23.9 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.8 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-103
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 08:39 น.

             ตอบคำถามในอัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9673&Z=9914

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องวรรณความบริสุทธิ์ของ ๔ จนอัสสลายนมาณพ
โต้ตอบไม่ได้
             ๒. พราหมณ์มีความรู้ว่า การตั้งครรภ์เกิดจากปัจจัย ๓ ประการคือ
มารดาและบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดามีระดู ๑ สัตว์ผู้จะเกิดในครรภ์ปรากฏ ๑
             ๓. อัสสลายนพราหมณ์นี้เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ได้สร้างเจดีย์
ไว้ในนิเวศน์ของตน ผู้ที่เกิดในวงศ์ของอัสสลายนพราหมณ์ สร้างนิเวศน์แล้ว
ก็สร้างเจดีย์ไว้ในภายในนิเวศน์จนตราบเท่าถึงวันนี้

ความคิดเห็นที่ 6-104
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 10:13 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในอัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9673&Z=9914
...
8:39 AM 10/11/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             1. ขอให้แสดงข้อดีและข้อเสียของอัสสลายนมาณพ
             2. คำว่า พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
              พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว
              พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ
              พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์ คนที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์
              พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสพรหม เกิดแต่ปากของพรหม
              เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหม
             คำนี้น่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร?

ความคิดเห็นที่ 6-105
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 12:33 น.

             ตอบคำถามชุดที่ ๒
             1. ขอให้แสดงข้อดีและข้อเสียของอัสสลายนมาณพ
ข้อเสีย
             ๑. แม้จะรู้ตัวว่า ตนคงไม่สามารถเจรจาโต้ตอบกับพระองค์ได้ แต่พอมีคนมา
พูดกระตุ้นหน่อยเดียว ว่าอย่ากลัวแพ้ซึ่งยังไม่ทันรบเลย ก็รับปากจะทำ
ข้อดี
             ๑. มีความรอบรู้ทางพราหมณ์ได้มากทั้งๆ ที่อายุยังน้อย
             ๒. เมื่อได้สนทนากับพระผู้มีพระภาค ตนไม่สามารถโต้ตอบได้ ก็ยอมรับ
และเลื่อมใสในพระองค์มาก ขอถึงไตรสรณะตลอดชีวิต และได้สร้างเจดีย์ไว้ในนิเวศน์
ของตน เพื่อแสดงความเลื่อมใสนั้น
---------------------------------
             2. คำว่า พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
              พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว
              ... คำนี้น่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร?
             ตอบว่า เพื่อให้คนเลื่อมใสในวรรณตนว่าสูงส่ง เพื่อประโยชน์ในการปกครอง

ความคิดเห็นที่ 6-106
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 17:01 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามชุดที่ ๒
...
12:33 PM 10/11/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ขอเสริมข้อ 2. ดังนี้ว่า
             อีกสาเหตุหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือ
             ความตระหนี่ หวงความประเสริฐ หรือคำสรรเสริญว่าประเสริฐ
ไว้ให้มีเฉพาะวรรณะของตนเอง.

ความคิดเห็นที่ 6-107
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 17:02 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อัสสลายนสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9673&Z=9914

              พระสูตรหลักถัดไป คือโฆฏมุขสูตร [พระสูตรที่ 43].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              โฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9915&Z=10193
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=630

              จังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646

ความคิดเห็นที่ 6-108
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 18:37 น.

             คำถามโฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9915&Z=10193

             กรุณาอธิบายค่ะ
ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
             ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-109
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 19:26 น.

GravityOfLove, 33 นาทีที่แล้ว
             คำถามโฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9915&Z=10193

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
             ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

             ขอบพระคุณค่ะ
6:37 PM 10/11/2013

อธิบายว่า ประโยคว่า
             ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

             เป็นประโยคที่พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะ กล่าวแก่ท่านพระอุเทน
             โดยนัยว่า
             ดูกรท่านพระอุเทนผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี
             ข้าพเจ้า (พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะ) มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้
             เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่าน (ท่านพระอุเทนผู้เจริญ) ไม่เห็นข้อนั้น
หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.
             กล่าวคือ ไม่เห็นอย่างที่เรา (พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะ) เห็น
ไม่รู้อย่างที่เรารู้ หรือรู้เห็นในเรื่องนี้น้อยกว่าเรา (พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะ)

             จากนั้น ท่านพระอุเทนผู้เจริญก็ซักไซ้ไล่เลียง
             สุดท้ายพราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะ ก็ยอมจำนน
             ท่านพระอุเทนผู้เจริญ จึงกล่าวว่า
             ดูกรพราหมณ์ ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
             ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

             เป็นการทวนคำของเขา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า
             ดูกรพราหมณ์ ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราได้ยินท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ...
             ให้นัยว่า เมื่อเราซักไซ้ไล่เลียงแล้ว เป็นอันท่านจะถอนคำกล่าวหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 6-110
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 21:57 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-111
GravityOfLove, 11 ตุลาคม เวลา 22:40 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔. โฆฏมุขสูตร โฆฏมุขพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9915&Z=10193&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน ใกล้เมืองพาราณสี
             สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะได้ไปถึงเมืองพาราณสีด้วยกิจบางอย่าง
             โฆฏมุขพราหมณ์เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อน ได้เข้าไปยังเขมิยอัมพวัน
แล้วเห็นท่านพระอุเทนกำลังเดินจงกรมอยู่ จึงเข้าไปหาท่านพระอุเทน แล้วกล่าวว่า
             การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้
(บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม)
             ท่านพระอุเทนลงจากที่จงกรม เข้าไปยังวิหาร แล้วนั่งบนอาสนะที่จัดไว้
             โฆฏมุขพราหมณ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง แล้วนั่ง ครั้นแล้วกล่าว
อย่างเดิมอีกครั้ง
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า
             ถ้าท่านยอมคำที่ควรยอม และคัดค้านคำที่ควรคัดค้านของเรา
             ถ้าท่านไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตใด ก็ซักถามเราในภาษิตนั้นให้ยิ่งไปว่า
ภาษิตนี้อย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน
             ถ้าทำได้อย่างนี้ เราทั้งสองพึงมีการเจรจาปราศรัยในเรื่องนี้กันได้
             โฆฏมุขพราหมณ์รับคำ

บุคคล ๔ จำพวก
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกนี้ คือ
             ๑. บุคคลบางคนเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
             ๒. บุคคลบางคนเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
             ๓. บุคคลบางคนเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ทั้งเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
             ๔. บุคคลบางคนไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่เป็นผู้ทำอื่นให้เดือดร้อน
             บุคคลในข้อ ๔ นี้ เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข
มีตนเป็นดังพรหมอยู่ ในปัจจุบัน
             ท่านพระอุเทนถามว่า
             บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลไหนย่อมยังจิตของท่านให้ยินดี
             โฆฏมุขพราหมณ์ตอบว่า
             บุคคลในข้อ ๑ - ๓ ย่อมไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี
             บุคคลในข้อ ๔ ย่อมยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี
             ท่านพระอุเทนถามต่อว่า เพราะเหตุไร บุคคล ๓ จำพวกนี้ จึงไม่ยังจิตให้ยินดี?
             โฆฏมุขพราหมณ์ตอบว่า
             บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน เขาย่อมทำตนผู้รักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน
ให้เร่าร้อน
             แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน  เขาก็ย่อมทำผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์
ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน
             ถึงบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ทำตน และ
ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน
             เพราะเหตุนี้ บุคคล ๓ จำพวกนี้ จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี
             ส่วนบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นผู้ไม่มีความหิว ฯลฯ
             เขาย่อมไม่ทำตน และผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน
เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี

บริษัท ๒ จำพวก
             ท่านพระอุเทนกล่าวต่อไปว่า บริษัท ๒ จำพวกคือ
             ๑. บริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล
ย่อมแสวงหาบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน
             ๒. บริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล
ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวช
เป็นบรรพชิต
             ท่านพระอุเทนถามว่า
             บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่มีความหิว
ฯลฯ ท่านเห็นบุคคลนี้ในบริษัทไหนมาก?
             โฆฏมุขพราหมณ์ตอบว่า ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้ มีมากในบริษัทจำพวกที่ ๒
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า
             ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ดูกร
สมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้
             (มาถึงตรงนี้แล้ว ท่านคิดจะถอนคำกล่าวหรือไม่)
             โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า
             วาจาที่ท่านกล่าวนั้น เป็นวาจาที่มีเหตุผล การบวชอันชอบธรรมมีจริง
             แล้วโฆฏมุขพราหมณ์ก็ขอให้ท่านพระอุเทนจำแนกบุคคล ๔ จำพวกนี้
โดยพิสดารให้ฟัง

ติตถิยวัตร
             ท่านพระอุเทนจึงจำแนกบุคคล ๔ จำพวกโดยพิสดารดังนี้
             ๑. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน คือ
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ไร้มารยาท ฯลฯ เป็นผู้ทำให้
ร่างกายเดือดร้อน ด้วยวิธีการต่างๆ
             ๒. บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน คือ
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ขายเลี้ยงชีพ เป็นโจร เป็นคน
รับจ้างฆ่าโจร เป็นใหญ่ในเรือนจำ หรือเป็นผู้มีการงานอันหยาบช้า
             ๓. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือดร้อน คือ
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
หรือเป็นพราหมณ์มหาศาล สั่งให้สร้างสันถาคารใหม่ แล้วปลงผมและหนวด
นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ เอาน้ำมันเจือเนยใสทากาย เกาหลังด้วยเขาสัตว์ เข้าไปยัง
สันถาคารพร้อมด้วยมเหสี และพราหมณ์ปุโรหิต นอนบนพื้นดินอันไม่มีเครื่องลาด
ฯลฯ สั่งว่า
             จงฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ จงตัดต้นไม้เพื่อทำโรงบูชายัญ จงถอนหญ้าเพื่อ
ลาดพื้น ทาส คนใช้ กรรมกรถูกอาชญาคุกคาม ร้องไห้น้ำตานองหน้า ทำการงาน
ตามกำหนดสั่ง
             ๔. บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นผู้ไม่มีความหิว ฯลฯ คือ
             พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ (พระพุทธคุณ ๙) ฯลฯ
             กุลบุตรได้ฟังธรรมนั้น แล้วย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต เห็นตระหนักชัดว่า
ฆราวาสคับแคบ บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย
             คือเป็นผู้ละการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ ตีชิง
การปล้น และกรรโชก
             (สิกขา หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
แต่ในที่นี้หมายถึง อธิสีลสิกขา
             สาชีพ หมายถึง แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้ชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน
ได้แก่ สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่างๆ กัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สาชีพ

             เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ด้วยบิณฑบาต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ

             ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอริยะ
             เป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์สังวร&detail=on

             เป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมมีอุปการะมาก_2

             ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะ
             ด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นของพระอริยะ
             และด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นของพระอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพเสนาสนะ
อันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ฯลฯ
             กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า
             ละความโลภ คืออภิชฌา ละความประทุษร้าย คือพยาบาท มีความกรุณา
ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

             ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญา
ให้ทุรพลเหล่านี้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต
ไปเพื่อบรรลุวิชชา ๓
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

การสร้างศาลาสงฆ์
             เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์สรรเสริญว่า
             ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ ฯลฯ ข้าพเจ้าขอถึงท่านอุเทนกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านอุเทนทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า
             ท่านอย่าได้ถึงอาตมาเป็นสรณะเลย เชิญท่านถึงพระผู้มีพระภาคที่อาตมาถึง
เป็นสรณะเป็นสรณะเถิด
             โฆฏมุขพราหมณ์ถามว่า เดี๋ยวนี้ พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ไหน
             ท่านพระอุเทนตอบว่า เดี๋ยวนี้ พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว
             โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า
             ถ้าข้าพเจ้าทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่ไหน ไม่ว่าไกลขนาดไหน
ก็จะไปเฝ้าพระองค์
             แต่พระองค์เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น
แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ
             ขอท่านอุเทนทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป
             โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า
             เบี้ยเลี้ยงประจำ วันละ ๕๐๐ กหาปณะ ที่พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทาน
แก่ข้าพเจ้าทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า การรับทองและเงิน ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย
             โฆฏมุขพราหมณ์จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวายท่าน
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า ขอให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด
             โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า
             ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำ
ส่วนนี้ด้วย ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นด้วย
             โรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่า โฆฏมุขี

[แก้ไขตาม #6-112]

ความคิดเห็นที่ 6-112
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 23:46 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔. โฆฏมุขสูตร โฆฏมุขพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9915&Z=10193&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:39 PM 10/11/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ (พระพืทธคุณ ๙) ฯลฯ
แก้ไขเป็น
             พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ (พระพุทธคุณ ๙) ฯลฯ

             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า ขอให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร
ควรเพิ่มเติมเป็น
             ท่านพระอุเทนกล่าวว่า ขอให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด

ความคิดเห็นที่ 6-113
ฐานาฐานะ, 11 ตุลาคม เวลา 23:47 น.

             คำถามในโฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9915&Z=10193

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-114
GravityOfLove, 12 ตุลาคม 2556 เวลา 06:32 น.

             คำถามในโฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9915&Z=10193

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ท่านพระอุเทนกล่าวเหตุผล โฆฏมุขพราหมณ์จึงได้ยอมรับว่า
การบวชอันชอบธรรมมีจริง
             ๒. บุคคล ๔ จำพวก, บริษัท ๒ จำพวก
             ๓. โฆฏมุขพราหมณ์เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจบ ได้ขอถึงไตรสรณะ
และได้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร
             เมื่อตายไปเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ครั้นรู้ความจริงแล้วจึงแปลงเพศ
เป็นมนุษย์มาบอกน้องสาวให้นําเงินที่ตนฝังไว้มาสร้างโรงฉัน

             คำถามตกหล่นค่ะ กรุณาอธิบายค่ะ
             ก็แล ครั้นให้สร้างแล้ว กระทำกาละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์.
             ได้ยินว่า ศิลปะที่ควรรู้ของเขานั้น ฆ่าทั้งมารดา ฆ่าทั้งบิดาแล้ว
ในบทว่า ตนพึงถูกศิลปะที่ควรรู้ฆ่า.
             ขึ้นชื่อว่าบุคคลรู้ศิลปะอย่างหนึ่ง สอนคนอื่นให้รู้ศิลปะนั้นแล้ว ไปเกิดในสวรรค์ไม่มี.
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 12:11:15 น.
Counter : 365 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog