21.1 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
20.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 5-95
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 20:55 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ภัททาลิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961

              พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              ลฑุกิโกปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3253&Z=3507
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=175

              จาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3508&Z=3666
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=186

              นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=195

              โคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=203

              กีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

ความคิดเห็นที่ 8-1
GravityOfLove, 9 สิงหาคม 2556 เวลา 20:34 น.

             คำถามลฑุกิโกปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3253&Z=3507
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. อุปมาด้วย (๑) นางนกมูลไถ (๒) ช้างต้น (๓) คนจน (๔) คนรวย
             ข้อ ๑ เหมือนข้อ ๓ คือ ไม่ละโทษ ไม่ยำเกรง เป็นเครื่องผูกมีกำลัง
             ข้อ ๒ เหมือนข้อ ๔ คือ ละโทษ ยำเกรง เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง
             ข้อ ๑ ต่างกับข้อ ๓ อย่างไรคะ
             ข้อ ๒ ต่างกับข้อ ๔ อย่างไรคะ
             ๒. ดูกรอุทายี บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ ความ
ดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่
เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยัง
ครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือน
บุรุษเอาหยาดน้ำสองหยาด หรือสามหยาด หยาดลงในกระทะเหล็กอันร้อนอยู่ตลอดวัน หยาด
น้ำตกลงช้าไป ความจริงหยาดน้ำถึงความสิ้นไปแห้งไปนั้นเร็วกว่า ฉันใด ดูกรอุทายี บุคคล
บางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ ความดำริแล่นไป อัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ เพราะความหลง
ลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน ถึงบุคคลนี้เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ มิใช่
ผู้อันกิเลสคลายแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้
เรารู้แล้ว.
             ๓. บทว่า มิคภูเตน เจตสา วิหรนฺติ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ คือเป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอยู่.
             จริงอยู่ มฤคได้รับการประหารแล้วไม่คิดว่า เราจักไปยังที่อยู่ของมนุษย์แล้วจักได้ยาหรือน้ำมันใส่แผล ครั้นได้รับการประหารแล้วจึงเข้าไปยังป่าที่มิใช่บ้าน ทำที่ถูกประหารไว้ เบื้องหลังแล้วนอน ครั้นสบายดีก็ลุกไป. มฤคทั้งหลายตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอย่างนี้.
             ๔.   บทว่า นิปาโต คือตกลงไปในกระทะเหล็ก. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านแสดง ๓ หมวด คือ ยังละไม่ได้ ๑ ละ ๑ ละได้เร็ว ๑.
             ใน ๓ หมวดนั้น ชน ๔ จำพวกชื่อว่าละไม่ได้. ๔ จำพวกชื่อว่าละ. ๔ จำพวกชื่อว่าละได้เร็ว. ในบุคคลเหล่านั้น ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ชื่อว่ายังไม่ละได้. ปุถุชนเป็นต้นยังละไม่ได้จงยกไว้. พระอนาคามียังละไม่ได้เป็นอย่างไร. เพราะพระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้ ในภพของเทวดาอยู่. ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้.
             ส่วนชน ๔ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าละได้. พระโสดาบันเป็นต้นละได้ จงยกไว้ก่อน. ปุถุชนละได้อย่างไร.
             เพราะปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาทำความสังเวชว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้นทันทีทันใด เพราะความหลงลืมแห่งสติ กิเลสเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเช่นเราดังนี้จึงประคองความเพียรเจริญวิปัสสนา ถอนกิเลสด้วยมรรค. ปุถุชนนั้นชื่อว่าละได้ด้วยประการฉะนี้.
             ชน ๔ จำพวกเหล่านั้น ชื่อว่าละได้โดยเร็ว. ท่านถือเอาตติยวาระในสูตรเหล่านี้ คือ ในสูตรนี้ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ในอินทริยภาวนาสูตรโดยแท้. แม้ปัญหาก็พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้แล้วในทุติยวารนั่นแหละ.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-2
ฐานาฐานะ, 13 สิงหาคม เวลา 05:09 น.

GravityOfLove, 9 สิงหาคม เวลา 20:34 น.
              คำถามลฑุกิโกปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3253&Z=3507
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. อุปมาด้วย (๑) นางนกมูลไถ (๒) ช้างต้น (๓) คนจน (๔) คนรวย
              ข้อ ๑ เหมือนข้อ ๓ คือ ไม่ละโทษ ไม่ยำเกรง เป็นเครื่องผูกมีกำลัง
              ข้อ ๒ เหมือนข้อ ๔ คือ ละโทษ ยำเกรง เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง
              ข้อ ๑ ต่างกับข้อ ๓ อย่างไรคะ
              ข้อ ๒ ต่างกับข้อ ๔ อย่างไรคะ
อธิบายว่า
              ข้อ ๑ ต่างกับข้อ ๓ และข้อ ๒ ต่างกับข้อ ๔
              ในส่วนของเครื่องผูกทางกายและใจ และประเภทของสัตว์
              กล่าวคือ ข้อ 1 และ 2 เป็นเครื่องผูกทางกาย ด้วยเชือกหรือเถาวัลย์
เห็นได้ชัดเจนว่า ดิ้นไปไหนจากเครื่องผูกได้หรือไม่ได้
              ทั้งประเภทของสัตว์ก็แสดงให้เห็นชัด กล่าวคือ นกและช้าง
อันเป็นประเภทของสัตว์ที่มีกำลังน้อยและมาก.
              ข้อ 3 และ 4 เป็นเครื่องผูกทางใจ กล่าวคือ คนยากจนหรือมั่งมี
สามารถเดินเหินไปไหนๆ ก็ได้ เช่นไปในบ้าน นอกบ้านก็ได้
กล่าวคือทางกายไม่ได้ถูกพันธการด้วยเครื่องผูกคือเชือกหรือเถาวัลย์
              แต่ยังถูกผูกด้วยเครื่องผูกทางใจ กล่าวคือความหวงแหน
ความติดข้อง ความกำหนัดในวัตถุกามทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต.
              อุปมานี้ แสดงให้เห็นว่า เครื่องผูกใดๆ จะเหนียวแน่นมั่นคงหรือ
บอบบางไม่มั่นคง ต่อบุคคลใดๆ ก็ควรพิจารณาว่า บุคคลนั้นๆ สามารถทำลาย
สละเครื่องผูกนั้นไปได้หรือไม่.
              การทำลายเครื่องผูกของอุปมามนุษย์ ก็ด้วยกำลังของบุคคลนั้นเอง
มีศรัทธาพล ปัญญาพลเป็นต้น.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5
----------------------------------------------------------------------------------

              ๒. ดูกรอุทายี บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ ความ
ดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่
เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยัง
ครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือน
บุรุษเอาหยาดน้ำสองหยาด หรือสามหยาด หยาดลงในกระทะเหล็กอันร้อนอยู่ตลอดวัน หยาด
น้ำตกลงช้าไป ความจริงหยาดน้ำถึงความสิ้นไปแห้งไปนั้นเร็วกว่า ฉันใด ดูกรอุทายี บุคคล
บางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ ความดำริแล่นไป อัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ เพราะความหลง
ลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน ถึงบุคคลนี้เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ มิใช่
ผู้อันกิเลสคลายแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้
เรารู้แล้ว.
อธิบายว่า น่าจะหมายถึง บุคคลบางคนโอกาสหลงลืมสติมีน้อย คือนานๆ ครั้ง
แต่เมื่อได้สติกลับคืนมาแล้ว ก็สามารถสลัดอกุศลธรรมเหล่านั้นได้รวดเร็ว.
              อุปมาให้เห็นชัด เป็นเรื่องราวบุคคลดังนี้ว่า
              บุคคลที่หนึ่งมั่นคงในศีล 5 อย่างมาก อีกบุคคลที่สองต้องการทำลายศีลของผู้นั้น
ก็ชักชวนไปในอโคจรบ้าง กล่าวคำสรรเสริญการทุศีลบ้าง ฯลฯ
              บุคคลที่สองพยายามอย่างนั้นอยู่นาน ก็อาจมีโอกาสที่บุคคลที่หนึ่งจะคล้องตามได้
แต่เมื่อสติบังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลที่หนึ่งก็สามารถสลัดคืนความทุศีล หรือความยินดีในการทุศีล
ได้รวดเร็จกว่าความพยายามของบุคคลที่สองเสียอีก.
              แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลที่หนึ่งนี้ ก็กล่าวได้ว่า ยังสามารถทุศีลได้
คืออุปมัยว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ มิใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว.
----------------------------------------------------------------------------------

              ๓. บทว่า มิคภูเตน เจตสา วิหรนฺติ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ คือเป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอยู่.
              จริงอยู่ มฤคได้รับการประหารแล้วไม่คิดว่า เราจักไปยังที่อยู่ของมนุษย์แล้วจักได้ยาหรือน้ำมันใส่แผล
ครั้นได้รับการประหารแล้วจึงเข้าไปยังป่าที่มิใช่บ้าน ทำที่ถูกประหารไว้ เบื้องหลังแล้วนอน ครั้นสบายดีก็ลุกไป.
มฤคทั้งหลายตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอย่างนี้.
อธิบายว่า
              มฤคหรือกวางเป็นต้น มีปกติไม่ปรารถนาจะอยู่ใกล้มนุษย์เลย เพราะกลัวต่อมรณภัย.
              กล่าวคือ ถ้ากวางนั้นถูกมนุษย์ตี กวางนั้นก็ปรารถนาจะพ้นจากมนุษย์ในทันที
กวางไม่ปรารถนาจะได้การรักษา ชดเชย เยียวยาจากมนุษย์นั้นเลย
แท้ที่จริงแล้ว ปรารถนาจะหนีไปให้พ้นจากถิ่นมนุษย์ ไปยังป่าแล้วอยู่สบาย.
              ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดผู้ใคร่ในสิกขา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ปรารถนาจะคลุกคลี
ด้วยวัตถุกามและกิเลสกาม ที่แท้ปรารถนาจะพ้นจากกามเหล่านั้น อยู่อย่างปราศจากกามฉันนั้น.
----------------------------------------------------------------------------------

              ๔. บทว่า นิปาโต คือตกลงไปในกระทะเหล็ก. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านแสดง ๓ หมวด
คือ ยังละไม่ได้ ๑ ละ ๑ ละได้เร็ว ๑.
              ใน ๓ หมวดนั้น ชน ๔ จำพวกชื่อว่าละไม่ได้. ๔ จำพวกชื่อว่าละ. ๔ จำพวกชื่อว่าละได้เร็ว.
ในบุคคลเหล่านั้น ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑
พระอนาคามี ๑ ชื่อว่ายังไม่ละได้. ปุถุชนเป็นต้นยังละไม่ได้จงยกไว้. พระอนาคามียังละไม่ได้เป็นอย่างไร.
เพราะพระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้ ในภพของเทวดาอยู่.
ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้.
              ส่วนชน ๔ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าละได้. พระโสดาบันเป็นต้นละได้ จงยกไว้ก่อน.
              ปุถุชนละได้อย่างไร.
              เพราะปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาทำความสังเวชว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้นทันทีทันใด เพราะความหลงลืม
แห่งสติ กิเลสเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเช่นเราดังนี้จึงประคองความเพียรเจริญวิปัสสนา ถอนกิเลสด้วยมรรค.
ปุถุชนนั้นชื่อว่าละได้ด้วยประการฉะนี้.
              ชน ๔ จำพวกเหล่านั้น ชื่อว่าละได้โดยเร็ว. ท่านถือเอาตติยวาระในสูตรเหล่านี้ คือ
ในสูตรนี้ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ในอินทริยภาวนาสูตรโดยแท้. แม้ปัญหาก็พึงทราบว่า
ท่านกล่าวไว้แล้วในทุติยวารนั่นแหละ.
              ขอบพระคุณค่ะ
8:34 PM 8/9/2013

