22.12 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 22.11 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26] ความคิดเห็นที่ 3-124 ความคิดเห็นที่ 3-125 [ต่อ] ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ๑. ถ้ากระไร เราพึงกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด เมื่อทำดังนั้น เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้ให้เร่าร้อน ฉันใดฉันนั้น ๒. ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพก็กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เมื่อทำดังนั้น เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ เปรียบเหมือนเสียงสูบของช่างทองที่กำลังสูบอยู่ดังเหลือประมาณ ฉันใดฉันนั้น ๓. ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ ทางช่องหู ๓.๑ เมื่อทำดังนั้น ลมกล้ายิ่ง ย่อมเสียดแทงศีรษะ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเชือดศีรษะด้วยมีดโกนอันคม ฉันใดฉันนั้น ๓.๒ เมื่อทำดังนั้น ก็ปวดเหลือทนที่ศีรษะ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังรัดศีรษะด้วยเชือกอันเขม็ง ฉันใดฉันนั้น ๓.๓ เมื่อทำดังนั้น ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อมเสียดแทงท้อง เปรียบเหมือนนายโคฆาต พึงเชือดท้องโคด้วยมีดเชือดโคอันคม ฉันใดฉันนั้น ๓.๔ เมื่อทำดังนั้น ก็มีความร้อนในกายเหลือทน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษมีกำลังน้อยที่แขนคนละข้าง ย่างรมไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใดฉันนั้น ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้ว จะฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่ความเพียรอันทนได้ยากนั้น เสียดแทง (กาย) กระสับกระส่ายไม่สงบระงับ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว กล่าวว่า พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว เทวดาบางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว แต่กำลังทำกาละ เทวดาบางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว หรือกำลังทำกาละก็หาไม่ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรมของพระอรหันต์ ๔. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงอดอาหารทั้งปวงเถิด ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นเข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ท่านอย่าอดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์ อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ย่อมเป็นมุสาแก่เรา อาตมภาพจึงบอกเลิกกับเทวดาเหล่านั้น แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ เมื่อทำดังนั้น ร่างกายก็ผอมอย่างมาก อวัยวะน้อยใหญ่เป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ตะโพกเป็นเหมือนเท้าอูฐ ฯลฯ อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ในอนาคต หรือในปัจจุบัน ที่จะเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะ ความเพียรอย่างยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว แต่อาตมภาพก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส (ความรู้ความเห็นของพระอริยะอันวิเศษอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์) ด้วย ทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางเพื่อรู้อย่างอื่นกระมังหนอ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกรกิริยา กลับเสวยพระกระยาหารหยาบ อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจำได้อยู่ เมื่องานวัปปมงคล (พิธีแรกนาขวัญ) ของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้าอันเยือกเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้หรือ พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้ อาตมภาพได้มีความรู้สึกอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละ เป็นทางเพื่อตรัสรู้ อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจะกลัวสุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมหรือ (ความสุขในอานาปานสติปฐมฌาน) และมีความคิดเห็นต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม การที่บุคคลผู้มีกายผอมเหลือเกินอย่างนี้ จะถึงความสุขนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือข้าวสุก ขนมสดเถิด อาตมภาพจึงบริโภคอาหารหยาบนั้น สมัยนั้น ปัญจวัคคีย์ภิกษุ บำรุงอาตมภาพอยู่ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด ก็จะบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย นับแต่อาตมภาพบริโภคอาหารหยาบ ปัญจวัคคีย์ภิกษุก็พากันเบื่อหน่ายจาก อาตมภาพ หลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้ มักมากไปเสียแล้ว อาตมภาพบริโภคอาหารหยาบมีกำลังขึ้น (หลังจากที่ปัญจวัคคีย์จากไปได้ครึ่งเดือน) ก็บรรลุปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน ในปฐมยามแห่งราตรี บรรลุวิชชาที่ ๑ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี บรรลุวิชชาที่ ๒ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี บรรลุวิชชาที่ ๓ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปัญจวัคคีย์ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3 ทรงมีความขวนขวายน้อย อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ก็หมู่สัตว์นี้ มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะเห็นฐานะนี้ได้โดยยากคือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย (ปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัยแห่งธรรม (อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท)) (อาลัย คือกามคุณ ๕ ที่สัตว์พัวพัน ยินดี เพลิดเพลิน เป็นชื่อเรียกกิเลส ๒ อย่าง คือ กามคุณ ๕ และตัณหาวิปริต ๑๐๘ ตัณหาิวิปริต ๑๐๘ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐ ธรรม = 6, กาม ภพ วิภพ = 3, อายตนภายใน อายตนภายนอก = 2, อดีต อนาคต ปัจจุบัน = 3 --> 6 x 3 x 2 x 3 = 108) แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก คือ สภาพเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความปราศจากความกำหนัด ความดับโดยไม่เหลือ นิพพาน ก็เราจะพึงแสดงธรรม และสัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรานั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นความลำบากเปล่าของเรา ที่นั้น คาถาอันอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏ แจ่มแจ้งกับอาตมภาพว่า บัดนี้ ยังไม่สมควรจะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรม นี้อันสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะ โทสะครอบงำ ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส (ทวนกระแสคือ ทวนอนิจฺจํ (ไม่เที่ยง) ทุกฺขํ (เป็นทุกข์) อนตฺตา (เป็นอนัตตา) อสุภํ (ไม่งาม) (ม.มู.อ.๒/๒๘๑/๘๔, วิ.อ. ๓/๗/๑๔)) ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ดังนี้ เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมภาพก็น้อมไปเพื่อความ เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5 //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=3#ตัณหา_๑๐๘ #ตัณหา_๑๐๘ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจของอาตมภาพ ด้วยใจแล้ว ได้มีความปริวิตกว่า โลกจะฉิuหายละหนอ เพราะจิตของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้มาปรากฏข้างหน้าของอาตมภาพ ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุ (ราคะ โทสะ โมหะในปัญญาจักษุ) น้อยมีอยู่ ย่อมจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่ (เหตุการณ์นี้เป็นที่มาแห่งพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม (ดู ขุ.พุทธ. ๓๓/๑/๔๓๕)) ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าว คาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลาย (เจ้าลัทธิทั้ง ๖) คิดกันแล้ว ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏใน ชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรม ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มี เมธา (ปัญญา) ดี มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม ทรงพิจารณาดู ประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก อันชาติชราครอบงำแล้ว เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหินล้วน พึง เห็นประชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะ สงคราม (ชนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร) แล้ว ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร (สามารถนำสัตว์ข้ามที่กันดารคือชาติ (ความเกิด) และสามารถเป็นผู้นำของหมู่สัตว์คือ เวไนยสัตว์) ผู้ไม่เป็นหนี้ (ไม่มีกามฉันท์ - เปรียบเหมือนไม่มีหนี้) ขอจงเสด็จ ลุกขึ้นเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่ คำว่า เจ้าลัทธิทั้ง ๖ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถกร //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มาร_5 [มีต่อ] ความคิดเห็นที่ 3-126 [ต่อ] เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า ครั้นอาตมภาพทราบว่า ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุ (ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕)) น้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ๑. บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ (เนยยะ บานในวันที่ ๓) ๒. บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ (วิปจิตัญญู บานในวันรุ่งขึ้น) ๓. บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด (อุคฆิตัญญู บานวันนี้) (ในอรรถกถาตามที่ปรากฏใน องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๐/๑๑๑,๑๔๘-๑๕๑/๑๕๒ ปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำ ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน (ในอัตภาพนี้) กลายเป็นอาหารของปลาและเต่า) ครั้งนั้นอาตมภาพได้กล่าวกับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่ กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า อาตมภาพเปิดโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง [อรรถกถา] พุทธจักษุ หมายถึง (๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่า สัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนเนื่องอยู่ ทรงปรารภถึงคนที่จะทรงแสดงธรรมก่อน อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครรู้จะทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรม แก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อนเถิด เธอรู้จักทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละ (ตาย) เสีย ๗ วันแล้ว และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่อาตมภาพดังนี้เช่นกัน อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่ ถ้าเธอพึงได้ฟังธรรมนี้ พึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว พระผู้มีพระภาคทรงดำริถึงอุททกดาบส รามบุตร นัยเดียวกับที่ทรงดำริ ถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร แต่อุททกดาบส รามบุตร ได้ตายไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้ (เสื่อมใหญ่ คือ เพราะเสื่อมจากมรรคและผลที่จะพึงบรรลุ เพราะเกิดใน อักขณะ / อขณะ / อสมัย (เวลาที่ไม่ควรจะตรัสรู้) คือ อาฬารดาบส ตายไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ (๖๐,๐๐๐ กัป) ส่วนอุทกดาบส ตายไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ (๘๔,๐๐๐ กัป) ซึ่งเป็นพรหมอายุยืนและไม่มีรูป) อักขณสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4639&Z=4716 ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก บำรุงเรา ผู้มีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อนเถิด แล้วอาตมภาพได้มีความดำริว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ด้วยทิพจักษุ ครั้นอาตมภาพอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามควรแล้ว จึงได้หลีกจาริกไปทางเมืองพาราณสี อุปกาชีวกได้พบอาตมภาพผู้เดินทางไกล ที่ระหว่างแม่น้ำคยาและไม้โพธิ์ต่อกัน แล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร? อาตมภาพได้กล่าวตอบอุปกาชีวกด้วยคาถาว่า เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภพ ๓) เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔) อันตัณหา และทิฏฐิไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภพ ๓) เป็นผู้ละธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภพ ๓) น้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จะ พึงเจาะจงใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี (ไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม) คนผู้เช่นกับด้วยเราก็ไม่มี บุคคลผู้เปรียบด้วยเรา ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เป็นศาสดา ไม่มีศาสดาอื่น ยิ่งขึ้นไปกว่า เราผู้เดียวตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้เย็น เป็นผู้ ดับ (ไฟกิเลส) สนิทแล้ว เราจะไปยังเมืองกาสี เพื่อจะยังธรรมจักรให้ เป็นไป เมื่อสัตว์โลกเป็นผู้มืด เราได้ตีกลองประกาศอมตธรรมแล้ว อุปกาชีวกถามว่า ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด (อนันตะชินะ) ฉะนั้นหรือ? อาตมภาพตอบว่า ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหา เช่นเราแหละ ชื่อว่าเป็น ผู้ชนะ บาปธรรมทั้งหลาย อันเราชนะแล้ว เหตุนั้นแหละ อุปกะ เราจึงว่า ผู้ชนะ เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวก กล่าวว่า พึงเป็นให้พอเถิดท่าน สั่นศีรษะ แลบลิ้น แล้วหลีกไปคนละทาง //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปัญจวัคคีย์ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาชีวก //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4#find1 #find1 เสด็จเข้าไปหาพระปัญจวัคคีย์ ครั้งนั้น อาตมภาพเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้เห็นอาตมภาพกำลังมาแต่ไกล ได้ตั้งกติกาสัญญากันไว้ว่า พระสมณโคดมพระองค์นี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความ เป็นผู้มักมาก กำลังมาอยู่ เราทั้งหลายไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวร แต่พึงแต่งตั้งอาสนะไว้ ถ้าเธอปรารถนาก็จะนั่ง อาตมภาพเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยประการใดๆ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจ จะตั้งอยู่ในกติกาของตน ด้วยประการนั้นๆ บางพวกลุกรับอาตมภาพ รับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ บางพวกตั้งน้ำล้างเท้า แต่ยังร้องเรียกอาตมภาพโดยชื่อ และยังใช้คำว่า อาวุโส อาตมภาพได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าร้องเรียกตถาคตโดยชื่อ และใช้คำว่าอาวุโสเลย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด (ตั้งใจฟังให้ดี) เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไร ก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวว่า แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุ อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ท่านเป็นคนมักมาก ฯลฯ จะบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส ได้อย่างไรเล่า อาตมภาพได้กล่าวว่า ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก ฯลฯ ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่าอย่างนั้นอยู่ ๓ ครั้ง อาตมภาพก็กล่าวเช่นเดิม จนครั้งที่ ๓ อาตมภาพกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า ในกาลก่อนแต่นี้ เราได้กล่าวคำเห็นปานนี้? (ที่ผ่านมาพระองค์เคยตรัสอย่างนี้หรือว่า ทรงเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ) ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า อาตมภาพจึงได้กล่าวว่า ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ อาตมภาพสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมแล้ว วันหนึ่ง อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุ ๒ รูป ภิกษุอีก ๓ รูปไปเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุ ๓ รูปไปเที่ยวบิณฑบาตได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้ง ๖ รูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปไปเที่ยวบิณฑบาต ได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้ง ๖ รูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่เช่นนี้ไม่นาน ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาวุโส [มีต่อ] ความคิดเห็นที่ 3-127 [ต่อ] ทรงแก้ปัญหาของโพธิราชกุมาร เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมาร ได้ทูลถามว่า เมื่อภิกษุได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนำ โดยกาลนานเพียงไรหนอ จึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ หรือไม่ โพธิราชกุมารทูลว่า ตนเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อว่า บุรุษพึงมาในเมืองนี้ด้วยคิดว่า พระองค์ทรงรู้ศิลปศาสตร์นั้น จึงหวังจะเรียน ในสำนักของพระองค์ แต่ ๑. เขาไม่มีศรัทธา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาพึงบรรลุ ๒. เขามีอาพาธมาก จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึงบรรลุ ๓. เขาเป็นคนโอ้อวด มีมายา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาพึงบรรลุ ๔. เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๕. เขาเป็นผู้มีปัญญาทราม จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักของพระองค์หรือไม่ โพธิราชกุมารทูลตอบว่า บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็ไม่ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักของตน จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ ๕ เล่า พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า ถ้า ๑. เขาเป็นผู้มีศรัทธา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาพึงบรรลุ ๒. เขาเป็นผู้มีอาพาธน้อยจะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึงบรรลุ ๓. เขาเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงบรรลุ ๔. เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๕. เขาเป็นผู้มีปัญญา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ พระผู้มีพระภาคตรัสถามเช่นเดิม โพธิราชกุมารทูลตอบว่า บุรุษนั้นแม้ประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักของตนได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ ๕ เล่า องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เหล่านี้ (ปธานิยังคะ) ก็ฉันนั้นเหมือนกันคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต คือเชื่อพระพุทธคุณ ๙ [อรรถกถา] หมายถึงศรัทธา ๔ ประการ คือ (๑) อาคมนสัทธา ได้แก่ ความเชื่อต่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ เพราะศรัทธานั้นมีมาแต่ตั้งความปรารถนา (๒) อธิคมนสัทธา ได้แก่ ความเชื่อเพราะบรรลุมรรคผล ของพระอริยสาวกทั้งหลาย (๓) โอกัปปนสัทธา ได้แก่ ความปลงใจเชื่อโดยไม่หวั่นไหว เมื่อกล่าวว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (๔) ปสาทสัทธา ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส แต่ในที่นี้ประสงค์เอาโอกัปปนสัทธา (ม.ม.อ. ๒/๓๔๔/๒๓๗) ๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลางควรแก่ความเพียร ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูทั้งหลาย ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เข้าถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๕. เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและดับเป็นอริยะ (อุทยัพพยญาณอันกำหนดลักษณะ ๕๐) สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคต เป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ใช้เวลาเพียง ๗ ปี ๖ ปี ๕ ปี ... ลงไปจนถึงเมื่อทรงสั่งสอนในเวลาเย็น จะบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า เมื่อทรงสั่งสอนในเวลาเช้า จะบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น โพธิราชกุมารได้ทูลสรรเสริญว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว เป็นอัศจรรย์ เพราะภิกษุที่พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนในเวลาเย็น จะบรรลุคุณวิเศษ ได้ในเวลาเช้า ที่พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนในเวลาเช้า จะบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น มาณพสัญชิกาบุตรได้ทูลโพธิราชกุมารว่า ท่านโพธิราชกุมาร แม้ตรัสเช่นนี้ แต่ท่านหาได้ทรงถึงพระโคดม พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสมณะไม่ คำว่า ลักษณะ ๕๐ //84000.org/tipitaka/read/?31/104-111 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9 พระโพธิราชกุมารถึงสรณคมน์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โพธิราชกุมารตรัสว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ๑. เราได้ฟังมาจากเจ้าแม่ของเราว่า ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น เจ้าแม่ของเรากำลังทรงครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลว่า ลูกคนอยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้ เป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม เขาย่อม ถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงจำ เขาว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ๒. เราได้ฟังมาจากเจ้าแม่ของเราว่า ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าเภสกลามิคทายวัน ใกล้เมือง สุงสุมารคิระ ในภัคคชนบทนี้ ครั้งนั้น แม่นมอุ้มเราเข้าสะเอวพาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลว่า โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำโพธิราชกุมารนั้นว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ๓. แม้ในครั้งที่ ๓ เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป [แก้ไขตาม #3-128] ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
๓๕. โพธิราชกุมารสูตร เรื่องโพธิราชกุมาร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236&bgc=aliceblue&pagebreak=0
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตนครสุงสุมารคิระ
ในภัคคชบท
สมัยนั้น ปราสาทชื่อโกกนุท ของพระราชกุมารพระนามว่าโพธิ สร้างแล้วใหม่ๆ
สมณพราหมณ์หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่งยังไม่ได้อยู่
ครั้งนั้น โพธิราชกุมารรับสั่งให้มาณพนามว่าสัญชิกาบุตร ไปทูลอาราธนา
พระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์รับภัตตาหารเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้
มาณพสัญชิกาบุตรไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลอาราธนา
ตามที่โพธิราชกุมารรับสั่ง พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ
พอล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉัน
อย่างประณีต และรับสั่งให้เอาผ้าขาวปูลาดโกกนุทปราสาทตลอดถึงบันไดขั้นสุด
(ขั้นแรก) แล้วทรงให้มาณพสัญชิกาบุตรไปทูลเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร
โพธิราชกุมารเสด็จนำหน้าพระผู้มีพระภาคเข้าไปยังโกกนุทปราสาท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคหยุดประทับอยู่ที่บันไดขั้นสุด
โพธิราชกุมารจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ขอเชิญพระองค์ทรงเหยียบผ้าขาวไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
แก่ตนตลอดกาลนาน
แต่พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเสีย
โพธิราชกุมารกราบทูลอีก ๒ ครั้ง พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งทุกครั้ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทอดพระเนตรท่านพระอานนท์
ท่านพระอานนท์จึงทูลโพธิราชกุมารว่า
จงเก็บผ้าขาวเสียเถิด พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้า
พระตถาคตเจ้าทรงแลดูประชุมชนผู้เกิดในภายหลัง
(โพธิราชกุมารทรงเสี่ยงทายว่า ถ้าจะได้บุตร ขอให้ทรงเหยียบแผ่นผ้า
พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า โพธิราชกุมารจะไม่มีบุตร จึงไม่ทรงเหยียบ
พวกเดียรถีย์ก็จะิติเตียนได้ว่า พวกภิกษุทำสิ่งที่ไม่สมควร
นอกจากนี้ ในอนาคตย่อมมีภิกษุที่ไม่ทราบจิตของคนอื่น
ถ้าตรงก็ดีไป ถ้าไม่ตรง มนุษย์ก็เดือดร้อน
ในพระวินัย จึงทรงบัญญัติข้อห้ามเหยียบผ้าที่ปูไว้ แต่ภายหลัง
ทรงอนุญาตให้เหยียบได้ ถ้าเจ้าของบ้านประสงค์ให้เป็นมงคล)
ทรงห้ามเหยียบแผ่นผ้า
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=7&item=123#123
โพธิราชกุมารจึงรับสั่งให้เก็บผ้า แล้วให้ปูลาดอาสนะที่ปราสาทชั้นบน
พระผู้มีพระภาคเสด็จขึ้นปราสาท แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้
ถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว โพธิราชกุมารกราบทูลว่า
ตนมีความเห็นว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี
ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ก็ด้วยความทุกข์
ทรงเข้าไปหาอาฬารดาบสและอุทกดาบส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อาตมภาพก่อนจะตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้น ก็มีความคิดเห็นเหมือนพระองค์
สมัยต่อมา เมื่ออาตมภาพยังเป็นหนุ่ม มารดาบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช)
ได้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาว่า อะไรจะเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบท
(ทางอันประเสริฐไปสู่สันติ) อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า จึงเข้าไปหาอาฬารดาบส
กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า
ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้
อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า
ท่านจงอยู่เถิด ธรรมนี้เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่บุรุษผู้ฉลาด (วิญญูชน)
จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่
ได้ในเวลาไม่นาน
อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย
สามารถกล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา
เท่านั้น (ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น)
(ญาณวาท คือลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ารู้ชัด, เถรวาท คือลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ามั่นคง)
อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น
(ทั้งพระองค์และผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น)
อาตมภาพนั้นมีความคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร จะประกาศได้ว่า
เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธา
เท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่ ที่จริงอาฬารดาบส กาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่ด้วยอย่างแน่นอน
(รู้ทั้งปริยัติและได้สมาบัติ ๗)
ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า
ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ (เพราะอะไร)?
อาฬารดาบส กาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ
อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น
มีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา
อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ...
มีปัญญา หามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา
อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตร
ประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่นั้นให้แจ้งเถิด
อาตมภาพนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้น
โดยฉับพลันไม่นานเลย
ครั้นแล้วได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วได้ถามว่า
ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้ประกาศให้ทราบ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ?
อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
อาตมภาพได้กล่าวว่า
แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศ
ให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า
เป็นลาภของเราทั้งหลายหนอ เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบ
สพรหมจารีเช่นท่าน
เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ
ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนั้นอยู่
ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใด เราก็ทำให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ
เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น
เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น
บัดนี้ เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสกับโพธิราชกุมารว่า
อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นอาจารย์ของอาตมภาพ ยังตั้งให้อาตมภาพ
ผู้เป็นอันเตวาสิก (ศิษย์) ไว้เสมอตน และยังบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ด้วยประการฉะนี้ อาตมภาพนั้นมีความคิดเห็นว่า
ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ย่อมเป็นไปเพียงให้อุปบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น
อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นแล้วหลีกไปเสีย
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร
นัยเดียวกับที่เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร
อุททกดาบส รามบุตร ทูลบอกเนวสัญญานาสัญญายาตนสมาบัติ
(สมาบัติ ๘) แก่พระองค์
พระองค์ไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไปเช่นเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อากิญจัญญายตน&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เนวสัญญานาสัญญายตน&detail=on
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า
เมื่ออาตมภาพแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่น
ยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม
ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์ สมควรเป็นที่ทำความเพียร
จึงนั่งบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้นนั่นเอง
อุปมา ๓ ข้อ
ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่ได้เคยฟังมาก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่เขาแช่ไว้ในน้ำ บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเพื่อจะก่อไฟ
ไฟย่อมไม่ติดเพราะไม้สดนั้นมียางทั้งยังแช่ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อย
ลำบากเปล่า ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม
ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม ยังกระหายในกาม
ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะ
ความเพียรก็ดี หรือถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี
ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ
บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเพื่อจะก่อไฟ
ไฟย่อมไม่ติดเพราะไม้สดนั้นมียาง บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อย
ลำบากเปล่า ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น มีกายหลีกออกจากกาม
แต่ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม มีความกระหาย
ในกาม มีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิด
เพราะความเพียรก็ดี หรือถึงแม้จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะ
ความเพียรก็ดี
ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๓. เปรียบเหมือนไม้อันแห้งสนิทที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ
บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเพื่อจะก่อไฟ
ไฟย่อมติดเพราะไม้แห้งสนิท ทั้งเขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น มีกายหลีกออกจากกามแล้ว
ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่ระหายในกาม
ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีในภายใน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิด
เพราะความเพียรก็ดี หรือถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะ
ความเพียรก็ดี
ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ อันไม่มีกรรมอื่นยิ่งกว่าได้
[มีต่อ]