19.2 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.1 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-13
GravityOfLove, 28 มิถุนายน เวลา 07:33 น.

ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไขย่อความ เพิ่มเนื้อความในส่วนที่ทำตนให้เดือดร้อนดังนี้
-------------- A
            ๓. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวาย
ในการทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และประกอบความขวนขวาย
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
             ได้แก่ พระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิกเษกแล้วหรือพราหมณ์มหาศาลที่
ให้ทำโรงที่บูชายัญขึ้น โกนผม โกนหนวด นุ่งหนังเสือ บูชาไฟ  
             แล้วฆ่าสัตว์เพื่อบูชายันต์
             ตัดต้นไม้ทำเป็นเสายัญ ทาสและกรรมกรที่ถูกบังคับเคี่ยวเข็ญให้ทำงานก็ร้องไห้
-------------- B
            ๓. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวาย
ในการทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และประกอบความขวนขวาย
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
             บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ดี
เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญ
             ปลงผมและหนวด นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ ทาตัวด้วยเนยใสและน้ำมัน
เกาหลังด้วยเขาสัตว์
             เข้าไปยังโรงบูชายัญหลังใหม่พร้อมด้วยผู้ติดตาม นอนบนพื้นหญ้าเขียวขจี
ไม่ได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด
             ดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ ของโคแม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว
ผู้ติดตามนอกนั้นก็ดำรงชีพด้วยน้ำนมเต้าที่เหลือ ลูกโคมีชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมที่เหลือ
             สั่งให้ฆ่าสัตว์บูชายัญ ตัดต้นไม้เพื่อทำเสาบูชายัญ เกี่ยวหญ้าเพื่อลาดพื้นที่
             ทาสและกรรมกรที่ถูกบังคับเคี่ยวเข็ญให้ทำงานก็ร้องไห้
-------------------
ข้อ A หรือข้อ B ดีคะ
-------------------------------------

             ตอบคำถามในกันทรกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1&Z=302

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บุคคล ๔ จำพวก
             ๒. กรุงจัมปา เป็นพระนครที่น่ารื่นรมย์ มีต้นจำปาขึ้นอยู่หนาแน่นตามริมสระโบกขรณี
ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในพระนครนั้น
             ณ ที่ไม่ไกลจากพระนครมีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่งมีชื่อว่าคัครา
             ที่มีชื่อเช่นนั้นก็เพราะพระมเหสีพระนามว่าคัครา ทรงให้ขุดไว้
             ๓. ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษการนั่ง ๖ ประการ ได้แก่
            (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป
(๖) อยู่ข้างหลังเกินไป
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=27&p=1#การนั่งที่มีโทษ_๖_อย่าง
             ๔. นั่งนิ่งเงียบอยู่ หมายถึงการนั่งด้วยอาการสำรวมกาย วาจา และใจ
ด้วยความเคารพพระผู้มีพระภาคประการหนึ่ง
             ด้วยความที่ได้รับการศึกษามาแล้วอย่างดีประการหนึ่ง
             ภิกษุทุกรูปสำรวมกายไม่โยกไหว ไม่คะนองมือและเท้า สำรวมวาจา ไม่พูดคุย
ไม่กระแอมไอ และสำรวมใจไม่ฟุ้งซ่าน
             เปรียบเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดี และเปรียบเหมือนมหาสมุทรที่ปราศจากลม
             ๕. มูรธาภิเษก หมายถึงการรดน้ำศักดิ์สิทธิ์เหนือพระเศียรในงานราชาภิเษกหรืองานพระราชพิธี
             ๖. ตถาคต ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค บัณฑิตเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ
             (๑) เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น
             (๓) เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง (๔) เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามความเป็นจริง
             (๕) เพราะทรงเห็นจริง (๖) เพราะตรัสวาจาจริง
             (๗) เพราะทรงทำจริง (๘) เพราะทรงครอบงำ (ผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก)
             ๗. ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ
             (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส
             (๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม,
ยศ, สิริ, ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการและความเพียร)
             (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลายตัณหาในภพทั้ง ๓
             (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น
             ๘. ทรงประการพรหมจรรย์ หมายถึงทรงแสดงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๒ ประการ คือ
             (๑) ทาน การให้ (๒) ไวยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือ
             (๓) ปัญจสิกขาบท ศีลห้า (๔) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร
             (๕) ธรรมเทศนา (๖) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน
             (๗) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน (๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ
             (๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา
             (๑๑) อัธยาศัย (๑๒) วิริยะ ความเพียร แต่ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ
             ๙. ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม กล่าวคือความเจริญหรือความสุข
             ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นคติ คือเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
             ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว
             ชื่อว่า นรก เพราะปราศจากความยินดี เหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ
             ๑๐. อจฺฉริยํ (อัศจรรย์) มี ๒ อย่างคือ ครหอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการติเตียน)
และปสังสาอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการสรรเสริญ)
             อัศจรรย์ในการติดเตียน เช่น ดูก่อนโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ดูก่อนโมคคัลลานะ
ไม่เคยมี โมฆบุรุษนั้นจักมาหา ก็ต่อเมื่อจับแขนมา.
             อัศจรรย์ในการสรรเสริญ เช่น ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์
ดูก่อนนันทมารดา ไม่เคยมี แม้จิตตุปบาทก็ชำระให้บริสุทธิ์ได้ << พระสูตรนี้
             ๑๑. ภิกษุเที่ยวไปใน อโคจร 6 และสําเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร 21 อย่าง
ชื่อว่าไม่เลี้ยงชีพด้วยปัญญา ครั้นตายไปก็จะเป็นสมณยักษ์เสวยทุกข์ใหญ่
แม้สังฆาฏิของภิกษุนั้นก็รุ่มร้อนเร้ารุม
             อโคจร 6 คือ เที่ยวไปหาหญิงแพศยา เที่ยวไปหาหญิงหม้าย หญิงสาวเทื้อ
บัณเฑาะก์ โรงสุราและภิกษุณี คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=604#604

             การแสวงหาอันไม่สมควร 21 อย่าง คือ
             ทำเวชกรรม ทำทูตกรรม ทำการส่งข่าว ผ่าฝี ให้ยาพอกฝี ให้ยาระบายอย่างแรง
ให้ยาระบายอย่างอ่อน หุงน้ำมันสำหรับนัตถุ์ หุงน้ำมันสำหรับดื่ม ให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้
ผลไม้ น้ำอาบ ไม้สีฟัน น้ำบ้วนปาก ให้ดินผงขัดตัว พูดให้เขารัก พูดทีเล่นทีจริง
ช่วยเลี้ยงดูเด็ก ช่วยส่งข่าวสาร

             ๑๒. แม้เมื่ออยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ย่อมมีอันตราย (สูญเสียโอกาส)
แก่มรรคผลได้เพราะความเสื่อมของกิริยา หรือเพราะบาปมิตร
             อันตรายเพราะความเสื่อมของกิริยา เช่น
             หากว่า พระธรรมเสนาบดีรู้อัธยาศัยของธนัญชานิยพราหมณ์แล้ว ได้แสดงธรรม
พราหมณ์นั้นจักได้เป็นพระโสดาบัน << พระสูตรนี้
             อีนตรายเพราะปาปมิตร เช่น หากว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของเทวทัตแล้วไม่ทำปิตุฆาต
พระเจ้าอชาตศัตรูจักได้เป็นโสดาบันในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามัญญผลสูตรนั่นเอง
แต่เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของเทวทัตนั้นแล้วทำปิตุฆาต จึงไม่ได้เป็นโสดาบัน

ความคิดเห็นที่ 10-14
ฐานาฐานะ, 28 มิถุนายน เวลา 08:44 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
...
7:33 AM 6/28/2013
              ข้อ A หรือข้อ B ดีคะ
              ข้อ B ดีกว่าครับ เพราะเนื้อความครบถ้วน.

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              ๘. ทรงประการพรหมจรรย์ หมายถึงทรงแสดงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๒ ประการ คือ
แก้ไขเป็น
              ๘. ทรงประกาศพรหมจรรย์ หมายถึงทรงแสดงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๒ ประการ คือ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๑๐. อจฺฉริยํ (อัศจรรย์) มี ๒ อย่างคือ ครหอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการติเตียน)
และปสังสาอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการสรรเสริญ)
              อัศจรรย์ในการติดเตียน เช่น ดูก่อนโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ดูก่อนโมคคัลลานะ
ไม่เคยมี โมฆบุรุษนั้นจักมาหา ก็ต่อเมื่อจับแขนมา.

              แก้ไขคำว่า ติดเตียน เป็นคำว่า ติเตียน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=23&A=4164&w=น่าอัศจรรย์_โมคคัลลานะ

              อัศจรรย์ในการสรรเสริญ เช่น ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์
ดูก่อนนันทมารดา ไม่เคยมี แม้จิตตุปบาทก็ชำระให้บริสุทธิ์ได้ << พระสูตรนี้

              อัศจรรย์ในการสรรเสริญ เช่น ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์
ดูก่อนนันทมารดา ไม่เคยมี แม้จิตตุปบาทก็ชำระให้บริสุทธิ์ได้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=23&A=1437&w=ดูกรนันทมารดา+น่าอัศจรรย์
              พระสูตรนี้เป็นอัศจรรย์ในการสรรเสริญ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๑๒. แม้เมื่ออยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ย่อมมีอันตราย (สูญเสียโอกาส)
แก่มรรคผลได้เพราะความเสื่อมของกิริยา หรือเพราะบาปมิตร
              อันตรายเพราะความเสื่อมของกิริยา เช่น
              หากว่า พระธรรมเสนาบดีรู้อัธยาศัยของธนัญชานิยพราหมณ์แล้ว ได้แสดงธรรม
พราหมณ์นั้นจักได้เป็นพระโสดาบัน << พระสูตรนี้
              อันตรายเพราะปาปมิตร เช่น หากว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของเทวทัตแล้วไม่ทำปิตุฆาต
พระเจ้าอชาตศัตรูจักได้เป็นโสดาบันในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามัญญผลสูตรนั่นเอง
แต่เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของเทวทัตนั้นแล้วทำปิตุฆาต จึงไม่ได้เป็นโสดาบัน
              เพิ่มเติมลิงค์ดังนี้ :-
              อันตรายเพราะความเสื่อมของกิริยา เช่น
              หากว่า พระธรรมเสนาบดีรู้อัธยาศัยของธนัญชานิยพราหมณ์แล้ว ได้แสดงธรรม
พราหมณ์นั้นจักได้เป็นพระโสดาบัน
              นัยจากธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

              อันตรายเพราะปาปมิตร เช่น หากว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของเทวทัตแล้วไม่ทำปิตุฆาต
พระเจ้าอชาตศัตรูจักได้เป็นโสดาบันในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามัญญผลสูตรนั่นเอง
แต่เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของเทวทัตนั้นแล้วทำปิตุฆาต จึงไม่ได้เป็นโสดาบัน
              นัยจากสามัญญผลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919

              พระสูตรนี้เป็นความเสื่อมแห่งกิริยาเกิดแก่อุบาสกแม้นี้ เมื่อเทศนายังไม่จบพราหมณ์ลุกหลีกไปเสีย.

ความคิดเห็นที่ 10-15
ฐานาฐานะ, 28 มิถุนายน เวลา 08:51 น.

บันทึกช่วยจำ :-
             เนื้อความในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ
             น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์รกชัฏเป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกาก เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวด
เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏ ๑- คือมนุษย์ สิ่งที่ตื้น ๒- คือสัตว์ พระพุทธเจ้าข้า
             ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าสามารถจะให้ช้างที่พอฝึกแล้วแล่นไปได้ ช้างนั้นจักทำนครจำปา
ให้เป็นที่ไปมาโดยระหว่างๆ จักทำความโอ้อวด ความโกง ความคด ความงอ นั้นทั้งหมดให้ปรากฏด้วย
ส่วนมนุษย์ คือทาส คนใช้ หรือกรรมกรของข้าพระพุทธเจ้า ย่อมประพฤติด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง
ด้วยวาจาเป็นอย่างหนึ่ง และจิตของเขาเป็นอย่างหนึ่ง
             น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ในเมื่อมนุษย์รกชัฏ
เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกาก เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวด
เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏ คือมนุษย์ สิ่งที่ตื้น คือสัตว์.
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
@(๑) เข้าใจยาก (๒) เข้าใจไม่ยาก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=1&Z=302

เนื้อความในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    น่าอัศจรรย์จริง    ไม่เคยปรากฏ    เพียงเท่านี้    พระผู้มี
พระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบประโยชน์    และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย    ในเมื่อ
คนรกโลก    คนเดนคน    คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้    เป็นความจริงที่คนสอนยาก
สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย    เพราะข้าพระองค์สามารถให้ช้างที่ฝึกแล้วทำตามได้    เช่น    ให้เดินไป
เดินมาในระหว่างกรุงจัมปาก็ได้    ให้ทำอาการต่าง  ๆ    คือ    ยกชูขาหน้าทั้ง    ๒    กลิ้ง
คู้เข่า    ย่อตัวได้ทุกอย่าง    แต่เหล่าชน    คือ    ทาสก็ดี    คนรับใช้ก็ดี    คนงานก็ดีของ
ข้าพระองค์    ทำอย่างหนึ่ง    พูดอย่างหนึ่ง    คิดอีกอย่างหนึ่ง    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์จริง    ไม่เคยปรากฏ    เพียงเท่านี้    พระผู้มีพระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบ
ประโยชน์และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย    ในเมื่อคนรกโลก    คนเดนคน
คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย”

ความคิดเห็นที่ 10-16
GravityOfLove, 28 มิถุนายน เวลา 08:51 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-17
ฐานาฐานะ, 28 มิถุนายน เวลา 08:58 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กันทรกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1&Z=302

              พระสูตรหลักถัดไป คืออัฏฐกนาครสูตร [พระสูตรที่ 2].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              อัฏฐกนาครสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=18

              เสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=24

              โปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=36

              ชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

ความคิดเห็นที่ 10-18
GravityOfLove, 28 มิถุนายน เวลา 22:29 น.
             คำถามอัฏฐกนาครสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. อรูปฌาน ๔ ทำไมไม่ตรัสถึงเนวสัญญาฯ คะ
             ๒. ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละคู่ๆ และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร
             << ถวายจีวรพระรูปอื่นๆ รูปละ ๒ ชื้น แต่ถวายพระอานนท์รูปเดียว ๓ ชิ้นหรือคะ
             ๓. แล้วให้สร้างวิหาร ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์ << พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐฯ
             คำว่า ปญฺจสตํ วิหารํ ความว่า ได้สร้างบรรณศาลาราคา ๕๐๐.  << อรรถกถา
และได้ให้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระอานนท์ << พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ

//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=18&bgc=lavender
             ๔. จริงอยู่ บุคคลเมื่อสามารถครอบงำฉันทราคะโดยประการทั้งปวงในสมถะและวิปัสสนา
ย่อมเป็นพระอรหันต์ เมื่อไม่สามารถก็จักเป็นพระอนาคามี << คำว่า ฉันทราคะ และ กามราคะ ไม่เหมือนกันหรือคะ
             ๕. ก็นักชอบพูดเคาะ พูดว่า "พระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาส เพราะอกุศล ตามพระบาลีว่า เตเนว ธมฺมราเคน ผู้นั้นจะพึงถูกกล่าวว่าจงชักพระสูตรมา ผู้นั้นเมื่อไม่เห็นบาลีอื่นก็จะชักบาลีนี่แหละมาเป็นแน่ ดังนั้น ผู้นั้นพึงถูกต่อว่าว่า ก็พระสูตรนี้มีอรรถที่ควรอธิบาย มีอรรถที่อธิบายมาแล้วหรือ. ผู้นั้นก็จักกล่าวว่า มีอรรถที่ท่านอธิบายไว้แล้วเป็นแน่ ต่อนั้นเขาจะพึงพูดต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความติดด้วยอำนาจความพอใจในสมถะและวิปัสสนา ก็จักเป็นกิเลสที่ผู้ต้องการอนาคามีผลพึงกระทำ เมื่อทำให้เกิดฉันทราคะขึ้น ก็จักแทงตลอดอนาคามิผล. ท่านอย่าแสดงลอยๆ ว่าข้าพเจ้าได้สูตรมาแล้ว ผู้แก้ปัญหาควรเรียนในสำนักของพระอริยเจ้าจนรู้แจ้งอรรถรสแล้วจึงแก้ปัญหา ด้วยว่าชื่อว่าการปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าในอบายด้วยกุศลไม่มี.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-19
ฐานาฐานะ, 29 มิถุนายน เวลา 05:35 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามอัฏฐกนาครสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=303&Z=479
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. อรูปฌาน ๔ ทำไมไม่ตรัสถึงเนวสัญญาฯ คะ
ตอบว่า เพราะเนวสัญญาฯ เป็นของสุขุมมาก.
              นัยจากอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕
              ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า.
              ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม.
              จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา.
              สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ.
              ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต
ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240

              ๒. ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละคู่ๆ และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร
              << ถวายจีวรพระรูปอื่นๆ รูปละ ๒ ชิ้น แต่ถวายพระอานนท์รูปเดียว ๓ ชิ้นหรือคะ              
ตอบว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น
              คำว่า ไตรจีวร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไตรจีวร

              ๓. แล้วให้สร้างวิหาร ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์ << พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐฯ
              คำว่า ปญฺจสตํ วิหารํ ความว่า ได้สร้างบรรณศาลาราคา ๕๐๐.  << อรรถกถา
              และได้ให้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระอานนท์ << พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=18&bgc=lavender

ตอบว่า อรรถกถาบาลีส่วนนี้ว่า
              ปญฺจสตวิหารนฺติ ปญฺจสตคฺฆนิกํ ปณฺณสาลํ กาเรสีติ อตฺโถ ฯ
              อาจจะเป็นว่า ให้สร้างวิหาร 500 หลัง หลังหนึ่งๆ มีราคา 500.

คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : อคฺฆํ
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อัก-คัง
คำแปลที่พบ : ค่า, วัตถุอันบูชา
              คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 2) : อคฺฆณโก
              คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อัก-คะ-นะ-โก
              คำแปลที่พบ : มีราคา
คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : อคฺฆติ
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อัก-คะ-ติ
คำแปลที่พบ : ควรค่า
              คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 2) : อคฺฆาเปติ
              คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อัก-คา-เป-ติ
              คำแปลที่พบ : ให้ตีราคา
คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : อคฺฆิยํ
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อัก-คิ-ยัง
คำแปลที่พบ : วัตถุอันควรบูชาแขก

              ๔. จริงอยู่ บุคคลเมื่อสามารถครอบงำฉันทราคะโดยประการทั้งปวงในสมถะและวิปัสสนา
ย่อมเป็นพระอรหันต์ เมื่อไม่สามารถก็จักเป็นพระอนาคามี << คำว่า ฉันทราคะ และ กามราคะ ไม่เหมือนกันหรือคะ
สันนิษฐานว่า ฉันทราคะในที่นี้ คือรูปราคะ อรูปราคะ
              คือยังมีความพอใจติดใจในรูปฌาน อรูปฌาน.
              คำว่า สังโยชน์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์

              ๕. ก็นักชอบพูดเคาะ พูดว่า "พระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาส เพราะอกุศล
ตามพระบาลีว่า เตเนว ธมฺมราเคน ผู้นั้นจะพึงถูกกล่าวว่าจงชักพระสูตรมา ผู้นั้นเมื่อไม่เห็นบาลีอื่น
ก็จะชักบาลีนี่แหละมาเป็นแน่ ดังนั้น ผู้นั้นพึงถูกต่อว่าว่า ก็พระสูตรนี้มีอรรถที่ควรอธิบาย
มีอรรถที่อธิบายมาแล้วหรือ. ผู้นั้นก็จักกล่าวว่า มีอรรถที่ท่านอธิบายไว้แล้วเป็นแน่
ต่อนั้นเขาจะพึงพูดต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความติดด้วยอำนาจความพอใจในสมถะและวิปัสสนา
ก็จักเป็นกิเลสที่ผู้ต้องการอนาคามีผลพึงกระทำ เมื่อทำให้เกิดฉันทราคะขึ้น ก็จักแทงตลอดอนาคามิผล.
ท่านอย่าแสดงลอยๆ ว่าข้าพเจ้าได้สูตรมาแล้ว ผู้แก้ปัญหาควรเรียนในสำนักของพระอริยเจ้าจนรู้แจ้งอรรถรสแล้ว
จึงแก้ปัญหา ด้วยว่าชื่อว่าการปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าในอบายด้วยกุศลไม่มี.
              ขอบพระคุณค่ะ
10:28 PM 6/28/2013

ตอบว่า อรรถกถากล่าวถึงคนที่พูดไปเรื่อยเปื่อย (นักชอบพูดเคาะ)
              นักชอบพูดเคาะอาจจะพูดว่า พระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาส เพราะอกุศล
โดยถือนัยไม่รอบคอบว่า เตเนว ธมฺมราเคน
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=20&Roman=0
              เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม (นั้น)
//84000.org/tipitaka/read/?13/20

              ซึ่งอรรถกถากล่าวแก้ว่า ไม่ใช่เกิดเพราะอกุศล แต่เกิดด้วยกุศล
เพราะว่า การปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าในอบายด้วยกุศลไม่มี.

ความคิดเห็นที่ 10-20
GravityOfLove, 29 มิถุนายน เวลา 06:58 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑



Create Date : 06 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 8:58:35 น.
Counter : 2437 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog