23.10 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.9 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-115
ฐานาฐานะ, 12 ตุลาคม 2556 เวลา 13:12 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามในโฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9915&Z=10193
...
6:31 AM 10/12/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามตกหล่นค่ะ กรุณาอธิบายค่ะ
             ก็แล ครั้นให้สร้างแล้ว กระทำกาละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์.
             ได้ยินว่า ศิลปะที่ควรรู้ของเขานั้น ฆ่าทั้งมารดา ฆ่าทั้งบิดาแล้ว
ในบทว่า ตนพึงถูกศิลปะที่ควรรู้ฆ่า.
             ขึ้นชื่อว่าบุคคลรู้ศิลปะอย่างหนึ่ง สอนคนอื่นให้รู้ศิลปะนั้นแล้ว ไปเกิดในสวรรค์ไม่มี.
             ขอบพระคุณค่ะ
6:31 AM 10/12/2013

             อธิบายว่า ในข้อนี้ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ขยายความในส่วนไหน
             อาจเป็นทิฏฐิแต่ก่อนของเขาในเรื่องศิลปะว่า ศิลปะที่ควรรู้ของเขานั้น คือ ...
             แต่เขาไม่ได้ฆ่ามารดาบิดา และไม่ได้สอนแนะนำผู้อื่น.

ความคิดเห็นที่ 6-116
GravityOfLove, 12 ตุลาคม 2556 เวลา 13:35 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-117
ฐานาฐานะ, 14 ตุลาคม 2556 เวลา 18:19 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า โฆฏมุขสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9915&Z=10193

              พระสูตรหลักถัดไป คือจังกีสูตร [พระสูตรที่ 45].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              จังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646

              เอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10535&Z=10724
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=661

              ธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=672

              วาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11070&Z=11248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=704

              สุภสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709

              สคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=734

ความคิดเห็นที่ 6-118
GravityOfLove, 14 ตุลาคม 2556 เวลา 20:29 น.

             คำถามจังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เว. ท่านจังกีอย่าไปเฝ้าพระสมณโคดมเลย << ย่อมาจากอะไรคะ
             ๒. ข้อ [๖๕๕] ถึงข้อ [๖๕๘] ไม่เข้าใจเลยค่ะ
             ๓. คำว่า ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า
             ทำให้แจ้งพระนิพพานด้วยนามกายอันเป็นสหชาต และชำแหละกิเลส
ด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละอย่างปรากฏชัดแจ้ง.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-119
ฐานาฐานะ, 15 ตุลาคม 2556 เวลา 18:13 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
              คำถามจังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. เว. ท่านจังกีอย่าไปเฝ้าพระสมณโคดมเลย << ย่อมาจากอะไรคะ
              ๒. ข้อ [๖๕๕] ถึงข้อ [๖๕๘] ไม่เข้าใจเลยค่ะ
              ๓. คำว่า ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า
              ทำให้แจ้งพระนิพพานด้วยนามกายอันเป็นสหชาต และชำแหละกิเลส
ด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละอย่างปรากฏชัดแจ้ง.
              ขอบพระคุณค่ะ
8:29 PM 10/14/2013
              ๑. เว. ท่านจังกีอย่าไปเฝ้าพระสมณโคดมเลย << ย่อมาจากอะไรคะ
              สันนิษฐานว่า
              พราหมณ์ต่างเมือง = นานาเวรชฺชกานํ  พฺราหฺมณานํ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=649&Roman=0

              ๒. ข้อ [๖๕๕] ถึงข้อ [๖๕๘] ไม่เข้าใจเลยค่ะ
อธิบายว่า ข้อ 655 มีอนุสนธิจากข้อ 654 กล่าวคือ
              เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบคำถามในเรื่องความตกลงใจเชื่อ หรือความเชื่อแล้ว
              กาปทิกมาณพได้ทูลดังในพระไตรปิฎกว่า
              กา. ท่านพระโคดม ในข้อนี้ พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนกันมา
มิใช่ด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่ย่อมเล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา.
              การที่กาปทิกมาณพทูลอย่างนี้ เป็นเหมือนเปลี่ยนคำถาม หรือเปลี่ยนประเด็น.
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              ดูกรภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้ไปสู่ความเชื่อ เดี๋ยวนี้ท่านกล่าวการฟังตามกัน.
              จากนั้นตรัสว่า
              ดูกรภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบากเป็นสองส่วน ในปัจจุบัน ๕ ประการ
เป็นไฉน? คือ ศรัทธา ความเชื่อ ๑ รุจิ ความชอบใจ ๑ อนุสสวะ การฟังตามกัน ๑ อาการ
ปริวิตักกะ ความตรึกตามอาการ ๑ ทิฏฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ ๑
ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน
นัยก็คือ สิ่งที่เชื่อ ที่ชอบใจ ที่ฟังตามกัน ที่ตรึกโดยอาการ หรือเพ่งด้วยทิฏฐิ
สิ่งเหล่านั้นก็อาจจะเป็นจริง หรืออาจไม่จริง
              ดังนั้น ผู้ที่ตามรักษาสัจจะ ไม่ควรไปปักใจว่า ที่เราเชื่อ ฯลฯ เท่านั้นจริง
แล้วปฏิเสธอย่างอื่นจากที่เราเชื่อเหล่านั้น เป็นเท็จทั้งหมด.
              ท้ายข้อ 655 กาปทิกมาณพทูลถามถึงข้อปฏิบัติของการตามรักษาสัจจะ.
              พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
              ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้ ดังนี้
ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง
สิ่งอื่นเปล่า
              นัยก็คือ เมื่อเชื่ออย่างนี้ ก็กล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
กล่าวคือ กล่าวไปตามจริงว่า เชื่ออย่างนี้ และไม่ปักใจดิ่งไปว่า สิ่งที่เราเชื่อนี้จริง
สิ่งอื่นเท็จ. โดยอาการอย่างนี้ทั้ง 5 ประการ.
              ท้ายข้อ 656 กาปทิกมาณพทูลถามถึงข้อปฏิบัติของการตรัสรู้สัจจะ.
              ข้อ 657 พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาการของข้อปฏิบัติของการตรัสรู้สัจจะ.
              โดยนัยก็คือ คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี ตรวจสอบภิกษุหรือสมณะ
ถึงธรรม 3 ประการ คือ
              ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑
              ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
              ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑
              โดยเริ่มจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ถ้าไม่มีก็ตรวจสอบยิ่งๆ ขึ้นไป.
              เมื่อใคร่ครวญตรวจสอบแล้ว เห็นว่า ไม่มีธรรมป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
... ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ก็ตั้งศรัทธาในภิกษุหรือสมณะนั้น ...
เข้าไปใกล้ นั่งใกล้ เงี่ยโสตลง ฟังธรรม ทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความ ...
              โดยนัยของข้อ 657 นี้จะเป็นการตรวจสอบภิกษุ สมณะ ผู้สอน ศาสดา
ว่า บุคคลนั้นมีธรรมในส่วนของอกุศลมีโลภะเป็นต้นหรือไม่?
              เมื่อเห็นว่า ไม่มีส่วนของอกุศล ก็ตั้งศรัทธา เข้าไปฟังธรรม พิจารณาเนื้อความ
นี้เป็นของปฏิบัติของการตรัสรู้สัจจะ.
              แต่ว่า นี้ยังไม่ใช่การบรรลุสัจจะ (พระนิพพาน)
              ท้ายข้อ 657 กาปทิกมาณพทูลถามถึงข้อปฏิบัติของการบรรลุสัจจะ.
              ข้อ 658 พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
              การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ
              นัยก็คือ ทำให้เจริญ ทำให้มาก.
              ท้ายข้อ 658 กาปทิกมาณพทูลถามถึงสิ่งที่เป็นอุปการะต่อการบรรลุสัจจะ.
              ข้อ 659 พระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบ และกาปทิกมาณพก็ทูลถามให้ยิ่งๆ ขึ้นไป.
              พอเข้าใจหรือยังหนอ?
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๓. คำว่า ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า
              ทำให้แจ้งพระนิพพานด้วยนามกายอันเป็นสหชาต และชำแหละกิเลส
ด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละอย่างปรากฏชัดแจ้ง.
              ขอบพระคุณค่ะ
8:29 PM 10/14/2013

อธิบายว่า ทำให้แจ้งพระนิพพานด้วยนามธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
หรือที่เรียกว่าเจตสิก. น่าจะเป็นการทำให้แจ้งพระนิพพานอย่างชัดเจน.

              คำว่า นามกาย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นามกาย

ความคิดเห็นที่ 6-120
GravityOfLove, 15 ตุลาคม 2556 เวลา 22:05 น.

ทิฏฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ หมายความว่าอย่างไรคะ
นามกายอันเป็นสหชาต คือ เจตสิก ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-121
ฐานาฐานะ, 15 ตุลาคม 2556 เวลา 22:18 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
              ทิฏฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ หมายความว่าอย่างไรคะ
              ตอบว่า น่าจะหมายถึง เมื่อพิสูจน์ด้วยความเห็นหรือทัสสนะเมื่อใด
ก็เป็นอันทำให้น้อมไปว่า จะเป็นอย่างนั้น กล่าวคือทนทานต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ.
              เช่น พวกที่มาจากอสัญญีภพ เมื่อระลึกชาติทีไร ก็ไม่สามารถข้าม 500 กัปไปได้
สิ่งที่เห็นก็น้อมเขาไปว่า สัตว์เกิดขึ้นลอยๆ นี้น่าจะพอเป็นตัวอย่างได้.

              นามกายอันเป็นสหชาต คือ เจตสิก ใช่ไหมคะ
10:05 PM 10/15/2013
              ใช่ครับ คือเจตสิก.

ความคิดเห็นที่ 6-122
GravityOfLove, 15 ตุลาคม 2556 เวลา 22:42 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-123
GravityOfLove, 15 ตุลาคม 2556 เวลา 22:48 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๕. จังกีสูตร เรื่องจังกีพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10194&Z=10534&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงพราหมณคามของชนชาวโกศลชื่อว่า โอปาสาทะ
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทางทิศ
เหนือของโอปาสาทพราหมณคาม
             สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อว่า จังกี ปกครองโอปาสาทพราหมณคาม อันอุดมสมบูรณ์
เป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์
             พราหมณ์และคฤหบดี ชาวโอปาสาทพราหมณคามได้สดับข่าวนี้ และได้สดับ
ถึงกิติศัพท์อันงดงามของพระองค์ (พระพุทธคุณ ๙) และเชื่อว่าการได้เห็นพระอรหันต์
ย่อมเป็นความดี
             จึงพากันออกจากเดินทางเป็นหมู่ๆ มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อจะไปเฝ้า
             ขณะนั้น จังกีพราหมณ์นอนพักผ่อนกลางวันอยู่ในปราสาทชั้นบน เห็นเหตุการณ์
ดังกล่าว จึงเรียกนักการ (มหาอำมาตย์) มาถาม ครั้นทราบความแล้ว จึงให้นักการไปบอก
คนเหล่านั้นว่า ขอให้รอก่อน ตนจะไปด้วย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             สมัยนั้น พราหมณ์ต่างเมืองประมาณ ๕๐๐ พักอยู่ในโอปาสาทพราหมณคาม
ด้วยกิจบางอย่าง ครั้นพราหมณ์เหล่านั้นได้ยินว่า จังกีพราหมณ์จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
จึงพากันไปห้ามไม่ให้ไป และกล่าวว่า พระองค์ต่างหากสมควรจะเสด็จมาหา
             โดยให้เหตุผลว่า จังกีพราหมณ์เหนือกว่าพระองค์ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้คือ
             ๑. เป็นอุภโตสุชาติ (ชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา) ชาติกำเนิด
บริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
             ๒. เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
             ๓. เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ ฯลฯ
             ๔. เป็นผู้มีรูปงาม มีวรรณคล้ายพรหม มีสรีระคล้ายพรหม
             ๕. เป็นผู้มีศีล (ศีล ๕)
             ๖. เป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีเสียงไพเราะ
             ๗. เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนเป็นอันมาก สอนมนต์ให้มาณพ ๓๐๐ คน
             ๘. เป็นผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ
             ๙. เป็นผู้ที่พราหมณ์โปกขรสาติ สักการะ เคารพ
             ๑๐. เป็นผู้ปกครองโอปาสาทพราหมณคามอันอุดมสมบูรณ์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระราชทานให้เป็นรางวัล
             เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวว่า
             ตนนี่แหละ สมควรจะไปเฝ้าพระองค์ทุกประการ พระองค์ไม่ควรเสด็จมาหาตน
โดยให้เหตุผลว่า
             ๑. ทรงเป็นอุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายพระมารดาพระบิดามีพระชาติกำเนิดบริสุทธิ์
ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
             ๒. ทรงสละเงินและทองมากมายทั้งที่อยู่ในพื้นดิน (รัตนะ ๗ และขุมทรัพย์ที่
ผุดขึ้น ๔ หลุม) ทั้งที่อยู่ในอากาศ (ทรัพย์ที่เก็บไว้บนปราสาท) เสด็จออกผนวช
             ๓. พระองค์ยังหนุ่มแน่นก็เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต
             ๔. พระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ทรงผนวช ก็เสด็จออกทรงผนวช
             ๕. มีพระรูปงาม มีพระวรรณะคล้ายพรหม มีพระสรีระคล้ายพรหม
             ๖. ทรงมีศีล มีศีลเป็นอริยะ มีศีลเป็นกุศล ทรงประกอบด้วยศีลเป็นกุศล
(ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔)
             ๗. มีพระวาจาไพเราะ มีพระสำเนียงไพเราะ
             ๘. ทรงเป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก
(ทรงเป็นอาจารย์ของหมู่สัตว์และทรงเป็นปาจารย์ของพระสาวกผู้ที่ทรงแนะนำได้)
             ๙. ทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว (แท้จริงแล้ว ทรงละกิเลสทั้งปวงแล้ว)
             ๑๐. ทรงเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์
             ๑๑. เสด็จออกทรงผนวชจากสกุลสูงคือ จากสกุลกษัตริย์อันไม่เจือปน
             ๑๒. เสด็จออกทรงผนวช จากสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
             ๑๓. คนต่างรัฐต่างชนบท พากันมาทูลถามปัญหากับพระองค์
             ๑๔. เทวดาหลายพันพากันมอบกายถวายชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ
             ๑๕. กิติศัพท์อันงามของพระองค์ในพระพุทธคุณ ๙
             ๑๖. ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
             ๑๗. พระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธ พร้อมทั้งพระโอรสและพระมเหสี
ทรงมอบกายถวายพระชนม์ถึงพระผู้มีพระภาคเป็นสรณะ
             ๑๘. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบกายถวายพระชนม์ถึงพระผู้มีพระภาคเป็นสรณะ
             ๑๙. พราหมณ์โปกขรสาติพร้อมด้วยบุตรและภรรยา มอบกายถวายชีวิตถึง
พระผู้มีพระภาคเป็นสรณะ
             ๒๐. พระองค์เสด็จมาสู่เขตบ้านของเราทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นแขกของเราทั้งหลาย
และเป็นแขกที่เราทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล_4

             จังกีพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า
             ข้าพเจ้าทราบพระคุณของพระโคดมพระองค์นั้นเพียงเท่านี้ แต่พระองค์มีพระคุณ
เพียงเท่านี้หามิได้ ความจริง พระองค์มีพระคุณหาประมาณมิได้
             ถึงแม้พระองค์ทรงประกอบด้วยองค์คุณแต่ละอย่างๆ (องค์คุณบางอย่าง) ก็ไม่
สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูก เราทั้งหลายนี้แหละ สมควรไปเฝ้าพระองค์
             พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงตกลงจะเดินทางไปเฝ้าด้วย
             ครั้งนั้น จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสปราศรัยถึงเรื่องบางเรื่องพอให้ระลึกถึงกันกับพราหมณ์
ทั้งหลายผู้แก่เฒ่า
             ขณะนั้น มาณพชื่อว่ากาปทิกะ ยังเป็นเด็กอายุ ๑๖ ปี เป็นผู้รู้จบไตรเพท ฯลฯ
ซึ่งนั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ได้พูดสอดขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ผู้แก่เฒ่ากำลังเจรจาอยู่กับ
พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า
             เมื่อพราหมณ์ผู้แก่เฒ่ากำลังเจรจาอยู่ ท่านภารทวาชะอย่าพูดสอดขึ้นมาซิ
ท่านภารทวาชะจงรอให้จบเสียก่อน
             จังกีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             อย่าทรงห้ามกาปทิกมาณพเลย กาปทิกมาณพเป็นบุตรของผู้มีสกุล เป็นพหูสูต
เป็นบัณฑิต เจรจาถ้อยคำไพเราะ และสามารถจะเจรจาโต้ตอบในคำนั้นกับท่านพระโคดมได้
             พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า
             กาปทิกมาณพ จักสำเร็จการศึกษาในปาพจน์ คือไตรวิชาเป็นแน่แท้ พราหมณ์
ทั้งหลาย จึงยกย่องเขาถึงอย่างนั้น
             กาปทิกมาณพคิดว่า
             ถ้าพระสมณโคดมทอดพระเนตรสบตาเรา เราจักทูลถามปัญหากับพระองค์
             พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของกาปทิกมาณพด้วย
พระหฤทัยแล้ว ทรงทอดพระเนตรไปทางกาปทิกมาณพ
             กาปทิกมาณพจึงทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

๑. กาปทิกมาณพทูลถามบทมนต์ (พระเวท)
             ในบทมนต์อันเป็นของเก่าของพราหมณ์ทั้งหลาย โดยนำสืบต่อกันมา
ตามคัมภีร์ พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมถึงความตกลงโดยส่วนเดียวว่า
             สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร?
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย มีสักคนไหมที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้
             ทูลตอบว่า ไม่มีเลย
             ตรัสถามว่า
             อาจารย์ท่านหนึ่ง หรือปาจารย์ท่านหนึ่ง จนตลอด ๗ ชั่วอาจารย์
ของพราหมณ์ทั้งหลาย มีสักคนไหมที่กล่าวอย่างนั้น
             ทูลตอบว่า ไม่มีเลย
             ตรัสถามว่า
             ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฯลฯ
ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม ตามที่ท่านได้บอก
ไว้นั้น แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวอย่างนั้นหรือไม่
             ทูลตอบว่า ไม่มีเลย
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
             ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้คนหนึ่ง
จะเป็นใครก็ตาม ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง
สิ่งอื่นเปล่า
             เปรียบเหมือนแถวคนตาบอด ซึ่งเกาะกันต่อๆ ไป แม้คนต้นก็ไม่เห็น
แม้คนกลางก็ไม่เห็น แม้คนหลังก็ไม่เห็นฉันใด
             ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลายเห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด ฉะนั้น
             เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมหามูลมิได้มิใช่หรือ?
             ทูลว่า
             ในข้อนี้ พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนกันมา มิใช่ด้วยความเชื่อ
อย่างเดียว แต่ย่อมเล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา (กาปทิกมาณพทูลเปลี่ยนประเด็น)
             ตรัสว่า
             ครั้งแรกท่านได้ไปสู่ความเชื่อ เดี๋ยวนี้ท่านกล่าวการฟังตามกัน

ธรรม ๕ ประการ มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน
(คือ มีวิบากที่เป็นจริง หรือมีวิบากที่ไม่เป็นจริง) คือ
             ๑. ศรัทธา ความเชื่อ
             ถึงแม้สิ่งที่เชื่อกันด้วยดี แต่สิ่งนั้นเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี
             ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อด้วยดี แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
             ๒. รุจิ ความชอบใจ
             สิ่งที่ชอบใจดี ...
             ๓. อนุสสวะ การฟังตามกัน
             สิ่งที่ฟังตามกันมาด้วยดี ...
             ๔. อาการปริวิตักกะ ความตรึกตามอาการ
             สิ่งที่ตรึกไว้ด้วยดี ...
             ๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้)
             สิ่งที่เพ่งแล้วด้วยดี เป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี
             ถึงแม้สิ่งที่ไม่ได้เพ่งด้วยดี แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
             บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้น
โดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า

๒. พยากรณ์การรักษาสัจจะ
             ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงจะชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ
             บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             ๑. ถ้าบุรุษมีศรัทธากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้ ดังนี้
ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ
             และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
             แต่ยังไม่ชื่อว่า ถึงความตกลงโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
             ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน
             ๒. ถ้าบุรุษมีความชอบใจ ...
             ๓. ถ้าบุรุษมีการฟังตามกัน ...
             ๔. ถ้าบุรุษมีความตรึกตามอาการ ...
             ๕. ถ้าบุรุษมีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนกล่าวว่า
             เรามีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ
             และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
             แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
             ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 6-124
[ต่อ]

๓. พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ (การตรัสรู้มรรค)
             การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
             บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เข้าไปหาภิกษุนั้น (ตรัสหมายถึงพระองค์เอง)
แล้วย่อมใคร่ครวญดูในธรรม ๓ ประการ คือ
             ๑. ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
             ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
ครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
เช่นนั้น หรือไม่
             เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ไม่เลย
             ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภ
             ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้น อันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย
             เมื่อเขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งความโลภ เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นต่อไปคือ
             ๒. ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ...
             ๓. ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ...
             เมื่อเขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขาเกิดศรัทธา
              ย่อมเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง ย่อมฟังธรรม ย่อมทรงจำธรรม
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
             เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง ย่อมเกิดฉันทะ
ย่อมขะมักเขม้น ย่อมเทียบเคียง ย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่
             ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะ
นั้นด้วยปัญญา
             การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
             และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
             แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว

๔. พยากรณ์การบรรลุสัจจะ (การทำให้แจ้งผล)
             การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
             บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ
             และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

๕. พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก
             ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า
             ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ
             ถ้าไม่พึงตั้งความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียร
จึงบรรลุสัจจะได้
             ทูลถามว่า ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า ปัญญาเครื่องพิจารณา
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า ความอุตสาหะ
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า ฉันทะ
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า การทรงจำธรรมไว้
             ทูลถามว่า ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า การฟังธรรม
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า การเงี่ยโสตลง
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า การเข้าไปนั่งใกล้
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า การเข้าไปหา
             ทูลถามว่า ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา
             ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา
             ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา

กาปทิกมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
             กาปทิกมาณพทูลว่า
             ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์
ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า
และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น
             เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า
             พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร (วรรณศูทร) เกิดจากพระบาท
ท้าวมหาพรหม จะรู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน
             พระโคดมได้ทรงทำความรัก ความเลื่อม ความเคารพสมณะในหมู่สมณะ
ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้ว
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
             ขอเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

[แก้ไขตาม #6-125]

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 12:51:17 น.
Counter : 469 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog