19.11 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.10 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-12-2013&group=2&gblog=7

ความคิดเห็นที่ 10-107
ฐานาฐานะ, 20 กรกฎาคม เวลา 08:10 น.

GravityOfLove, 14 นาทีที่แล้ว
             คำถามอภัยราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1607&Z=1725&pagebreak=0&bgc=lavender

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิ-บ-หายแล้ว.
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๙๓

อธิบายว่า พวกนิครนถ์ (นิครนถ์นาฏบุตรเป็นประธาน) คิดว่า
คำถามของเขานี้เฉียบขาดลึกซึ้งแล้ว คิดว่า เขาฉลาดแล้ว คิดว่า คำถามนี้จะตอบไป
ทางใดทางหนึ่ง แต่ที่จริงแล้ว ตอบไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้ ต้องแยกแยะตอบ
(ปัญหาที่พึงจำแนกพยากรณ์มีอยู่)
             ดังนั้น ปัญหาที่ตื้น แต่สำคัญว่าลึกซึ้ง, ไม่ฉลาดแต่สำคัญว่าฉลาด
ปัญหาที่ควรแยกแยะตอบ สำคัญว่าตอบไปทางเดียว นี้ก็เสียหายอยู่แล้วข้อที่ 1
ทั้งคิดจะรุกรานพระผู้มีพระภาคด้วยสิ่งเหล่านี้ ก็เสียหายอีกเป็นข้อที่ 2.

             ปัญหาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=21&A=1234

             ๒. บรรดาวาจาสองฝ่ายนั้น ... ในที่นั้นหมายเอาวาจาที่ไม่น่ารักวาจาที่สาม
             ไม่เข้าใจเลยค่ะ ทราบว่า วาจาแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายวาจาเป็นที่รัก
และฝ่ายวาจาไม่เป็นที่รัก
             แต่ละฝ่ายแบ่งเป็นวาจาที่ ๑ วาจาที่ ๒ วาจาที่ ๓
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91&bgc=lavender

อธิบายว่า
//84000.org/tipitaka/read/?13/94
             ในข้อ 94 สรุปว่า มีวาจา 6 อย่าง คือ
             1. เท็จ ไม่มีประโยชน์ ไม่ชอบใจ
             2. จริง ไม่มีประโยชน์ ไม่ชอบใจ
             3. จริง มีประโยชน์ ไม่ชอบใจ

             4. เท็จ ไม่มีประโยชน์ ชอบใจ
             5. จริง ไม่มีประโยชน์ ชอบใจ
             6. จริง มีประโยชน์ ชอบใจ

             บรรดาวาจาสองฝ่ายนั้น ในฝ่ายวาจาไม่เป็นที่รัก วาจาแรกที่เป็นไป ตู่คนที่ไม่ใช่โจรว่าโจร
ตู่คนที่ไม่ใช่ทาสว่าทาส ตู่คนที่ไม่ใช่ผู้ประกอบกรรมชั่วว่าคนประกอบกรรมชั่ว ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น.
อธิบายว่า การกล่าวตู่เป็นเท็จด้วย ไม่มีประโยชน์ด้วย ทั้งไม่เป็นที่ชอบใจของคนฟัง เข้าข้อ 1.
- - - - - - - - - -
             วาจาที่สองเป็นไปด้วยอำนาจวาจาที่ชี้ผู้เป็นโจรเท่านั้นว่าผู้นี้โจร ดังนี้เป็นต้น ตถาคตไม่กล่าววาจาแม้นั้น.
อธิบายว่า การชี้โจรว่าเป็นโจร เป็นจริง แต่ก็ไม่มีประโยชน์ และทั้งไม่เป็นที่ชอบใจของคนฟัง เข้าข้อ 2.
- - - - - - - - - -
             บัดนี้พึงทราบวาจาที่สาม คือวาจาที่กล่าวด้วยมุ่งประโยชน์เป็นเบื้องหน้า ด้วยมุ่งธรรมเป็นเบื้องหน้า
ด้วยมุ่งสั่งสอนเป็นเบื้องหน้าแก่มหาชนอย่างนี้ว่า เพราะความที่ท่านไม่ได้ทำบุญไว้ ท่านจึงยากจน
มีผิวพรรณทราม มีอำนาจน้อย แม้ดำรงอยู่ในโลกนี้แล้วก็ยังไม่ทำบุญอีก ในอัตภาพที่สอง
ท่านจะพ้นจากอบาย ๔ ได้อย่างไร.
อธิบายว่า การแสดงธรรมเช่น การบอกเหตุว่า ท่านจน เพราะไม่ได้ทำบุญเป็นต้น
เป็นจริง มีประโยชน์เพราะผู้ฟังจะได้เข้าใจเหตุ แต่ไม่น่าพอใจเพราะกล่าวตอบผู้ฟังที่ยากจน
ว่าเขายากจน และถ้ายังไม่ทำบุญอีกจะพ้นจากอบายได้อย่างไร ผู้ฟังที่ยากจนมักไม่พอใจบ้าง
เข้าข้อ 3.
- - - - - - - - - -
             บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลญฺญู ตถาคโต ความว่า ตถาคตเป็นผู้รู้กาลเพื่อประโยชน์แก่การพยากรณ์วาจานั้น
ในการพยากรณ์ที่สามนั้น.
อธิบายว่า ตถาคตรู้กาลที่ถือเอาของที่ควรถือกาลที่ยอมรับของมหาชนแล้วจึงพยากรณ์ ในฝ่ายวาจาเป็นที่รัก
วาจาแรกชื่อว่าถ้อยคำที่ไม่ควรตั้งไว้ ถ้อยคำที่ไม่ควรตั้งไว้นั้นพึงทราบอย่างนี้.

อธิบายว่า ข้อ 3 และ 6 นี้รู้กาล พิจารณากาลที่เหมาะสมแก่การพยากรณ์วาจานั้น.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตั้งแต่คำว่า ดังได้ยินมา ชายแก่ชาวบ้านคนหนึ่งมายังพระนคร ...
จนถึงคำว่า ครั้งนั้น ชายแก่ชาวบ้านคนนั้นก็คว้าตัวนักเลงเหล่านั้นไปขึ้นโรงศาล ยกลักษณะทาสขึ้นฟ้อง
ทำเขาให้ตกเป็นทาสใช้สอยไปตลอดชีวิต. ตถาคตไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานฉะนี้.
อธิบายว่า น่าจะตัวอย่างของเรื่องเท็จ ไม่มีประโยชน์ แต่อาจเพลิดเพลินได้
เพราะนึกเหตุให้ชอบใจไม่ได้ จึงกล่าวเพียงว่า แต่อาจเพลิดเพลินได้.
- - - - - - - - - -
             วาจาที่สอง เป็นเถนวาจา (วาจาของขโมย) สำหรับคนอื่นมีประการต่างๆ เพราะเห็นแก่อามิส
หรือเพราะอำนาจความอยากดื่มเหล้าเป็นต้น และเป็นดิรัจฉานกถา ที่เป็นไปโดยนัยว่า เรื่องโจร
เรื่องพระราชาเป็นต้น. ตถาคตไม่กล่าววาจาแม้นั้น.
อธิบายว่า เรื่องจริงก็ตาม แต่ไม่มีประโยชน์ ผู้ฟังอาจจะชอบใจ
เพราะเพลิดเพลิน สนุกกับดิรัจฉานกถา เข้าข้อ 5.
- - - - - - - - - -
             วาจาที่สามเป็นกถาที่อิงอาศัยอริยสัจ ซึ่งเหล่าบัณฑิตฟังแม้ร้อยปีก็ไม่รู้สึกอิ่ม.
ดังนั้น ตถาคตจึงไม่กล่าววาจาจริงทั้งที่ไม่เป็นที่รัก ทั้งที่เป็นที่รัก กล่าวแต่วาจาที่สาม.
ไม่ให้เวลาที่ควรจะกล่าววาจาที่สามล่วงเลยไป.
             พึงทราบว่า ข้ออุปมาด้วยเรื่องเด็กหนุ่มอันมาแล้วแต่หนหลัง.
             ในที่นั้นหมายเอาวาจาที่ไม่น่ารักวาจาที่สาม.
อธิบายว่า ทรงกล่าวแต่วาจาที่สามของแต่ละหมวด (ชอบใจไม่ชอบใจ)
ไม่ให้กาลล่วงเลยไป เพราะรู้กาล พิจารณากาลจึงพยากรณ์
             พึงทราบว่า ... ในที่นั้นหมายเอาวาจาที่ไม่น่ารักวาจาที่สาม.
             น่าจะหมายถึงอุปมาเด็กทารกมีไม้หรือก้อนกรวดอยู่ในปาก ในพระสูตร
ก็คือข้อ 3. จริง มีประโยชน์ ไม่ชอบใจ.
------------------------------------------------------------------------------------------------

             ๓. ก็พระธรรมเทศนานี้จบลงด้วยอำนาจแห่งเวไนยบุคคลแล.
             ขอบพระคุณค่ะ
7:42 PM 7/19/2013
อธิบายว่า
             1. ในพระสูตรนั้น มีคำว่า สมัยนั้นแล เด็กอ่อนเพียงได้แต่นอน นั่งอยู่บนตัก
ของอภัยราชกุมาร ฯ ทำให้สันนิษฐานว่า เพราะมีเด็กอ่อน ฯลฯ จึงทรงยกอุปมานี้
             2. เพราะเหตุที่พระราชกุมารเป็นผู้ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถ.
ทำให้สันนิษฐานว่า จึงทรงยกคำถามย้อนกลับเรื่องคนมาถามส่วนประกอบของรถ
ถ้าคนไม่ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถ ย้อนกลับเรื่องรถ คนนั้นอาจตอบไม่ได้
หรือตอบได้แต่ชักช้าอยู่.
             ดังนั้น ทั้งอุปมาและคำถามย้อนกลับนี้ เป็นเฉพาะกรณีของพระราชกุมารนี้เท่านั้น
กล่าวคือ ก็พระธรรมเทศนานี้จบลงด้วยอำนาจแห่งเวไนยบุคคลแล.
------------------------------------------------------------------------------------------------

             ๔. อภัยราชกุมารและพระเจ้าอชาตศัตรูต่างก็เป็นพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารใช่ไหมคะ
8:03 PM 7/19/2013
ตอบว่า ใช่ครับ แต่น่าจะต่างมารดากัน.

ความคิดเห็นที่ 10-108
GravityOfLove, 20 กรกฎาคม เวลา 13:11 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-109
GravityOfLove, 20 กรกฎาคม เวลา 13:29 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๘. อภัยราชกุมารสูตร เรื่องอภัยราชกุมาร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น พระราชกุมารพระนามว่า อภัย  เสด็จเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร
             นิครนถ์นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารให้ไปยกวาทะ (โต้วาทะ) พระผู้มีพระภาค
เพื่อที่พระองค์จะได้มีชื่อเสียงระบือไปว่า
             ทรงยกวาทะแก่สมณโคดมผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้
             โดยให้ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อน คือ
             ๑. พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นบ้างหรือไม่
             ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
             ตถาคตพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น
             ให้ทูลว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน
เพราะแม้ปุถุชนก็พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น
             ๒. ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
             ตถาคตไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น
             ให้ทูลว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ทำไมพระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตต์ว่า
             เทวทัตต์จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง
เป็นผู้อันใครๆ เยียวยาไม่ได้ ดังนี้
             เพราะพระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตต์โกรธ เสียใจ
             เมื่อพระผู้มีพระภาคถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว
จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย เปรียบเหมือนกระจับเหล็กติดอยู่ในคอของบุรุษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิครนถ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปุถุชน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เทวทัต

             อภัยราชกุมารรับคำนิครนถ์นาฏบุตร แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แต่เมื่อทรงแหงนดูพระอาทิตย์แล้วทรงพระดำริว่า
             วันนี้มิใช่กาลจะยกวาทะแก่พระผู้มีพระภาค วันพรุ่งนี้เถิด เราจักยกวาทะ
แก่พระผู้มีพระภาคในนิเวศน์ของเรา
             (เพราะทรงพระดำริว่า ปัญหานี้นิครนถ์นาฏบุตรใช้เวลาแต่งถึง ๔ เดือน
ดังนั้นเวลาคงไม่พอสำหรับพระผู้มีพระภาคที่จะทรงพยากรณ์)
             จึงกราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคให้ไปฉันในวันรุ่งขึ้น
โดยมีพระผู้มีพระภาคเป็นที่ ๔ (คือมีภิกษุอื่นด้วยอีก ๓ รูป)
             อภัยราชกุมารทรงอังคาสพระผู้มีพระภาคด้วยขาทนียะโภชนียะ
อันประณีตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อังคาส
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ขาทนียะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โภชนียะ

             เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ อภัยราชกุมารได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             ๑. พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นบ้างหรือไม่?
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วนเดียวมิได้ (ตอบไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้ ต้องแยกแยะตอบ)
             ปัญหาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=21&A=1234

             อภัยราชกุมารทูลว่า พวกนิครนถ์ได้ฉิ-บ-ห-ายแล้ว
             ตรัสถามว่า ทำไมอภัยกุมารจึงตรัสเช่นนั้น
             อภัยกุมารจึงทูลเล่าข้อที่นิครนถ์นาฏบุตรสอนให้มาทูลถามแด่พระผู้มีพระภาคทุกประการ
             ขณะนั้น มีเด็กอ่อนที่ได้แต่นอน นั่งอยู่บนตักของอภัยราชกุมาร
(ทรงอุ้มมาด้วยเผื่อว่าถ้าตนแพ้จะได้มีเรื่องอื่นทำแก้ขวย)
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอภัยราชกุมารว่า
             ถ้ากุมารนี้อาศัยความเผลอของพระองค์หรือของหญิงพี่เลี้ยง
นำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ในปาก
             พระองค์จะพึงทำเด็กนั้นอย่างไร?
             อภัยราชกุมารทูลตอบว่า
             ตนจะพึงนำออกเสีย ถ้ายังนำออกไม่ได้ก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะ
แล้วงอนิ้วมือขวาควักไม้หรือก้อนกรวดออกมา แม้จะเลือดออกก็ตาม
เพราะตนมีความเอ็นดูในกุมาร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
             - ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ (รู้ว่าเป็นวาจาเท็จ) ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
             - ย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
             - ย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
             ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

             - ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
             - ย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
             - ย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์
และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
             ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

             เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย
             ๒. กษัตริย์ผู้บัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้บัณฑิตก็ดี คฤหบดีผู้บัณฑิตก็ดี
สมณะผู้บัณฑิตก็ดี ผูกปัญหา (ตั้งปัญหา) แล้วเข้ามาเฝ้าทูลถามพระตถาคต
             การพยากรณ์ปัญหาของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรึก
ด้วยพระหฤทัยไว้ก่อนว่า
             บัณฑิตทั้งหลายจะเข้ามาเฝ้าเราแล้วทูลถามอย่างนี้ เราอันบัณฑิตเหล่านั้น
ทูลถามอย่างนี้แล้ว จะพยากรณ์อย่างนี้
             หรือว่าพยากรณ์นั้นมาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยทันที?
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามอภัยราชกุมารกลับว่า
             ถ้าชนทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ซึ่งฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถ
แล้วพึงทูลถามอย่างนี้ว่า
             ส่วนน้อยใหญ่ของรถอันนี้ ชื่ออะไร
             การพยากรณ์ปัญหาของชนเหล่านั้น พระองค์พึงตรึกด้วยใจไว้ก่อนว่า
ชนทั้งหลายเข้ามาหาเราแล้ว จักถามอย่างนี้ เราอันชนเหล่านั้นถามอย่างนี้
จักพยากรณ์อย่างนี้
             หรือว่าการพยากรณ์นั้นพึงแจ่มแจ้งแก่พระองค์โดยทันที?
             อภัยราชกุมารทูลตอบว่า
             ตนเป็นทหารรถ รู้จักดี ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถ
การพยากรณ์ปัญหานั้นแจ่มแจ้งกับตนโดยทันทีทีเดียว
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ฉันนั้นเหมือนกัน การพยากรณ์ปัญหานั้น ย่อมแจ่มแจ้งแก่ตถาคตโดยทันที
             เพราะความที่ธรรมธาตุนั้น ตถาคตแทงตลอดดีแล้ว การพยากรณ์ปัญหานั้น
จึงแจ่มแจ้งกับตถาคตโดยทันที
(ธรรมธาตุ ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรม เป็นชื่อของพระสัพพัญญุตญาณ)
อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารได้กราบทูลว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม #10-110]

ความคิดเห็นที่ 10-110
ฐานาฐานะ, 20 กรกฎาคม เวลา 19:15 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๘. อภัยราชกุมารสูตร เรื่องอภัยราชกุมาร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725&bgc=lavender&pagebreak=0
...
1:12 PM 7/20/2013
1:29 PM 7/20/2013

             ย่อความได้ดีครับ ขอติงสักเล็กน้อยดังนี้ :-
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วนเดียวมิได้ (ตอบไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้ ต้องแยกแยะตอบ)
- - - - - - - - - - - -
             ควรเพิ่มลิงค์ต่อท้ายด้วยปัญหาสูตร
             ปัญหาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=21&A=1234

ความคิดเห็นที่ 10-111
GravityOfLove, 20 กรกฎาคม เวลา 19:18 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-112
ฐานาฐานะ, 20 กรกฎาคม เวลา 19:19 น.

             คำถามในอภัยราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ในพระสูตรนี้มีเนื้อความของวาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์
ในพระสูตรหลักที่ได้ศึกษามาแล้ว มีพระสูตรใดที่เกี่ยวข้องกับวาจา?

ความคิดเห็นที่ 10-113
GravityOfLove, 20 กรกฎาคม เวลา 20:10 น.

             ตอบคำถามในอภัยราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. การตรัสวาจาของพระผู้มีพระภาคคือ หากเป็นวาจาที่จริง
และประกอบด้วยประโยชน์ จะตรัส ไม่ว่าวาจานั้นจะเป็นที่ชอบใจหรือไม่ก็ตาม
เพราะทรงมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย (พิจารณากาลที่เหมาะสมแก่การตรัสวาจานั้น)
              ๒. ถ้ามีคนตั้งปัญหามาทูลถามพระองค์ๆ ย่อมทรงทราบคำตอบทันที
              ๓. อภัยราชกุมารเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร
              ๔. ลักษณะของปัญหาที่นิครนถ์นาฏบุตรตั้งขึ้นมาถามพระผู้มีพระภาค
เรียกว่า โอวัฏฏิกสาระ (คือปัญหาวนเวียน)
- - - - - - - - - - - - -  -
             2. ในพระสูตรนี้มีเนื้อความของวาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์
ในพระสูตรหลักที่ได้ศึกษามาแล้ว มีพระสูตรใดที่เกี่ยวข้องกับวาจา?
             พระสูตรที่ตรัสเกี่ยวกับจุลศีล เช่น พรหมชาลสูตร เป็นต้น
             ๗. พระสมณโคดม ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ
ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.
//84000.org/tipitaka/read/?๑/๔

             ปาสาทิกสูตร
             [๑๑๙] ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต
เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต เป็นของจริง เป็นของแท้
ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น
             ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคตไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง
เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ
แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น
             ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นจริง ไม่แท้
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่ง
ที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่
พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้
ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น
             ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที
เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัยวาทีในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ
ปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่าตถาคโต ด้วยประการดังนี้แล ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?๑๑/๑๑๙

            ลักขณสูตร
            [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน
กำเนิดก่อน เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม แนะนำประ
ชาชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็น
ผู้บูชาธรรมเป็นปรกติ ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ
             [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อน ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูด
อิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบ
ประโยชน์โดยกาลอันควร ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=3182&Z=3922

             สังคีติสูตร
             [๒๙๒] ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
ธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
             เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
             เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง
             เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
             เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
             เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น
พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?๑๑/๒๙๒

             กกจูปมสูตร
             [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ
คือ
             กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
             กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
             กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
             กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
             มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม
จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิต
เมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน
เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะ
ในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
//84000.org/tipitaka/read/?๑๒/๒๖๗

           เวรัญชกสูตร
           ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติ
ธรรมด้วยวาจา ๔ อย่างเป็นไฉน?
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กล่าวคำเท็จ
             ... เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ได้ฟังแต่ข้างนี้แล้วนำไป
บอกข้างโน้น
             ... และกล่าววาจาที่เป็นเครื่องทำให้แตกกันเป็นพวก ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มี
วาจาหยาบ คือกล่าววาจาหยาบที่เป็นโทษ
             ... เป็นผู้กล่าวไร้ประโยชน์ คือ พูดในเวลาที่ไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง
พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง
ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่สมควร.
//84000.org/tipitaka/read/?๑๒/๔๘๙

            ในพระสูตรที่ตรัสเกี่ยวกับสิกขาและสาชีพ เช่น กันทรกสูตร
            ๗. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
โดยกาลอันควร.
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๑๒

ความคิดเห็นที่ 10-114
ฐานาฐานะ, 20 กรกฎาคม เวลา 21:24 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในอภัยราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725
8:11 PM 7/20/2013

              ตอบคำถามได้ดีครับ ข้อติงเล็กน้อยว่า
              ในคำตอบข้อ 2 น่าจะเว้นวรรค ตัดบรรทัดให้อ่านได้ง่ายด้วย.

              ขอเสริมสักเล็กน้อยดังนี้ :-
              เมื่อจบพระสูตรนี้แล้ว ท่านอภัยราชกุมารได้ไตรสรณคมน์
ต่อมาภายหลัง ทรงผนวชแล้วได้บรรลุพระอรหัตผล.
             อภัยเถรคาถา ว่าด้วยสุภาษิตสรรเสริญพุทธภาษิต
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=5130&Z=5134

ความคิดเห็นที่ 10-115
ฐานาฐานะ, 20 กรกฎาคม เวลา 21:25 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อภัยราชกุมารสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477

              พระสูตรหลักถัดไป คือพหุเวทนิยสูตร [พระสูตรที่ 9].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              พหุเวทนิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1726&Z=1832
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=97

              อปัณณกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1833&Z=2382
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=103

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:08:28 น.
Counter : 546 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog