ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ดาวเคราะห์(Planets) ดาวเคราะห์น้อย เนบิวลา(Nebula) อุกกาบาต และดาวหาง(Comet)

ดาวเคราะห์(Planets)
ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์ แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ระยะทางต่างกัน และดาวเคราะห์แต่ละดวง ต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ด้วย ความเร็วต่างกันไป จากการศึกษา เรื่องราว เกี่ยวกับดาวเคราะห์โดยใช้โลกเป็นหลักในการแบ่งนักดาราศาสตร์ได้แบ่งดวงดาวออกเป็น 2 ประเภท ตามวงทางโคจรดังนี้ คือ

1. ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์

2. ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดีดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ยังสามารถจำแนกออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ตามลักษณะพื้นผิวด้วย ดังนี้ ดาวเคราะห์ก้อนหิน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม ยกว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ ดาวเคราะห์ก๊าซ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายในพื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม

ดาวเคราะห์น้อย



ดาวเคราะห์น้อย เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กมีอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 50,00 ดวง มีทางโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยมีขนาดตั้งแต่ 2 - 3 เมตรไปจนถึงหลายร้อยกิโลเมตร

ดาวเคราะห์น้อยกว่า 5,000 ดวงอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี กลุ่มดาวเคราะห์น้อยมีหลายกลุ่ม ภายในกลุ่มมีทางโคจรใกล้เคียงกัน แต่ละกลุ่มมีวงโคจรต่างกัน กลุ่มดาวเคราะห์น้อยแห่งโทรจัน มีความสัมพันธ์กับดาวพฤหัสบดีเพราะเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ โดยแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีและดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ค้นพบคือ ดาวซีเรส มีขนาดเส้นเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,003 กิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อยอาเทนมีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์น้อยกว่าระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ในอดีตดาวเคราะห์น้อยจำนวนหนึ่งได้ชนโลก และจะมาชนโลกอีกในอนาคต

กำเนิดดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยดวงกลมใหญ่มีกำเนิดเช่นเดียวกับกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่มีรูปร่างแปลกๆ อาจเป็นเศษเหลือดั้งเดิมของระบบสุริยะหรือเกิดจากการแตกกระจายของดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่ชนกัน

เนบิวลา(Nebula)



เนบิวลาเทหะวัตถุซึ่งอยู่ไกลที่สุดในท้องฟ้า

นักดาราศาสตร์ใช้คำว่า เนบิวลา เรียกชื่อสิ่งที่ปรากฏเป็นเมฆหมอกฝ้าอยู่คงที่ท่ากลางดวงดาวบนท้องฟ้า อาจจะปรากฏสว่างเรืองหรือมืดสนิทก็ได้ เรามองเห็นเนบิวลาได้ยาก เพราะแม้แสงที่สว่างก็มีแสงจางแผ่กระจายไม่รวมกันเข้มเป็นจุดสว่างดังเช่นดาวฤกษ์ เราจึงสามารถมองเห็นเนบิวลาบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าได้เพียง 4 แห่ง ในขณะซึ่งสามารถมองเห็นดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่าถึง 5,000 ดวง



ความจริงเนบิวลา มีอยู่จริงเป็นปริมาณไม่น้อย การที่เราจะตรวจพบหรือไม่ขึ้นอยู่กับความไวของอุปกรณ์ที่ใช้

เนบิวลาที่อยู่ในระบบทางช้างเผือกของเราเรียกว่า Galactic Nebula ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซที่มีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับดาวฤกษ์ในกาแลกซี ซึ่งดวงอาทิตย์ของเราเป็นสมาชิกหน่วยหนึ่ง



ตัวอย่างของ Galactic Nebula ชนิดแผ่กระจาย ได้แก่ กลุ่มที่อยู่ในกลุ่มดาว Orion นับเป็นกลุ่มก๊าซและฝุ่นซึ่งใหญ่โตกลุ่มหนึ่งในกาแลกซี กินอาณาเขตกว้างขวางในอวกาศ แผ่คลุมดาวฤกษ์อยู่ภายใน

องค์ประกอบสำคัญ คือก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม มากที่สุด และนอกจากนั้นก็มีออกซิเจน และไนโตรเจน เป็นต้น เนบิวลานี้เรืองแสงเพราะถูกกระตุ้นด้วยรังสีอุลตราไวโอเลตจากดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดซึ่งอยู่ภายใน และบางส่วนของก๊าซและฝุ่นที่ห่างดาวฤกษ์ร้อนและไม่เปล่งแสงเรือง จะบังทับแสงดาวฤกษ์ที่อยูเบื้องหลังไกลออกไป จึงปรากฏเป็นเนบิวลามืด

Galactic Nebula ชนิดเป็นดวงนั้นเป็นกลุ่มก๊าซรูปทรงกลม ซึ่งแผ่กระจายออกมาจากการระเบิดของดาวฤกษ์ และปรากฏให้เห็นหลายดวงบนท้องฟ้า
เช่นที่เรียกกันว่า เนบิวลาวงแหวน เนบิวลาปู เนบิวลานกฮูก ตามความคล้ายคลึงกับรูปสิ่งของ สัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยกันทั่วไป



เนบิวลานอกกาแลกซีหรือ Spiral Nebula นั้น เป็นวัตถุจำพวกที่อยู่ไกลห่างออกไปนอกกาแลกซีของเรา เป็นต้นว่า เมฆแมกเจลแลน (Magellanic Clouds) ซึ่งเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าของซีกโลกภาคใต้ อยู่ห่างไปขนาดแสงสว่างซึ่งเดินทางได้วินาทีละ 300,000 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินทาง 150,000 ปีจึงจะถึง ซึ่งเรียกว่าอยู่ห่างไป 150,000 ปีแสง หรือ Spiral Nebula ในทิศทางของกลุ่มดาว Andromeda อยู่ห่างไปถึง 2,200,000 ปีแสง Spiral Nebula มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า จนที่ไกลออกไป แสงริบหรี่ ต้องสำรวจด้วยกล้อง โทรทรรศน์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยถ่ายภาพเปิดหน้ากล้องนานนับชั่วโมง เท่าที่บันทึกทำทะเบียน ไว้ถึงขนาดความสว่างแมกนิจูดที่ 15 มีถึง 16,000 เนบิวลา เชื่อว่าถ้านับถึงที่แสงหรี่ถึงขนาดแมกนิจูดที่ 23 ซึ่งหรี่ที่สุดที่กล้องโทรทรรศน์ในโลกจะสำรวจได้คงจะมีปริมาณถึง 1,000 ล้านเนบิวลา



ผลการศึกษาค้นคว้าทางดาราศาสตร์ แสดงว่า Spiral Nebula แต่ละดวงก็คือระบบใหญ่ของดาวฤกษ์ ฝุ่น และก๊าซ ดังเช่นกาแลกซีทางช้างเผือกของเรานี้เอง ถ้าเราออกไปอยู่บนดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบ Spiral Nebula ของกลุ่มดาว Andromeda แล้วมองกลับมายังกาแลกซีของเรา ก็จะเห็นกาแลกซีมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับที่เราเห็น Spiral Nebula นั่นเอง ดังนั้น Spiral Nebula หรือเนบิวลานอกกาแลกซีก็คือ ระบบใหญ่ของดาวฤกษ์ ฝุ่นและก๊าซ ซึ่งแต่ละระบบระมีดาวฤกษ์คิดเฉลี่ยประมาณ 800 ล้านดวง กาแลกซีของเราเป็น Spiral Nebula ค่อนข้างใหญ่มีดาวฤกษ์ประมาณ 1,000,000 ล้านดวง

อุกกาบาต
ปกติโลกของเรามีสิ่งแปลกปลอมนอกโลกพุ่งเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเสมอไม่ว่าจะเป็น ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ ซึ่งมันก็คือเศษก้อนหินที่มีขนาดเล็ก เมื่อเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศก็จะเกิดการเสียดสีกับอากาศ เมื่อดาวตกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและเสียดสีกับอากาศก็จะเกิดความร้อนจนลุกไหม้ กลายเป็นแสงวูบวาบให้คนมองเห็นได้ แต่ถ้าดาวตกนั้นมีขนาดใหญ่มาก เสียดสีเผาไหม้ไม่หมดเราก็เรียกว่า อุกกาบาต

อุกกาบาตส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่นและขยะจากดาวหางที่ทิ้งไว้ในทางโคจรขณะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อโลกของเราโคจรผ่านทางโคจรของดาวหาง โลกจะดึงเศษวัตถุเหล่านี้ให้ตกมาที่โลก(โดยแรงดึงดูดของโลก)กลายเป็นฝนอุกกาบาต มีฝนอุกกาบาตเกิดขึ้นเป็นประจำในเดือนต่างๆตลอดทั้งปี

อุกกาบาตมี 2 ประเภทใหญ่ คือ พวกหิน ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหิน และพวกเหล็กซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กและนิเกิลโลกของเราพบอุกกาบาตพวกหินมากกว่าอุกกาบาตเหล็ก แต่อุกกาบาตที่มีน้อยที่สุดคืออุกกบาตที่ประกอบด้วยหินและเหล็ก

หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเคยมีอุกกบาตขนาดใหญ่ตกที่โลกของเราก็คือ หลุมอุกกาบาตที่รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา มีความกว้าง 1.3 kmเกิดขึ้นเมื่อ 25,000 - 30,000 ปีมาแล้วก่อนที่จะมีมนุษย์ไปอยู่ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าคงจะเกิดจากอุกกาบาตขนาด 45 เมตร ตกลงมาด้วยความเร็ว 11 กิโลเมตรต่อวินาที นักล่าอุกกาบาตได้ขุดและค้นพบอุกกาบาตเหล็กในบริเวณนี้จำนวนหลายชิ้น

ในแต่ละปีจะมีวัตถุนอกโลกตกมาสู่โลกประมาณ 28,000 ตัน อุกกาบาตส่วนใหญ่ที่ตกลงมาจะถูกเผาไหม้ที่ระดับความสูง 80 กิโลเมตรกว่า 90% ของลูกอุกกาบาตในโลกประกอบด้วยหิน

เสริมความรู้
1. ลูกอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่โฮบาเวสต์ ในตอนใต้ของแอฟริกา มีเนื้อสารประมาณ 60 ตัน
2. ศตวรรษที่ผ่านมา พระเจ้าชาร์ลอเล็กซานเดอร์ แห่งรัสเซีย มีดาบที่ทำด้วยอุกกาบาตเหล็ก

ดาวหาง(Comet)



แหล่งกำเนิดดาวหาง
เชื่อว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการเกิดระบบสุริยะ เมื่อมาถูกความดันรังสีของ ดวงอาทิตย์ผลักดันให้ออกไปอยู่ห่างจากบริเวณ ภายนอกของระบบสุริยะ ระยะทาง1-2 ปีแสง โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงแหวนวงกลมเรียกว่า Oort cloud ตามความเชื่อของนักดาราศาสตร์ ชาวดัตช์ชื่อว่า แจน เฮนคริกอ็อร์ต

ส่วนประกอบของดาวหาง มีส่วนประกอบดังนี้
1. ส่วนใจกลางหัว(nucleus) คล้ายจุดดาวฤกษ์ โดยใช้กล้องโทรทรรศ์ดูจะปรากฎ เป็นฝ้าเป็นก้อนแข็งสกปรกมีฝุ่น มมีก๊าซระเหิดออกมาหุ้มแน่น

2. ส่วนที่เป็นดวงสว่างมกตรงใจกลางห่อหุ้มใจกลางอยู่(contral condensation) เรียกว่า ดวงสว่างกลาง

3. ก๊าซและฝุ่นที่แผ่กระจายฟุ้งออกมารอบสะท้อนจากดวงอาทิตย์ปรากฎเป็นรัศมี เรืองหุ้มส่วนกลางคือส่วนหัวนั่นเอง

4. หาง(tail)มี2ประเภทมีอยู่ในดาวหางดวงเดียวกันหางที่ประกอบด้วยฝุ่นเรียกหางฝุ่น หางที่เป็นก๊าซแตกตัวเป็นไอออนเรียกว่าหางพลาสมา หางฝุ่นมีสีเหลืองสันแหลมโค้ง หางพลาสมามีสีนำเงิน เหยียดตรง

5. กลุ่มก๊าซไฮโดรเจน ห่อหุ้มดาวหาง มีกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนมหึมาห้อหุ้มอยู่ ดาวหางโคฮูเทค(kohotek) ก็พบว่ามีกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนเช่นกัน

วงทางโคจรของดาวหางและการค้นพบ
ดาวหางมีวงทางโคจรเป็นรูปวงรีมีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสบางครั้งวงรอบ แกนยาวมากจนไม่สามารถบอกได้ว่าเส้นทางโคจรในระยะใกล้ ดวงอาทิตย์ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงรีหรื่อรูปพาราโบลาหรือไฮเพอร์โบลาการเคลื่อนที่ ตามทางจะเป็นไปตามกฎความโน้มถ่วงของนิวตัน และตามกฎการโคจรดาว เคราะห์ของเคปเลอร์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์,ดาวเคราะห์น้อยตั้งแต่โบราณจน ถึงเกือนกันยายนพ.ศ.2505 ได้มีการคำนวณวงทาง โคจรดาวหางต่างๆกัน ปรากฎว่าอาจแบ่งพวกได้ดังนี้

อิทธิพลดาวหางที่มีต่อโลก
1. เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงหรื่อแรงดึงดูดโลก

2. เกี่ยวกับรับสีที่ดาวหางฉายมายังโลก รังสีที่ดาวหางแผ่ออกจากตัวมีทั้งแสงอาทิตย์สะท้อนจากฝุ่นและก๊าซ เมื่อดาวหางเข้าใหล้ดวงอาทิตย์มาก จากการตรวจสอบรังสีนี้ไม่มีความเข้มข้นที่ก่อให้เกิดอันตรายาต่อชีวิตมนุษย์,สัตว์ หรือพืช ทีมีอยู่ในโลกแต่อย่างใด

3. ฝุ่นและก๊าซในหางของดาวหางที่หลุดออกจากอำนาจแรงดึงดูดส่วน ใจกลางหัวจะกระจัดกระจายออกในอวกาศ ฝุ่นซึ่งเป็นอนุภาคของแข็งแผ่กระจายใน ระนาบวงโคจรดาวหางรอบดวงอาทิตย์ส่วนก๊าซฟุ้งกระจายไปและอาจถูกผลักดันโดย อนุภาคไฟฟ้าในลมสุริยะสรุปได้ว่าดาวหางไม่มีอิทธิพลต่อโลกหรื่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

ที่มารูปภาพ
//www.hubblesite.org/


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 14:25:05 น. 0 comments
Counter : 10306 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.