ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
ว้าว! กล้องความเร็วสูงจับภาพขณะ “โฟตอน” วิ่งในขวด

ว้าว! กล้องความเร็วสูงจับภาพขณะ “โฟตอน” วิ่งในขวด


แอนเดรียส์ เวลเทน (ซ้าย) และ ราเมช รัสการ์ (ขวา) นักวิจัยเอ็มไอทีพัฒนากล้องถ่าบภาพความเร็วสูงที่สามารถสร้างคลิปภาพช้าของโฟตอนที่เคลื่อนที่ในขวดน้ำอัดลมได้



นักวิจัยเอ็มไอทีพัฒนาระบบถ่ายภาพความเร็วสูงที่สามารถจับภาพได้ถึงวินาทีละล้านล้านภาพ จนสามารถสร้างคลิปภาพช้าขณะ “โฟตอน” วิ่งในขวดน้ำอัดลม 1 ลิตรได้ เชื่อจะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ อุตสาหกรรม งานวิจัย รวมถึงวงการถ่ายภาพทั่วไปได้

ราเมช รัสการ์ (Ramesh Raskar) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากห้องปฏิบัติการมีเดียแล็บ (Media Lab) สถาบันเทคโนโลยีแมสสาชูเสตต์ส (Massachusetts Institute of Technology) หรือเอ็มไอที (M.I.T.) สหรัฐฯ เผยว่าทีมวิจัยของเขาได้สร้างกล้องบันทึกภาพช้าที่เราสามารถเห็นโฟตอน (photon) หรืออนุภาคแสงเคลื่อนที่ไปในที่ว่าง ซึ่งก่อนหน้านี้มีกล้องที่สามารถบันทึกภาพกระสุนยิงทะลุลูกแอปเปิลได้ แต่ระบบบันทึกภาพล่าสุดของเขานั้นสามารถบันทึกโฟตอนที่เปรียบเสมือนลุกกระสุนของแสงซึ่งมีความเร็วมากกว่าลูกกระสุนถึงล้านเท่าได้

ทีมวิจัยบันทึกภาพด้วยความเร็วดังกล่าวได้ด้วยระบบที่สามารถจับการเคลื่อนที่ของโฟตอนในแต่ละที่ว่าง (space) และเวลา (time) แล้วนำข้อมูลมาเรียงร้อยต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์กลายเป็นวิดีโอภาพช้า ซึ่งในวิดีโอด้านล่างนี้ได้แสดงให้เห็นแสงเลเซอร์เดินทางผ่านขวดน้ำอัดลม แล้วสะท้อนกลับจากฝาขวด



คลิปแสดงการเคลื่อนที่ของโฟตอนในขวด


“สิ่งที่คุณได้เห็นในวิดีโอคือค่าเฉลี่ยของพัลส์ (pulses) จำนวนมาก หากเราจับจังหวะแค่พัลส์เดียว เราก็จะได้ข้อมูลไม่มากพอ อย่างแรกเลยเพราะว่ามันจางมาก และอย่างที่สองเพราะเราจะได้เห็นเพียงเส้นๆ เดียวในแต่ละครั้ง” แอนเดรียส์ เวลเทน (Andreas Velten) นักวิจัยจากกลุ่มคาเมราคัลเจอร์ (Camera Culture group) ของมีเดียแล็บ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมทดลองในครั้งนี้อธิบายแก่ผู้สื่อข่าวเอ็มเอสเอ็นบีซี

เทคนิคในการสร้างวิดีโอที่สามารถจับการเคลื่อนที่ของโฟตอนได้คือการใช้กล้องสตรีค (streak camera) ซึ่งรูรับแสงของกล้องนี้เป็นช่องยาวแคบๆ ซึ่งทำให้เห็นทิศทางในแนวนอนได้กว้างแต่เห็นทิศทางในแนวตั้งได้จำกัด ซึ่งเวลเทนกล่าวว่าเราจะเห็นเพียงเส้นๆ เดียว แต่ก็ให้อัตราผลิตเฟรมสูงมากถึงวินาทีละล้านล้านเฟรม ช่วยให้นักวิจัยสร้างภาพยนตร์จากการเดินทางของแสงเส้นเดียวได้ แต่ต้องใช้หลายๆ พัลส์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของวิดีโอให้ดีขึ้น และเพราะแสงเลเซอร์นั้นค่อนข้างนิ่งทำให้ภาพที่ได้ดูไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

ในระบบบันทึกภาพความเร็วสูงที่ทีมวิจัยจากเอ็มไอทีพัฒนาขึ้นมานี้ใช้เซนเซอร์เรียงกันมากถึง 500 ตัว และใช้แสงเลเซอร์สีฟ้าจากไททาเนียมเป็นแสงในการสร้างภาพการเคลื่อนของอนุภาคแสง ซึ่งตามที่นักวิจัยระบุ นั้นแสงใช้เวลาเดินทางในขวดเพียงระดับนาโนวินาที แต่พวกเขาต้องใช้เวลาเกือบชั่วโมงเพื่อเก็บรวบวมข้อมูลมาเรียงเป็นภาพวิดีโอ ซึ่งรัสการ์กล่าวว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพทางการแพทย์ อุตสาหกรรม งานวิจัย หรือแม้กระทั่งการถ่ายภาพทั่วไปได้




นักวิจัยอธิบายระบบการทำงานของกล้องความเร็วสูง


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000159039


Create Date : 14 ธันวาคม 2554
Last Update : 14 ธันวาคม 2554 22:53:55 น. 0 comments
Counter : 1139 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.