19.4 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.3 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-30
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม เวลา 10:46 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๓. เสขปฏิปทาสูตร ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
เขตเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
             สมัยนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างสันฐาคาร (ศาลาใหญ่)
ขึ้นใหม่ ซึ่งยังไม่มีมนุษย์คนใดได้ใช้
             จึงอาราธนาพระผู้มีพระภาคให้ทรงใช้ก่อนเป็นปฐมฤกษ์ เพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ตลอดไป
             พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ
             เมื่อถึงเวลาแล้วก็เสด็จไป เมื่อเสด็จถึงจึงประทับพิงเสากลาง
ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
             ภิกษุสงฆ์ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง)
พระผู้มีพระภาค
             ส่วนพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
ณ เบื้องพระพักตร์ (หน้า) พระผู้มีพระภาค
             จากนั้นทรงแสดงธรรม (อานิสงส์ในอาวาสทาน) แก่พวกเจ้าศากยะ
เมืองกบิลพัสดุ์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง
ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก (ล่วงปฐมยามไปมากแล้ว)
             แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า
             ดูกรอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคล (ข้อปฏิบัติของพระเสขะ
คือพระอริยะบุคคลผู้ยังศึกษา) จงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์เถิด
(เธอจงชี้แจงเสขปฏิปทาให้แจ่มแจ้งแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์เถิด)
             เราเมื่อยหลัง เราจักเหยียดหลังนั้น
             ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
             พระผู้มีพระภาคโปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น สำเร็จสีหไสยาสน์
ด้วยพระปรัส (สีข้าง) เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท
             มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการสัญญาในอันเสด็จลุกขึ้น
             ไสยา (การนอน) ๔ อย่าง
//84000.org/tipitaka/read/?21/246
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สีหไสยา

ผู้มีเสขปฏิปทา
             ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะ (ขณะนั้นเป็นหัวหน้าสูงสุด
ในบริษัทนั้น) มาว่า
             อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
             ๑. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
             ๒. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (อินทรีย์สังวร)
             ๓. รู้ประมาณในโภชนะ
             ๔. ประกอบความเพียรเครื่องตื่น
             ๕. ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ) ๗ ประการ
             ๖. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
             คำว่า เสขปฏิปทา, สัทธัมมสมันนาคโต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จรณะ_15
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัทธัมมสมันนาคโต&detail=on

๑. เป็นถึงพร้อมด้วยศีล คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
             เป็นผู้มีศีล
             สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ (รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่
ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์)
             ถึงพร้อมด้วยมารยาท (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
และทางใจ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง และความที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วย
มิจฉาอาชีวะ ที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ)
             และโคจร (การไม่เที่ยวไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป (อโคจร))
             มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
             สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย      
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปาฏิโมกข์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาติโมกข์&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาจาระ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โคจร
             คำว่า มิจฉาอาชีวะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา #อเนสนา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สิกขาบท#find6 #find6
             ว่าด้วย อโคจร
//84000.org/tipitaka/read/?29/917

๒. เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมกรรมทวาร (คือ กาย วาจา ใจ)
ในอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
             ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ถ้าไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุ
ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
             (ถือโดยนิมิต (รวบถือ) คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือชาย
เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์
ที่น่าปรารถนา ด้วยอำนาจฉันทราคะ
             ถือโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือ) คือมองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไปด้วยอำนาจ
กิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด
การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก
             ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก ก็เกิดอภิชฌา
             ถ้าเห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ก็เกิดโทมนัส)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิชฌา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โทมนัส

๓. เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
             พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร ไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา
เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม
             แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้
เพื่อบำบัดความอยากอาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
             ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย
ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่เป็นผาสุกจักมีแก่เรา

๔. เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น คือ
             อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม
เครื่องกั้นจิตด้วยการเดิน การนั่ง
             เวลากลางคืน ในปฐมยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต
ด้วยการเดิน การนั่ง
             เวลากลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา
ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น
             เวลากลางคืน ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมเครื่องกั้นจิตด้วยการเดิน การนั่ง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อปัณณกปฏิปทา_3

๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ
             อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
             ๕.๑ เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
             แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม (พุทธคุณ ๙)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             ๕.๒ เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก
             ๕.๓ เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมคุ้มครองโลก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทุจริต_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุจริต_3

             ๕.๔ เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว (ทรงสุตะ)
             สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว (สั่งสมสุตะ สุตะหมายถึงนวังคสัตถุศาสน์)
ซึ่งธรรมเหล่านี้ที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
             ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
             ธรรมทั้งหลายอันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้
สั่งสมด้วยวาจา (คล่องปาก) ตามเพ่งด้วยใจ (ขึ้นใจ)
แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นวังคสัตถุสาสน์

             ๕.๕ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม
             มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลาย
             (คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมายเอาทั้งความเพียรทางกาย
เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า
             “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิต
ไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดิน ด้วยการนั่งตลอดวัน”
             และความเพียรทางจิต เช่นความเพียรพยายามผูกจิตไว้
ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า
             “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”)
             คำว่า ความเพียร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=12&p=2

             ๕.๖ เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน
             ๕.๗ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและ
ความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรก (ทำลาย) กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
             (ในข้อนี้มุ่งที่ปัญญา เครื่องทำลายกิเลส ให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
             อันได้แก่วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา
             วิปัสสนาปัญญา เห็นความเกิดและความดับ,
             มรรคปัญญา ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
             ปัญญาทั้งสองอย่างนี้ ทำลายกิเลส)
             คำว่า วิปัสสนาปัญญา, มรรคปัญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ญาณ_16

๖. เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก
             (สามารถเข้าสมาบัติได้ในขณะที่ต้องการ สามารถข่มธรรมที่เป็น
อันตรายแห่งสมาธิไว้ได้ สามารถออกจากสมาบัติโดยเวลาตามที่กำหนดไว้ได้)
             คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุรูปฌาน ๔
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             อริยสาวกที่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีลอย่างนี้ ฯลฯ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อย่างนี้
             บัณฑิตสรรเสริญอริยสาวกนี้ว่า
             เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า
ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลส
เครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
             เปรียบเหมือนฟองไข่ที่แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว
ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
             ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้าหรือ
ด้วยจะงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด
             แต่ลูกไก่ในเปลือกไข่ก็คงทำลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น เพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ฯลฯ
เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อย่างนี้ บัณฑิตจึงสรรเสริญอริยสาวกนี้ว่า
             เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า
ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลส
เครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
             อริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ฯลฯ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ นี้
เป็นจรณะ (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา) ของอริยสาวกนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จรณะ

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 10-31
[ต่อ]

วิชชา
             อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมบรรลุวิชชา ๓ คือ
             ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
             ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่หนึ่งของอริยสาวกนั้น
เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น
             ๒. จุตูปปาตญาณ
             ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สองของอริยสาวกนั้น
เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น
             ๓. อาสวักขยญาณ
             ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สามของอริยสาวกนั้น
เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

คาถาสนังกุมารพรหม
             อริยสาวกนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาแม้เพราะเหตุนี้
             เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้
             เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้
             แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า
ในชุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร (ถือโคตรตระกูลเป็นใหญ่) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด
             ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์

             คาถานี้พระผู้มีพระภาคทรงอนุมัติว่า กล่าวได้ถูกต้องและมีประโยชน์

             ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี
(ทรงประทานสาธุการ)
             พวกเจ้าศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของท่านพระอานนท์

[แก้ไขตาม #10-32, #10-33]

ความคิดเห็นที่ 10-32
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม เวลา 23:51 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             คหบดีวรรค
             ๓. เสขปฏิปทาสูตร ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา
10:45 AM 7/2/2013

             ย่อความได้ดี รวมรวบประเด็นได้ครบถ้วน.
             มีข้อติงดังนี้ :-
             ย่อความนี้ไม่มีลิงค์ไปยังพระสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659
- - - - - - - - - - - - - - -

             คำว่า เสขปฏิปทา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จรณะ_15
ควรเพิ่มลิงค์
             คำว่า เสขปฏิปทา, สัทธัมมสมันนาคโต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จรณะ_15
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัทธัมมสมันนาคโต&detail=on
- - - - - - - - - - - - - - -

             ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ควรแก้ไขเป็น
             ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ
             อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
- - - - - - - - - - - - - - -

             ๕.๒ เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทุจริต_3

             ๕.๓ เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุจริต_3
ควรแก้ไขเป็น
             ๕.๒ เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก
             ๕.๓ เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมคุ้มครองโลก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทุจริต_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุจริต_3
- - - - - - - - - - - - - - -

             (คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมายเอาทั้งความเพียรทางกาย
เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า
             “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิต
ไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดิน ด้วยการนั่งตลอดวัน”
             และความเพียรทางจิต เช่นความเพียรพยายามผูกจิตไว้
ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า
             “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”)
             เนื้อความนี้นำมาจากไหน? ควรแสดงที่มาหรืออ้างอิงด้วย.

ความคิดเห็นที่ 10-33
GravityOfLove, 3 กรกฎาคม เวลา 06:19 น.

นำมาจากเชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ ค่ะ
ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์ และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ
ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมายเอา
ทั้งความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน” (อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๕๑๙/๓๐๐)
และความเพียรทางจิต เช่นความเพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่
เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓)
---------------------
ดูตัวย่อที่มาแล้วเปิดตามไม่ถูกค่ะ
แต่คุ้นๆ ว่าเคยเรียน ก็เลยลองหาเองว่า มาจากไหน
ความเพียรนี้นั้นมี ๒ อย่าง คือความเพียรทางกาย ๑ ความเพียรทางใจ ๑.
               ในสองอย่างนั้น พึงทราบความเพียรทางกายของภิกษุผู้พากเพียรพยายามทางกายตลอด ๕ ส่วนของกลางคืนและกลางวันอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมชำระจิตเสียจากธรรมที่พึงกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวัน.
               พึงทราบความเพียงทางจิตของภิกษุผู้พากเพียรพยายามผูกใจด้วยการกำหนดโอกาสอย่างนี้ว่า เราจักไม่ออกไปจากที่เร้นนี้ ตราบเท่าที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น หรือด้วยการกำหนดอิริยาบถมีการนั่งเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักไม่เลิกนั่งขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=12&p=2

ก็ได้ทั้งสองมาในลิงค์เดียวเลย
----------------------
เพิ่มเติมลิงค์ในย่อความดังนี้
            (คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมายเอาทั้งความเพียรทางกาย
เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า
             “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิต
ไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดิน ด้วยการนั่งตลอดวัน”
             และความเพียรทางจิต เช่นความเพียรพยายามผูกจิตไว้
ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า
             “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”)
             คำว่า ความเพียร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=12&p=2

ความคิดเห็นที่ 10-34
ฐานาฐานะ, 3 กรกฎาคม เวลา 06:48 น.

             คำถามในเสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 10-35
GravityOfLove, 3 กรกฎาคม เวลา 09:32 น.

             ตอบคำถามในเสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. การที่พวกเจ้าศากยะอาราธนาพระผู้มีพระภาคให้ทรงใช้อาคารหลังใหม่ก่อน
เป็นปฐมฤกษ์เพื่อความเป็นสิริมงคล คล้ายกับประเพณีทำบุญก่อนเข้าใช้อาคารหลังใหม่
ในปัจจุบัน ดังนั้นประเพณีนี้น่าจะมีมานานแล้ว (อย่างน้อยก็ในสมัยพุทธกาล)
             ๒. เสขปฏิปทาของพระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ๖ ประการ
ซึ่งก็คือ จรณะ ๑๕
             ๓.  จรณะ คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา ๓
             ๔. สิกขาแม้ทั้ง ๓ ก็รวมอยู่ในเสขปฏิปทา
             ๕. บัณฑิตกล่าวว่า อริยสาวกผู้มีเสขปฏิปทาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมควรจะตรัสรู้
เหมือนแม่ไก่ที่กกไข่อย่างดีด้วยกิริยา ๓ (ทับ กก อบให้ได้ไออุ่น) ไม่ได้ตั้งความหวังว่า
             ขอให้ลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออกมาโดยปลอดภัย
             แต่ลูกไก่ก็สามารถเจาะเปลือกไข่ออกมาได้โดยปลอดภัย
             ๖. เหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงให้ท่านพระอานนท์แสดงธรรมเกี่ยวกับเสขปฏิปทา
เพราะเป็นปฏิปทาที่เป็นมงคล เป็นปฏิปทาของผู้เจริญในพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งหวังความ
เป็นมงคลแก่สันฐาคารหลังใหม่
             และเพราะมีพระเสขบุคคลเป็นอันมากนั่งอยู่ในบริษัท เมื่อตรัสปฏิปทาข้อนี้แล้ว
พระเสขบุคคลเหล่านั้นจักกำหนดได้อย่างไม่ลำบาก
             ทั้งเป็นปฏิปทาที่รวมไว้ซึ่งไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหัวใจ
เป็นข้อปฏิบัติหลักในพระศาสนา
             ๗. เหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงเลือกท่านพระอานนท์เป็นผู้แสดงธรรมเสขปฏิปทา
เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า
             เจ้าศากยะเหล่านั้นมีความเลื่อมใสในท่านพระอานนท์ มุ่งหวังจะได้ฟังธรรมกถา
จากท่านพระอานนท์ผู้เป็นพระญาติ
             ๘. พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยา เพราะมีพระพุทธประสงค์จะทรงใช้
สันฐาคารด้วยพระอิริยาบถทั้ง ๔ ตามความดำริของพวกเจ้าศากยะ
             ๙. อานิสงส์ในอาวาสทาน
             ๑๐. เหตุที่ทรงปวดพระปฤษฎางค์
             ๑๑. ลูกไก่เกิดสองครั้ง คือออกจากท้องแม่ครั้งหนึ่ง ออกจากกะเปาะไข่ครั้งหนึ่ง
             อริยสาวกเกิดสามครั้งด้วยวิชชาสาม คือ
             - บรรเทาความมืดที่ปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยในปางก่อน เกิดครั้งที่หนึ่งด้วยปุพเพนิวาสญาณ.
             - บรรเทาความมืดที่ปกปิดจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย แล้วเกิดครั้งที่สองด้วยทิพยจักษุญาณ.
             - บรรเทาความมืดที่ปกปิดสัจจะทั้งสี่ แล้วเกิดครั้งที่สามด้วยอาสวักขยญาณ.
             ๑๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้บรรทมตั้งแต่ต้น แต่ทรงสดับพระสูตรนี้
ทรงทราบว่า ท่านพระอานนท์แสดงธรรมเทศนาจบแล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ
ได้ประทานสาธุการรับรอง
             ดังนั้น พระสูตรนี้ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้จึงเกิดชื่อว่า เป็นภาษิตของพระชินเจ้า

ความคิดเห็นที่ 10-36
ฐานาฐานะ, 3 กรกฎาคม เวลา 17:58 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในเสขปฏิปทาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659
9:32 AM 7/3/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             พอสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า พระสูตรนี้เกิดขึ้นช่วงใด?

ความคิดเห็นที่ 10-37
GravityOfLove, 3 กรกฎาคม เวลา 18:27 น.

พรรษาที่ ๑๕ ค่ะ
พ.๑๕ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธกิจ_๔๕_พรรษา

ความคิดเห็นที่ 10-38
ฐานาฐานะ, 3 กรกฎาคม เวลา 18:33 น.

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ผมสันนิษฐานกว้างๆ ว่า
             เมื่อท้าวมหานามศากยะเป็นประธานในหมู่เจ้าศากยะ
ก็สันนิษฐานว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาปรินิพพานแล้ว.




Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 9:01:44 น.
Counter : 565 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog