ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ คือ ก้อนก๊าซร้อนขนาดมหึมาที่ให้แสงสว่าง ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบสำคัญเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ก๊าซทั้งสองถูกแรงโน้มถ่วงยึดเหนี่ยวให้อยู่เป็นรูปทรงกลมใหญ่ ที่ใจกลางมีความหนาแน่นสูงมากและเกิดพลังงานมหาศาลที่นั่นด้วยปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์

ดาวฤกษ์ผลิตพลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชันที่ศูนย์กลางของดาวฤกษ์ดวงนั้น นั่นคือโปรตอนหรือแกนกลางของไฮโดรเจน 2 ตัวชนกันและหลอมรวมกันเป็นอะตอมของดิวทีเรียม แล้วดิวทีเรียมจำนวน 2 ตัวหลอมรวมกันเป็นฮีเลียม-4 ปฏิกิริยาแบบนี้เรียกว่า ปฏิริยาลูกโซ่โปรตอน-โปรตอน

ดาวฤกษ์เกิดมาจากอะไร

เริ่มจากเนบิวลามีแรงโน้มถ่วงภายในทำให้ก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนวนพร้อมยุบตัวลง เกิดเป็นแกนของดาวฤกษ์ดวงใหม่ ต่อมาดาวฤกษ์ดวงใหม่เกิดการยุบตัวอีก แกนกลางมีความหนาแน่นมากขึ้น เกิดช่องว่างและก๊าซเบาบางรอบนอก เมื่อแกนกลางมีความหนาแน่นถึงขั้นวิกฤติจะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ก๊าซกระจายออกได้ดาวฤกษ์ดวงใหม่

ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด คือ ดาวพร็อกซิเมนเซนเทารี อยู่ห่างจากระบบสุริยะประมาณ 4.3 ปีแสงหรือประมาณ 40 ล้านล้านกิโลเมตร

ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา

1. ชนิด W ดาววูล์ฟ - ราเยท์ (Wolf - Rayet stars) อุณหภูมิที่ผิวสูงถึง 80,000 เคลวิน มีเส้นสเปคตรัมของฮีเลี่ยม คาร์บอน ไนโตรเจนและออกซิเจน ทั้งเข้ม เด่นชัดและกว้าง แยกพิเศษมาจาก ชนิดO ในปี พ.ศ. 2481 มีการแบ่งย่อยลงไปอีก 2 ชนิดคือ WN พวกที่มีสเปคตรัมของ ไนโตรเจนเด่น และชนิด WC มีเส้นสเปคตรัมของคาร์บอนชัดเจนกว่า

2. ชนิด O ดาวสีน้ำเงิน - ขาว (Blue - White stars) อุณหภูมิที่ผิวสูงราว 35,000 เคลวิน แถบสเปคตรัมมีเส้นสเปคตรัมสว่าง (Emission Line) ของไฮโดรเจน ฮีเลียม ออกซิเจน และไนโตรเจน มีเส้นมืดของไฮโดรเจนอยู่บ้าง ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายคือ ดาวเซต้า - โอไรออนในกลุ่มดาวเต่า (นายพราน)

3. ชนิด B ดาวสีขาวน้ำเงิน (Bluish White stars) อุณหภูมิที่ผิว 25,000 - 12,000 เคลวิน สเปคตรัมไม่มีเส้นสว่างมีแต่เส้นมืดอย่างเดียวที่ เด่นชัดคือเส้นสเปคตรัมของไฮโดรเจนและฮีเลียม มีเส้นของโลหะเหล็กและแมกนีเซียมอยู่บ้าง เป็นดาวที่เพิ่งเกิด อายุน้อย อยู่ห่างไกลและส่วนใหญ่ อยู่ในระนาบทางช้างเผือก ตัวอย่างของดาวเช่นนี้ที่เห็นได้ง่ายและสว่างคือ ดาวเอฟซิลอน - โอไรออนในกลุ่มดาวเต่า และดาวอะเซอร์นาร์ (Acherna) ในกลุ่มดาวแม่น้ำ

4. ชนิด A ดาวสีขาว (White stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 10,000 - 8,000 เคลวิน มีเส้นสเปคตรัมมืดของไฮโดรเจนและแมกนีเซียมชัดเจน มีเส้นสเปคตรัมของแคลเซียมและโลหะ เช่นติตาเนียมปรากฏเห็นได้ ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายและสว่างคือดาวโจร (Sirius) ในกลุ่มดาวสุนัข ใหญ่ ดาวหางหงส์ (Deneb) ในกลุ่มดาวหงส์ ดาวตานกอินทรี (Altair) ในกลุ่มดาวนกอินทรี เป็นต้น

5. ชนิด F ดาวสีเหลือง - ขาว (Yellow - White stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 7,500 - 6,000 เคลวิน มีเส้นสเปคตรัมมืดที่เรียกว่าเส้นฟรอน โฮเฟอร์ H และ K ซึ่งเป็นเส้นสเปคตรัมของแคลเซียมชัดที่สุด มีเส้นสเปคตรัมของไฮโดรเจนจาง ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายคือดาวคาโนปุส (Canopus) ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ ดาวโปรซิออน (Procyon) ในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก เป็นต้น

6. ชนิด G ดาวสีเหลือง (Yellow stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 5,500 - 4,200 เคลวิน สำหรับดาวยักษ์ (Giants) และอุณหภูมิ 6,000 - 5,000 เคลวิน สำหรับดาวแคระ (Dwarfs) สเปคตรัมมีเส้นของโลหะหลายชนิดเด่นชัด เส้นสเปคตรัมมืดทางด้านสีม่วงจางกว่าด้านสีแดง มีเส้นสเปคตรัมของ โมเลกุลของไซอาโนเจนและไฮโดรคาร์บอน (CN & CH) ปรากฏให้เห็น ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายและสว่างคือดวงอาทิตย์ ดาวไซเลโอ ในกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น

7. ชนิด K ดาวสีส้ม (Orange stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 4,000 - 3,000 เคลวิน สำหรับดาวยักษ์ และอุณหภูมิราว 5,000 - 4,000 เคลวิน สำหรับ ดาวแคระ ดาวชนิดนี้เป็นดาวที่มีมากที่สุดในกาแลกซี ส่วนใหญ่อยู่ในแถบระนาบของกาแลกซี แถบสเปคตรัมด้านสีน้ำเงินจางกว่าด้านสีแดง เส้นสเปคตรัม ของไฮโดรเจนไม่เด่นเหมือนดาวชนิด W ถึง G ที่กล่าวมาแล้วมีเส้นสเปคตรัมโมเลกุลของติตาเนียมออกไซด์ (Titanium oxide , TiO) ปรากฏให้เห็นได้ ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่านและสว่างคือดาวดวงแก้ว (Arcturus) ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ดาวโรหิณี (Aldebaran) ในกลุ่มดาววัว เป็นต้น

8. ชนิด M ดาวสีส้มแดง (Orange - Red stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 3,000 เคลวิน สำหรับดาวยักษ์ และอุณหภูมิราว 3,200 เคลวิน สำหรับดาว แคระ มีแถบสเปคตรัมของการดูดกลืนกว้างมาก โดยเฉพาะทางด้านสีม่วง - น้ำเงิน เนื่องจากโมเลกุลออกไซด์ของคาร์บอน และไฮโดรคาร์บอน (CO & CH) แถบสเปคตรัมของติตาเนียมออกไซด์ชัดมาก ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายและรู้จักกันดี คือ ดาวปาริชาต (Antares) ในกลุ่มดาว แมงป่อง ดาวเบทเทลจูซ (Betelgeuse) ในกลุ่มดาวเต่า ทั้ง 2 ดวง เป็นดาวยักษ์

9. ชนิด R ดาวสีส้มแดง (Orange - Red stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 2,500 เคลวิน แถบสเปคตรัมด้านสีน้ำเงินเด่นชัดกว่า มีแถบสเปค-ตรัมดูด กลืนของโมเลกุลคาร์บอนและไซอาโนเจน (C2 & CN) และเส้นสเปคตรัมของออกซิเจนชัด ดาวชนิด R นี้เป็นดาวที่มีความสว่างน้อยไม่ปรากฏสว่างให้ เห็นหรือรู้จักโดยทั่วไป

10. ชนิด N ดาวสีแดงเข้ม (Deep Red stars) มีจำนวนน้อยอุณหภูมิที่ผิราว 2,500 เคลวินคล้ายชนิด R แต่สเปคตรัมเข้มกว่าและแถมดูดกลืนของออกซิเจนจางกว่า ไม่ปรากฏสว่างให้เห็นหรือรู้จักโดยทั่วไป

11.ชนิด S ดาวสีแดง (Red stars) มีจำนวนน้อยอุณหภูมิผิวต่ำ คล้ายชนิด M มีเส้นสเปคตรัมสว่างของไฮโดรเจน และแถบดูดกลืนของเซอร์โคเนียมออกไซด์ (Zirconium oxide , ZrO) แทนที่จะเป็นติตาเนียมออกไซด์แบบชนิด M ดาวชนิด S นี้ส่วนใหญ่เป็นดาวแปรแสงที่มีคามเวลา ยาว ไม่ปรากฏสว่างให้เห็นหรือเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 9:54:50 น. 0 comments
Counter : 1284 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.