityOfLove, 14 กันยายน เวลา 16:36 น.

             คำถามฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

             ๑. ในกระทู้แรกเคยเรียนพระสูตรนี้
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#161
             ตอนนั้นสนทนากันว่า โชติปาลมาณพกล่าวคำว่า พระสมณะศีรษะโล้น ๙ ครั้ง
             คราวนี้ แกรวิตี้มาอ่านเป็นพระสูตรหลัก นับได้ ๗ ครั้งเองค่ะ
             ๒. ตอนนั้น พระสูตรที่เกี่ยวข้องคือ ฆฏิการสูตรที่ ๔
             มีประโยคว่า
             สหายเก่าทั้งสอง ผู้มีตนอันอบรมแล้ว
             ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด
             ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
             อธิบายว่า สหายเก่าทั้งสอง คือ พระผู้มีพระภาคพระองค์หนึ่ง ท่านฆฏิการพรหมองค์หนึ่ง
รวมเป็นสอง เป็นสหายมาก่อนในสมัยพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
             ผู้มีตนอันอบรมแล้ว คือ อบรมในอธิสิกขาแล้ว คือทั้งสองเป็นพระอรหันต์. << ฆฏิการพรหมจะเป็นพระอรหันต์หรือเป็นแล้วคะ
             ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด คือ ทรงอยู่ในสรีระสุดท้ายแล้ว หมดตัณหาอันทำให้เกิดอีก.
             ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ คือ ฆฏิการพรหมมาเข้าเฝ้า แล้วสนทนากัน
อย่างในพระสูตรที่ 2 ที่แนะนำไป ชื่อพระสูตรเหมือนกัน
             แต่พระสูตรแรกเป็นเมื่อสมัยพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
             พระสูตรที่สองเป็นเมื่อสมัยพระศาสนาของพระองค์เอง คือพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             ฆฏิการสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1904&Z=1946

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-61
ฐานาฐานะ, 14 กันยายน เวลา 17:10 น.

              ตอบว่า คงนับผิดตั้งแต่ครั้งกระโน้น
              แต่แปลกใจเหมือนกันว่า นับผิดพลาดไปได้อย่างไรหนอ?
              คำถามว่า
              ผู้มีตนอันอบรมแล้ว คือ อบรมในอธิสิกขาแล้ว คือทั้งสองเป็นพระอรหันต์.
               << ฆฏิการพรหมจะเป็นพระอรหันต์หรือเป็นแล้วคะ
              ตอบว่า น่าจะบรรลุพระอรหัตแล้วครับ
              1. ผู้มีตนอันอบรมแล้ว ไม่ใช่กำลังอบรม
              2. พยากรณ์การบรรลุพระอรหัตของผู้อื่น 7 องค์.

ย้ายไปที่



Create Date : 13 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:27:47 น.
Counter : 939 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog