22.13 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.12 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-128
ฐานาฐานะ, 25 กันยายน เวลา 00:31 น.    Block
GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๕. โพธิราชกุมารสูตร เรื่องโพธิราชกุมาร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
10:01 PM 9/23/2013

             ย่อความได้ดี เนื้อความยาวมาก มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลึถึงธรรมนั้นอยู่
             แก้ไขเป็น
ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนั้นอยู่
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
             อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า
             แก้ไขเป็น
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
             อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             (ทวนกระแสคือ ทวนอนิจฺจํ (ไม่เที่ยง) ทุกฺขํ (เป็นทุกข์)
             อนตฺตา (เป็นอนัตตา) อสุภํ (ไม่งาม))
             นำมาจากไหน?
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้มาหาอาตมภาพ แล้วกล่าวว่า
แก้ไขเป็น
             ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้มาปรากฏข้างหน้าของอาตมภาพ
ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             (๒) อธิคมนสัทธา ได้แก่ ความเชื่อต่อการบรรลุอมตธรรม
ของพระอริยสาวกทั้งหลาย
             แก้ไขเป็น
             (๒) อธิคมนสัทธา ได้แก่ ความเชื่อเพราะบรรลุมรรคผล
ของพระอริยสาวกทั้งหลาย
             อรรถกถา
             ชื่อว่าอธิคมนศรัทธา เพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอดแห่งพระอริยสาวกทั้งหลาย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486

ความคิดเห็นที่ 3-129
GravityOfLove, 25 กันยายน เวลา 05:58 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             (ทวนกระแสคือ ทวนอนิจฺจํ (ไม่เที่ยง) ทุกฺขํ (เป็นทุกข์)
             อนตฺตา (เป็นอนัตตา) อสุภํ (ไม่งาม))
             นำมาจากไหน?

             ตั้งแต่ย่อความคราวที่แล้วจากปาสราสิสูตรค่ะ
             ซึ่งนำมาจาก footnote ฉบับมหาจุฬาฯ
             พาทวนกระแส ในที่นี้หมายถึง อนิจฺจํ(ไม่เที่ยง) ทุกฺขํ(เป็นทุกข์) อนตฺตา(เป็นอนัตตา)
อสุภํ(ไม่งาม) อันทวนกระแสแห่งธรรมมีความเที่ยง เป็นต้น ในพระวินัยปิฎกหมายถึงพาเข้าถึงนิพพาน
(ม.มู.อ.๒/๒๘๑/๘๔, วิ.อ. ๓/๗/๑๔)
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd12.htm

ความคิดเห็นที่ 3-130
ฐานาฐานะ, 25 กันยายน เวลา 14:09 น.

             รับทราบครับ
             เป็นการทวนกระแสกิเลสที่เห็นว่า เที่ยง สุข เป็นตัวตน งาม
ด้วยอนิจฺจํ ไม่เที่ยง ทุกฺขํ เป็นทุกข์ อนตฺตา เป็นอนัตตา อสุภํ ไม่งาม.

ความคิดเห็นที่ 3-131
ฐานาฐานะ, 25 กันยายน เวลา 14:22 น.

             คำถามในโพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โพธิราชกุมารได้อะไรบ้าง?
             3. มาณพนามว่าสัญชิกาบุตร ถึงไตรสรณคมน์หรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 3-132
GravityOfLove, 25 กันยายน เวลา 14:39 น.

             ตอบคำถามในโพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. สมัยที่พระผู้มีพระภาคยังเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ทรงมีความคิดว่า
             ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ก็ด้วยความทุกข์
             ๒. สมัยก่อนตรัสรู้ พระองค์ได้ออกผนวช ทรงแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล
ค้นคว้าสันติวรบท (ทางอันประเสริฐไปสู่สันติ) อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า
จึงเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุททกดาบส รามบุตร ตามลำดับ
             ๓. พระองค์จากอาจารย์ทั้งสองมา เมื่อบรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม
ก็ประทับนั่งบำเพ็ญเพียรที่นั่น
             ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้ออันเปรียบด้วยไม้สีไฟ ปรากฏแก่พระองค์
             อุปมา ๓ ข้อและทุกรกิริยา มีตรัสในมหาสัจจกสูตรด้วย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7552&Z=7914

