ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
14 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

16 มิย 53 นี้ ห้ามพลาดชม "ดาวหางแมคนอต" เยือนโลกครั้งแรกและครั้งเดียว

ห้ามพลาดชม "ดาวหางแมคนอต" เยือนโลกครั้งแรกและครั้งเดียว
ดาวหางC/2009 R1 (McNaught) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2552 ภาพถ่ายโดย E. Guido และ G. Soster


คนรักดาวห้ามพลาดชม "ดาวหางแมคนอต" ที่จะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุด 16 มิ.ย. นี้ ก่อนจะจากไปตลอดกาล

ในวันที่ 16 มิ.ย. นี้ ดาวหาง C/2009 R1 หรือดาวหางแมคนอต (McNaught) จะโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด และจะผ่านมาให้ชาวโลกได้ชมเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นก่อนจะจากไปตลอดกาล

ลักษณะวงโคจรของดาวหางแมคนอตเป็นรูปไฮเปอร์โบลา คือดาวหางดวงนี้จะโคจรรอบดวงอาทิตย์แค่ครั้งเดียว แล้วจะไม่กลับมาอีกเลย โดยวงโคจรของดาวหางจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 2 ก.ย.53 ที่ระยะทาง 0.405 หน่วยดาราศาสตร์ (หรือประมาณ 61 ล้านกิโลเมตร) และดาวหางจะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 16 มิ.ย. 53 ที่ระยะทาง 1.1351 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) และมีค่าความสว่างปรากฏ 6.01

ทั้งนี้ ดาวหางแมกนอตถูกค้นพบเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 โดยโรเบิร์ต เอช. แมกนอต (Robert H. McNaught) โดยกล้องถ่ายภาพซีดีดี ติดกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ขนาดที่โรเบิร์ต เอช. แมกนอต ค้นพบดาวหางดวงนี้มีความความสว่างปรากฏเพียง 17 – 18

เราสามารถสังเกตดาวหางแมคนอตได้จากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างกลุ่มดาวแอนโดรเมดากับกลุ่มดาวเพอร์ซิอุส ซึ่งดาวหางมีความสว่างปรากฏ ระหว่าง 4 – 7 โดยในช่วงวันที่ 2 – 4 ก.ค.53 ดาวหางจะสว่างมากที่สุด มีค่าความสว่างปรากฏถึง 4.6 แต่สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก และในช่วงเวลานั้นท้องฟ้ายังมีความสว่างอยู

ดังนั้น ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางแมคนอตที่สุดคือช่วงระหว่างกลางเดือนจนถึงปลายเดือน มิ.ย. ซึ่งดาวหางจะมีค่าความสว่างปรากฏ ประมาณ 5 – 6 เวลาตั้งแต่ 04:00 น. ถึงฟ้าสาง

[ข้อมูลและภาพประกอบโดย สถาบันบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)]


วงโคจรของดาวหาง C/2009 R1 (McNaught)



องค์ประกอบหลักของดาว C/2009 R1 (McNaught)



ตำแหน่งของดาวหาง C/2009 R1 (McNaught)


ตำแหน่งการโคจรของดาวหาง C/2009 R1 (McNaught)


ตำแหน่งปรากฏของดาวหาง C/2009 R1 (McNaught) บนท้องฟ้า




ที่มา
ผู้จัดการออนไลน์




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 14 มิถุนายน 2553 17:19:53 น.
Counter : 1968 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.