19.5 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.4 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-39
ฐานาฐานะ, 3 กรกฎาคม เวลา 18:34 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เสขปฏิปทาสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=480&Z=659

              พระสูตรหลักถัดไป คือโปตลิยสูตร [พระสูตรที่ 4].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              โปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=36

              ชีวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=950&Z=1043
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

ความคิดเห็นที่ 10-40
GravityOfLove, 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:06 น.

             คำถามโปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว
โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.
             ๒. แท้จริง การนุ่งผ้าชายยาว การไว้ผม ไว้หนวด ไว้เล็บ ชื่อว่าอาการ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เพศคฤหัสถ์ทั้งหมดนั้นแลกระทำภาวะคฤหัสถ์ของโปตลิยคฤหบดีให้ปรากฏ อาการเหล่านั้น ท่านเรียกว่าเพศ เพราะตั้งอยู่โดยทรวดทรงของคฤหัสถ์. เรียกว่านิมิต เพราะเป็นเครื่องหมายบอกให้เข้าใจถึงภาวะของคฤหัสถ์.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=36&bgc=lavender
             ๓. บรรดาโวหารเหล่านั้น โวหารนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการเรียกชื่อว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์. โวหารว่า การนับชื่อ การตั้งชื่อ การบัญญัติ ชื่อการเรียกชื่อ นี้ชื่อว่าบัญญัติโวหาร. โวหารว่า ย่อมพูด ย่อมไม่ปรามาสโดยประการนั้นๆ นี้ชื่อว่าวจนโวหาร. ในโวหารว่า อริยโวหาร ๘ อนริยโวหาร ๘ นี้ชื่อว่าเจตนาโวหาร.
             ในที่นี้ท่านหมายถึงเจตนาโวหารนี้.
             อีกอย่างหนึ่ง จำเดิมตั้งแต่เวลาบวช เจตนาว่าคฤหัสถ์ไม่มี เจตนาว่าสมณะมีอยู่. คำว่าคฤหัสถ์ไม่มี คำว่าสมณะมีอยู่. บัญญัติว่าคฤหัสถ์ไม่มี บัญญัติว่าสมณะมีอยู่.การกล่าวเรียกว่าคฤหัสถ์ไม่มี การกล่าวเรียกว่าสมณะมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงได้โวหารแม้ทั้งหมด.
             ๔. คำว่า ยายํ อุเปกฺขา นานตฺตา นานตฺตสิตา ความว่า อุเบกขาในกามคุณ ๕ นี้ อันใดเรียกว่ามีสภาวะต่างๆ กัน ก็ด้วยอำนาจอารมณ์คือกามคุณ ๕ และเรียกว่า นานตฺตสิตา ก็เพราะอาศัยอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล. ภิกษุเว้นขาดอุเบกขานั้นเสีย.
             คำว่า เอกตฺตา เอกตฺตสิตา ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
             แท้จริง อุเบกขาในจตุตถฌานนั้นชื่อว่ามีสภาวะอันเดียว เพราะเกิดขึ้นในอารมณ์อันเดียวทั้งวัน. ชื่อว่าเอกตฺตสิตา เพราะอาศัยอารมณ์อันเดียวนั้นนั่นแล.
             คำว่า ยสฺส สพฺพโส โลกามิสูปาทานา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า อามิสคือกามคุณ ๕ กล่าวคือโลกามิสอิงอาศัยอุเบกขาอันใด ย่อมดับไปหมดสิ้นไม่หลงเหลือในอุเบกขาจตุตถฌานอันใด.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-41
GravityOfLove, 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:40 น.

//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/03/Y11859889/Y11859889.html#193
จำเดิมแต่นั้นไป เมื่อพระเถระแม้กล่าวคาถา ๔ บาท ก็ไม่กล่าวถึงความหลุดพ้น
ด้วยสัจจะ ๔ แล.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=672
             นัยว่า เมื่อได้นัยแล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ไปพรหมโลก แสดงธรรมอันประกอบด้วย    
อริยสัจจะ 4 แก่พรหมนั้น (ธนัญชานิพราหมณ์).

             ข้อนี้ ขอให้จำไว้ก่อน จะมีขยายความด้วยคำว่า
             เมื่อพระเถระแม้กล่าวคาถา ๔ บาท ก็ไม่กล่าวถึงความหลุดพ้นด้วยสัจจะ ๔ แล.
ขอให้ทวงด้วย. << Gravity เคยทวงหรือยังคะ

ความคิดเห็นที่ 10-42
ฐานาฐานะ, 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 21:23 น.

              พยายามนึกถึงประเด็นที่ให้ทวง
              ประเด็นที่นึกได้ น่าจะเป็น
              ขอให้ระลึกถึงการไม่กล่าวนอกจากสัจจะ ๔
โดยการระลึกเสมอว่า เมื่อจะแสดงความเห็นในห้องศาสนา
จะให้อยู่ในกถาวัตถุ 10
              คำว่า กถาวัตถุ 10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ+10

ความคิดเห็นที่ 10-43
ฐานาฐานะ, 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 01:39 น.

GravityOfLove, 12 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามโปตลิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว
โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.
อธิบายว่า
               โปตลิยคฤหบดีสละทรัพย์สมบัติให้ลูกๆ ไปหมดแล้ว ทั้งไม่ว่ากล่าวสั่งสอนใครๆ อีก
แล้วดำรงอยู่ด้วยปัจจัยอย่างมาก หรือหวังอย่างมาก ก็เพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม.
              เพราะเหตุนี้ โปตลิยคฤหบดีจึงสำคัญตนเองว่า เขาไม่ใช่คฤหบดีแล้ว (ผู้เป็นใหญ่ในเรือน)
จึงไม่ยินดีพระดำรัสเรียกขานว่า คฤหบดี ในคำว่า ดูกรคฤหบดี
              การที่เขาสละ ... เครื่องนุ่งห่ม เขาเห็นว่า น่าจะตัดคำเรียกเขาว่า คฤหบดี ได้แล้ว.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๒. แท้จริง การนุ่งผ้าชายยาว การไว้ผม ไว้หนวด ไว้เล็บ ชื่อว่าอาการ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า
เพศคฤหัสถ์ทั้งหมดนั้นแลกระทำภาวะคฤหัสถ์ของโปตลิยคฤหบดีให้ปรากฏ อาการเหล่านั้น
ท่านเรียกว่าเพศ เพราะตั้งอยู่โดยทรวดทรงของคฤหัสถ์. เรียกว่านิมิต เพราะเป็นเครื่องหมายบอก
ให้เข้าใจถึงภาวะของคฤหัสถ์.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=36&bgc=lavender
อธิบายว่า
              เป็นคำอธิบายของสภาพของบุคคลหนึ่งๆ ว่า เขาเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์
              ยกตัวอย่างเช่น
              หากผมชี้บุคคลที่เป็นคฤหัสถ์ แล้วถามคุณ GravityOfLove ว่า
บุคคลนั้นเป็นบรรพชิต บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ และเพราะเหตุใด?
              คุณ GravityOfLove อาจจะตอบว่า เขาเป็นคฤหัสถ์
              เพราะ 1. สวมเสื้อ 2. นุ่งกางเกง 3. ประกอบด้วยอาการของคฤหัสถ์
เช่น ถือเครื่องมือทำงาน 4. ไว้ผมยาว 5. เครื่องนุ่งห่มทันสมัย (FASHION)
6. ฯลฯ
              คำอธิบายเหล่านี้เอง เป็นการแสดงสภาพความเป็นคฤหัสถ์ของเขา.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๓. บรรดาโวหารเหล่านั้น โวหารนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการเรียกชื่อว่า
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์. โวหารว่า การนับชื่อ การตั้งชื่อ
การบัญญัติ ชื่อการเรียกชื่อ นี้ชื่อว่าบัญญัติโวหาร. โวหารว่า ย่อมพูด ย่อมไม่ปรามาสโดย
ประการนั้นๆ นี้ชื่อว่าวจนโวหาร. ในโวหารว่า อริยโวหาร ๘ อนริยโวหาร ๘ นี้ชื่อว่า
เจตนาโวหาร.
              ในที่นี้ท่านหมายถึงเจตนาโวหารนี้.
              อีกอย่างหนึ่ง จำเดิมตั้งแต่เวลาบวช เจตนาว่าคฤหัสถ์ไม่มี เจตนาว่าสมณะมีอยู่.
คำว่าคฤหัสถ์ไม่มี คำว่าสมณะมีอยู่. บัญญัติว่าคฤหัสถ์ไม่มี บัญญัติว่าสมณะมีอยู่.
การกล่าวเรียกว่าคฤหัสถ์ไม่มี การกล่าวเรียกว่าสมณะมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงได้โวหารแม้ทั้งหมด.

อธิบายว่า
              คำทั้งหมดเป็นคำอธิบายคำว่า โวหาร เช่น
              คำว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์.
              นี้เป็นยกมาเป็นตัวอย่าง กล่าวคือ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า เพราะค้าขาย
มนุษย์จะถูกเรียกว่า ชาวนา ก็เพราะทำนา เป็นต้น
              ในคำว่า โวหาร นี้มีการแยกเป็นอริยโวหารและอนริยโวหาร
กล่าวคือ สิ่งที่พระอริยะประพฤติบ้าง พระอริยะสรรเสริญบ้าง เรียกว่าอริยโวหาร.
              ดังนั้น ในที่นี้เป็นอริยโวหาร เพราะพระอริยะประพฤติ
คือเว้นจากการล่วงศีลเป็นต้น
              คำว่า อริยโวหาร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=5366&w=อริยโวหาร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ๔. คำว่า ยายํ อุเปกฺขา นานตฺตา นานตฺตสิตา ความว่า อุเบกขาในกามคุณ ๕ นี้
อันใดเรียกว่ามีสภาวะต่างๆ กัน ก็ด้วยอำนาจอารมณ์คือกามคุณ ๕ และเรียกว่า นานตฺตสิตา
ก็เพราะอาศัยอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล. ภิกษุเว้นขาดอุเบกขานั้นเสีย.
              คำว่า เอกตฺตา เอกตฺตสิตา ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
              แท้จริง อุเบกขาในจตุตถฌานนั้นชื่อว่ามีสภาวะอันเดียว เพราะเกิดขึ้นในอารมณ์อันเดียวทั้งวัน.
ชื่อว่าเอกตฺตสิตา เพราะอาศัยอารมณ์อันเดียวนั้นนั่นแล.
              คำว่า ยสฺส สพฺพโส โลกามิสูปาทานา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า อามิสคือกามคุณ ๕
กล่าวคือโลกามิสอิงอาศัยอุเบกขาอันใด ย่อมดับไปหมดสิ้นไม่หลงเหลือในอุเบกขาจตุตถฌานอันใด.
              ขอบพระคุณค่ะ
11:06 AM 7/5/2013
อธิบายว่า
              เป็นการอธิบายคำว่า อุเบกขาในกามคุณ และอุเบกขาในจตุตถฌาน
              กล่าวคือ อุเบกขาในกามคุณ เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้นขาดเสีย
แล้วเพียรจริญอุเบกขาในจตุตถฌาน
              (เจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว
อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.)
              คำว่า อุเบกขาในกามคุณ เป็นอย่างไร?
              สันนิษฐานว่า
              นัยว่า บุคคลบางคนแม้รู้อยู่ถึงโทษของกาม (โดยการเล่าเรียนว่า
กามมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก) แต่ก็ยังละกามไม่ได้ ยังเสพกามอยู่
การวางอุเบกขาว่า ไม่เป็นไรหรอกที่บริโภคกามอยู่ก็ตาม วางอุเบกขาว่า
แม้คฤหัสถ์อื่นก็บริโภคกามก็ตาม น่าจะเป็นอุเบกขาในกามคุณ
ควรละเสีย เพราะเป็นเหตุให้ไม่ขวนขวายในการละกาม.
              อีกประการหนึ่ง การคลุกคลีในกามกิเลสหรือวัตถุกาม
แม้บางครั้งบางคราว อาจไม่ใช่สุขเวทนา เป็นเพียงอุเบกขาเวทนา
แม้อย่างนั้น ก็ควรละเช่นกัน.
              ควรเทียบเคียงนัยของคำว่า อัญญาณุเบกขา
              คำว่า อัญญาณุเบกขา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อัญญาณุเบกขา&detail=on

ความคิดเห็นที่ 10-44
ฐานาฐานะ, 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 01:42 น.

             บันทึกช่วยจำ :-
             [๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
[๔๓]   อคิทฺธิโลภํ   นิสฺสาย   คิทฺธิโลโภ  ปหาตพฺโพติ  อิติ  โข

             [๔๔] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการนินทา พึงละได้
[๔๔]   อนินฺทาโรสํ   นิสฺสาย   นินฺทาโรโส   ปหาตพฺโพติ   อิติ

    [๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ พึงละได้ เพราะ
[๔๕]   อโกธุปายาสํ   นิสฺสาย   โกธุปายาโส  ปหาตพฺโพติ  อิติ

    [๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
[๔๖]   อนติมานํ   นิสฺสาย   อติมาโน   ปหาตพฺโพติ   อิติ  โข

ความคิดเห็นที่ 10-45
GravityOfLove, 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 07:14 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-46
GravityOfLove, 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 07:22 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๔. โปตลิยสูตร เรื่องโปตลิยคฤหบดี
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท ในนิคมของ
ชาวอังคุตตราปะ ชื่อว่าอาปณะ
             ครั้งนั้น ภายหลังภัตได้เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์ (ป่า) แห่งหนึ่ง เพื่อทรง
พักกลางวัน ณ โคนไม้
             โปตลิยคฤหบดี มีผ้านุ่งผ้าห่มสมบูรณ์ ถือร่ม สวมรองเท้า เข้าไปยังไพรสณฑ์
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
             เมื่อได้ปราศรัยกับพระองค์เสร็จแล้ว พระองค์ตรัสว่า
             ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า
             พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี จึงนิ่งเสีย
             จนพระองค์ตรัสเป็นครั้งที่ ๓ จึงกราบทูลว่า
             ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพเจ้าด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น
ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย
             พระองค์ตรัสว่า
             ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น
เหมือนคฤหบดีทั้งนั้น
             โปตลิยคฤหบดีทูลตอบว่า
             จริงเช่นนั้น แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว (ละทิ้งการงานทุกอย่างแล้ว)
โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว
             เมื่อตรัสให้อธิบาย จึงกราบทูลว่า
             ตนได้มอบทรัพย์สินทั้งหมดให้เป็นมรดกแก่บุตรทั้งหลายแล้ว
ไม่ได้ว่ากล่าวในสิ่งนั้นๆ แล้ว (ไม่เกี่ยวข้องด้วย)
             อยู่อย่างเพียงมีกินมีนุ่งห่มเท่านั้น จึงชื่อว่าห้ามการงานทั้งปวง
ตัดขาดโวหารเสียแล้ว
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ท่านกล่าวการตัดขาดโวหารเป็นอย่างหนึ่ง แต่การตัดขาดโวหารในวินัย
ของพระอริยะเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             เมื่อโปตลิยคฤหบดีกราบทูลขอให้ทรงอธิบาย จึงตรัสอธิบายดังนี้
เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ
             ธรรม ๘ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
             (โวหาร มีความหมายหลายนัย คือ การเรียกชื่อ การบัญญัติ คำพูด และเจตนา
ในที่นี้หมายถึงเจตนาโวหาร)
             ๘ ประการนี้คือ
             ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
             ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) พึงละได้เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
             ๓. มุสาวาท (พูดเท็จ) พึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์
             ๔. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) พึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
             ๕. ความโลภด้วยเหตุความกำหนัด (คิทธิโลภะ) พึงละได้เพราะ
อาศัยความไม่โลภด้วยเหตุความกำหนัด
             ๖. ความโกรธด้วยเหตุการนินทา (นินทาโรสะ) พึงละได้เพราะ
ความไม่โกรธด้วยเหตุแห่งการนินทา
             ๗. ความคับแค้นด้วยเหตุแห่งความโกรธ (โกธะและอุปายาส)
พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยเหตุแห่งความโกรธ
             ๘. ความดูหมิ่นท่าน (อติมานะ) พึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
             ตรัสว่า ธรรม ๘ ประการนี้เป็นการกล่าวโดยย่อ ยังไม่ได้จำแนกโดยละเอียด
             โปตลิยคฤหบดีกราบทูลขอให้ทรงจำแนกโดยละเอียด
             พระองค์จึงทรงจำแนกโดยละเอียดดังนี้
             ๑. ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ
             อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             - เราพึงทำปาณาติบาตเพราะเหตุแห่งสังโยชน์ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์)
เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
             - เราทำปาณาติบาต แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะปาณาติบาต
เป็นปัจจัย (เป็นเหตุ)
             - วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
             - เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
             - ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ (ธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้น)
             - อาสวะ (อวิชชาสวะ) ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ_3

             ๒. อทินนาทานพึงละได้เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
             เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ ... อาสวะ (กามาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ)
ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
             ๓. มุสาวาทพึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์
             เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ ... อาสวะ (กามาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ)
ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
             ๔. ปิสุณาวาจาพึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
             เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ ... อาสวะ (กามาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ)
ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
             ๕. ความโลภด้วยเหตุแห่งความกำหนัดพึงละได้ เพราะอาศัย
ความไม่โลภด้วยเหตุแห่งความกำหนัด
             เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ ... อาสวะ (ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ)
ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
             ๖. ความโกรธด้วยเหตุแห่งการนินทาพึงละได้เพราะอาศัย
ความไม่โกรธด้วยเหตุแห่งการนินทา
             เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ ... อาสวะ (อวิชชาสวะ) ที่เป็นเหตุ
คับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
             ๗. ความคับแค้นด้วยเหตุแห่งความโกรธพึงละได้เพราะอาศัย
ความไม่คับแค้นด้วยเหตุแห่งความโกรธ
             เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ ... อาสวะ (อวิชชาสวะ) ที่เป็นเหตุคับแค้น
และกระวนกระวายเหล่านั้นย่อมไม่มี
             ๘. ความดูหมิ่นท่านพึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เหตุที่ตรัสเช่นนี้เพราะ
             อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             - เราพึงดูหมิ่นท่านเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
             - แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
            - วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
            - เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
             - ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
             - อาสวะ (ภวาสวะ อวิชชาสวะ) ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
             เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น
ย่อมไม่มี

             ตรัสว่า แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะหามิได้
             โปตลิยคฤหบดีกราบทูลขอให้ทรงอธิบาย
อุปมากาม ๗ ข้อ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
             ๑. เปรียบเหมือนชิ้นกระดูกที่ไม่มีเนื้อติด
             เปรียบเหมือนสุนัขที่หิวโซเข้าไปยืนใกล้เขียงของคนฆ่าโค
             เมื่อคนฆ่าโคโยนชิ้นกระดูกที่ไม่มีเนื้อติด มีแต่เลือดติดอยู่ให้สุนัข
สุนัขนั้นย่อมไม่อิ่ม มีแต่จะเหน็ดเหนื่อยและหิวหนักยิ่งกว่าเดิม ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
             ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างกัน
             แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว (หมายถึงอุเบกขาในฌานที่ ๔)
ที่อาศัยอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส (เครื่องล่อให้ติดอยู่ในโลก)
โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกามิส

             ๒. เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ
             เปรียบเหมือนแร้ง เป็นต้น ที่พาชิ้นเนื้อบินไปแล้วนกตัวอื่นพากันโผเข้ารุม
จิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ถ้าแร้งตัวนั้นไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันย่อมถึงตายหรือ
ทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อเป็นเหตุ ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ... เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... หาส่วนเหลือมิได้
             ๓. เปรียบเหมือนคบเพลิง
             เปรียบเหมือนบุรุษถือคบเพลิงหญ้าที่ไฟติดทั่วแล้วเดินทวนลม
ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้านั้นเสีย คบเพลิงหญ้านั้นพึงไหม้มือ ไหม้แขน
หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
             บุรุษนั้นย่อมถึงตายหรือทุกข์ปางตายเพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ... เปรียบเหมือนคบเพลิง ...  หาส่วนเหลือมิได้
             ๔. เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง
             เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอัน
ปราศจากเปลว ปราศจากควัน
             บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เข้ามาถึง แล้วบุรุษมีกำลัง
สองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง
             บุรุษนั้นย่อมไม่น้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่า ถ้าเราตกลงไปย่อมถึงตาย
หรือทุกข์ปางตายเพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ...  เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... หาส่วนเหลือมิได้
             ๕. เปรียบเหมือนความฝัน
             เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ เป็นต้น เมื่อตื่นขึ้นแล้ว
ก็ไม่เห็นอะไร ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ... เปรียบเหมือนความฝัน ... หาส่วนเหลือมิได้
             ๖. เปรียบเหมือนของที่ยืมมา
             เปรียบเหมือนบุรุษยืมโภคสมบัติมา เช่น ยืมแก้วมณี แล้วสวมใส่โภคสมบัติ
นั้นเที่ยวไป เมื่อมีคนพบเห็น คนก็พูดกันว่า
             บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ผู้มีโภคสมบัติใช้สอยโภคสมบัติกันอย่างนี้นี่เอง
             แต่ถ้าเจ้าของสมบัตินั้นมาพบบุรุษนี้ ณ ที่ใดๆ เจ้าของสมบัตินั้นย่อม
นำเอาสมบัติของตนคืน ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ... เปรียบด้วยของยืม ... หาส่วนเหลือมิได้
             ๗. เปรียบเหมือนผลไม้
             เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีรสอร่อย มีลูกดก แต่ผลไม่หล่นลงมาที่พื้นเลย
บุรุษคนหนึ่งต้องผลไม้นั้น จึงปีนขึ้นไปเก็บ
             ต่อมามีบุรุษอีกคนหนึ่งต้องการผลไม้นั้นเหมือนกัน แต่ปีนไม่เป็น
จึงเอาขวานตัดต้นไม้นั้นตั้งแต่โคน
             ถ้าบุรุษคนแรกไม่รีบปีนลงมา ย่อมถูกต้นไม้ที่ล้มนั้นหักมือ หักเท้า
หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย
เพราะต้นไม้นั้นล้มเป็นเหตุ ฉันใด
             อริยสาวกก็ฉันนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
             ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ
             แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว
อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 10-47
[ต่อ]

             อริยสาวกนี้อาศัยอุเบกขา (ในจตุตถฌาน) ที่เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้ ย่อมบรรลุวิชชา ๓
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

             ตรัสว่า ด้วยอาการเพียงเท่านี้ ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ
             ตรัสถามโปตลิยคฤหบดีว่า
             ท่านเห็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง
ในวินัยของอริยะเห็นปานนี้ ในตนบ้างหรือไม่
             โปตลิยคฤหบดีทูลตอบว่า
             ไม่เห็นการตัดขาดเช่นนั้นในตน ซ้ำยังเป็นผู้ห่างไกลจากการตัดขาดเช่นนั้นด้วย
             เพราะเมื่อก่อน
             - เข้าใจว่าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก (พวกนอกศาสนา) ผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง
             - ได้คบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ว่าเป็นผู้ที่มีเหตุผลควรคบหา
             - ได้เทิดทูนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง
             - เข้าใจว่าภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง
             - ได้คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ที่ผู้ที่ไม่มีเหตุผลควรคบหา
             - ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง
             แต่บัดนี้ ตนไม่ได้มีความเข้าใจเช่นนั้นแล้ว
             แล้วกราบทูลว่า
             พระองค์ทรงทำความรักสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเลื่อมใส
สมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเคารพสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ
แก่ข้าพระองค์แล้ว
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ  
             โปตลิยคฤหบดีกราบทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม #10-48]

ความคิดเห็นที่ 10-48
ฐานาฐานะ, 8 กรกฎาคม เวลา 23:31 น.

GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 07:22 น.
7:22 AM 7/6/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             คหบดีวรรค
             ๔. โปตลิยสูตร เรื่องโปตลิยคฤหบดี
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949&bgc=lavender&pagebreak=0

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๔. โปตลิยสูตร เรื่องโปตลิยคฤหบดี
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=660&Z=949&bgc=lavender&pagebreak=0
- - - - - - - - - - - - -

             ดูกร คฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด
แก้ไขเป็น
             ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด
- - - - - - - - - - - - -

             ๘. ความดูหมิ่นท่านพึงละได้เพราะอาศัยความได้ดูหมิ่นท่าน
แก้ไขเป็น
             ๘. ความดูหมิ่นท่านพึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
ควรพิจารณาช่วงท้ายของข้อนี้ด้วย
             คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.




Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 9:13:43 น.
Counter : 664 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog