20.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 20.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11] ความคิดเห็นที่ 5-51 ความคิดเห็นที่ 5-52 GravityOfLove, 31 กรกฎาคม เวลา 09:49 น. ชื่อพระสูตรอ่านว่าอย่างไรคะ ความคิดเห็นที่ 5-53 ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม เวลา 14:08 น. GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว ชื่อพระสูตรอ่านว่าอย่างไรคะ 9:48 AM 7/31/2013 จบ จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร ที่ ๓. มหามาลุงฺโกฺยวาทสุตฺตํ ๑- เชิงอรรถ: ๑ ม. มหามาลุกฺยสุตฺตํ ฯ //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=152&Roman=0 ชื่อพระสูตรอ่านว่า มะ-หา-มา-ลุง-กะ-โย-วา-ทะ-สูด หรือ มะ-หา-มา-ลุง-กะ-โย-วา-ทะ-สุด-ตัง หรือ ความคิดเห็นที่ 5-54 GravityOfLove, 31 กรกฎาคม เวลา 14:21 น. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 5-55 ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม เวลา 15:34 น. GravityOfLove, 18 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค ๓. จูฬมาลุงโกยวาทสูตร เรื่องพระมาลุงกยบุตรดำริถึงมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2682&Z=2813&bgc=seashell&pagebreak=0 ... 7:56 PM 7/30/2013 ย่อความได้ดีครับ. ความคิดเห็นที่ 5-56 ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม เวลา 15:39 น. คำถามในจูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2682&Z=2813 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? 2. ถ้าหากพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น สันนิษฐานว่า จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง? และผู้ประพฤติธรรม เพื่อการหลุดพ้นจากชาติจะมากขึ้นหรือไม่? ความคิดเห็นที่ 5-57 GravityOfLove, 31 กรกฎาคม เวลา 19:18 น. ตอบคำถามในจูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2682&Z=2813 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์คือ อริยสัจ ๔ ที่ไม่ทรงพยากรณ์คือทิฏฐิ ๑๐ ๒. เหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุที่ทรงพยากรณ์ ก็ตรงกันข้ามกับเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์ ------------------------------------------------------ 2. ถ้าหากพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น สันนิษฐานว่า จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง? และผู้ประพฤติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากชาติจะมากขึ้นหรือไม่? [๑๕๑] ดูกรมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น. ดูกรมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ จักไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ฯลฯ ตอบว่า ไม่มากขึ้น และอาจยิ่งนำไปสู่การโต้เถียงกันไม่สิ้นสุด เพราะเนื่องจากไม่ได้รู้เองเห็นเอง ไม่ได้เกิดจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญาของตนเอง แต่ละฝ่ายไม่สามารถแสดงหลักฐานหรือยืนยันอะไรๆ เป็นรูปธรรมได้ เมื่อตอบไปแล้วเป็นไปเพื่อการถกเถียง หรือทำให้ไม่เกิดการพิจารณา เมื่อเป็นดังนั้นก็จะไม่ประพฤติธรรมกัน จึงไ่ม่เป็นไปเพื่อดับทุกข์ ความคิดเห็นที่ 5-58 ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม เวลา 20:34 น. GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามในจูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2682&Z=2813 ... 7:16 PM 7/31/2013 ตอบคำถามได้ดีครับ ขอติงเล็กน้อยว่า คำว่า เป็นรูปธรรมได้ เป็นสำนวนที่ใช้กันทั่วไป แต่ที่จริงแล้ว รูปธรรม ก็คือรูปขันธ์ มีทั้งเห็นได้และเห็นไม่ได้. สำนวนนี้ใช้ในการสนทนาทั่วๆ ไปอาจจะเหมาะสม แต่หากใช้ในการสนทนาธรรม อาจจะไม่เหมาะสม ควรใช้คำอื่น เช่น แต่ละฝ่ายไม่สามารถแสดงหลักฐานหรือยืนยันอะไรๆ ให้เห็นประจักษ์ชัดได้เป็นต้น. ความคิดเห็นที่ 5-59 GravityOfLove, 31 กรกฎาคม เวลา 21:13 น. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 5-60 ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม เวลา 21:26 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2682&Z=2813 พระสูตรหลักถัดไป คือมหามาลุงโกฺยวาทสูตร [พระสูตรที่ 14]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=153 ภัททาลิสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160 ความคิดเห็นที่ 5-61 GravityOfLove, 1 สิงหาคม เวลา 14:30 น. คำถามมหามาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&bgc=seashell&pagebreak=0 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. [๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ? แปลว่าอะไรคะ และมีความเชื่อมโยงไปประโยคถัดไปอย่างไรคะ ๒. ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็ก กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น ๓. ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น << ทำไมมีแค่ เวทนา คะ ๔. ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น. ๖. อนึ่ง ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสังโยชน์. แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร. เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น. เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสในขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น. ๗. ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์ ๘. บทว่า อุปสํหรติ น้อมจิตไป คือน้อมจิตไปในอมตธาตุอันเป็นอสังขตะอย่างนี้ว่า วิปัสสนาจิตเป็นความดับอันสงบด้วยการฟัง การสรรเสริญ การเรียน การบัญญัติ ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ว่า มรรคจิตเป็นความสงบ เป็นความประณีตด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 5-62 ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม เวลา 20:00 น. GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว คำถามมหามาลุงโกฺยวาทสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&bgc=seashell&pagebreak=0 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. [๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ? แปลว่าอะไรคะ และมีความเชื่อมโยงไปประโยคถัดไปอย่างไรคะ อธิบายว่า แปลว่า ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ คือฟังขณะนั้นด้วย หรือฟังต่อมาจากผู้นั้น? และมีความเชื่อมโยงไปประโยคถัดไปอย่างไรคะ สันนิษฐานว่า น่าจะเชื่อมต่อจากประโยคถัดไป กล่าวคือ นัยของโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ รวมถึงขณะที่เป็นอนุสัยด้วย. ๒. ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็ก กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น อธิบายว่า เด็กเมื่อแรกเกิด ยังไม่คิดว่า นี้กายของเรา นี้ตนของเรา แต่ไม่ควรกล่าวว่า เด็กนั้นไม่มีสักกายทิฏฐิ จะกล่าวได้เพียงสักกายทิฏฐิระดับ ที่แสดงออกมาทางกายหรือวาจา ยังไม่มี. แต่สักกายทิฏฐิระดับละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ มีอยู่ เด็กนั้น เมื่อเล่นอยู่ เช่นขยับมือ มือก็ขยับไปตามความประสงค์ เพราะถึงพร้อมด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น กายสมบูรณ์ดี อินทรีย์ไม่บกพร่อง มีเรี่ยวแรง เมื่อนั้น ปัจจัยเหล่านี้ก็อำนวยในสักกายทิฏฐิระดับที่นอนเนื่อง เจริญเป็นสักกายทิฏฐิ ในระดับความคิด คือความคิดว่า กายของตน เช่นมือเป็นต้น. ๓. ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น << ทำไมมีแค่ เวทนา คะ อธิบายว่า น่าจะเป็นการใช้การละคำ (ไปยยาลน้อย ไปยยาลใหญ่ สะกดถูก?) คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์. แปลว่า เวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น สัญญา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น สังขาร ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ... เพื่อละสังโยชน์. หรือนัยก็คือ ทั้งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นเอง 13/158 ดูกรอานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์. //84000.org/tipitaka/read/?13/158 {๑๕๘.๑} ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ สพฺพโส อากาสานญฺจายตนํ สมติกฺกมฺม อนนฺตํ วิญฺญาณนฺติ วิญฺญาณญฺจายตนํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ โส ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ ฯเปฯ สญฺโญชนานํ ปหานาย ฯ //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=158&Roman=0 ๔. ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น. [๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า. ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล. อธิบายว่า พระภิกษุบางรูป หากมีปัญญาแก่กล้า ก็สามารถบรรลุพระอรหัตได้รวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเจริญฌานไปทีละขั้น เมื่อบรรลุแล้ว หากปัจจัยการฝึกฝนในอดีตมีอยู่ ก็อาจจะมีเจโตวิมุติด้วย (สมาบัติต่างๆ). พระภิกษุบางรูป หากมีปัญญาแก่กล้า แต่ปัจจัยการฝึกฝนในอดีต ไม่พอจะบรรลุเจโตวิมุติด้วย ก็เป็นปัญญาวิมุติ. เหล่านี้เป็นตัวอย่าง. ๖. อนึ่ง ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสังโยชน์. แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร. เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น. เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสในขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น. อธิบายว่า นัยของอรรถกถาอธิบายว่า พระเถระ (ท่านพระมาลุงกยบุตร) เห็นว่า กิเลสจะมีก็ต่อเมื่อล่วงออกมาทางกายวาจาใจ ไม่รวมถึงระดับอนุสัย ซึ่งความจริงแล้ว ต้องรวมถึงระดับอนุสัยที่ยังละขาดไม่ได้ เพราะเมื่อได้ปัจจัยเหมาะสม เช่นเห็นรูปที่น่าพอใจ ก็อาจจะเกิดกามราคะได้ หากไม่มีอินทรียสังวรเป็นต้น. แต่ดูจากพยัญชนะแล้วก็ไม่เห็นว่า พระเถระจะกล่าวตู่พระธรรมเทศนา ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงถามเท่านั้น ไม่ได้กล่าวตำหนิใดๆ เพียงแต่ว่า หากตอบอย่างนั้น พวกเดียรถีย์จะโต้แย้งได้ โดยกรณีของเด็กทารก ดังนั้นจะรวมอนุสัยไว้ด้วย. นัยของอรรถกถาที่กล่าวอย่างนั้น น่าจะมีเหตุอื่นๆ ประกอบไว้ เช่น พระเถระนั้นอาจแสดงความที่กิเลสจะมีก็ต่อเมื่อปรากฎ ดังนี้เป็นต้น เพียงแต่บริบทเหล่านั้นไม่ปรากฎในพระสูตร. ๗. ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์ อธิบายว่า น่าเป็นมีนัยว่า เกิดแล้วก็ดับ ไม่ยั่งยืน หากเป็นตัวตนสัตว์บุคคลจริงๆ ก็ไม่ควรที่จะเสื่อมไป ดับไป สูญไป. นัยก็คือ สูญจากความเป็นตนสัตว์บุคคล. [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. //84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=479&w=เพื่ออาพาธ ยุคนัทธวรรค สุญกถา //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=31&A=9514 ๘. บทว่า อุปสํหรติ น้อมจิตไป คือน้อมจิตไปในอมตธาตุอันเป็นอสังขตะอย่างนี้ว่า วิปัสสนาจิตเป็นความดับอันสงบด้วยการฟัง การสรรเสริญ การเรียน การบัญญัติ ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ว่า มรรคจิตเป็นความสงบ เป็นความประณีตด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ขอบพระคุณค่ะ 2:29 PM 8/1/2013 อธิบายว่า ไม่ทราบเหมือนกัน แต่นำเอาอรรถกถาบาลีส่วนนี้มาแสดงไว้ก่อน. มชฺฌิมนิกายฏฺฐกถา (ปปญฺจสูทนี ๓) - หน้าที่ 167-168 จิตฺตํ ปฏิปาเทตีติ (๑) จิตฺตํ ปฏิสํปาเทติ โมเจติ อปเณติ ฯ อุปสํทรตีติ วิปสฺสนาจิตฺตํ ตาว สวนวเสน ถุติวเสน ปริยตฺติวเสน ปญฺญตฺติวเสน จ สนฺตํ นิพฺพานนฺติ เอวํ อสงฺขตาย อมตาย ธาตุยา อุปสํหรติ มคฺคจิตฺตํ นิพฺพานํ อารมฺมณกรณวเสเนว เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตนฺติ น เอวํ วทติ ฯ # ๑ ม. ปติฏฺฐาเปติ ฯ ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
๓. จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร เรื่องพระมาลุงกยบุตรดำริถึงมิจฉาทิฏฐิ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2682&Z=2813&bgc=seashell&pagebreak=0
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุงกยบุตรไปในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความคิดว่า
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ทรงงด ทรงห้ามทิฏฐิเหล่านี้ คือ
ทิฏฐิ ๑๐
๑. โลกเที่ยง
๒. โลกไม่เที่ยง
๓. โลกมีที่สุด
๔. โลกไม่มีที่สุด
๕. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน)
๖. ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง (ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน)
๗. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ (หลังจากตายแล้วสัตว์เกิดอีก)
(ลัทธิอื่นๆ ใช้คำว่า ตถาคต (ตถาคโต) ซึ่งใช้มาก่อนพุทธกาล
ไม่ได้หมายถึง พระพุทธเจ้า แต่หมายถึง สัตว์ อัตตา (อาตมัน))
๘. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ (หลังจากตายแล้วสัตว์ไม่เกิดอีก)
๙. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
๑๐. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่
การที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ (ตอบ) ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา
เราไม่ชอบใจ เราจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่เรา เราก็จะประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคต่อไป
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เราก็จะลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พยากรณ์
เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แ้ล้วกราบทูลถึงความคิดนั้น
ท่านพระมาลุงกยบุตรทูลถามปัญหาเหล่านั้น ขอให้พระองค์ตรัสตอบ
ถ้าพระองค์ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอตรัสบอกตรงๆ ว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราได้พูดไว้อย่างนี้กับเธอหรือว่า
เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจะพยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐ แก่เธอ
หรือว่า ท่านได้พูดไว้กะเราอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์
ท่านพระมาลุงกยบุตรทูลตอบว่า
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระผู้ีมีพระภาคตรัสว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอเป็นอะไร (ไม่ใช่ทั้งผู้ขอร้องและผู้ถูกขอร้อง) จะมาทวงกับใครเล่า?
เปรียบคนที่ถูกลูกศร
ถ้าบุคคลพูดว่า
ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา
เราจะไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคตราบนั้น
พระองค์ไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลย และบุคคลนั้นคงตายก่อน
เปรียบเหมือนบุรุษถูกศรอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตรอมาตย์
ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า
บุรุษผู้ถูกศรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า วรรณะอะไร ชื่ออะไร
รูปร่างเป็นอย่างไร ผิวสีอะไร อยู่ที่ไหน ใช้ธนูและลูกศรชนิดอะไรยิง เป็นต้น
เราก็จะไม่นำลูกศรนี้ออกตราบนั้น
บุรุษนั้นพึงรู้เรื่องนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้บุรุษนั้นคงตายก่อน ฉันใด
บุคคลใดกล่าวว่า
ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐ นั้น แก่เรา
เราจะไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคตราบนั้น
ข้อนั้นพระองค์จะไม่ทรงพยากรณ์เลย โดยที่แท้บุคคลนั้นคงตายก่อน ฉันนั้น
เมื่อมีทิฏฐิ ๑๐ ประการนั้น จะได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็หาไม่
ชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ) ก็ยังมีอยู่อย่างนั้น
พระองค์จึงทรงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์
ตรัสให้ทรงจำปัญหาที่พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่พระองค์
ไม่ทรงพยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่พระองค์ทรงพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่
พระองค์ทรงพยากรณ์
(จงจำปัญหาที่พระองค์ไม่ทรงตอบว่า เป็นปัญหาที่พระองค์ไม่ทรงตอบ
และจงจำปัญหาที่พระองค์ทรงตอบว่า เป็นปัญหาที่พระองค์ทรงตอบ)
ปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์ คือ ทิฎฐิ ๑๐
เหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ปัญหาที่ทรงพยากรณ์ คือ อริยสัจ ๔ คือ ความเห็นว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เหตุที่ทรงพยากรณ์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค