ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
อันตรายจากเสียง

อันตรายที่เกิดจากเสียง

เสียงที่เราได้ยินทุกวันนี้ ช่วยให้เราดำเนินกิจกรรมและแสวงหาความเพลิดเพลินในชีวิต เสียงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดเสียงในระดับต่าง ๆ กัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ลักษณะของเสียงที่เป็นผลต่อประสาทหู
มีทั้งเสียงที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายต่อประสาทหู แบ่งเป็นลักษณะของเสียง 4 ประเภท ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ประเภทที่ 1 Continuous Noise หรือ Steady-state Noise คือเสียงที่ดังติดต่อกันโดยความดังเปลี่ยน แปลงไม่เกิน 5 dB. เช่น เสียงจากเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน และเสียงจากพัดลม เป็นต้น

ประเภทที่ 2 Fluctuating Noise คือเสียงดังขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา โดยความดังเปลี่ยนแปลงมากกว่า 5 dB. เช่น เสียงภายในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

ประเภทที่ 3 Impact Noise หรือ Impulse หรือ Impolsive Noise เป็นเสียงที่ช่วงความดังสูงสุดสั้นและหายไปอย่างรวดเร็วเป็นมิลลิวินาที เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน และเสียงจากการกระทบของวัตถุ 2 ชิ้น

ประเภทที่ 4 Intermitent Noise เสียงที่ดังไม่ติดต่อกัน หูของคนสามารถรับเสียงได้ตั้งแต่ความถี่ 20-20,000 เฮิร์ต และความถี่ของเสียงในชีวิตประจำวันคือ 125-8,000 เฮิร์ต และความถี่ของเสียงพูดคือ 500-2000 เฮิร์ต เช่น เสียงลูกตุ้มนาฬิกา เสียงตามท้องถนน เป็นต้น

แหล่งกำเนิดเสียงที่สำคัญ

ระดับเสียง (เดซิเบลเอ) * แหล่งกำเนิดเสียง
30 เสียงกระซิบ
50 เสียงพิมพ์ดีด
60 เสียงสนทนาทั่วไป
70 -
80 เสียงจราจรตามปกติ
90 -
100 เสียงขุดเจาะถนน
120 เสียงค้อน เครื่องปั๊มโลหะ
140 เสียงเครื่องบินขึ้น

* เดซิเบลเอม dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของ หูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป

ตัวอย่างความดังของเสียงจากเครื่องมือกลภายในโรงงานอุตสาหกรรม

เครื่องปั่นด้าย ให้เสียงดัง 84 - 95 dB(A)
เครื่องทอผ้า ให้เสียงดัง 92 - 102 dB(A)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้เสียงดัง 95 - 102 dB(A)
เครื่องฉีดน้ำด้วยแรงอัดลมให้เสียงดัง 97 - 105 dB(A)
เครื่องเลื่อยวงเดือน ให้เสียงดัง 100 dB(A)
โรงงานตีเหล็ก ให้เสียงดัง 98 - 110 dB(A)
เครื่องเคาะสนิม ให้เสียงดัง 100 - 110 dB(A)
เครื่องปั้มขึ้นรูปโลหะ ให้เสียงดัง 120 dB(A)
โรงซ่อมหม้อน้ำรถจักร ให้เสียงดัง 120 - 130 dB(A)
*จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: รายงานการประชุมปฏิบัติการระดับชาติเรื่อง แนวทางการวางแผนแห่งชาติเพื่อป้องกันหูหนวก สหประชาพาณิชย์ 2527; หน้า 45-48

ตัวอย่างของความดังในหน่วยทหาร
ปืน M.16 ให้เสียงดัง 134 dB A
ปืน H.K. ให้เสียงดัง 33 dB A
ปืนพกแบบ 86 (11มม.) ให้เสียงดัง 128 dB A
ปืนกล M. 60 ให้เสียงดัง 104 dB A
ปืนกลรถถัง ให้เสียงดัง 102 dB A
ปืนใหญ่ 105 มม. ให้เสียงดัง 140* dB A
ปืนใหญ่ 155 มม. ให้เสียงดัง 140* dB A
ป.ต.อ. 40 มม. ให้เสียงดัง 140* dB A
ป.ต.อ. 12.7 มม. ให้เสียงดัง 140* dB A
เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม.(M.79) ให้เสียงดัง 95 dB A
เครื่องยิงลูกระเบิด 60 มม.(ค.60) ให้เสียงดัง 95 dB A
เครื่องยิงลูกระเบิด 81 มม.(ค.81) ให้เสียงดัง 95 dB A
รถถังแบบ. 48 A5 ให้เสียงดัง 120 dB A
รถถังแบบ M.41 ให้เสียงดัง 115 dB A
รถถังเบา 21 (สกอร์เปียน) ให้เสียงดัง 110 dB A
รถสายพานลำเลียง (M.113) ให้เสียงดัง 115 dB AA 95 dB A
เครื่องบิน C - 130 ให้เสียงดัง 109 - 120 dB(A)
เครื่องบิน C - 123 ให้เสียงดัง 105 - 120 dB(A)
เครื่องบิน C – 27 ให้เสียงดัง 90 - 109 dB(A)
เครื่องบิน C – 33 ให้เสียงดัง 90 - 104 dB(A)
เครื่องบิน F - 5 ให้เสียงดัง 94 - 112 dB(A)

เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึงเสียงที่ ดังเกิน85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่ ส่วนใหญ่พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกิน มากกว่า 85 เดซิเบลเอ เป็นจำนวนมากซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกาย และจิตใจ

เสียงรบกวน หมายถึง ระดับเสียงที่ผู้ฟังไม่ต้องการจะได้ยินเพราะสามารถกระทบต่อ อารมณ์ ความรู้สึกได้แม้จะไม่เกินเกณฑ์ ที่เป็นอันตราย แต่ก็เป็นเสียงรบกวนที่มีผลต่อผู้ฟังได้ การใช้ความรู้สึกทำวัดได้ยากกว่า เป็นเสียงรบกวนหรือไม่เช่น เสียงดนตรีที่ดังมากในสถานที่ เต้นรำไม่ทำให้ผู้ที่เข้าไปเที่ยวรู้สึกว่าถูกรบกวน แต่ในสถานที่ต้องการความสงบ เช่น ห้องสมุด เสียงพูดคุยตามปกติที่มีความดัง ประมาณ 60 เดซิเบลเอ ก็ถือว่าเป็นเสียงรบกวนได้

ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
1. การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมาก ๆ ในระยะเวลาไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
1.2 การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะเวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย ทำให้รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
2. ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
- เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
- รบกวนการนอนหลับ
- ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไธรอยด์เป็นพิษ
- ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
- เป็นอุปสรรคในการทำงานอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

การป้องกันและวิธีลดความดังของเสียง

1. ควบคุมที่แหล่งกำเนิด
- การออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรให้มีการทำงานที่เงียบ
- การเลือกใช้อุกรณ์ เครื่องมือ ควรเลือกประเภทที่มีเสียงดังน้อยกว่าเช่น การใช้เครื่องปั๊มโลหะ ที่เป็นระบบไฮดรอลิกแทน เครื่องที่ใช้ระบบกล
- การเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ไม่ทำให้เกิดเสียงดัง
- การจัดหาที่ปิดล้อมเครื่องจักร โดยนำวัสดุดูดซับเสียงมาบุลงในโครงสร้าง ที่จะใช้ครอบหรือ ปิดล้อมเครื่องจักร
- การติดตั้งเครื่องจักรให้วางอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง เนื่องจากเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร และการใช้อุปกรณ์กันสะเทือนจะช่วยลดเสียงได้

2. การควบคุมที่ทางผ่านของเสียง
- เพิ่มระยะห่างระหว่างเครื่องจักร และผู้รับเสียง ทำให้มีผลต่อระดับเสียง โดยระดับเสียงจะลดลง 6 เดซิเบลเอ ทุก ๆระยะทางที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
- การทำห้อง หรือกำแพงกั้นทางเดินของเสียง โดยออกแบบวัสดุเก็บเสียง หรือดูดซับเสียงที่ สัมพันธ์กับความถี่ของเสียง
- การปลูกต้นไม้ยืนต้นที่มีใบดกบริเวณริมรั้ว ช่วยในการลดเสียงได้

3. การควบคุมการรับเสียงที่ผู้ฟัง
การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่อหู เพื่อลดความดังของเสียงมี 2 แบบคือ
- ที่ครอบหู จะปิดหูและกระดูกรอบ ๆ ใบหูไว้ทั้งหมด สามารถลดระดับความดังของเสียงได 20-40 เดซิเบลเอ
- ปลั๊กอุดหู ทำด้วยยาง หรือพลาสติก ใช้สอดเข้าไปในช่องหูสามารถลดระดับความดังของ เสียงได้ 10-20 เดซิเบลเอ การลดระยะเวลาในการรับเสียงของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดัง เกินมาตรฐาน โดยจำกัดให้น้อยลง

ข้อมูลเกียวกับเสียง
เกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตราย
ก. กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้

ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์

การทำงานในที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอ เป็นเวลาติดต่อกันมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน นานนับปีจะมีผลต่อมนุษย์ดังนี้
1. ผลเสียทางกายภาพ ผลเสียโดยตรงต่อประสาทหู ก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินทั้งแบบ ชั่วคราวและแบบถาวร จนกลายเป็นความพิการได้
2. ผลเสียทางจิตใจ เกิดความเครียดเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีผลทำให้เกิดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง
3. ผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน เสียงที่ดังมาก ๆ จะรบกวนการทำงาน ทำให้เสียสมาธิ เป็นเหตุ ให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย


วิธีป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
1. ปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดเสียงจากเครื่องจักร อุปกรณ์หรือแหล่งที่ทำให้เกิดเสียงดัง
2. สวมอุปกรณ์ป้องกันหูตลอดเวลาการทำงาน
3. เผยแพร่ความรู้เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายของเสียงและประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู
4. ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงดัง
5. ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อไม่ให้ระดับความดังของเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนด

ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน
1. ปลั๊กอุดหู (EAR PLUGS) จะสามารถลดเสียงที่มีความถี่สูงที่จะเข้าหูได้ถึง 25-30 เดซิเบล จึงสามารถใช้ป้องกันได้เพียงพอในที่ซึ่งมีระดับความดังของเสียงไม่เกิน 115-120 เดซิเบล
2. ครอบหู (EAR MUFF) จะสามารถป้องกันเสียงได้สูงกว่าปลั๊กอุดหูประมาณ 10-15 เดซิเบล ซึ่งสามารถลดเสียงได้ 35-40 เดซิเบล ดังนั้นจึงใช้ป้องกันได้ในที่ซึ่งมีระดับความดังของเสียงถึง 130-135 เดซิเบล

อ้างอิง
- //www.deqp.go.th/info/wrapper_content.php?contentID=5&rowID=67
- //www.safetechthailand.net/wizContent.asp?wizConID=256&txtmMenu_ID=78
- //www.gmwebsite.com/upload/thaimilitarymedicine.com/file/unit16.doc


Create Date : 05 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2552 10:52:06 น. 0 comments
Counter : 5353 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.