อธิบายว่า
              อรรถกถาอธิบายแจกแจงในข้อ 181 หรือหัวข้อว่า บุคคล ๔ จำพวก
              โดยอธิบายว่า ในแต่ละจำพวกนั้น ได้แก่บุคคลใดได้บ้าง และด้วยนัยใด.
              เช่น บุคคลจำพวกที่หนึ่ง ยังละไม่ได้ ๑
>>>>
              [๑๘๑] ดูกรอุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน?
              ดูกรอุทายี บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ
แต่ความดำริที่แล่นไปอันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ
นั้นได้อยู่ ผู้นั้นยังรับเอาความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มี
เราเรียกบุคคลนี้แลว่าผู้อันกิเลสประกอบไว้ ไม่ใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้ เรารู้แล้ว.
<<<<
              ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑
พระอนาคามี ๑ ชื่อว่ายังไม่ละได้.
              ใน 4 จำพวกที่ยังละไม่ได้นี้ บุคคลสูงสุดในจำพวกนี้ ก็คือพระอนาคามี
              ด้วยนัยอะไรจึงกล่าวว่า ยังละไม่ได้
              ตอบว่า ด้วยนัยว่า
              เพราะพระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้
ในภพของเทวดาอยู่.  ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้.
              กล่าวคือ ยังยินดีในภพอยู่ จึงกล่าวว่า ยังละไม่ได้.
-------------------------
              บุคคลจำพวกที่สอง ชื่อว่าละได้. หรือ ละ ๑
>>>>
              ดูกรอุทายี บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ
ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่
แต่ผู้นั้นไม่รับเอาความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ ให้ถึงความไม่มีได้
แม้บุคคลผู้นี้ เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ ไม่ใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้ เรารู้แล้ว.
<<<<
              ใน 4 จำพวกที่งละได้ ตามนัยนี้ บุคคลต่ำสุดก็คือปุถุชน
              ด้วยนัยอะไรจึงกล่าวว่า ละได้
              ตอบว่า ด้วยนัยว่า ปุถุชนบางคนสามารถเจริญวิปัสสนาและมรรคได้
              ปุถุชนละได้อย่างไร.
              เพราะปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาทำความสังเวชว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้นทันทีทันใด
เพราะความหลงลืมแห่งสติ กิเลสเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเช่นเราดังนี้จึงประคองความเพียร
เจริญวิปัสสนา ถอนกิเลสด้วยมรรค. ปุถุชนนั้นชื่อว่าละได้ด้วยประการฉะนี้.
-----------------------------------------------------
              ชน ๔ จำพวกเหล่านั้น ชื่อว่าละได้โดยเร็ว. ท่านถือเอาตติยวาระในสูตรเหล่านี้
คือ ในสูตรนี้ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ในอินทริยภาวนาสูตรโดยแท้. แม้ปัญหาก็พึงทราบว่า
ท่านกล่าวไว้แล้วในทุติยวารนั่นแหละ.
อธิบายว่า วาระของการละได้เร็วนั้น ก็เช่นกับวาระที่สอง โดยนัย
ของมหาหัตถิปโทปมสูตรเป็นต้น กล่าวคือ สันนิษฐานว่า นัยในข้อ 342 เป็นต้น
              กล่าวคือ ระลึกถึงพระรัตนตรัยโดยประการที่กุศลธรรมจะตั้งอยู่ด้วยดี.
>>>>
              ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้
ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม
ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจ เพราะเหตุนั้น.
              ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
//84000.org/tipitaka/read/?12/342
<<<<

ความคิดเห็นที่ 8-3
GravityOfLove, 13 สิงหาคม เวลา 15:01 น.

             บุคคล ๔ จำพวกในข้อ ๑๘๑ VS ละไม่ได้ ละได้ ละได้เร็ว จับคู่อย่างไรคะ
             ๑.  ... ผู้นั้นยังรับเอาความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ... เราเรียกบุคคลนี้แลว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ <-- ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ชื่อว่า ยังละไม่ได้
             ๒. ... แต่ผู้นั้นไม่รับเอาความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ ... แม้บุคคลผู้นี้ เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ <-- ละได้
             ๓. ... เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน
             ๔. ... เป็นผู้ไม่มีอุปธิ แล้วน้อมจิตไปในนิพพานเป็นที่สิ้นอุปธิ บุคคลนี้เรากล่าวว่า ผู้อันกิเลสคลายแล้ว
-----------------
             ปุถุชนที่ละได้ด้วยมรรค มรรคดังกล่าวคือมรรคอะไรคะ ทำไมในเมื่อได้มรรคแล้วยังเป็นปุถุชนอยู่
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-4
ฐานาฐานะ, 13 สิงหาคม เวลา 16:46 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             บุคคล ๔ จำพวกในข้อ ๑๘๑ VS ละไม่ได้ ละได้ ละได้เร็ว จับคู่อย่างไรคะ
             ๑.  ... ผู้นั้นยังรับเอาความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ... เราเรียกบุคคลนี้แลว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ <-- ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ชื่อว่า ยังละไม่ได้
             ๒. ... แต่ผู้นั้นไม่รับเอาความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ ... แม้บุคคลผู้นี้ เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ <-- ละได้
             ๓. ... เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน
             ๔. ... เป็นผู้ไม่มีอุปธิ แล้วน้อมจิตไปในนิพพานเป็นที่สิ้นอุปธิ บุคคลนี้เรากล่าวว่า ผู้อันกิเลสคลายแล้ว

ตอบว่า นัยของอรรถกถาว่า ข้อ 181 คือละไม่ได้ ละได้ ละได้เร็ว และไม่มีอุปธิ
             บุคคล 3 จำพวกแรก คือละไม่ได้ ละได้ ละได้เร็วมีทั้ง 4 จำพวก
คือสามารถเป็นได้ทั้งปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑
             กล่าวคือ
             1. พวกละไม่ได้ สามารถเป็นได้ทั้งปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑
โดยนัยเป็นต้นว่า เพราะแม้บุคคลสูงสุดในจำพวกละไม่ได้ ก็ยังรับความยินดีในภพไม่ได้
             ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ชื่อว่ายังไม่ละได้.
ปุถุชนเป็นต้นยังละไม่ได้จงยกไว้. พระอนาคามียังละไม่ได้เป็นอย่างไร. เพราะพระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า
โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้ ในภพของเทวดาอยู่. ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้.
             2. ละได้ สามารถเป็นได้ทั้งปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑
โดยนัยเป็นต้นว่า แม้บุคคลต่ำสุด คือปุถุชน (บางคน) ก็อาจระงับอกุศลด้วยวิปัสสนา ทั้งอาจสามารถ
เจริญมรรคได้ (บรรลุมรรคเป็นพระอริยบุคคล)
             3. ละได้เร็ว สามารถเป็นได้ทั้งปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑
โดยนัยเป็นต้นว่า ระลึกถึงพระรัตนตรัยก็สามารถระงับอกุศลธรรมทั้งปวงได้รวดเร็ว.
-------------------------
             ปุถุชนที่ละได้ด้วยมรรค มรรคดังกล่าวคือมรรคอะไรคะ ทำไมในเมื่อได้มรรคแล้วยังเป็นปุถุชนอยู่
             ขอบพระคุณค่ะ
3:01 PM 8/13/2013

             ปุถุชนที่ละได้ด้วยมรรค แล้วเป็นพระอริยบุคคลนั่นเอง.

ความคิดเห็นที่ 8-5
GravityOfLove, 13 สิงหาคม เวลา 20:10 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-6
GravityOfLove, 13 สิงหาคม เวลา 20:10 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๖. ลฑุกิโกปมสูตร เรื่องพระอุทายี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3253&Z=3507&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท มีนิคมของชาวอังคุตตราปะ
ชื่ออาปนะ เป็นโคจรคาม
             ครั้งนั้น เมื่อท่านพระอุทายีอยู่ในที่ลับ เร้นอยู่ (อยู่ในที่สงัด) เกิดความดำริว่า
             พระผู้มีพระภาค ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไป
             ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากของเราทั้งหลายเข้าไป
             ทรงนำอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไป
             ทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายเข้าไป

มูลเหตุที่ทรงห้ามฉันในเวลาวิกาล
             ลำดับนั้น เวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่เร้น (ในที่นี้คือออกจากผลสมาบัติ)
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลเล่าเรื่องที่ตนดำรินั้น แล้วกราบทูลว่า
             เมื่อก่อนตนเคยฉันทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาลในกลางวัน (หลังเที่ยง)
             แต่พอพระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุทั้งหลายละการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
ในเวลากลางวัน ตนมีความน้อยใจ มีความเสียใจ เพราะคฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธา
จะถวายของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีต ในเวลาวิกาลในกลางวัน
             แต่เพราะพวกตนมีความรัก ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัว
ในพระผู้มีพระภาค จึงเชื่อฟังคำสั่งสอน
             ต่อมาทรงให้ภิกษุทั้งหลายละเว้นการฉันโภชนะในเวลาวิกาลในเวลากลางคืนด้วย
ตนมีความเสียใจ เพราะภัตทั้งสองเป็นของปรุงประณีตกว่าภัตอันใด อาหารที่จะแกงย่อมมีรส
(อร่อย) ในเวลากลางคืน กลางวันมีรสน้อย
             แต่เพราะพวกตนมีความรัก ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัว
ในพระผู้มีพระภาค จึงเชื่อฟังคำสั่งสอน
             ท่านพระอุทายีทูลเล่าต่อไปว่า
             เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาตในเวลามืดค่ำ ย่อมเข้าไปในบ่อน้ำครำบ้าง
ลงไปในหลุมโสโครกบ้าง บุกเข้าไปยังป่าหนามบ้าง เหยียบขึ้นไปบนแม่โคกำลังหลับบ้าง
พบกับโจรผู้ทำโจรกรรมแล้วบ้าง ยังไม่ได้ทำโจรกรรมบ้าง มาตุคามย่อมชักชวนภิกษุเหล่านั้น
ด้วยอสัทธรรมบ้าง
             ครั้งหนึ่ง ตอนที่เที่ยวบิณฑบาตในเวลามืดค่ำ หญิงคนหนึ่งล้างภาชนะอยู่
พอได้เห็นตนตอนที่ฟ้าแลบแล้วตกใจกลัว ร้องเสียงดังว่า
             ความไม่เจริญได้มีแก่เราแล้ว ปีศาจจะมากินเรา
             ตนจึงบอกหญิงนั้นไปว่า ไม่ใช่ปีศาจ แต่เป็นภิกษุยืนเพื่อบิณฑบาต
             หญิงนั้นกล่าวว่า บิดามารดาของท่านตายเสียแล้วหรือ (จึงไม่มีใครถวายอาหารท่าน)
ท่านเอามีดสำหรับเชือดโคที่คมเชือดท้องเสียยังจะดีกว่าเที่ยวบิณฑบาตในเวลาค่ำมืดเพราะเหตุ
แห่งท้องเช่นนั้น ไม่ดีเลย
             เมื่อตนนึกถึงเรื่องนั้นอยู่ จึงคิดว่า
             พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปเสียได้หนอ ฯลฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นเช่นนั้น

๑. อุปมาด้วยนางนกมูลไถ
             โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อพระองค์ตรัสว่า จงละโทษสิ่งนี้เสียเถิด
             เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยนี้เล่า
(ควรทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น) พระสมณะนี้ ช่างขัดเกลาหนักไป
             เขาจึงไม่ละโทษนั้นด้วย ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในพระองค์ด้วย
             โทษแม้เพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็นเครื่องผูกอันมีกำลัง
มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่
             เปรียบเหมือนนางนกมูลไถ ถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือเถาวัลย์หัวด้วน อันเป็นเครื่องผูก
มีกำลัง ย่อมรอเวลาที่จะถูกฆ่า หรือถูกมัดหรือเวลาตาย ในที่นั้นเอง ฉันใด
             โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น

๒. อุปมาด้วยช้างต้น
             ส่วนกุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อพระองค์ตรัสว่า จงละโทษนี้
             เขากล่าวอย่างนี้ว่า ก็ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเล็กน้อยเพียง
ที่ควรละนี้เล่า แต่เขาก็ละโทษนั้นเพราะมีความยำเกรงในพระองค์ด้วย
             ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละโทษนั้นแล้ว
มีความขวนขวายน้อย (ไม่ดิ้นรน) มีขนตก (ไม่หวาดกลัว) เยียวยาชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้
มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ (ผู้ใคร่ในสิกขาไม่ปรารถนาจะคลุกคลีกับกิเลสกามและวัตถุกาม
ดุจมฤคไม่ปรารถนาอยู่ใกล้มนุษย์)
             เปรียบเหมือนช้างต้น ควาญช้างผูกด้วยเชือกเป็นเครื่องผูกอันมั่น
แต่เครื่องผูกที่เขาผูกช้างต้นนั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง พอเอี้ยวกายไปหน่อยหนึ่ง
ก็ทำเครื่องผูกนั้นให้ขาดหมด ทำลายหมด แล้วหลีกไปได้ตามปรารถนา ฉันใด           
             กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม_2

๓. อุปมาด้วยคนจน
             เปรียบเหมือนคนจน ไม่มีอะไรเป็นของตน มีภรรยาคนหนึ่งไม่สวย
             เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอาราม ร่างกายสะอาด ฉันโภชนะอันเจริญใจ
นั่งอยู่ในที่อันร่มเย็น ประกอบในอธิจิต (เจริญธรรมฝึกสมาธิ)
             เขาจึงคิดว่า ความเป็นสมณะเป็นสุขหนอ ความเป็นสมณะไม่มีโรคหนอ
             เราควรจะปลงผมและหนวดแล้วนุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างหนอ
             แต่เขาไม่อาจละเรือนเล็กหลังและภรรยาออกบวชเป็นบรรพชิตได้
(เพราะเมื่อมาคิดดูอีกครั้งหนึ่งก็คิดว่าคงทำอย่างสมณะไม่ได้)
             เครื่องผูกของเขานั้นเป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือน
ท่อนไม้ใหญ่
             โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
             เมื่อพระองค์ตรัสว่า จงละโทษนี้เสียเถิด
             เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ทำไมจะต้องว่ากล่าว เพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อย
นี้ด้วยเล่า พระสมณะนี้ช่างขัดเกลาหนักไป
             เขาไม่ละโทษนั้นด้วย ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในพระองค์ด้วย
             โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็นเครื่องผูกมีกำลัง
มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่

๔. อุปมาด้วยคนมั่งมี
             เปรียบเหมือนคนมั่งมี เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอาราม ร่างกายสะอาด ฉันโภชนะอันเจริญใจ
นั่งอยู่ในที่อันร่มเย็น ประกอบในอธิจิต
             เขาคิดว่า ความเป็นสมณะเป็นสุขหนอ ความเป็นสมณะไม่มีโรคหนอ
             เราควรจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างหนอ
             เขาอาจละโภคะมากมายนั้น แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวช
เป็นบรรพชิตได้
             เครื่องผูกที่เป็นเครื่องผูกคนมั่งมีนั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง
             กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
             เมื่อพระองค์ตรัสว่า จงละโทษนี้เสียเถิด
             เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยด้วยเล่า
             กุลบุตรเหล่านั้นย่อมละโทษนั้นด้วย เข้าไปตั้งความยำเกรงในพระองค์ด้วย

