ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

เมฆ...การเกิดเมฆและชนิดของเมฆ

แม้ว่าเมฆจะเป็นสิ่งที่หลายคนคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น วาดรูปธรรมชาติทีไรก็มักจะวาดรูปเมฆทุกครั้ง แต่ทราบไหมว่าเมฆที่เราวาดนั้นมีชื่อเรียกด้วยนะ ลองอ่านเรื่องของเมฆและชนิดของเมฆต่อไปนี้ จะได้เข้าใจมากขึ้น



เมฆนั้นเกิดมาจากละอองน้ำขนาดเล็กมากจำนวนนับพันๆล้านหยดและเบามากจนล่องลอยไปในอากาศได้ เมฆเริ่มต้นมาจากอากาศชื้นที่ถูกแสงอาทิตย์แผดเผาจนร้อน และเนื่องจากอากาศร้อนเบากว่าอากาศเย็น ดังนั้น มันจึงลอยสูงขึ้นไปในท้องฟ้า จากนั้นอากาศร้อนจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ ซึ่งจะรวมกลุ่มกันเป็นก้อนเมฆที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดหนักเกินกว่าที่จะล่องลอยไปในอากาศได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน

ขั้นตอนการเกิดเมฆ
1.เมฆจะเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศร้อนชื้น
2.เมื่อถูกแผดเผาด้วยแสงอาทิตย์อากาศชื้นจะลอยสูงขึ้น เหมือนกับฟองสบู่ที่เราเป่าออกมา
3.สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า อากาศจะหนาวเย็น ดังนั้นอากาศร้อนที่ลอยขึ้นไปจะถูกทำให้เย็นลงกลายเป็นหยดน้ำขนาดเล็กที่ประกอบกันเป็นกลุ่มเมฆ
4.เมื่ออากาศร้อนลอยขึ้นไปเหนือทะเล ทะเลสาบ และแม่น้ำ มันจะนำพาน้ำไปด้วย อากาศร้อนจะนำเอาน้ำมาจากพืช ซึ่งขึ้นอยู่บนพื้นดินไปด้วยเช่นกัน
5.เมื่ออากาศร้อนชื้นลอยสูงขึ้นไปอยู่เหนือเทือกเขา จะปะทะกับอากาศเย็นเหนือเทือกเขา และเปลี่ยนเป็นเมฆ ซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำขนาดเล็ก เมื่อรวมตัวเข้าด้วยกันมากขึ้นก็จะทำให้เกิดเป็นเม็ดฝน

เมฆชนิดต่างๆ
เมฆมีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกัน บางทีเป็นปุยใหญ่ๆ บางทีก็เป็นริ้วบางๆขึ้นอยู่กับว่ามันก่อตัวขึ้นจากหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็ง นักอุตุนิยมวิทยาจำแนกเมฆชนิดต่าง ๆ ตามความสูงที่มันก่อตัวและรูปร่างลักษณะของมันว่าแผ่ออกเป็นแผ่นกว้าง(เมฆสเตรทัส) หรือ จับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน(เมฆคิวมูลัส) สามารถจำแนกเมฆได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ

1. เมฆกลุ่มก้อน หรือเมฆสำลี หรือเมฆคิวมูลัส (Cumulus : Cu)



ก้อนเมฆคิวมูลัสสังเกตได้ง่ายมากเป็นเมฆในระดับต่ำ มีลักษณะเป็นก้อนคล้ายปุยฝ้ายรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน สีขาว ที่เรามักพบเห็น ในยามที่อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส เมฆชนิดนี้มองดูเหมือนปุยสำลีลอยอยู่บนท้องฟ้าและมีรูปร่าง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมฆที่มีรูปร่างเหมือนปุยสำลีก้อนนี้ แสดงให้เห็นว่า "หยดน้ำจิ๋ว" ถูกลมพัดให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ไปเรื่อยๆ บางครั้งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดเป็นเมฆฝนฟ้าคะนองได้ เมฆคิวมูลัสอยู่สูงจากตัวเราประมาณ 500 เมตร

เมฆคิวมูลัสเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นได้รับความร้อนจากแสงแดดและลอยตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อลอยสูงขึ้นไปกระทบชั้นบรรยากาศข้างบนที่เย็นกว่า ไอน้ำจึงเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำขนาดจิ๋วๆ

2. เมฆแผ่นหรือเมฆสเตรทัส (Stratus : St)



สตราตัสในภาษาละติน แปลว่า เป็นชั้นๆ จะก่อตัวเป็นชั้นบางๆและมักจะอยู่ภายใต้ระดับความสูง 2,500 เมตร เป็นเมฆที่ก่อตัวเป็นชั้นเหมือนผ้าแถบ แต่เรามักจะไม่ค่อยเห็นเมฆสเตรทัสเกิดเป็นชั้นๆตามชื่อ กลับจะเห็นเป็นเมฆสีเทาไม่มีรูปร่าง และมักแผ่เป็นแผ่นกว้างใหญ่ออกไปทุกทิศทุกทาง บางทีอาจแผ่ไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร

เมฆสเตรทัสซึ่งหนาเป็นชั้นๆ จะลอยตัวอยู่ในระดับต่ำใกล้พื้นดิน บางครั้งเมื่อเรามองผ่านเมฆสเตรทัสนี้ขึ้นไป จะเห็นดวงอาทิตย์เป็น วงกลมๆสีเงินยวงสวยงาม

เมฆชนิดนี้ก่อตัวขึ้นมาเมื่อชั้นอากาศที่ชื้นและร้อนลอยตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆเหนือมวลอากาศเย็นเบื้องล่าง

3. เมฆริ้ว หรือเมฆหางม้า หรือเมฆเซอร์รัส (Cirrus : Ci)



เซอร์รัสในภาษาละติน แปลว่า ลอยลูกคลื่น มักจะพบเห็นอยู่ในบรรยากาศระดับสูง (เหนือ 6,000 เมตร) สูงกว่าเมฆทุกชนิด และอาจมีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร

เมฆเซอร์รัสเป็นเมฆที่ก่อตัวอยู่ในระดับสูงที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นๆคล้ายใยไหมหรือเป็นริ้วบางๆหยิกหยองเป็นปอยเหมือนขนนก หรือบางครั้งมองเห็นเป็นริ้วโค้งๆยาวพาดกลางท้องฟ้า ลอยตัวอยู่ในบรรยากาศระดับสูงมากบนท้องฟ้า อุณหภูมิของอากาศบนนั้นหนาวจัดจนเมฆชนิดนี้ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งขนาดจิ๋วแทนที่จะเป็นหยดน้ำ บางครั้งอาจเรียกว่าเมฆหางม้า เพราะกระแสลมแรงจัดเบื้องบนพัดจนกลุ่มเมฆกระจายออกเป็นริ้วโค้งๆเหมือนกับหางของม้า

เมฆเซอร์รัสเป็นที่ปรากฎอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกว่าข้างบนโน้นมีลมแรงจัดมากเมฆชนิดนี้เป็นสัญญาณแสดงว่าอากาศแปรปรวนและอากาศอาจกำลังกำลังเลวลง

ชนิดของเมฆ
เมฆต่างชนิดเหล่านี้อาจรวมตัวทำให้มีรูปร่างผสมระหว่างเมฆ 2 ประเภท เกิดเป็นเมฆชนิดใหม่ขึ้นหลายชนิด ซึ่งรวมทั้งสิ้นแล้วจะมีเมฆประมาณ 10 ชนิด

เมฆเซอร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus : Cc)



เมฆก้อนกระจุกเล็กๆแผ่เป็นแนวสีขาวประกอบขึ้นด้วย ผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ มักเกาะตัวเป็นกลุ่มเรียงกันเหมือนกับ เกล็ดปลาแมกเคอเรลเรียกในภาษาอังกฤษว่า " mackerel sky " ส่วนบนของเมฆคิวมูโลนิมบัส มองดูเหมือนกับรูปทั่งน้ำแข็ง

เมฆเซอร์โรสเตรทัส (Cirrostratus : Cs)



เมฆที่อยู่สูงมากๆมักขึ้นด้วยคำว่า "เซอร์โร" เมฆเซอร์โรสเตรทัสเกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆเซอร์โรสเตรทัสหรือเมฆอัลโทรเตรทัสที่อยู่สูงๆ



เมฆนิมโบสเตรทัส (Nimbostratus : Ns)



เมฆหนาเป็นชั้นชนิดนี้ก่อตัวอยู่ในระดับต่ำๆและอาจมีความหนามาก เมฆนิมโบสเตรทัส อาจทำให้เกิดฝน หรือหิมะตกหนักติดต่อกันนานเป็นชั่วโมงๆ จึงมักเรียกกันว่า "เมฆฝน"



เมฆสเตรโทคิวมูลัส (Stratocumulus : Sc)



ถ้าเรามองเห็นเมฆก่อตัวเป็นม้วนยาวๆ ในระดับความสูงปานกลางล่ะก็ มักแสดงว่าอากาศกำลังจะดีขึ้น เมฆชนิดนี้ก็คือเมฆคิวมูลัสที่ แผ่ออกเป็นชั้นๆนั่นเอง



เมฆอัลโทสเตรทัส (Altostratus : As)



เมฆที่อยู่สูงระดับปานกลาง จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อัลโท" เมฆอัลโทสเตรทัสเป็นผืน เมฆแผ่นที่ประกอบด้วยหยดน้ำ



เมฆอัลโทคิวมูลัส (Altocumulus : Ac)



เมฆอัลโทคิวมูลัส คือเมฆคิวมูลัสที่เกิดในระดับ ความสูงปานกลาง และมีลักษณะเป็นแผ่น มองเห็นคล้ายกับก้อนสำลีแบนๆ ก้อนเล็กๆมาเรียงต่อๆ กัน เป็นคลื่นหรือเป็นรอน



เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus : Cb)



เมฆชนิดนี้มีรูปร่างเป็นหอคอยสูง เสียดฟ้า ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง หรือพายุได้และอาจรุนแรงจนกลาย เป็นพายุทอร์นาโดหรือที่เรียกว่า "เมฆฟ้าคะนอง"ได้ เมฆคิวมูโลนิมบัสขนาดใหญ่ๆ อาจสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์เสียอีก

สีของเมฆ

สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว

ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้

- เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด

- เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ

- เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้มเหมือนสีเลือด






ที่มา:
//csweb.bsru.ac.th/project42/s422429002
//hilight.kapook.com/view/19942
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2552
1 comments
Last Update : 25 ธันวาคม 2552 11:30:58 น.
Counter : 29430 Pageviews.

 

แจ่มได้ใจ

ขอบคุณที่นำอาหารสมองมาให้ จ๊ะ

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 15 ธันวาคม 2552 22:09:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.