             ๔. ทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา (ได้แก่ กดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ...
และกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเทวดาบางพวกเข้าใจว่าพระองค์สวรรคตแล้ว
             ทรงปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง แต่ก็ไม่ได้บรรลุ
คุณวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้
             ๕. ทรงระลึกเมื่องานวัปปมงคลของพระบิดา พระโพธิสัตว์
ได้นั่งที่ร่มไม้หว้า บรรลุปฐมฌานอยู่ ทําให้ทรงคิดว่าทางนี้พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้
             พระองค์จึงทรงบริโภคอาหารหยาบ เพื่อให้ร่างกายมีกําลัง
             แล้วบําเพ็ญจนตรัสรู้
             ๖. ท้าวสหัมบดีพรหมมาอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงธรรม
แก่สัตว์ทั้งหลาย ทรงปรารภปฐมเทศนา เสด็จไปแสดงธรรมแก่ ปัญจวัคคีย์
และได้พบอุปกาชีวกระหว่างทาง
             เรื่องอาจารย์ทั้งสอง, ทรงมีความขวนขวายน้อย, อุปกาชีวก, ปัญจวัคคีย์
มีตรัสในปาสราสิสูตรด้วย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5384&Z=5762

             ๗. องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ
             ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ นี้ เมื่อได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนําอยู่
พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ใช้เวลาเพียง
๗ ปีเป็นอย่างสูง (สำหรับไนยสัตว์ปานกลาง)
             ๘. เหตุที่พระพุทธองค์ไม่ให้เหยียบผืนผ้า
             ๙. เรื่องของพระเจ้าอุเทนกับพระธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต
             โพธิราชกุมารเป็นโอรสของสองพระองค์นั้น
             ๑๐. ธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะ (ไม่มีเจตนา) ย่อมไม่มี
             ๑๑. เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นที่มาของพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม
             คำอาราธานาธรรม (จากหนังสือมนต์พิธี)
             พรัหมา จะ โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ
             กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ
             สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
             เทเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง ปะชัง
             ท้าวสหัมบดี แห่งโลก ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า
             สัตว์ผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงธรรม อนุเคราะห์ด้วยเถิด
----------------------------------------
             2. เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โพธิราชกุมารได้อะไรบ้าง?
             ได้ถึงไตรสรณะ
----------------------------------------
             3. มาณพนามว่าสัญชิกาบุตร ถึงไตรสรณคมน์หรือไม่?
             สันนิษฐานว่า น่าจะถึงไตรสรณคมน์ค่ะ เพราะดูเหมือนทูลส่งเสริมให้
โพธิราชกุมารทูลยืนยันพระผู้มีพระภาคว่า ตนถึงไตรสรณคมน์
             และบุคคลรอบข้างโพธิราชกุมาร เช่น พระมารดา และแม่นม
ต่างก็เคารพนับถือพระผู้มีพระภาค ดังนั้น มาณพท่านนี้ซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อม
เช่นนี้ ก็น่าจะถึงไตรสรณะ

ความคิดเห็นที่ 3-133
ฐานาฐานะ, 25 กันยายน เวลา 16:18 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในโพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
...
2:39 PM 9/25/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             สำหรับคำถามข้อ 3 นั้น
             สันนิษฐานได้ดีครับ ผมเองพิจารณาแล้ว แต่ก็ไม่ปักใจว่า
มาณพนามว่าสัญชิกาบุตร ถึงไตรสรณคมน์หรือไม่ เพราะเหตุว่า
             เมื่อมาณพนามว่าสัญชิกาบุตรไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เห็นว่า
มาณพไม่ได้กราบ ไม่ได้ถวายบังคม ฯ ทั้งกล่าวเรียกพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ...
             และเมื่อจะกลับ ก็ไม่ได้ถวายบังคม ไม่ได้เวียนประทักษิณเลย.
             จึงไม่ปลงใจว่า มาณพนามว่าสัญชิกาบุตรจะถึงหรือไม่ถึงไตรสรณคมน์.
             โพธิราชกุมารสูตร [บางส่วน]
             มาณพสัญชิกาบุตรรับสั่งโพธิราชกุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             [๔๘๗] ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารถวายบังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้า
และรับสั่งถามถึงพระโคดมผู้เจริญ ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า
ทรงมีพระกำลัง ทรงพระสำราญ และรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับพระภิกษุสงฆ์
จงรับภัตตาหาร เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ของโพธิราชกุมารเถิด.
             พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ.
             ครั้งนั้น มาณพสัญชิกาบุตรทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว
จึงลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมารแล้วทูลว่า ...
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236

ความคิดเห็นที่ 3-134
GravityOfLove, 25 กันยายน เวลา 17:52 น.

ขอบพระคุณค่ะ
น่าจะเป็นอย่างที่คุณฐานาฐานะสันนิษฐานมากกว่าค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-135
ฐานาฐานะ, 25 กันยายน เวลา 16:59 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า โพธิราชกุมารสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236

              พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              อังคุลิมาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8237&Z=8451
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521

              ปิยชาติกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8452&Z=8627
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=535

              พาหิติยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8628&Z=8788
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=549

              ธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8789&Z=8961
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=559

              กรรณกัตถลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8962&Z=9194
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=571

ความคิดเห็นที่ 6-2
GravityOfLove, 25 กันยายน เวลา 19:51 น.

             คำถามอังคุลิมาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8237&Z=8451

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง
             ๒. [๕๓๑] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น
และกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์
จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์
ของท่านเถิด.
             ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้น
อย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจาก
ชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของ
ท่านเถิด.
             อรรถกถา
             ๓. ช้างก็เป็นช้างป่า ม้าก็เป็นม้าป่า รถก็หักแตกทำลายอยู่ตรงนั้นแหละ พระราชาหมายเอาเรื่องดังกล่าวมานี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
             ๔. ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กระทำสัจจกิริยาโดยอริยชาติ ด้วยทรงเล็งเห็นว่า พระองคุลิมาลต้องกระทำชาตินั้นให้เป็นอัพโพหาริกเสียก่อนแล้วเจริญวิปัสสนา จึงจักบรรลุพระอรหัตต์ได้.
             อัพโพหาริก กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี
             เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อัพโพหาริก

             ๕. ท่านกล่าวคาถาทั้งสามนี้ เพื่อป้องกันตน.
             ๖. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบริโภคก้อนข้าวของชาวเมืองด้วยความเป็นขโมย ดังนี้. ส่วนการไม่พิจารณาแล้วบริโภคของท่านผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค (เป็นหนี้บริโภค) การบริโภคของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าทายัชชบริโภค (บริโภคโดยเป็นทายาท). การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่าสามิบริโภค (บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ).
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-3
ฐานาฐานะ, 26 กันยายน เวลา 14:30 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามอังคุลิมาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8237&Z=8451

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง
อธิบายว่า
              สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะทุกข์บ้าง เพราะกิเลสกลุ้มรุมบ้าง
              ในคำนี้ไม่แน่ใจว่า เมื่อท่านพระองคุลิมาลเห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก
ปรารภสตรีที่มีครรภ์ หรือสัตว์ในครรภ์ หรือทั้งสองคน กล่าวคือ
              สตรีที่มีครรภ์ อรรถกถาว่า ครรภ์หลง น่าจะเป็นครรภ์คาอยู่ ไม่คลอดออกมา
ทำให้ได้รับทุกขเวทนา หรือสัตว์ในครรภ์ เพราะกามตัณหายังไม่สิ้นไป
จึงมีการเกิดในครรภ์บ้าง ย่อมเศร้าหมอง เพราะกิเลสคือกามตัณหา
และเศร้าหมอง เพราะต้องอยู่ในครรภ์ ที่คับแคบ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๒. [๕๓๑] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น
และกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์
จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์
ของท่านเถิด.
              ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้น
อย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจาก
ชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของ
ท่านเถิด.
อธิบายว่า
              นัยแรก คือ ตั้งแต่เราเกิดมาแล้ว เป็นนัยของการบรรพชาอยู่แล้ว
กล่าวคือ การลาสึกเป็นการตายจากธรรมวินัยนี้ การบรรพชาเป็นการเกิดในธรรมวินัยนี้
              แต่พระเถระกำหนดเอานัยปกติ กล่าวคือ เกิดคือเกิดออกจากครรภ์ของมารดา
              เมื่อพระเถระกำหนดเอานัยปกติ และลำบากใจที่กล่าวอย่างนั้น
              พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้ขยายความจากเดิม โดยเพิ่มคำว่า ในอริยชาติ
นัยก็คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ซึ่งก็คือการบรรพชาอุปสมบทนั่นเอง.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              อรรถกถา
              ๓. ช้างก็เป็นช้างป่า ม้าก็เป็นม้าป่า รถก็หักแตกทำลายอยู่ตรงนั้นแหละ
พระราชาหมายเอาเรื่องดังกล่าวมานี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
อธิบายว่า
              เนื้อความนี้ อรรถกถาอธิบายความในพระไตรปิฎก ข้อ 529
              เพราะว่าหม่อมฉันไม่สามารถจะทรมานผู้ใดได้ แม้ด้วยอาชญา แม้ด้วยศาตรา
              กล่าวคือ ถ้านำกองกำลังไปล้อมจับองคุลิมาลโจร (ขณะเป็นโจร)
              องคุลิมาลโจรก็จะยึดเอาช้าง ม้า และทำลายรถทั้งหลายที่ไปล้อมไว้.
              ช้างก็เป็นช้างป่า น่าจะหมายถึง พระราชาไม่สามารถนำช้างกลับเข้ามาเมืองได้
ช้างก็จะอยู่ในป่า เพราะถูกยึดไว้เป็นต้น.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๔. ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กระทำสัจจกิริยาโดยอริยชาติ ด้วยทรงเล็งเห็นว่า
พระองคุลิมาลต้องกระทำชาตินั้นให้เป็นอัพโพหาริกเสียก่อนแล้วเจริญวิปัสสนา
จึงจักบรรลุพระอรหัตต์ได้.
              อัพโพหาริก กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี
              เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อัพโพหาริก
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า อรรถกถาอธิบายว่า เมื่อกล่าวสัจจกิริยาโดยอริยชาติ
เป็นอันแยกส่วนของชีวิตออกจากกันให้ชัดเจน กล่าวคือ แยกระหว่างเมื่อก่อนบวชและเมื่อบวชแล้ว
              ก็เมื่อท่านบวชแล้ว ก็ไม่ได้ฆ่าสัตว์เลย
              กล่าวได้ว่า เมื่อบวชแล้ว กล่าวไม่ได้ว่า เคยฆ่าสัตว์ (ในขณะบวช)
              โดยนัยก็คือ จึงควรสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย คือมั่นคงในกุศลธรรมในเพศบรรพชิต
ไม่ควรรำคาญใจในกรรมที่ทำไว้ก่อนการบวชแล้ว.
              อุปมาเหมือนกับว่า ในอดีตชาติ ทุกคนเคยทำปาณาติบาตมาแล้วทั้งนั้น
หากแต่ละคนรำคาญใจต่อกรรมในอดีตที่แก้ไขไม่ได้แล้ว (แก้ไขจากทำแล้วเป็นไม่เคยทำ)
การรำคาญใจนั้น ก็จะเป็นอุปสรรคต่อประโยชน์ในปัจจุบัน
ทางที่ควรก็คือ เจริญกุศลธรรมในปัจจุบัน และสำรวมด้วยการไม่ทำอกุศลอีก.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๕. ท่านกล่าวคาถาทั้งสามนี้ เพื่อป้องกันตน.
อธิบายว่า นัยว่า น่าจะมาจากคำว่า
              ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงฟังธรรมกถาเถิด
              ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด
ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ถือธรรมเถิด
ขอจงคบความผ่องแผ้วคือขันติ ความสรรเสริญคือเมตตาเถิด
ขอจงฟังธรรมตามกาล และจงกระทำตามธรรมนั้นเถิด
              ผู้ที่เป็นศัตรูนั้น ไม่พึงเบียดเบียนเราหรือใครๆ อื่นนั้นเลย
ผู้ถึงความสงบอย่างยิ่งแล้ว พึงรักษาไว้ซึ่งสัตว์ที่สะดุ้งและที่มั่นคง ...

              กล่าวคือ เพื่อให้ผู้ที่เป็นศัตรู อย่าเบียดเบียนใครๆ เลย
เพราะผู้ถูกเบียดเบียน ก็ประสบทุกข์จากการเบียดเบียนนั้น
ผู้เบียดเบียน ก็ประสบทุกข์อันเกิดจากวิบาก.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๖. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบริโภคก้อนข้าว
ของชาวเมืองด้วยความเป็นขโมย ดังนี้. ส่วนการไม่พิจารณาแล้วบริโภคของท่านผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค
(เป็นหนี้บริโภค) การบริโภคของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าทายัชชบริโภค (บริโภคโดยเป็นทายาท).
การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่าสามิบริโภค (บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ).
              ขอบพระคุณค่ะ
7:51 PM 9/25/2013

อธิบายว่า
              อรรถกถาอธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก ข้อ 534 ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ
จากนั้นก็แยกแยะการบริโภค 4 อย่าง แล้วยกตัวอย่างหรือความหมายในแต่ละอย่างไว้.

              อนึ่ง ในคำว่า อนโณ ภุญฺชามิ (เราเป็นผู้ไม่เป็นหนี้บริโภค) นี้พึงทราบการบริโภค ๔ อย่าง
คือ เถยยบริโภค ๑ อิณบริโภค ๑ ทายัชชบริโภค ๑ สามิบริโภค ๑.
              ในบรรดาบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่าเถยยบริโภค.
ก็ผู้ทุศีลนั้นขโมยปัจจัย ๔ บริโภค.
              อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบริโภคก้อนข้าว
ของชาวเมืองด้วยความเป็นขโมย ดังนี้.
              ส่วนการไม่พิจารณาแล้วบริโภคของท่านผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค (เป็นหนี้บริโภค)
              การบริโภคของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าทายัชชบริโภค (บริโภคโดยเป็นทายาท).
              การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่าสามิบริโภค (บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ).
              บทว่า ไม่มีหนี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความไม่มีหนี้ คือกิเลส. ปาฐะว่า อนิโณ ดังนี้ก็มี.
              บทว่า ภุญฺชามิ โภชนํ (เราจะฉันโภชนะ) ท่านกล่าวหมายเอาสามิบริโภค.

ความคิดเห็นที่ 6-4
GravityOfLove, 26 กันยายน เวลา 14:42 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:45:57 น.
Counter : 638 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog