22.8 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.7 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-73
GravityOfLove, 18 กันยายน เวลา 10:51 น.

ท่านเป็นดังพรานเนื้อวางบ่วงไว้ แต่
เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อพรานเนื้อกำลังคร่ำครวญอยู่ เรากินแต่
อาหารแล้วก็ไป.

//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6825&Z=7248&bgc=aliceblue&pagebreak=0

ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๗๖๙-๗๗๔/๔๖๘-๔๖๙ << ดูใน ๘๔๐๐๐ อย่างไรคะ
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-74
ฐานาฐานะ, 18 กันยายน เวลา 12:20 น.

ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๗๖๙-๗๗๔/๔๖๘-๔๖๙ << ดูใน ๘๔๐๐๐ อย่างไรคะ
              ปกติแล้ว เลขข้างหน้าจะเป็นเลขของเล่ม
เลขลำดับที่สอง จะเป็นเลขข้อ
เลขลำดับที่สาม จะเป็นเลขหน้า
              แต่บางสำนัก ใช้เลขลำดับที่สอง เป็นเลขหน้า
เลขลำดับที่สาม จะเป็นเลขข้อ
              ที่ว่า เลขลำดับที่สอง จะเป็นเลขข้อ จะดีกว่า เพราะเหตุว่า
แม้จะแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นๆ แล้ว ความยาวของการแปล
จะแตกต่างกัน แต่ยังสามารถอ้างอิงด้วยเลขข้อได้
เลขข้อจึงมีความสำคัญมากกว่าในการอ้างอิง.
              แต่ว่า การอ้างอิงที่ถามถึงนั้น ก็ไม่สามารถค้นหาได้
อ้างเป็นเพราะในหมายเลขมาผิด หรือระบบเลขข้อเป็นอีกระบบหนึ่ง.
              จึงจำเป็นต้องใช้การค้นคำว่า พราน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=26&A=7509&w=พราน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=26&A=7509&w=พราน&pagebreak=1
//84000.org/tipitaka/read/?๒๖/388

ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๗๖๙-๗๗๔/๔๖๘-๔๖๙
              จากการตรวจสอบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
              รัฏฐปาลเถรคาถา เริ่มที่หน้า 468 ข้อ 769
              เป็นอันว่า เป็นเลขอ้างอิงของพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
              พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ใช้ระบบข้อที่แตกต่างจาก
ของฉบับสยามรัฐ มหามกุฏฯ.

ความคิดเห็นที่ 3-75
GravityOfLove, 18 กันยายน เวลา 12:43 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-76
GravityOfLove, 18 กันยายน เวลา 14:15 น.

             คำถามรัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6825&Z=7248

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. รัฐปาลกุลบุตร มีความคิดเห็นว่าด้วยประการอย่างไรๆ แล เราจึงจะรู้
ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
             ๒. ดูกรท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อว่าโลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืนนี้
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว
ดูกรท่านรัฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ในราชสกุลนี้ มีหมู่ช้าง หมู่ม้า
หมู่รถ และหมู่คนเดินเท้า หมู่ไรจักครอบงำอันตรายของเราได้.

...
ท่านรัฐปาละ เป็นความจริง โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ในราชสกุล
นี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมาก.

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-77
ฐานาฐานะ, 18 กันยายน เวลา 22:59 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามรัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6825&Z=7248

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. รัฐปาลกุลบุตร มีความคิดเห็นว่าด้วยประการอย่างไรๆ แล เราจึงจะรู้
ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
อธิบายว่า ท่านรัฐปาลกุลบุตร เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว
ก็คิดว่า ทำอย่างไร เราจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
             คำตอบก็คือ การออกบวชเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งใจศึกษา
บำเพ็ญสมณธรรม ก็จะสามารถรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

             ๒. ดูกรท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อว่าโลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืนนี้
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว
ดูกรท่านรัฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ในราชสกุลนี้ มีหมู่ช้าง หมู่ม้า
หมู่รถ และหมู่คนเดินเท้า หมู่ไรจักครอบงำอันตรายของเราได้.
...
ท่านรัฐปาละ เป็นความจริง โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ในราชสกุล
นี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมาก.
             ขอบพระคุณค่ะ
2:14 PM 9/18/2013


ดูกรท่านรัฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ในราชสกุลนี้
มีหมู่ช้าง หมู่ม้า หมู่รถ และหมู่คนเดินเท้า หมู่ไรจักครอบงำอันตรายของเราได้.

อธิบายว่า
             ในราชสกุลนี้ มีหมู่ช้าง หมู่ม้า หมู่รถ และหมู่คนเดินเท้า
แต่ไม่มีหมู่ทหารหน่วยใดเลยที่จักครอบงำอันตรายอันได้แก่ความชราได้เลย.
. . . . . . . . . .
             ดูกรท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้อว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่
เฉพาะตนนี้ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสดีแล้ว ท่านรัฐปาละ เป็นความจริง โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ในราชสกุล
นี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมาก.
อธิบายว่า ทั้งญาติมิตร อำมาตย์ สาโลหิต หรือทรัพย์สินเงินทองแม้มีมาก
ก็ไม่สามารถต้านทานความทุกข์หรือแบ่งปันความทุกข์ไปบางส่วน เพื่อให้เหลือแต่ทุกข์น้อยๆ
ได้เลย กล่าวคือไม่มีอะไรที่จะต้านทานความทุกข์ได้เลย ต้องรับผู้เดียว.
             คำว่า มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมาก.
             น่าจะเป็นคำที่พระเจ้าโกรัพยะตรัสเสริม นัยว่า
             แม้มีเงินและทองมาก ก็ไม่สามารถช่วยต้านทานทุกข์ได้เลย
ทุกข์นั้นเป็นไปทั่วในเหล่าสัตว์ ต้านทานไม่ได้.
             ตัวอย่างเช่นว่า เมื่อเวลาคนไข้ต้องทำการผ่าตัด ก็ต้องเจ็บเอง
ให้คนอื่นๆ เจ็บแทนไม่ได้ แม้มีญาติมากมาย ก็ต้องเจ็บอยู่นั่นเอง
             หรือแม้มีเงินมาก แล้วจะเอาเงินทองแลกความเจ็บว่าจ่ายเงินทองเท่านี้
แล้วไม่ต้องเจ็บ ก็ไม่ได้.

ความคิดเห็นที่ 3-78
GravityOfLove, 18 กันยายน เวลา 23:29 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-79
GravityOfLove, 18 กันยายน เวลา 23:52 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๒. รัฐปาลสูตร พราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตะเข้าเฝ้า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6825&Z=7248&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวกุรุอันชื่อว่า ถุลลโกฏฐิตะ
             พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวนิคมถุลลโกฏฐิตะ ได้สดับข่าวนี้
ทั้งได้ยินกิตติศัพท์อันงามของพระองค์ว่า
             แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ (พุทธคุณ ๙)
             พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ฯลฯ
การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นการดี ดังนี้
             จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             สมัยนั้น กุลบุตรชื่อรัฐปาละ เป็นบุตรของสกุลเลิศ (ชั้นสูง) ใน
ถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น นั่งอยู่ในหมู่บริษัทนั้นด้วย
             รัฐปาลกุลบุตร มีความคิดเห็นว่า
             ด้วยประการอย่างไรๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
             (เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ทำอย่างไรจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว)
             การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์
โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย
             ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด
             หลังจากที่พราหมณ์และคฤหบดีทูลลาหลีกไปไม่นาน รัฐปาลกุลบุตร
ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลเรื่องที่ตนดำรินั้น
และกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ
             รัฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า ยังไม่ได้อนุญาต
             ตรัสว่า พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดามิได้อนุญาต
(เรื่องมาตั้งแต่ตอนที่ท่านพระราหุลทรงผนวชเป็นสามเณร)
             รัฐปาลกุลบุตรทูลว่า ตนจะทำให้มารดาบิดาอนุญาตให้ได้
             (เรื่องพระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร)
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=04&A=3321&Z=3417

             ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรเข้าไปหามารดาบิดา แล้วเล่าเรื่องที่ตนดำริให้ฟัง
แล้วขอให้มารดาบิดาอนุญาตให้ตนบวช
             มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรกล่าวว่า
             เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของเราทั้งสอง มีแต่ความสุข
ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรเลย
             ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้บำเรอเถิด เจ้ายังกำลังบริโภคได้ กำลังดื่มได้
กำลังให้บำเรอได้ จงยินดีบริโภคกาม ทำบุญไปพลางเถิด
             เราทั้งสองจะอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้
             ถึงเจ้าจะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากเจ้า
            เหตุไฉน เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเล่า
             รัฐปาลกุลบุตรขออนุญาตบวช ๓ ครั้ง มารดาบิดาก็ปฏิเสธทั้ง ๓ ครั้ง
             ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรน้อยใจว่า มารดาบิดาไม่อนุญาตให้บวช
             จึงนอนอยู่บนพื้นที่ไม่มีเครื่องลาด ณ ที่นั้นเอง ด้วยตั้งใจว่า
ที่นี้จะเป็นที่ตาย หรือที่บวชของเรา แล้วไม่กินข้าวตลอด ๗ วัน
             มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรได้ขอให้ลูกชายล้มเลิกความตั้งใจนั้น
กล่าว ๓ ครั้ง รัฐปาลกุลบุตรก็นิ่งเสียทั้ง ๓ ครั้ง
             ครั้งนั้น พวกสหายของรัฐปาลกุลบุตร พากันเข้าไปหารัฐปาลกุลบุตรแล้ว
กล่าวให้เขาล้มเลิกความตั้งใจนั้นเสีย กล่าว ๓ ครั้ง รัฐปาลกุลบุตรก็นิ่งเสียทั้ง ๓ ครั้ง
             พวกสหายพากันเข้าไปหามารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตร แล้วได้กล่าวว่า
             ถ้าคุณแม่คุณพ่อจะไม่อนุญาตให้รัฐปาลกุลบุตรออกบวช เขาก็จะตายตรงนั้นเอง
             แต่ถ้าคุณแม่คุณพ่อจะอนุญาตให้เขาออกบวช คุณแม่คุณพ่อก็จะได้เห็นเขา
แม้บวชแล้ว หากเขาไม่ยินดีในการบวช เขาจะไปที่ไหนได้ นอกเสียจากกลับมาที่นี่
             ขอคุณแม่คุณพ่ออนุญาตให้เขาบวชเถิด
             มารดาบิดาจึงอนุญาต แต่มีเงื่อนไขว่า เมื่อเขาบวชแล้วต้องมาเยี่ยม
ท่านทั้งสองบ้าง
             สหายทั้งหลายพากันเข้าไปบอกรัฐปาลว่า คุณแม่คุณพ่ออนุญาตแล้ว
แต่ว่าเมื่อบวชแล้ว ต้องมาเยี่ยมคุณแม่คุณพ่อบ้าง
             ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรลุกขึ้น บำรุงกายให้เกิดกำลัง แล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค กราบทูลให้ทรงทราบ
             รัฐปาลกุลบุตรจึงได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
             ครั้นเมื่อท่านรัฐปาละอุปสมบทแล้วไม่นาน ได้ครึ่งเดือน พระผู้มีพระภาค
ก็เสด็จจาริกไปทางนครสาวัตถี แล้วประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี
             ส่วนท่านรัฐปาละหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็บรรลุพระอรหัต (เมื่อผ่านไปได้ ๑๒ ปี)
             ท่านพระรัฐปาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อทูลลาไปเยี่ยมมารดาบิดา
             พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดใจของท่านพระรัฐปาละด้วยพระหฤทัยแล้ว
ทรงทราบชัดว่า ท่านพระรัฐปาละไม่สามารถที่จะบอกลาสิกขาสึกออกไปแล้ว
จึงทรงอนุญาตให้ไปได้
             ท่านพระรัฐปาละเมื่อเดินทางมาถึงเมืองที่มารดาบิดาอยู่ ก็มาพักอยู่
ณ พระราชอุทยาน ชื่อมิคาจีระ ของพระเจ้าโกรัพยะ ในถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น
             เวลาเช้า ท่านพระรัฐปาละเข้าไปบิณฑบาตยังถุลลโกฏฐิตนิคม
             ได้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก แล้วเข้าไปยังบ้านของบิดา
             บิดาของท่าน เห็นท่านกำลังมาแต่ไกล ได้กล่าวว่า
             พวกสมณะศีรษะโล้นเหล่านี้ บวชบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
             ครั้งนั้น ท่านพระรัฐปาละไม่ได้การให้ (ไม่ได้รับไทยทาน) ไม่ได้คำตอบ
ที่บ้านบิดา ที่แท้ ได้แต่คำด่าเท่านั้น
             สมัยนั้น ทาสีแห่งญาติของท่านพระรัฐปาละจะเอาขนมกุมมาสที่บูดไปทิ้ง
ท่านรัฐปาละได้กล่าวว่า
             ถ้าจะทิ้งสิ่งนั้น (ไม่เอาแล้ว เป็นบิณฑบาตตามมีตามได้) จงใส่ในบาตร
ของฉันนี้เถิด
             อริยวังสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=714&Z=766
             คำว่า อริยวงศ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยวงศ์

             ทาสีคนนั้น เมื่อเทขนมกุมมาสบูดลงในบาตร ก็จำลักษณะมือ เท้า และเสียง
ของท่านได้ จึงเข้าไปบอกมารดาของท่าน มารดาท่านกล่าวว่า
             ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จะปล่อยเจ้าให้เป็นไท
             แล้วมารดาท่านก็เข้าไปบอกบิดาท่าน
             ขณะนั้น ท่านพระรัฐปาละอาศัยฝาเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมกุมมาสบูดนั้นอยู่
             บิดาเข้าไปหาท่านพระรัฐปาละจนใกล้ แล้วถามว่า
             มีอยู่หรือลูก (อะไรกัน) ที่ลูกกินขนมกุมมาสบูด ลูกควรไปเรือนของตัวไม่ใช่หรือ
             ท่านพระรัฐปาละตอบว่า
             เรือนของอาตมภาพผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะมีที่ไหน
อาตมภาพไม่มีเรือน
             อาตมภาพได้ไปถึงเรือนของท่านแล้ว แต่ไม่ได้การให้ ไม่ได้คำตอบเลย
ได้เพียงคำด่าอย่างเดียวเท่านั้น
             บิดาจึงชวนไปเรือน แต่ท่านปฏิเสธว่า ท่านฉันแล้ว
             บิดาจึงอาราธนาท่านฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้
             ท่านพระรัฐปาละจึงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ
             บิดาของท่าน เมื่อกลับถึงบ้าน ก็สั่งให้ฉาบไล้ที่แผ่นดินด้วยโคมัยสด
แล้วให้ขนเงินและทองมากองเป็นกองใหญ่
             แบ่งเป็น ๒ กอง คือ เงินกองหนึ่ง ทองกองหนึ่ง เป็นกองใหญ่อย่างที่บุรุษ
ที่ยืนอยู่ข้างนี้ ไม่เห็นบุรุษที่ผู้ยืนข้างโน้น แล้วให้คลุมไว้ด้วยเสื่อ
             แล้วเรียกหญิงทั้งหลายที่เป็นภรรยาเก่าของท่านพระรัฐปาละให้มาใส่
เครื่องประดับที่บุตรของตนเคยชอบ เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์
             ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระรัฐปาละ เข้าไปยังบ้านของบิดา
             บิดาของท่านสั่งให้เปิดกองเงินและทองนั้น แล้วกล่าวว่า
             ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของมารดา กองนี้เป็นส่วนของบิดา กองนี้เป็นส่วนของปู่
ทั้งหมดนี้เป็นของลูกผู้เดียว ลูกจะใช้สอยสมบัติ และทำบุญก็ได้
             ขอจงลาสิกขาสึกเป็นคฤหัสถ์มาใช้สอยสมบัติ และทำบุญไปเถิด
             ท่านพระรัฐปาละตอบว่า
             ถ้าท่านพึงทำตามคำของอาตมภาพได้ ขอให้ท่านให้เขาขนกองเงินกองทอง
นี้ไปทิ้งที่แม่น้ำเสีย เพราะความโศก (โสกะ) ความร่ำไร (ปริเทวะ) ทุกข์ (ทุกข์กาย)
โทมนัส (ทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เพราะมีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ
จะเกิดขึ้นแก่ท่าน
             ลำดับนั้น ภรรยาเก่าของท่านพระรัฐปาละต่างจับที่เท้า แล้วถามว่า
             นางฟ้าทั้งหลายผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็นอย่างไร