บุคคล ๔ จำพวก คือ   
๑. ไม่สามารถละอุปธิได้
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ
(อุปธิ ในที่นี่หมายถึง สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส ได้แก่ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร)
             แต่ความดำริที่แล่นไปอันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธินั้นได้อยู่
             ผู้นั้นยังรับเอาความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มี
             เรียกบุคคลนี้ว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ ไม่ใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว
             ข้อนั้นเพราะทรงทราบความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้

๒. สามารถละอุปธิได้
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ
             ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธินั้นได้อยู่
             แต่ผู้นั้นไม่รับเอาความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ ฯลฯ ให้ถึงความไม่มีได้
             เรียกบุคคลนี้ว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ ไม่ใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว
             ข้อนั้นเพราะทรงทราบความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้

๓. สามารถละอุปธิได้อย่างรวดเร็ว
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ
             ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธินั้นได้อยู่
เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว เพราะความบังเกิดแห่งสติช้าไป           
             ที่จริงเขาละ ฯลฯ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำริได้โดยฉับพลัน
             เปรียบเหมือนหยดน้ำ ๒-๓ หยด อย่างช้าๆ ลงในกระทะเหล็กที่ร้อนมาก
หยดน้ำนั้นย่อมเหือดแห้งไปโดยฉับพลัน ฉันใด
             บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น
             เรียกบุคคลนี้ว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ มิใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว
             ข้อนั้นเพราะทรงทราบความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้

๔. ไม่มีอุปธิ
             บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ว่าเบญจขันธ์อันชื่อว่าอุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์
(รู้ว่า อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์ (อุปธิ ในที่นี้หมายถึงเบญจขันธ์))
             ครั้นรู้ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปธิ แล้วน้อมจิตไปในนิพพานเป็นที่สิ้นอุปธิ
(หมายถึงนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา)
             เรียกบุคคลนี้ว่า ผู้อันกิเลสคลายแล้ว มิใช่ผู้อันกิเลสประกอบไว้
             ข้อนั้นเพราะทรงทราบความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปธิ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เบญจขันธ์

ว่าด้วยกามคุณ ๕
             กามคุณ ๕ คือ
             รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยตา เีสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นอันพึงรู้แจ้งด้วยจมูก
รสอันพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ
เป็นสิ่งที่น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เป็นกามสุข ความสุขที่ไม่สะอาด
เป็นความสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ อันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี
ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัวแต่สุขนั้น
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานถึงจตุตถฌาน
             ฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นความสุขที่เกิดจากความออกจากกาม ความสุขที่เกิดจากความสงัด
ความสงบ ความสัมโพธิ (ความสุขเกิดจากการตรัสรู้) อันบุคคลควรเสพ ควรให้เกิดมี
ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 8-7
[ต่อ]

ฌานยังหวั่นไหวได้และไม่หวั่นไหว
             ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
             มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
             ปฐมฌานยังหวั่นไหว เพราะวิตกและวิจารยังไม่ดับ
             ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
             แม้ทุติยฌานนี้ ก็ยังหวั่นไหว เพราะปีติและสุขยังไม่ดับ
             ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข
             แม้ตติยฌานนี้ ก็ยังหวั่นไหว เพราะอุเบกขาและสุขยังไม่ดับ
             ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
             จตุตถฌานนี้ ไม่หวั่นไหว

ว่าด้วยการละรูปฌานและอรูปฌาน
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุปฐมฌาน
             ปฐมฌานนี้ ไม่ควรทำความอาลัย จงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย
             ธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌาน คือ ทุติยฌาน
             ตรัสทำนองเดียวกันนี้เป็นลำดับจนถึง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
             แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ ไม่ควรทำความอาลัย จงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย
             ธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ
             แล้วตรัสว่า
             สังโยชน์ละเอียดก็ดี หยาบก็ดี ที่พระองค์ไม่ได้ตรัสถึงการละนั้น ไม่มี
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร_9
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังโยชน์

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ท่านพระอุทายียินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #8-8]

ย้ายไปที



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:50:48 น.
Counter : 1190 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog