ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
8 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ซีลีเนียม (SELENIUM) ต่อร่างกาย

ซีลีเนียม (SELENIUM)

ซีลีเนียม เป็นเกลือแร่ส่วนน้อยที่สำคัญต่อร่างกาย ถึงแม้จะพบในร่างกายเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ ซีลีเนียม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี อาหารที่มี ซีลีเนียม มากที่สุดได้แก่ บริวเวอร์ยีสต์ เครื่องใน กล้ามเนื้อสัตว์ ปลา หอย ข้าวต่างๆที่ยังไม่ขัดสี ซีเรียล และผลิตภัณฑ์ นม นอกจากนี้ได้จากกระเทียม เห็ด บรอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ บทบาทของ ซีลีเนียม เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆโดยทำ งานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ ซีลีเนียม ทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และ ทำงานร่วมกับวิตามินอี เสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติป้องกันการแก่ก่อน การขาด ซีลีเนียม จะนำไปสู่การแก่ก่อนกำหนด ทั้งนี้เพราะว่า ซีลีเนียม ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อการได้รับ ซีลีเนียม ปริมาณสูงๆ เป็นมิลลิกรัมทุกวันทำให้เกิดเป็นพิษได้ เพียง 5 มิลลิกรัม สามารถทำให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียผม และเล็บ เกิดเป็นแผลที่ผิวหนัง และระบบประสาท บางคนรับประทาน ซีลีเนียม มากๆ เพราะคิดว่าสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเป็นการทดลองในสัตว์ แต่ในคนยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

ข้อมูลทั่วไป
ซีลีเลียม เป็นเกลือแร่ส่วนน้อยที่สำคัญต่อร่างกาย ถึงแม้จะพบในร่างกายเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซีลีเนียม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี เกลือแร่ชนิดนี้มีจะถูกกระทบเทือน หรือถูกทำลายโดยความร้อน อาหารที่ปรุงแบบสลับซับซ้อนหรืออาหารแปรรูป เช่น พวกข้าวทำเป็นแป้งจะสูญเสีย ซีลีเนียม ไป 50-75% และถ้าต้มจะสูญเสียไปประมาณ 45 %


ประโยชน์ต่อร่างกาย
o เป็น ส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆโดยทำ งานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ ซีลีเนียม ทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป
o ทำงานร่วมกับวิตามินอี และเสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติป้องกันการแก่ก่อนวัย
o มีบทบาทเกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยทำหน้าที่ช่วยส่งอีเล็คตรอน
o ช่วยหัวใจทำงานดีขึ้น และส่งเสริมการสร้างกำลังฃองเซลล์โดยการนำออกซิเจนไปเลี้ยงให้เพียงพอ
o ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ และควบคุมสุขภาพของสายตา ผิวหนัง และผม
o ส่งเสริมให้ประจำเดือนของเพศหญิงเป็นไปโดยสม่ำเสมอ และช่วยให้ไข่สุกและจะพบเกลือแร่ชนิดนี้สูงในน้ำเชื้อของผู้ชาย
o ซีลีเนียม เป็นเกลือแร่ต้านพิษ หรือละลายพิษต่างๆ ในร่างกาย
o รักษาความยืดหยุ่นของเนื้อหนัง
o เพิ่มความต้านทานของร่างกาย หรือเพิ่มภูมิคุ้มกัน
o ป้องกันความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ หัวใจล้มเหลว เจ็บหน้าอก ไตถูกทำลาย
o ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับ
o ซีลีเนียม สามารถป้องกันกัมมันตภาพรังสีรวมทั้งโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น ปรอท เงิน แคดเมียม ธาเลียม ไม่ให้ดูดซึมเข้าร่างกายและขับถ่ายออกได้เร็วขึ้น

แหล่งที่พบ
o อาหาร ที่มี ซีลีเนียม มากที่สุดได้แก่ บริวเวอร์ยีสต์ เครื่องใน กล้ามเนื้อสัตว์ ปลา หอย ข้าวต่างๆที่ยังไม่ขัดสี ซีเรียล และผลิตภัณฑ์ นม นอกจากนี้ได้จากกระเทียม เห็ด บรอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ
o ปริมาณของ ซีลีเนียม ที่เราได้ จากพืชผักที่ขึ้นอยู่บนดินที่ปลูกถือว่าได้ ซีลีเนียม โดยตรง และจากสัตว์เนื่องจากพืชผักที่เราให้สัตว์กินซึ่งถือว่าได้ ซีลีเนียม ทางอ้อม และบางครั้งพบว่ามีปริมาณ ซีลีเนียม สูง แต่ถ้ามีกำมะถันปนลงไปในปุ๋ยหรือดินที่ปลูก กำมะถันจะกั้นการดูดซึมเกลือแร่ของพืชได้ด้วย เราจะได้ ซีลีเนียม น้อยหรือไม่ได้เลย

ปริมาณที่แนะนำ
o ขณะ นี้ยังไม่มีข้อมูลว่าร่างกายต้องการ ซีลีเนียม เท่าใด แต่เชื่อกันว่าหญิงและชายอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปควรได้รับ 0.05-0.2 มิลลิกรัมต่อวัน เด็ก 1-3 ปี และ 4-6 ปี ควรได้รับ 0.02-0.08 และ 0.03-0.12 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 3-5 เดือน และ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ 0.01-0.04 และ 0.02-0.06 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนทารกแรกเกิดถึง 2 เดือน ให้เลี้ยงด้วยนมแม่
o ข้อควรระวัง
การได้รับ ซีลีเนียม มากเกินไป คือ ในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 2 mcg/g และในอาหารไม่ควรเกิน 3 mcg/g


ผลของการขาด
o Keshan discase เป็นโรคหัวใจที่พบในประเทศจีน บริเวณพื้นที่ที่มี ซีลีเนียม ในดินต่ำ เชื่อกันว่าเกิดจากไวรัส แต่การขาด ซีลีเนียม ทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ( Total parenteral nutrition ) ก็มีสิทธิ์ขาด ซีลีเนียม ได้ คนไข้พวกนี้มักจะมี Erythocyte glutathione peroxidase activity ต่ำ และ ซีลีเนียม ในพลาสมาและเม็ดเลือดแดงต่ำด้วย
o การขาด ซีลีเนียม จะนำไปสู่การแก่ก่อนกำหนด ทั้งนี้เพราะว่า ซีลีเนียม ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
o ใน การศึกษาเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็ก จะสังเกตเห็นว่าจำนวนฟันผุที่ต้องถอนและอุดมีจำนวนมากขึ้นในเด็กที่มีการขับ ถ่าย ซีลีเนียม ทางปัสสาวะมาก ซึ่งยังไม่มีทฤษฎีอะไรมาอธิบายการสังเกตนี้ได้
o ถ้าขาดในภาวะตั้งครรภ์จะทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นปัญญาอ่อน
o ถ้าขาด ซีลีเนียม ในตอนเด็ก อาจทำให้เด็กตายอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ
o ทำให้ประสาทผิดปกติ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อไวต่อการสัมผัสหรือการถูกกด มีอาการไม่ปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ
o ทำให้การมองเห็นไม่ชัด
o ทำให้เม็ดเลือดแดงเปราะได้


ผลของการได้รับมากไป
o ถ้า ได้รับ ซีลีเนียม 5-10 ส่วนต่อล้าน จะถือว่าเป็นพิษโดยที่ ซีลีเนียม จะไปแทนกำมะถันในอณูของเมทไธโอนีน ซีสตีน และซีสเตอีน ทำให้ร่างกายใช้กรดอมิโน 3 ตัวนี้ไม่ได้
o การได้รับ ซีลีเนียม ปริมาณ สูงๆ เป็นมิลลิกรัมทุกวันทำให้เกิดเป็นพิษได้ เพียง 5 มิลลิกรัม สามารถทำให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียผม และเล็บ เกิดเป็นแผลที่ผิวหนัง และระบบประสาท บางคนรับประทาน ซีลีเนียม มากๆ เพราะคิดว่าสามรถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเป็นการทดลองในสัตว์ แต่ในคนยังไม่มีหลังฐานยืนยันแน่ชัด


ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ ซีลีเนียม ถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก ขึ้นกับปริมาณขึ้นกับปริมาณของสภาพการละลายของสารประกอบ ซีลีเนียม และอัตรา ส่วนระหว่าง ซีลีเนียม และกำมะถัน
+ ร่างกายจะเก็บ ซีลีเนียม ไว้ในตับและไตมากเป็น 4-5 เท่า ของ ซีลีเนียม ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่น ตามปรกติ ซีลีเนียม จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามี ซีลีเนียม ถูกขับออกมาทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ไม่ถูกต้อง
o อาหารหรือสารเสริมฤทธิ์
+ วิตามินอี
o อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
+ กำมะถัน
o การประเมิน
+ ซีลีเนียม ในเลือด ( whole blood ) ควรจะเป็นดัชนีชี้ของปริมาณ ซีลีเนียม ในร่างกายได้ดีกว่าพลาสมา เพราะสามารถวัดปริมาณ ซีลีเนียม ที่อยู่ภายในเซลล์ได้ด้วย แต่ผลปรากฏว่า ซีลีเนียม ที่มีในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบุคคล จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ซีลีเนียม ในเลือดมีประโยชน์เท่า ซีลีเนียม ในพลาสมาใน การประเมินภาวะ ซีลีเนียม จริงหรือไม่ จำเป็นต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบในประชากรเป็นกลุ่มๆ ส่วนวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณ ซีลีเนียม ในเลือดและในพลาสมาใช้ Hydride generation atomic absorption spectrophotometer ( Varian Spectra 20 Varian Australia )
ค่าปรกติในพลาสมา1.28 0.13 micro mol/l( 1 micro g = 0.0127 micro mol )
+ การ ประเมินการทำงานของ enzyme glutathione peroxidase ในเลือด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับระดับ ซีลีเนียม ในเลือด เมื่อระดับ ซีลีเนียม ในเลือดไม่ต่ำกว่า 1.27 micromol/l แต่การทำงานของ enzyme ไม่ได้ขึ้นกับปริมาณ ซีลีเนียม ในเลือดแต่เพียงอย่างเดียวยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำงานของ enzyme ด้วย ถึงอย่างไรก็ดี การวัดการทำงานของ enzyme ยังมีประโยชน์ในการวัดภาวะโภชนาการของ ซีลีเนียม ได้ในช่วงความเข้มข้นช่วง หนึ่งการวัดการทำงานของ enzyme จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่จะในการสำรวจภาวะโภชนาการของ ซีลีเนียม ในกลุ่ม ประชากรกลุ่มใหญ่ๆ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการที่เหมาะสมที่จะใช้ประเมินภาวะ ซีลีเนียม ใน คลินิกหรือโรงพยาบาล


ที่มา
//www.nutritionthailand.com/nutrition/miniral/351-selenium


Create Date : 08 มิถุนายน 2553
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 11:33:55 น. 0 comments
Counter : 4070 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.