             ท่านพระรัฐปาละตอบว่า
             น้องหญิง ท่านไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางฟ้าทั้งหลาย
             หญิงเหล่านั้นเสียใจว่า
             ท่านเรียกพวกตนอย่างน้องสาวว่า น้องหญิง ดังนี้ แล้วสลบล้มอยู่ ณ ที่นั้น
             ท่านพระรัฐปาละได้กล่าวกับบิดาว่า
             ถ้าจะพึงให้โภชนะก็จงให้เถิด อย่าให้อาตมภาพลำบากเลย
             บิดาท่านได้อังคาสท่านพระรัฐปาละด้วยของเคี้ยวของฉันอย่างประณีต
ให้อิ่มหนำด้วยมือของตน
             ครั้นท่านพระรัฐปาละฉันเสร็จแล้ว ได้แสดงธรรมโดยกล่าวคาถาว่า
             จงมาดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล (หมายถึงแผลทั้ง ๙ แห่ง คือ
ดวงตา ๒ ช่องหู ๒ ช่องจมูก ๒ ช่องปาก ๑ ช่องปัสสาวะมรรค ๑ ช่องอุจจาระมรรค ๑
(ม.ม.อ. ๒/๓๐๒/๒๑๙))
             อันคุมกันอยู่ (หมายถึงคุมกันอยู่ด้วยกระดูก ๓๐๐ ท่อน
ด้วยเส้นเอ็น ๙๐๐ เส้น ปกคลุมด้วยกล้ามเนื้อ๙๐๐ มัด)
             แล้วกระสับกระส่าย (ความกระสับกระส่ายอยู่เป็นนิจเพราะความแก่
โรคภัย และกิเลส (ม.ม.อ.๒/๓๐๒/๒๑๙))
             เป็นที่ดำริของชนเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง
             จงมาดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้
งามพร้อมด้วยผ้า (ของหญิง)
             เท้าที่ย้อมด้วยสีแดงสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ พอจะหลอกคนโง่
ให้หลงได้ แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพานไม่ได้
             ผมที่แต่งงาม ตาที่เยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนให้หลงได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพานไม่ได้
             กายเน่าอันประดับด้วยเครื่องอลังการ ประดุจทะนานยาหยอดอันใหม่
วิจิตร พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพานไม่ได้
            ท่านเป็นดังพรานเนื้อวางบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง
             เมื่อพรานเนื้อกำลังคร่ำครวญอยู่ เรากินแต่อาหารแล้วก็ไป
             ครั้นท่านพระรัฐปาละยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว ก็เข้าไปยังพระราชอุทยาน
มิคาจีระของพระเจ้าโกรัพยะ แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
             พนักงานรักษาพระราชอุทยานเห็นท่านพระรัฐปาละ จึงไปกราบทูล
พระเจ้าโกรัพยะ
             พระเจ้าโกรัพยะจึงเข้าไปหาท่านพระรัฐปาละ แล้วเชิญท่านรัฐปาละให้นั่งบน
อาสนะที่พระองค์รับสั่งให้จัดถวาย
             ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า
             อย่าเลย เชิญมหาบพิตรนั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของอาตมภาพดีแล้ว

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 3-80
[ต่อ]

ความเสื่อม ๔
             ครั้นพระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสว่า
             ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ถึงเข้าแล้ว ย่อมออกบวช
๑. ความเสื่อมเพราะชรา
             คนบางคนในโลกนี้เป็นคนแก่แล้ว เขาคิดเห็นดังนี้ว่า
             เดี๋ยวนี้เราเป็นคนแก่แล้ว ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้
หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย
             อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเถิด
             ส่วนท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้ก็ยังหนุ่มแน่น ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย
ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?
๒. ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
             คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาคิดเห็นดังนี้ว่า
             เดี๋ยวนี้เราเป็นคนป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติ
ที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย
             อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเถิด
             ส่วนท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่ป่วย ไม่มีทุกข์ ประกอบด้วยไฟธาตุที่
ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่มีความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้นเลย
             ท่านรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?
๓. ความเสื่อมจากโภคสมบัติ
             คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก โภคสมบัติเหล่านั้นของเขา
ถึงความสิ้นไปโดยลำดับ
             เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก โภคสมบัติเหล่านั้น
เหล่านั้นของเราถึงความสิ้นไปโดยลำดับแล้ว ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้
หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย
             อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเถิด
             ส่วนท่านเป็นบุตรของตระกูลเลิศในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจาก
โภคสมบัตินั้น ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอะไรจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?
๔. ความเสื่อมจากญาติ
             คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติเหล่านั้น
ของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ
             เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก
(เดี๋ยวนี้) ญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไปโดยลำดับ ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้
หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย
             อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเถิด
             ส่วนท่าน มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้เป็น
อันมาก ไม่ได้มีความเสื่อมจากญาติเลย ท่านรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?

ธัมมุทเทส ๔
             ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า
             มีอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
๑. โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน
             ดูอย่า์งพระองค์ (พระเจ้าโกรัพยะ) ตอนอายุน้อยๆ ๒๐ ปี ๒๕ ปี
ศึกษาการรบต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว มีกำลังแขน กำลังขา มีร่างกายสามารถ
เคยฝ่าสงครามมาแล้ว
             บางครั้งยังทรงเข้าใจว่ามีฤทธิ์ ไม่เห็นใครเสมอด้วยกำลังของพระองค์เลย
             แต่เดี๋ยวนี้ พระองค์เจริญพระชนม์มากแล้ว เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัย
มาโดยลำดับแล้ว วัยของพระองค์ล่วงไป ๘๐ ปีแล้ว บางครั้ง ยังทรงดำริว่า
จะก้าวเท้าไปทางนี้ก็ไพล่ก้าวไปทางอื่นเสีย
             พระเจ้าโกรัพยะตรัสเห็นด้วย และทรงสรรเสริญเนื้อความแห่งภาษิต
             เพราะในราชสกุลนี้ มีหมู่ช้าง หมู่ม้า หมู่รถ และหมู่คนเดินเท้า
แต่ไม่มีหมู่ใดเลยที่จะป้องกันอันตรายอันได้แก่ความชราของพระองค์ได้
๒. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
             พระองค์ทรงเคยประชวรหนัก จนบางครั้งคนอื่นคิดว่า พระองค์จะสวรรคตแล้ว
             พระองค์จะทรงขอร้องคนเหล่านั้น ให้มาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป
เพื่อให้พระองค์ทรงเสวยเวทนาเบาลง ก็หาไม่
             ที่แท้ พระองค์ต้องเสวยเวทนานั้นแต่ผู้เดียว
             พระเจ้าโกรัพยะตรัสเห็นด้วย และทรงสรรเสริญเนื้อความแห่งภาษิต
             เพราะแม้มีเงินและทองมาก ก็ไม่สามารถช่วยต้านทานทุกข์ได้เลย
๓. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
             เดี๋ยวนี้ พระองค์ทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอพระองค์อยู่ ฉันใด
             พระองค์จะได้สมพระราชประสงค์ว่า แม้ในโลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฉันนั้น ก็หาไม่
             ที่แท้ ชนเหล่าอื่นจะปกครองโภคสมบัตินี้ ส่วนพระองค์ก็จะเสด็จไปตามยถากรรม
             พระเจ้าโกรัพยะตรัสเห็นด้วย และทรงสรรเสริญเนื้อความแห่งภาษิต
๔. โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
             พระองค์ทรงครอบครองเมืองของพระองค์อันเจริญอยู่
             แต่เมื่อราชบุรุษของพระองค์มากราบทูลว่า ในทิศนั้น เขาได้เห็นชนบทใหญ่
มั่งคั่งและเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น ในชนบทนั้น มีพลช้าง พลม้า พลรถ
พลเดินเท้ามาก มีสัตว์อชินะ (สัตว์ที่มีเขี้ยวงา) ที่ฝึกแล้วมาก
             มีเงินและทองทั้งที่ยังไม่ได้ทำ ทั้งที่ทำแล้วก็มาก ในชนบทนั้น สตรีปกครอง
             พระองค์อาจจะรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ดังนี้
             พระองค์เมื่อได้สดับแล้วก็ย่อมไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครอง
             ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงได้ยินอีกว่า ทิศนั้นๆ มีชนบทมั่งคั่งเช่นนี้อีก
พระองค์ก็จะไปรบเอาชนะมาครอบครองอีก
             พระเจ้าโกรัพยะตรัสเห็นด้วย และทรงสรรเสริญเนื้อความแห่งภาษิต

พระรัฐปาละกล่าวนิคมคาถา
             ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวคำนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
             เราเห็นมนุษย์ทั้งหลายในโลก ที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์แล้วย่อมไม่ให้ (ใคร)
เพราะความหลง โลภแล้วย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ และยังปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป
             พระราชาทรงแผ่อำนาจชนะตลอดแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินมีสาคร
เป็นที่สุด มิได้ทรงรู้จักอิ่มเพียงฝั่งสมุทรข้างหนึ่ง ยังทรงปรารถนาฝั่งสมุทรข้างโน้น
             พระราชาและมนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมาก ยังไม่สิ้นความทะเยอทะยาน
ย่อมเข้าถึงความตาย เป็นผู้พร่องอยู่ ละร่างกายไปก็ยังไม่อิ่มในกาม
             ความอิ่มด้วยกามไม่มีในโลก
             อนึ่ง ญาติทั้งหลายพากันคร่ำครวญถึงผู้นั้น เอาผู้นั้นคลุมด้วยผ้าไป
ยกขึ้นเชิงตะกอนแล้วเผา เมื่อกำลังถูกเขาเผา ถูกแทงอยู่ด้วยหลาว มีแต่ผ้าผืนเดียว
             เขาละโภคสมบัติไป ญาติก็ดี มิตรก็ดี หรือสหายทั้งหลายเป็นที่ต้านทาน
ของบุคคลผู้จะตายไม่มี (คนจะตาย ใครก็ช่วยไม่ได้)
             ทายาททั้งหลายก็ขนเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป ส่วนสัตว์ย่อมไปตามกรรมที่ทำไว้
             ทรัพย์อะไรๆ ย่อมติดตามคนตายไปไม่ได้ บุตร ภรรยา ทรัพย์
และแว่นแคว้นก็เช่นนั้น
             บุคคลย่อมไม่ได้อายุยืนด้วยทรัพย์ และย่อมไม่กำจัดชราได้ด้วยทรัพย์
             นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนี้ว่า น้อยนัก ว่าไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา
             ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์
ก็กระทบผัสสะเหมือนกัน
             แต่คนพาลย่อมนอนหวาดอยู่ เพราะความที่ตนเป็นพาล
             ส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
             เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาจึงประเสริฐกว่าทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุด
ในโลกนี้ได้
             คนเป็นอันมาก ทำบาปกรรมเพราะความหลงในภพน้อยภพใหญ่
(ภวาภเวสุ ภพเลวและภพประณีต) เพราะไม่มีปัญญาเครื่องให้ถึงที่สุด
             สัตว์ที่ถึงการท่องเที่ยวไปมา ย่อมเข้าถึงครรภ์บ้าง ปรโลกบ้าง
             ผู้อื่นนอกจากผู้มีปัญญานั้น ย่อมเชื่อได้ว่า จะเข้าถึงครรภ์และปรโลก
             หมู่สัตว์ผู้มีบาปธรรม ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตนเอง
ในโลกหน้า เปรียบเหมือนโจรผู้มีความผิด
             กามทั้งหลายวิจิตร รสอร่อยเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิต ด้วยรูปมีประการต่างๆ
             อาตมาภาพเห็นโทษในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงบวชเสีย
             สัตว์โลกทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ เมื่อสรีระทำลายไป ย่อมตกตายไป
เหมือนผลไม้ทั้งหลายที่ร่วงหล่นไป
             อาตมภาพรู้เหตุนี้จึงบวชเสีย ความเป็นสมณะ เป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด
เป็นผู้ประเสริฐแท้ ดังนี้
             รัฏฐปาลเถรคาถา
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=26&A=7509&w=พราน

[แก้ไขตาม #3-81]

ความคิดเห็นที่ 3-81
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 11:07 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๒. รัฐปาลสูตร พราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตะเข้าเฝ้า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6825&Z=7248&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
11:52 PM 9/18/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             หลังจากที่พราหมณ์และคฤหบดีทูลลาหลีกไปไม่นาน รัฐปาลกุลบุตรก็
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลเรื่องที่ตนดำรินั้น
             เพิ่มเติมดังนี้ :-
             หลังจากที่พราหมณ์และคฤหบดีทูลลาหลีกไปไม่นาน รัฐปาลกุลบุตร
ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลเรื่องที่ตนดำรินั้น
และกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ถ้าจะทิ้งสิ่งนั้น (ไม่เอาแล้ว เป็นบิณฑบาตตามมีตามได้) จงใส่ในบาตร
ของฉันนี้เถิด
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยวงศ์
             อริยวังสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=714&Z=766
             แก้ไขเป็น :-
             ถ้าจะทิ้งสิ่งนั้น (ไม่เอาแล้ว เป็นบิณฑบาตตามมีตามได้) จงใส่ในบาตร
ของฉันนี้เถิด
             อริยวังสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=714&Z=766
             คำว่า อริยวงศ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยวงศ์
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             แล้วเรียกหญิงทั้งหลายที่เป็นภรรยาเก่าของท่านพระรัฐปาละให้มาใส่
เครื่องประดับที่บุตรของตนชอบ
             แก้ไขเป็น :-
             แล้วเรียกหญิงทั้งหลายที่เป็นภรรยาเก่าของท่านพระรัฐปาละให้มาใส่
เครื่องประดับที่บุตรของตนเคยชอบ เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ส่วนท่านรัฐปาละ ดี๋ยวนี้ก็ยังหนุ่มแน่น ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย
ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?
             แก้ไขเป็น :-
             ส่วนท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้ก็ยังหนุ่มแน่น ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย
ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?

ย้ายไปที่



Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:38:55 น.
Counter : 523 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog